จากการที่สหรัฐฯประกาศใช้มาตรการปกป้องกับสินค้าเหล็กเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว ดำเนินการในรูปแบบต่างๆเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน โดยกลุ่มประเทศที่ส่งออกสินค้าเหล็กไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ จีน นอร์เว และนิวซีแลนด์ เห็นว่ามาตรการของสหรัฐฯไม่สอดคล้องกับความตกลงของ WTO จึงได้ยื่นขอหารือกับสหรัฐฯภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO ในขณะเดียวกันประเทศสมาชิก WTO 12 ประเทศ ได้ยื่นขอหารือภายใต้ความตกลง Safeguards ซึ่งผลการหารือที่ออกมาคือไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องการชดเชยแก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบได้
ขณะนี้ สหภาพยุโรปได้ยื่นต่อ WTO ขอตั้งคณะพิจารณา (Panel) เพื่อพิจารณาการใช้มาตรการปกป้องของสหรัฐฯ ภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากประเทศสมาชิก WTO แล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ซึ่งไทยจะขอเข้าร่วมในการพิจารณาในฐานะประเทศที่สาม (Third Party) เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีส่วนได้เสียจากการใช้มาตรการของสหรัฐฯพอสมควร เพราะไทยมีการนำเข้าเหล็กสุทธิเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน ตามลำดับ ทั้งนี้ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เว อยู่ในระหว่างการขอตั้ง Panel เช่นกัน
นอกจากนี้ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น อยู่ระหว่างดำเนินการที่จะตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯ ตามที่มาตรา 8.2 ของความตกลง Safeguards ให้สิทธิไว้ โดยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 สหภาพยุโรปได้ยื่นรายการสินค้าที่จะตอบโต้สหรัฐฯต่อ WTO ซึ่งสหภาพยุโรปกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะตอบโต้ทางการค้าขั้นต้นในวันที่ 18 มิถุนายน 2545 หรือไม่ ในกรณีที่สหรัฐฯไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องการชดเชยได้ก่อนวันที่ 18 มิถุนายน 2545 ในขณะที่ จีน นอร์เว สวิตเซอร์แลนด์ แจ้ง WTO ว่าจะตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯ หาก Panel ตัดสินว่าการใช้มาตรการของสหรัฐฯไม่สอดคล้องกับความตกลง และออสเตรเลีย บราซิล เกาหลี และนิวซีแลนด์ได้ตกลงกับสหรัฐฯว่าจะชะลอการตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯออกไปก่อน
ทั้งนี้ หากมีการตอบโต้ทางการค้าเกิดขึ้น คาดว่าสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นจะเก็บภาษีสินค้านำเข้าต่อสินค้าจากสหรัฐฯคิดเป็นมูลค่าประมาณ 364 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 4.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ
ผลของการใช้มาตรการปกป้องของสหรัฐฯ นอกจากจะนำไปสู่กรณีพิพาททางการค้าและการตอบโต้ทางการค้าแล้ว ยังนำไปสู่การปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กภายในของประเทศสมาชิกต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย ได้ประกาศ มาตรการปกป้องชั่วคราว โดยการขึ้นภาษีสินค้าเหล็ก โดยอ้างผลกระทบที่จะได้รับจากมาตรการของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางการส่งออกจากสหรัฐฯ มายังประเทศผู้นำเข้าเหล็กรายอื่น เช่น จีนและสหภาพยุโรป และในขณะเดียวกัน แคนาดาก็อยู่ในระหว่างการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการปกป้องเช่นกัน
ทั้งนี้ สหรัฐฯได้ยื่นขอหารือกับสหภาพยุโรปภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม โดยสหรัฐฯเห็นว่ามาตรการปกป้องชั่วคราวของสหภาพยุโรปขัดกับความตกลงของ WTO และในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นและเกาหลีก็ได้ขอหารือกับจีนภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO เช่นกัน
ต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อคุณวิวรรณ ศรีรับสุข โทร. 02 2826171-9 ต่อ 1149
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2545--
-ปส-
ขณะนี้ สหภาพยุโรปได้ยื่นต่อ WTO ขอตั้งคณะพิจารณา (Panel) เพื่อพิจารณาการใช้มาตรการปกป้องของสหรัฐฯ ภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากประเทศสมาชิก WTO แล้วเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ซึ่งไทยจะขอเข้าร่วมในการพิจารณาในฐานะประเทศที่สาม (Third Party) เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีส่วนได้เสียจากการใช้มาตรการของสหรัฐฯพอสมควร เพราะไทยมีการนำเข้าเหล็กสุทธิเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และจีน ตามลำดับ ทั้งนี้ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เว อยู่ในระหว่างการขอตั้ง Panel เช่นกัน
นอกจากนี้ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น อยู่ระหว่างดำเนินการที่จะตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯ ตามที่มาตรา 8.2 ของความตกลง Safeguards ให้สิทธิไว้ โดยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 สหภาพยุโรปได้ยื่นรายการสินค้าที่จะตอบโต้สหรัฐฯต่อ WTO ซึ่งสหภาพยุโรปกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะตอบโต้ทางการค้าขั้นต้นในวันที่ 18 มิถุนายน 2545 หรือไม่ ในกรณีที่สหรัฐฯไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องการชดเชยได้ก่อนวันที่ 18 มิถุนายน 2545 ในขณะที่ จีน นอร์เว สวิตเซอร์แลนด์ แจ้ง WTO ว่าจะตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯ หาก Panel ตัดสินว่าการใช้มาตรการของสหรัฐฯไม่สอดคล้องกับความตกลง และออสเตรเลีย บราซิล เกาหลี และนิวซีแลนด์ได้ตกลงกับสหรัฐฯว่าจะชะลอการตอบโต้ทางการค้าสหรัฐฯออกไปก่อน
ทั้งนี้ หากมีการตอบโต้ทางการค้าเกิดขึ้น คาดว่าสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นจะเก็บภาษีสินค้านำเข้าต่อสินค้าจากสหรัฐฯคิดเป็นมูลค่าประมาณ 364 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 4.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ
ผลของการใช้มาตรการปกป้องของสหรัฐฯ นอกจากจะนำไปสู่กรณีพิพาททางการค้าและการตอบโต้ทางการค้าแล้ว ยังนำไปสู่การปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กภายในของประเทศสมาชิกต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย ได้ประกาศ มาตรการปกป้องชั่วคราว โดยการขึ้นภาษีสินค้าเหล็ก โดยอ้างผลกระทบที่จะได้รับจากมาตรการของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางการส่งออกจากสหรัฐฯ มายังประเทศผู้นำเข้าเหล็กรายอื่น เช่น จีนและสหภาพยุโรป และในขณะเดียวกัน แคนาดาก็อยู่ในระหว่างการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการปกป้องเช่นกัน
ทั้งนี้ สหรัฐฯได้ยื่นขอหารือกับสหภาพยุโรปภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม โดยสหรัฐฯเห็นว่ามาตรการปกป้องชั่วคราวของสหภาพยุโรปขัดกับความตกลงของ WTO และในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นและเกาหลีก็ได้ขอหารือกับจีนภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาทของ WTO เช่นกัน
ต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อคุณวิวรรณ ศรีรับสุข โทร. 02 2826171-9 ต่อ 1149
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2545--
-ปส-