ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. มั่นใจค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 45 ซึ่งเป็นวัน
ครบรอบที่ทางการได้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการครบ 5 ปี ว่า แม้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จะเกิดจาก
ปัจจัยค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงเป็นหลัก ไม่ได้มาจากพื้นฐานเศรษฐกิจ แต่หากมองในด้านพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้นับว่ามั่นคง
โดยพิจารณาจากข้อมูลล่าสุดทั้งการบริโภคภายในประเทศ การจ้างงาน และอัตรากำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และหากพิจารณาค่าเงินบาทใน
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (28 มี.ค.-2 ก.ค.) จะเห็นว่า ไม่น่าเป็นห่วงอย่างที่นักวิชาการประเมินว่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าเกินไป
ธปท. จะดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดให้ได้ดุลยภาพและมีเสถียรภาพ โดยปล่อยให้ค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม
กรณีเงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ธปท. ก็จะเข้าไปแทรกแซงเป็นระยะตามความจำเป็น(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
ข่าวสด)
2. วุฒิสภาอนุมัติ พ.ร.ก. 3 ฉบับ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 45 ที่ประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญได้พิจารณาเนื้อหาพระราชกำหนด 3 ฉบับ
ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2
พ.ศ. 2545 พ.ร.ก.โอนสินทรัพย์บางส่วนบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา พ.ศ. 2545 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.
เงินตรา พ.ศ. 2501 (ฉบับที่2) โดยที่ประชุมวุฒิสภามีมติอนุมัติ พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับ ( ไทยโพสต์, ไทยรัฐ)
3. ครม. อนุมัติการออกพันธบัตรออมทรัพย์จำนวน 305,000 ล้านบาท นายสมหมาย ภาษี รองปลัด ก. คลัง เปิดเผยภายหลัง
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมอนุมัติการกู้เงินตามพระราชกำหนดให้อำนาจ ก. คลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 พ.ศ. 2545 ตามที่ ก. คลังเสนอมา โดยให้ ก. คลังกู้เงินโดยออกพันธบัตรออมทรัพย์
ชนิดจำกัดผู้ซื้อ อายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี วงเงินรวม 305,000 ล้านบาท ในปี งปม. 45 สำหรับอัตราดอกเบี้ยคิดจากผลตอบแทนอ้าง
อิงของ พธบ. ในประเทศเฉลี่ย 5 ปี บวกส่วนต่างไม่เกิน 0.6% 0.7% และ 0.8% จากปัจจุบันอัตราผลตอบแทนอ้างอิงของ พธบ. อยู่ที่ 4-6%
โดยจะเปิดจองซื้อตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. — 30 ส.ค. 45 และชำระเงินตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. — 15 ต.ค. 45 ที่ ธพ. ไทยทั้ง 12 แห่ง
และ ธ. ออมสินทั่วประเทศ (อาทิตย์วิเคราะห์รายวัน, ข่าวสด, เดลินิวส์)
4. ครม. เห็นชอบให้ไอเอฟซีทีรับฝากเงินจากประชาชนได้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รนม.และ รมว. คลัง เปิดเผยว่า ครม.
มีมติเห็นชอบในการแก้ไข พรบ. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) พ.ค. 2502 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดย
เพิ่มแนวทางการระดมทุนผ่านการรับฝากเงิน รวมถึงบัญชีกระแสรายวันที่เบิกถอนได้ด้วยเช็คและเป็นผู้ใช้เงินตามเช็คได้ และสามารถออกหุ้น
บุริมสิทธิได้ พร้อมเพิ่มบทบัญญัติด้านบรรษัทภิบาล(สยามรัฐ, บ้านเมือง)
5. ก. พาณิชย์ปรับลดเป้าหมายการส่งออกปี 45 นายสุวรรณ วลัยเสถียร รมช. พาณิชย์ เปิดเผยว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
อย่างต่อเนื่องนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกมากนักหากค่าเงินไม่ต่ำกว่า 40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 45
คาดว่าจะมีอัตราขยายตัวเพียง 4-5% จากที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 5.6% แต่ทั้งนี้ต้องรักษาระดับการส่งออกตั้งแต่เดือน มิ.ย. — ธ.ค.45 ให้ได้
ใกล้เคียงกับยอดการส่งออกในเดือน พ.ค. 45 ที่สามารถส่งออกได้ 5,935.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. (แนวหน้า, สยามรัฐ)
ข่าวต่างเศรษฐกิจประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซนลดลงในเดือน มิ.ย. 45 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 2 ก.ค. 45 คณะ
กรรมาธิการของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศยุโรป 12 ประเทศ (ยูโรโซน) ลดลง
ที่ระดับ 99.6 ในเดือน มิ.ย. 45 จากระดับ 99.9 (ตัวเลขหลังปรับ) ในเดือน พ.ค. 45 เนื่องจากความเชื่อมั่นของธุรกิจในเดือน
มิ.ย. 45 ลดลงที่ระดับติดลบ 10 จากระดับติดลบ 9 ในเดือนก่อน และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงที่ระดับติดลบ 9 จากติดลบ 8
รายงานครั้งนี้ ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มิ.ย. 45 จะอยู่ที่ระดับ 99.8
หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Bank of America (Jeremy Hawkins)กล่าวว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง
จะเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ภายในประเทศ ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (รอยเตอร์ 2)
2. เศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ปี 45 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 2 ก.ค. 45 รมว.เศรษฐกิจ
ของเยอรมนี กล่าวว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 45 เศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตร้อยละ 0.5 เทียบกับไตรมาสแรกปี 45 และเติบโตร้อยละ
0.75 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 44 ทั้งนี้ เศรษฐกิจเยอรมนีได้เริ่มฟื้นตัวในฤดูใบไม้ผลิและจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในฤดูร้อน ขณะเดียวกัน
ภาคการผลิตของเยอรมนีได้เติบโตอย่างรวดเร็วและกำลังจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปยังภาคอื่นๆ ของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้น การขยายตัว
ของการส่งออกที่ได้กระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ได้เติบโตในอัตราเร่งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ทั้งนี้ รัฐบาลประมาณ
การว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 0.75 และร้อยละ 2.5 ในปี 45 และ 46 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 2)
3. ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย. 45 มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 รายงานจากโตเกียวเมื่อ
2 ก.ค. 45 ธ. กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 45 ฐานเงินของญี่ปุ่น (ประกอบด้วยเงินหมุนเวียนและเงินฝากของ ธพ. ที่ฝากไว้กับ
ธ. กลาง) เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักติตด่อกันเป็นเดือนที่ 10 แต่ชะลอตัวลงจากเดือน พ.ค. 45
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 เนื่องจากมีความกังวลว่าระบบการเงินจะอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขฐานเงินในเดือนดังกล่าวชะลอตัวลง
เมื่อเทียบต่อเดือน แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า ระบบการเงินยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง อนึ่ง รายงานตัวเลขฐานเงินนับเป็นเครื่องบ่งชี้
ประการหนึ่งว่ามีปริมาณเงินมากเท่าไรในระบบเศรษฐกิจ ที่ ธ. กลางจะต้องดำเนินการอย่างเหมาะสมกับระบบธนาคาร ทั้งนี้ การที่ฐานเงิน
เพิ่มขึ้นจะเกื้อหนุนต่อภาวะเศรษฐกิจ และกระตุ้นใน ธพ. ผ่านเงินไปยังบริษัทและครัวเรือน (รอยเตอร์ 2)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3-Jul-45 2-Jul-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 41.514 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ.(Bht/US$) - 41.3238/41.6177 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.0625-1.9375 2.250-2.375(ตัวเลข ณ 3 ม.ค. 45) รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 390.78/7.04 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,150/6,250 6,150/6,250 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 24.42 24.44 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 15.19/12.79 15.19/12.79 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. มั่นใจค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 45 ซึ่งเป็นวัน
ครบรอบที่ทางการได้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการครบ 5 ปี ว่า แม้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จะเกิดจาก
ปัจจัยค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงเป็นหลัก ไม่ได้มาจากพื้นฐานเศรษฐกิจ แต่หากมองในด้านพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้นับว่ามั่นคง
โดยพิจารณาจากข้อมูลล่าสุดทั้งการบริโภคภายในประเทศ การจ้างงาน และอัตรากำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และหากพิจารณาค่าเงินบาทใน
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (28 มี.ค.-2 ก.ค.) จะเห็นว่า ไม่น่าเป็นห่วงอย่างที่นักวิชาการประเมินว่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าเกินไป
ธปท. จะดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดให้ได้ดุลยภาพและมีเสถียรภาพ โดยปล่อยให้ค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม
กรณีเงินบาทเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ธปท. ก็จะเข้าไปแทรกแซงเป็นระยะตามความจำเป็น(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
ข่าวสด)
2. วุฒิสภาอนุมัติ พ.ร.ก. 3 ฉบับ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 45 ที่ประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญได้พิจารณาเนื้อหาพระราชกำหนด 3 ฉบับ
ได้แก่ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2
พ.ศ. 2545 พ.ร.ก.โอนสินทรัพย์บางส่วนบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา พ.ศ. 2545 และ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.
เงินตรา พ.ศ. 2501 (ฉบับที่2) โดยที่ประชุมวุฒิสภามีมติอนุมัติ พ.ร.ก. ทั้ง 3 ฉบับ ( ไทยโพสต์, ไทยรัฐ)
3. ครม. อนุมัติการออกพันธบัตรออมทรัพย์จำนวน 305,000 ล้านบาท นายสมหมาย ภาษี รองปลัด ก. คลัง เปิดเผยภายหลัง
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมอนุมัติการกู้เงินตามพระราชกำหนดให้อำนาจ ก. คลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 พ.ศ. 2545 ตามที่ ก. คลังเสนอมา โดยให้ ก. คลังกู้เงินโดยออกพันธบัตรออมทรัพย์
ชนิดจำกัดผู้ซื้อ อายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี วงเงินรวม 305,000 ล้านบาท ในปี งปม. 45 สำหรับอัตราดอกเบี้ยคิดจากผลตอบแทนอ้าง
อิงของ พธบ. ในประเทศเฉลี่ย 5 ปี บวกส่วนต่างไม่เกิน 0.6% 0.7% และ 0.8% จากปัจจุบันอัตราผลตอบแทนอ้างอิงของ พธบ. อยู่ที่ 4-6%
โดยจะเปิดจองซื้อตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. — 30 ส.ค. 45 และชำระเงินตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. — 15 ต.ค. 45 ที่ ธพ. ไทยทั้ง 12 แห่ง
และ ธ. ออมสินทั่วประเทศ (อาทิตย์วิเคราะห์รายวัน, ข่าวสด, เดลินิวส์)
4. ครม. เห็นชอบให้ไอเอฟซีทีรับฝากเงินจากประชาชนได้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รนม.และ รมว. คลัง เปิดเผยว่า ครม.
มีมติเห็นชอบในการแก้ไข พรบ. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) พ.ค. 2502 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดย
เพิ่มแนวทางการระดมทุนผ่านการรับฝากเงิน รวมถึงบัญชีกระแสรายวันที่เบิกถอนได้ด้วยเช็คและเป็นผู้ใช้เงินตามเช็คได้ และสามารถออกหุ้น
บุริมสิทธิได้ พร้อมเพิ่มบทบัญญัติด้านบรรษัทภิบาล(สยามรัฐ, บ้านเมือง)
5. ก. พาณิชย์ปรับลดเป้าหมายการส่งออกปี 45 นายสุวรรณ วลัยเสถียร รมช. พาณิชย์ เปิดเผยว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
อย่างต่อเนื่องนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกมากนักหากค่าเงินไม่ต่ำกว่า 40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. สำหรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 45
คาดว่าจะมีอัตราขยายตัวเพียง 4-5% จากที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 5.6% แต่ทั้งนี้ต้องรักษาระดับการส่งออกตั้งแต่เดือน มิ.ย. — ธ.ค.45 ให้ได้
ใกล้เคียงกับยอดการส่งออกในเดือน พ.ค. 45 ที่สามารถส่งออกได้ 5,935.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. (แนวหน้า, สยามรัฐ)
ข่าวต่างเศรษฐกิจประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมของยูโรโซนลดลงในเดือน มิ.ย. 45 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 2 ก.ค. 45 คณะ
กรรมาธิการของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศยุโรป 12 ประเทศ (ยูโรโซน) ลดลง
ที่ระดับ 99.6 ในเดือน มิ.ย. 45 จากระดับ 99.9 (ตัวเลขหลังปรับ) ในเดือน พ.ค. 45 เนื่องจากความเชื่อมั่นของธุรกิจในเดือน
มิ.ย. 45 ลดลงที่ระดับติดลบ 10 จากระดับติดลบ 9 ในเดือนก่อน และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงที่ระดับติดลบ 9 จากติดลบ 8
รายงานครั้งนี้ ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มิ.ย. 45 จะอยู่ที่ระดับ 99.8
หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Bank of America (Jeremy Hawkins)กล่าวว่า การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง
จะเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ภายในประเทศ ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (รอยเตอร์ 2)
2. เศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ปี 45 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 2 ก.ค. 45 รมว.เศรษฐกิจ
ของเยอรมนี กล่าวว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 45 เศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตร้อยละ 0.5 เทียบกับไตรมาสแรกปี 45 และเติบโตร้อยละ
0.75 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 44 ทั้งนี้ เศรษฐกิจเยอรมนีได้เริ่มฟื้นตัวในฤดูใบไม้ผลิและจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในฤดูร้อน ขณะเดียวกัน
ภาคการผลิตของเยอรมนีได้เติบโตอย่างรวดเร็วและกำลังจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปยังภาคอื่นๆ ของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้น การขยายตัว
ของการส่งออกที่ได้กระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ได้เติบโตในอัตราเร่งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ทั้งนี้ รัฐบาลประมาณ
การว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 0.75 และร้อยละ 2.5 ในปี 45 และ 46 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 2)
3. ฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย. 45 มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 รายงานจากโตเกียวเมื่อ
2 ก.ค. 45 ธ. กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 45 ฐานเงินของญี่ปุ่น (ประกอบด้วยเงินหมุนเวียนและเงินฝากของ ธพ. ที่ฝากไว้กับ
ธ. กลาง) เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักติตด่อกันเป็นเดือนที่ 10 แต่ชะลอตัวลงจากเดือน พ.ค. 45
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 เนื่องจากมีความกังวลว่าระบบการเงินจะอ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขฐานเงินในเดือนดังกล่าวชะลอตัวลง
เมื่อเทียบต่อเดือน แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า ระบบการเงินยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง อนึ่ง รายงานตัวเลขฐานเงินนับเป็นเครื่องบ่งชี้
ประการหนึ่งว่ามีปริมาณเงินมากเท่าไรในระบบเศรษฐกิจ ที่ ธ. กลางจะต้องดำเนินการอย่างเหมาะสมกับระบบธนาคาร ทั้งนี้ การที่ฐานเงิน
เพิ่มขึ้นจะเกื้อหนุนต่อภาวะเศรษฐกิจ และกระตุ้นใน ธพ. ผ่านเงินไปยังบริษัทและครัวเรือน (รอยเตอร์ 2)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3-Jul-45 2-Jul-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 41.514 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ.(Bht/US$) - 41.3238/41.6177 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.0625-1.9375 2.250-2.375(ตัวเลข ณ 3 ม.ค. 45) รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 390.78/7.04 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,150/6,250 6,150/6,250 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 24.42 24.44 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 15.19/12.79 15.19/12.79 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-