สศอ.เผยดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธ.ค.อยู่ที่ระดับ 145.86 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.86 ไก่สดแช่งแข็งรับภาวะการผลิตและการตลาดฟื้น เหตุผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้น ราคาขายสูงขึ้น ขณะที่น้ำตาลเข้าฤดูกาลเปิดหีบ ผู้ผลิตเร่งเดินหน้าผลิตรับโควตานำเข้าต่างประเทศรอบปีใหม่ ส่วนด้านบริษัทรถยนต์ทุกค่ายเริ่มชะลอผลิต เพื่อระบายส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อในเดือนก่อน
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมปี 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 145.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.86 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ157.27 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.57
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 136.71 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.41 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ137.28 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 18.35 ขณะที่ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 145.59 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.41 ดัชนีแรงงานในภาคอุต-สาหกรรม อยู่ที่ระดับ 105.44 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.26
ทั้งนี้ประเภทอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จากการวิเคราะห์ของ สศอ. พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็งปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมั่นใจที่จะนำสินค้ามาประกอบอาหารมากขึ้น แม้ว่าจะมีเรื่องไข้หวัดนกระบาดอยู่แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเช่นเดียวกับในช่วงแรก ซึ่งทำให้ยอดจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น และราคาของสินค้าไก่แช่แข็งสูงขึ้นจากปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ โดยเมื่อพิจารณาอัตราส่วนระดับสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.3
ด้านอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล ภาวะการผลิตในช่วงเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลการผลิต โดยปริมาณอ้อยที่จะเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลเป็นปริมาณทั้งสิ้นประมาณ 60.9 ล้านตัน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 60.28 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 113.5 ส่วนยอดจำหน่ายน้ำตาลโดยรวมในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีที่ต่างประเทศยังไม่ได้มีคำสั่งซื้อเข้ามา รวมทั้งภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ทั้งภาวะการผลิตและจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปมีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการผลิตรวมของน้ำมันสำเร็จรูปในเดือนธันวาคมมีปริมาณทั้งสิ้น 4,423.6 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 184 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 4.34 ซึ่งเป็นการเพิ่มของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมากที่สุด 140.6 ล้านลิตร รองลงมาคือ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 47.1 ล้านลิตร
ด้านการใช้น้ำมันในประเทศขยายตัวสูงขึ้นจากการจำหน่ายด้านคมนาคมขนส่ง โดยมีปริมาณการจำหน่ายรวม 3,879 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 53.3 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 1.39 ส่วนปริมาณการส่งออกรวมทั้งสิ้น 529.3 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 84.4 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18.97
ขณะที่มีบางอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากบริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่ได้มีการผลิตสินค้าสำรองไว้ล่วงหน้าแล้ว เพื่อส่งมอบให้กับผู้สั่งซื่อตามกำหนดเวลา นอกจากนี้ผู้ผลิตยังเตรียมวางแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกจำหน่ายในฤดูกาลต่อไป สำหรับในปี 2547 ตลาดรถยนต์มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ผู้บริโภคให้ความสนใจสั่งซื้อรถยนต์กันเป็นจำนวนมาก เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์มีกิจกรรมและโปรโมชั่นพิเศษต่างๆส่งเสริมการขาย จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ระดับสินค้าคงคลังปรับตัวอยู่ที่ระดับ 140.42 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 32.6
ส่วนการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง ภาวะการผลิตและจำหน่ายในเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง เนื่องจากบางโรงงานปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักร ขณะเดียวกันมีบางบริษัทสั่งลดกำลังการผลิต เพราะไม่ต้องการให้สินค้าค้างสต๊อกในช่วงปลายปี ขณะที่ภาวะการจำหน่ายลดลงมีสาเหตุจากช่วงที่ผ่านมามียอดสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามามากในระดับหนึ่ง ทำให้ในระยะนี้เริ่มมีการชะลอตัว
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม พบว่ามีทิศทางทรงตัวจากเดือนธันวาคม โดยมาจากปัจจัยการชะลอการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามแผนการผลิตของผู้ประกอบการโดยปกติ นอกจากนี้การผลิตเบียร์มีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากมีสินค้าคงคลังอยู่ค้างสต็อกมาก ส่วนอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว ขณะที่ผลกระทบจากคลื่นยักษ์ใน 6 จังหวัดภาคใต้ จะส่งผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างและสินค้าอุปโภคบริโภคจะขยายตัวดีขึ้น เพื่อรองรับการเร่งฟื้นฟูอาคาร บ้านเรือน และการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐและภาคเอกชนกิจการต่างๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมปี 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 145.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.86 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ157.27 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.57
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 136.71 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.41 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ137.28 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 18.35 ขณะที่ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 145.59 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.41 ดัชนีแรงงานในภาคอุต-สาหกรรม อยู่ที่ระดับ 105.44 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.26
ทั้งนี้ประเภทอุตสาหกรรมที่ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จากการวิเคราะห์ของ สศอ. พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไก่แช่แข็งปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมั่นใจที่จะนำสินค้ามาประกอบอาหารมากขึ้น แม้ว่าจะมีเรื่องไข้หวัดนกระบาดอยู่แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเช่นเดียวกับในช่วงแรก ซึ่งทำให้ยอดจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น และราคาของสินค้าไก่แช่แข็งสูงขึ้นจากปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้ โดยเมื่อพิจารณาอัตราส่วนระดับสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.3
ด้านอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล ภาวะการผลิตในช่วงเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลการผลิต โดยปริมาณอ้อยที่จะเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลเป็นปริมาณทั้งสิ้นประมาณ 60.9 ล้านตัน ซึ่งส่งผลให้ปริมาณสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 60.28 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 113.5 ส่วนยอดจำหน่ายน้ำตาลโดยรวมในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีที่ต่างประเทศยังไม่ได้มีคำสั่งซื้อเข้ามา รวมทั้งภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ทั้งภาวะการผลิตและจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปมีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการผลิตรวมของน้ำมันสำเร็จรูปในเดือนธันวาคมมีปริมาณทั้งสิ้น 4,423.6 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 184 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 4.34 ซึ่งเป็นการเพิ่มของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมากที่สุด 140.6 ล้านลิตร รองลงมาคือ น้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 47.1 ล้านลิตร
ด้านการใช้น้ำมันในประเทศขยายตัวสูงขึ้นจากการจำหน่ายด้านคมนาคมขนส่ง โดยมีปริมาณการจำหน่ายรวม 3,879 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 53.3 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 1.39 ส่วนปริมาณการส่งออกรวมทั้งสิ้น 529.3 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 84.4 ล้านลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18.97
ขณะที่มีบางอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวลดลง เนื่องจากบริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่ได้มีการผลิตสินค้าสำรองไว้ล่วงหน้าแล้ว เพื่อส่งมอบให้กับผู้สั่งซื่อตามกำหนดเวลา นอกจากนี้ผู้ผลิตยังเตรียมวางแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกจำหน่ายในฤดูกาลต่อไป สำหรับในปี 2547 ตลาดรถยนต์มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ผู้บริโภคให้ความสนใจสั่งซื้อรถยนต์กันเป็นจำนวนมาก เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์มีกิจกรรมและโปรโมชั่นพิเศษต่างๆส่งเสริมการขาย จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ระดับสินค้าคงคลังปรับตัวอยู่ที่ระดับ 140.42 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 32.6
ส่วนการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง ภาวะการผลิตและจำหน่ายในเดือนธันวาคมปรับตัวลดลง เนื่องจากบางโรงงานปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักร ขณะเดียวกันมีบางบริษัทสั่งลดกำลังการผลิต เพราะไม่ต้องการให้สินค้าค้างสต๊อกในช่วงปลายปี ขณะที่ภาวะการจำหน่ายลดลงมีสาเหตุจากช่วงที่ผ่านมามียอดสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามามากในระดับหนึ่ง ทำให้ในระยะนี้เริ่มมีการชะลอตัว
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมกราคม พบว่ามีทิศทางทรงตัวจากเดือนธันวาคม โดยมาจากปัจจัยการชะลอการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ตามแผนการผลิตของผู้ประกอบการโดยปกติ นอกจากนี้การผลิตเบียร์มีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากมีสินค้าคงคลังอยู่ค้างสต็อกมาก ส่วนอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว ขณะที่ผลกระทบจากคลื่นยักษ์ใน 6 จังหวัดภาคใต้ จะส่งผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างและสินค้าอุปโภคบริโภคจะขยายตัวดีขึ้น เพื่อรองรับการเร่งฟื้นฟูอาคาร บ้านเรือน และการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐและภาคเอกชนกิจการต่างๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-