1. สถานการณ์การผลิตอียูอุดหนุนงบภาคการประมงจำกัดพื้นที่จับปลาหวั่นสูญพันธุ
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวด้านนโยบายประมงร่วมสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับรายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรปว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เตรียมที่จะปรับปรุงนโยบายการประมง (Common Fisheries Policy : CFP) ในส่วนของโควตาการจับปลาจากเดิมที่จะทำการกำหนดปริมาณแบบปีต่อปี เป็นวิธีการกำหนดแบบช่วงหลายปี ซึ่งจะมีการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบการวางแผนดำเนินการ และเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันสัตว์น้ำไม่ให้สูญพันธุ์ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปยังเสนอให้ยกเลิกการอุดหนุนช่วยเหลือการสร้างเรือจับปลาใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาการจับปลามากเกินไป โดยจะนำเงินอุดหนุนดังกล่าวไปใช้ในการดำเนินการปรับโครงสร้างภาคการประมง การสร้างงาน เพื่อเป็นทางเลือกกับชาวประมง ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติงานประมงแบบยั่งยืน โดยเฉพาะในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแทน
ส่วนกรณีการควบคุมรักษาแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอให้มีการจัดทำแผนในการจำกัดพื้นที่การจับปลาผิดกฎหมาย โดยทาง EU จะประสานไปยังประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ เรื่องขอความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อเป็นการสนับสนุน ให้เกิดการประมงแบบยั่งยืนต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 15 กค.- 21 กค. 2545 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,507.50 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 624.32 ตัน สัตว์น้ำจืด 883.18 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.11 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.28 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.97 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 38.33 ตัน 2. สถานการณ์การตลาดธุรกิจแพกุ้งอินเตอร์เน็ต
นายพิรัชย์ วงศ์งามหิรัญ ผู้จัดการทั่วไป ว่องไวแพ เป็นธุรกิจรับซื้อกุ้งจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านราคาและการตลาดของกุ้งกุลาดำของ ภาคใต้ในขณะนี้ว่า ปัจจุบันการซื้อขายกุ้งกุลาดำของจังหวัดสงขลาและสตูลเริ่มมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากระบบซื้อขายดังกล่าวบันทึกข้อมูลไม่ทันต่อสถานการณ์ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไม่สามารถทราบราคาซื้อขายที่แท้จริงได้ ขณะนี้ห้องเย็นหลายแห่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสงขลาเริ่มทดลองใช้บ้างแล้ว ทำให้สะดวกรวดเร็วในการซื้อขาย
สิ่งที่เป็นปัญหาคือ การบิดเบือนราคาซื้อขายที่กำหนดในอินเตอร์เน็ต โดยกำหนดราคาไว้สูง เพื่อแย่งชิงวัตถุดิบกับห้องเย็นอื่น ๆ เมื่อธุรกิจแพหรือเกษตรกรนำกุ้งเข้าไปขายมักจะไม่ใช่ราคาที่ตกลงกันไว้จะถูกกดราคาต่ำลงไปมาก อ้างว่ามีการรับซื้อจากเกษตรกรรายอื่นเกินโควตาแล้ว หากจะขายก็ต้องเป็นราคาที่ห้องเย็นกำหนดเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่า ราคาประกาศในอินเตอร์เน็ตหรือการติดต่อผ่านโบรกเกอร์ของห้องเย็น อีกทั้งการขายผ่านอินเตอร์เน็ตยังถูกหักค่าบริการ 1-2% หากถูกกดราคาต่ำแล้วยังเสียค่าบริการอีกเกษตรกรคงจะขาดทุนแน่นอน เกษตรกรไม่มีทางเลือกหากบรรทุกสินค้าไปถึงห้องเย็นแล้วจำเป็นต้องขาย แม้ว่าราคาจะต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากเป็นสินค้าสดหากนำกลับมีปัญหาเรื่องเน่าเสีย รวมทั้งได้เสียค่าขนส่งไปแล้ว นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วเกษตรกรยังพบกับปัญหาโรคระบาด กุ้งเติบโตช้า และการกดราคาช่วงผลผลิตล้นตลาดอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยกำกับแทรกแซงราคากุ้งกุลาดำในช่วงผลผลิตล้นตลาด ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ประกันราคาซื้อขายกุ้งกุลาดำกันล่วงหน้าเช่นเดียวกับพืชเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันไม่ให้โบรกเกอร์ห้องเย็นกดราคาซื้อขายให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ประกาศราคาขายไว้เหมือนปัจจุบัน เรื่องนี้เกษตรกรทราบปัญหามาตลอด แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ จำเป็นต้องขายผ่านแพ เพราะจะซื้อขายกันเป็นเงินสด ขณะที่ขายตรงไปยังห้องเย็นเกือบสัปดาห์กว่าจะได้เงิน เกษตรกรจะมีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน รัฐบาลน่าจะทบทวนมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในช่วงผลผลิตล้นตลาด เพื่อประคองฐานะของเกษตรกรให้อยู่รอดตลอดไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ259.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 257.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ19.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.25บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.50 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15-19 กค. 2545 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 27 ประจำวันที่ 15-21 ก.ค.2545--
-สส-
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวด้านนโยบายประมงร่วมสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับรายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรปว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เตรียมที่จะปรับปรุงนโยบายการประมง (Common Fisheries Policy : CFP) ในส่วนของโควตาการจับปลาจากเดิมที่จะทำการกำหนดปริมาณแบบปีต่อปี เป็นวิธีการกำหนดแบบช่วงหลายปี ซึ่งจะมีการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบการวางแผนดำเนินการ และเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันสัตว์น้ำไม่ให้สูญพันธุ์ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปยังเสนอให้ยกเลิกการอุดหนุนช่วยเหลือการสร้างเรือจับปลาใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาการจับปลามากเกินไป โดยจะนำเงินอุดหนุนดังกล่าวไปใช้ในการดำเนินการปรับโครงสร้างภาคการประมง การสร้างงาน เพื่อเป็นทางเลือกกับชาวประมง ตลอดจนการจัดทำแผนปฏิบัติงานประมงแบบยั่งยืน โดยเฉพาะในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแทน
ส่วนกรณีการควบคุมรักษาแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอให้มีการจัดทำแผนในการจำกัดพื้นที่การจับปลาผิดกฎหมาย โดยทาง EU จะประสานไปยังประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ เรื่องขอความร่วมมือในการดำเนินการเพื่อเป็นการสนับสนุน ให้เกิดการประมงแบบยั่งยืนต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 15 กค.- 21 กค. 2545 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,507.50 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 624.32 ตัน สัตว์น้ำจืด 883.18 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.11 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.28 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.86 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 72.97 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 38.33 ตัน 2. สถานการณ์การตลาดธุรกิจแพกุ้งอินเตอร์เน็ต
นายพิรัชย์ วงศ์งามหิรัญ ผู้จัดการทั่วไป ว่องไวแพ เป็นธุรกิจรับซื้อกุ้งจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านราคาและการตลาดของกุ้งกุลาดำของ ภาคใต้ในขณะนี้ว่า ปัจจุบันการซื้อขายกุ้งกุลาดำของจังหวัดสงขลาและสตูลเริ่มมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากระบบซื้อขายดังกล่าวบันทึกข้อมูลไม่ทันต่อสถานการณ์ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไม่สามารถทราบราคาซื้อขายที่แท้จริงได้ ขณะนี้ห้องเย็นหลายแห่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสงขลาเริ่มทดลองใช้บ้างแล้ว ทำให้สะดวกรวดเร็วในการซื้อขาย
สิ่งที่เป็นปัญหาคือ การบิดเบือนราคาซื้อขายที่กำหนดในอินเตอร์เน็ต โดยกำหนดราคาไว้สูง เพื่อแย่งชิงวัตถุดิบกับห้องเย็นอื่น ๆ เมื่อธุรกิจแพหรือเกษตรกรนำกุ้งเข้าไปขายมักจะไม่ใช่ราคาที่ตกลงกันไว้จะถูกกดราคาต่ำลงไปมาก อ้างว่ามีการรับซื้อจากเกษตรกรรายอื่นเกินโควตาแล้ว หากจะขายก็ต้องเป็นราคาที่ห้องเย็นกำหนดเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่า ราคาประกาศในอินเตอร์เน็ตหรือการติดต่อผ่านโบรกเกอร์ของห้องเย็น อีกทั้งการขายผ่านอินเตอร์เน็ตยังถูกหักค่าบริการ 1-2% หากถูกกดราคาต่ำแล้วยังเสียค่าบริการอีกเกษตรกรคงจะขาดทุนแน่นอน เกษตรกรไม่มีทางเลือกหากบรรทุกสินค้าไปถึงห้องเย็นแล้วจำเป็นต้องขาย แม้ว่าราคาจะต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากเป็นสินค้าสดหากนำกลับมีปัญหาเรื่องเน่าเสีย รวมทั้งได้เสียค่าขนส่งไปแล้ว นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วเกษตรกรยังพบกับปัญหาโรคระบาด กุ้งเติบโตช้า และการกดราคาช่วงผลผลิตล้นตลาดอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยกำกับแทรกแซงราคากุ้งกุลาดำในช่วงผลผลิตล้นตลาด ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ประกันราคาซื้อขายกุ้งกุลาดำกันล่วงหน้าเช่นเดียวกับพืชเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันไม่ให้โบรกเกอร์ห้องเย็นกดราคาซื้อขายให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ประกาศราคาขายไว้เหมือนปัจจุบัน เรื่องนี้เกษตรกรทราบปัญหามาตลอด แต่ไม่สามารถทำอะไรได้ จำเป็นต้องขายผ่านแพ เพราะจะซื้อขายกันเป็นเงินสด ขณะที่ขายตรงไปยังห้องเย็นเกือบสัปดาห์กว่าจะได้เงิน เกษตรกรจะมีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน รัฐบาลน่าจะทบทวนมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในช่วงผลผลิตล้นตลาด เพื่อประคองฐานะของเกษตรกรให้อยู่รอดตลอดไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.78 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ259.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 257.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ19.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.25บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.50 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15-19 กค. 2545 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 27 ประจำวันที่ 15-21 ก.ค.2545--
-สส-