นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังการทำบุญครบรอบวันคล้ายวันเกิดที่วัดอมรินทราราม ถึงเรื่องการปฏิรูประบบราชการว่า การปฏิรูปนั้นจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น และทุกรัฐบาลก็เห็นด้วยในเรื่องนี้ แต่ช่วงหลังแนวโน้มได้เปลี่ยนไป ซึ่งแต่เดิมนั้นได้เน้นเรื่องประสิทธิภาพเป็นหลัก ให้กำลังคนลดลงแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อที่จะไม่เป็นภาระกับงบประมาณรายจ่ายของรัฐ ที่ทำมาแต่ก่อนเขาไม่ได้กำหนดให้เพิ่ม 20 กระทรวง เรื่องนี้ต้องถามรัฐบาลว่าเจตนารมณ์ในเรื่องการปฏิรูปตอนหลังเป็นไปในทิศทางใด
“ในเรื่องประสิทธิภาพนั้น ผมเข้าใจว่ามีการพูดถึงน้อยลง แต่ว่าไปพูดถึงเรื่อง 20 กระทรวงเป็นหลัก และก็ให้คำมั่นกับข้าราชการว่าไม่ให้ออก ซึ่งความจริงข้าราชการไทยนั้นเอาออกไม่ได้ สมมติเราอยากลดกำลังข้าราชการลงมาแล้วให้เขาออกนั้นไม่ได้ เว้นแต่เขาลาออกด้วยความสมัครใจ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะไปแลกเปลี่ยนอะไรได้ว่าจะไม่เอาข้าราชการออก” นายชวน กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลก็ต้องทบทวนดูเช่นกันว่าที่ทำไปนอกเหนือจาก 20 กระทรวงแล้ว อย่างอื่นได้อะไรหรือไม่ มันให้อะไรกับประชาชน มันได้อะไรกับการเปลี่ยนแปลงระบบราชการให้ดีขึ้น อย่าไปย้ำเรื่องปฏิรูป เพราะเรื่องปฏิรูปเรื่องพัฒนานั้นทุกฝ่ายก็ยอมรับว่าต้องทำ แต่ในการทำนั้นความมุ่งหมายเพื่อประสิทธิภาพหรือไม่ ก็ต้องดูให้ดี มิฉะนั้นต่อไปคนก็จะวิพากษ์วิจารณ์ในวันข้างหน้า
นายชวน กล่าวว่า การปฏิรูประบบราชการนั้น ไม่ใช่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มันมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยตามความเห็นและความจำเป็นของแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเราก็เคยตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นระยะมาโดยลำดับ เพราะฉะนั้นการปฏิรูปเป็นเรื่องจำเป็นในหลักการ แต่จำเป็นต้องมี 20 กระทรวงหรือไม่ตนก็ไม่แน่ใจ เพราะเท่าที่ตนเคยเป็นประธาน สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อยู่ในการพิจารณาเรื่องนี้ 3 ปี เรามุ่งเรื่องประสิทธิภาพและเราก็ค่อยๆทำ เช่นการให้ข้าราชการออกโดยสิ่งจูงใจ และสามารถทำได้สำเร็จโดยไม่มีข้าราชการเพิ่ม เดิมเขาคิดมานานแล้วเรื่องลดอัตราเพิ่มแต่ว่าทำไม่สำเร็จ เพราะเราปล่อยให้กระทรวง ทบวง กรมทำ และกระทรวงก็ไปเพิ่มคน อย่างที่เราเห็นบางกระทรวง เช่น กระทรวงกลาโหม บางกองทัพคนล้นร้อยละร้อย ก็เลยต้องมีระบบในการลดคน แต่ว่าส่วนใดที่จำเป็นต้องเพิ่ม เช่น สายการแพทย์ สายการศึกษา ความจำเป็นไม่พอ อย่างนี้ก็เพิ่มได้
นอกจากนี้นายชวน ยังกล่าวด้วยว่า ไม่จำเป็นต้องให้การปฏิรูประบบราชการเสร็จทันวันที่ 1 ตุลาคม เพราะการเสียเวลาออกไปสักไม่กี่วันแต่ทำให้กฎหมายมีความรอบคอบขึ้นน่าจะดีกว่า อย่าเอาเวลาเป็นเงื่อนสำคัญ ควรจะผูกพันด้วยการเงื่อนไขของการมีประสิทธิภาพ ถ้าไปกำหนดเวลาไว้แล้วกฎหมายไม่ดี ก็จะมีปัญหากระทบต่อประชาชนด้วย--จบ--
-สส-
“ในเรื่องประสิทธิภาพนั้น ผมเข้าใจว่ามีการพูดถึงน้อยลง แต่ว่าไปพูดถึงเรื่อง 20 กระทรวงเป็นหลัก และก็ให้คำมั่นกับข้าราชการว่าไม่ให้ออก ซึ่งความจริงข้าราชการไทยนั้นเอาออกไม่ได้ สมมติเราอยากลดกำลังข้าราชการลงมาแล้วให้เขาออกนั้นไม่ได้ เว้นแต่เขาลาออกด้วยความสมัครใจ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะไปแลกเปลี่ยนอะไรได้ว่าจะไม่เอาข้าราชการออก” นายชวน กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลก็ต้องทบทวนดูเช่นกันว่าที่ทำไปนอกเหนือจาก 20 กระทรวงแล้ว อย่างอื่นได้อะไรหรือไม่ มันให้อะไรกับประชาชน มันได้อะไรกับการเปลี่ยนแปลงระบบราชการให้ดีขึ้น อย่าไปย้ำเรื่องปฏิรูป เพราะเรื่องปฏิรูปเรื่องพัฒนานั้นทุกฝ่ายก็ยอมรับว่าต้องทำ แต่ในการทำนั้นความมุ่งหมายเพื่อประสิทธิภาพหรือไม่ ก็ต้องดูให้ดี มิฉะนั้นต่อไปคนก็จะวิพากษ์วิจารณ์ในวันข้างหน้า
นายชวน กล่าวว่า การปฏิรูประบบราชการนั้น ไม่ใช่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มันมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยตามความเห็นและความจำเป็นของแต่ละช่วงเวลา ซึ่งสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเราก็เคยตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นระยะมาโดยลำดับ เพราะฉะนั้นการปฏิรูปเป็นเรื่องจำเป็นในหลักการ แต่จำเป็นต้องมี 20 กระทรวงหรือไม่ตนก็ไม่แน่ใจ เพราะเท่าที่ตนเคยเป็นประธาน สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อยู่ในการพิจารณาเรื่องนี้ 3 ปี เรามุ่งเรื่องประสิทธิภาพและเราก็ค่อยๆทำ เช่นการให้ข้าราชการออกโดยสิ่งจูงใจ และสามารถทำได้สำเร็จโดยไม่มีข้าราชการเพิ่ม เดิมเขาคิดมานานแล้วเรื่องลดอัตราเพิ่มแต่ว่าทำไม่สำเร็จ เพราะเราปล่อยให้กระทรวง ทบวง กรมทำ และกระทรวงก็ไปเพิ่มคน อย่างที่เราเห็นบางกระทรวง เช่น กระทรวงกลาโหม บางกองทัพคนล้นร้อยละร้อย ก็เลยต้องมีระบบในการลดคน แต่ว่าส่วนใดที่จำเป็นต้องเพิ่ม เช่น สายการแพทย์ สายการศึกษา ความจำเป็นไม่พอ อย่างนี้ก็เพิ่มได้
นอกจากนี้นายชวน ยังกล่าวด้วยว่า ไม่จำเป็นต้องให้การปฏิรูประบบราชการเสร็จทันวันที่ 1 ตุลาคม เพราะการเสียเวลาออกไปสักไม่กี่วันแต่ทำให้กฎหมายมีความรอบคอบขึ้นน่าจะดีกว่า อย่าเอาเวลาเป็นเงื่อนสำคัญ ควรจะผูกพันด้วยการเงื่อนไขของการมีประสิทธิภาพ ถ้าไปกำหนดเวลาไว้แล้วกฎหมายไม่ดี ก็จะมีปัญหากระทบต่อประชาชนด้วย--จบ--
-สส-