กรุงเทพฯ--3 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ที่ผ่านมาอิสราเอลมีนโยบายระงับการนำเข้าแรงงานต่างชาติ นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ เพิ่มเติมว่า รัฐบาลอิสราเอลได้ปรับเปลี่ยนนโยบายโดยมีการผ่อนผันให้มีการนำเข้าแรงงานต่างชาติบ้างแล้ว โดยเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2545 นายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยอิสราเอลพิจารณานำเข้าแรงงานไทยภาคเกษตรเพิ่มจำนวน 6,000 ราย อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานอิสราเอลยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว อย่างเต็มที่ โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงแรงงานอิสราเอลได้แถลงว่า อาจจะทยอยนำเข้า แรงงานไทยเพียงประมาณ 3,000 ราย ซึ่งน่าจะเพียงพอในชั้นนี้
สำหรับการนำเข้าแรงงานไทยภาคเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานที่ครบสัญญาจ้างประมาณปีละ 8,000-9.000 คน นั้น ขณะนี้ ทางการอิสราเอลยังไม่อนุมัติให้มีการนำเข้าดังกล่าว
โดยแรงงานไทยที่สิ้นสุดสัญญาจ้างก็ยังคงทำงานต่อไป เนื่องจากตามกฏหมายอิสราเอลกำหนดให้แรงงานต่างชาติสามารถอยู่ทำงานในอิสราเอลได้เป็นเวลา 5 ปี สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานด้วยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ออกเอกสารอนุญาตให้บริษัทจัดหางานรับสมัครคนงานเป็นการ ล่วงหน้า (จต.2) เพื่อไปทำงานที่อิสราเอลตามระเบียบใหม่ จำนวนประมาณ 28,000 ตำแหน่ง แต่มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานที่อิสราเอลเพียง 7,000 กว่ารายเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตำแหน่งที่เหลือจำนวน 20,000 ตำแหน่งนั้นในความเป็นจริงไม่มีตำแหน่งงานรองรับ
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้คาดการณ์ว่า แรงงานไทยที่จะได้รับอนุญาตให้ไปทำงาน ในอิสราเอลในอนาคตนั้น ส่วนหนึ่งจะถูกส่งเข้าไปทำงานในเขตกูชคาติฟติดกับเขตกาซ่า ประกอบด้วยนิคมจำนวน 12 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่สู้รบ ในขณะที่ยังปรากฏว่า แรงงานไทยที่ทำงานในเขตเสี่ยงภัยนี้ อยู่ในปัจจุบันยังคงประสบปัญหาเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการ ดังนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้เสนอ แนะให้มีการหยุดส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานในเขตดังกล่าวแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์ให้คนงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงาน ในประเทศอิสราเอลทราบเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจสมัครไปทำงานในประเทศดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่ที่ผ่านมาอิสราเอลมีนโยบายระงับการนำเข้าแรงงานต่างชาติ นั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ เพิ่มเติมว่า รัฐบาลอิสราเอลได้ปรับเปลี่ยนนโยบายโดยมีการผ่อนผันให้มีการนำเข้าแรงงานต่างชาติบ้างแล้ว โดยเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2545 นายกรัฐมนตรีอิสราเอลได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยอิสราเอลพิจารณานำเข้าแรงงานไทยภาคเกษตรเพิ่มจำนวน 6,000 ราย อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานอิสราเอลยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว อย่างเต็มที่ โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงแรงงานอิสราเอลได้แถลงว่า อาจจะทยอยนำเข้า แรงงานไทยเพียงประมาณ 3,000 ราย ซึ่งน่าจะเพียงพอในชั้นนี้
สำหรับการนำเข้าแรงงานไทยภาคเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานที่ครบสัญญาจ้างประมาณปีละ 8,000-9.000 คน นั้น ขณะนี้ ทางการอิสราเอลยังไม่อนุมัติให้มีการนำเข้าดังกล่าว
โดยแรงงานไทยที่สิ้นสุดสัญญาจ้างก็ยังคงทำงานต่อไป เนื่องจากตามกฏหมายอิสราเอลกำหนดให้แรงงานต่างชาติสามารถอยู่ทำงานในอิสราเอลได้เป็นเวลา 5 ปี สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานด้วยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 จนถึงปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ออกเอกสารอนุญาตให้บริษัทจัดหางานรับสมัครคนงานเป็นการ ล่วงหน้า (จต.2) เพื่อไปทำงานที่อิสราเอลตามระเบียบใหม่ จำนวนประมาณ 28,000 ตำแหน่ง แต่มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานที่อิสราเอลเพียง 7,000 กว่ารายเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตำแหน่งที่เหลือจำนวน 20,000 ตำแหน่งนั้นในความเป็นจริงไม่มีตำแหน่งงานรองรับ
สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้คาดการณ์ว่า แรงงานไทยที่จะได้รับอนุญาตให้ไปทำงาน ในอิสราเอลในอนาคตนั้น ส่วนหนึ่งจะถูกส่งเข้าไปทำงานในเขตกูชคาติฟติดกับเขตกาซ่า ประกอบด้วยนิคมจำนวน 12 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่สู้รบ ในขณะที่ยังปรากฏว่า แรงงานไทยที่ทำงานในเขตเสี่ยงภัยนี้ อยู่ในปัจจุบันยังคงประสบปัญหาเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการ ดังนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้เสนอ แนะให้มีการหยุดส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานในเขตดังกล่าวแล้ว
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์ให้คนงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงาน ในประเทศอิสราเอลทราบเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจสมัครไปทำงานในประเทศดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-