แท็ก
ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมอาเซียน
ออสเตรเลีย
เวียดนาม
อินเดีย
กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) ที่บันดาร์ เสรี เบกาวัน บรูไน ดารุสซาลาม ถึงผลการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า เวียดนาม รัสเซีย อินเดีย และออสเตรเลียในวันเดียวกัน ดังนี้
1. การหารือกับอู วิน อ่อง (U Win Aung) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับ นายอู วิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 นั้น ภายหลังการรับประทานอาหารกลางวันระหว่างการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้มีโอกาสหารือกับนายอู วิน อ่อง ประมาณ 40 นาที ผลการหารือ ดังนี้
1.1 นายอู วิน อ่อง ได้เชิญ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ไปเยือนประเทศพม่า เพื่อหารือกับผู้นำของประเทศพม่าในเรื่องปัญหาความเข้าใจผิดบริเวณพรมแดนไทย-พม่า ซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ แจ้งว่า จะได้เรียนให้ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีทราบ
ทั้งนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ เห็นว่าการเยือนดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์หากสามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า นายอู วิน อ่อง ได้แจ้งให้ทราบว่าผู้นำพม่ามีความเห็น สอดคล้องกับฝ่ายไทยว่า ประเทศไทยกับประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกันกว่า 2,000 กิโลเมตร จึงควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยผู้นำพม่ามีความเชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรีมีความจริงใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า และฝ่ายพม่าเห็นว่าควรมองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วก็ขอให้ผ่านไป ควรมองไปข้างหน้ามากกว่า และพร้อมที่จะสร้างกลไกในการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ยังไม่ได้หารือกับ นายอู วิน อ่อง เรื่องการเปิดด่าน เนื่องจากการเปิดด่านเป็นเพียงผลของความเข้าใจผิดระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า เมื่อสาเหตุของความเข้าใจผิดหมดไป ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ จะคลี่คลายไปในทางที่ดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายอู วิน อ่องเห็นว่า สงครามด้านคำพูด (war of words) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าควรจะยุติโดยเร็ว และเชื่อว่าการที่ประชาชนชาวพม่าต่อต้านสินค้าไทยก็จะหมดไป นอกจากนี้ ฝ่ายพม่าได้เรียกนางมา ติน วินและอธิบดีกรมสารสนเทศของพม่ามาชี้แจงว่า การเขียนบทความจะต้องไม่พาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเป็นสถาบันที่ทั้งคนไทยเคารพสูงสุด ฝ่ายพม่าชี้แจงว่า ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในปัจจุบัน แต่กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต อย่างไรก็ตาม ดร. สุรเกียรติ์ฯ ยืนยันว่าการเขียนพาดพิงถึงสถาบันในอดีตฝ่ายไทยก็ถือว่าเป็นการจาบจ้วง สถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน
1.3 ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ กลไกในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าในระดับต่าง ๆ สะดุดหยุดลง คงเหลือแต่ช่องทางทางการทูตเพียงช่องทางเดียว จึงมีความเห็นว่า ประเทศไทยควรเสริมสร้างช่องทางความสัมพันธ์กับพม่า เพิ่มเติม อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการ สื่อมวลชน ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน
2. การหารือทวิภาคีกับนายเหงียน ซี เนียน (Mr. Nguyen Di Nien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม
2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่านายกรัฐมนตรีฝากขอบคุณนายกรัฐมนตรีเวียดนามที่มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามไปร่วมประชุมความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2545 และ แจ้งว่า หากฝ่ายเวียดนามสนใจที่จะเป็นหัวหน้าคณะทำงานคณะใดใน ACD ขอให้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ
2.2 ดร. สุรเกียรติ์ฯ แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีแผนที่จะพัฒนาเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค โดยขยายครอบคลุมฮานอยและดานัง โดยใช้หลักการของการแบ่งผลกำไร (profit sharing) โดยมีเป้าหมายคือการขยายจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น
2.3 ถนนสายที่ 9 เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดมุกดาหาร สะหวันนะเขต เว้และ ดานัง ซึ่งยังมีอุปสรรคเรื่องการผ่านแดนที่ด่านลาวบาวระหว่างลาวกับเวียดนาม ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายเวียดนามพิจารณาแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการผ่านแดนเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถผ่านแดนได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
2.4 ฝ่ายไทยเสนอให้จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสะหวันนะเขตและจังหวัด กวางตรีซึ่งอยู่บนเส้นทางหมายเลข 9 จัดทำความตกลงเมืองแฝด 3 เมืองและขอให้ฝ่ายเวียดนามสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของไทยเพื่อให้มีความร่วมมือในระดับจังหวัดและจะเป็นประตูของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จะส่งสินค้าออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
3. การหารือทวิภาคีกับนายอิกอร์ อิวานอฟ (Mr. Igor Ivanov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแจ้งว่าฝ่ายรัสเซียประสงค์ที่จะเชิญนายกรัฐมนตรีเยือนประเทศรัสเซียอย่างเป็นทางการ ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมของการเยือนดังกล่าว ซึ่งฝ่ายรัสเซียขอปรึกษานายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียก่อน ในการนี้ ฝ่ายรัสเซียประสงค์ที่จะเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปเยือน รัสเซียเพื่อปูทางสำหรับการเยือนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในชั้นนี้ กำหนดการเยือนระหว่างวันที่ 1 — 2 ตุลาคม 2545 โดยมีประเด็นของการหารือระหว่างการเยือน ดังนี้
3.1 เรื่องการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าจะเป็นช่องทางในการเพิ่มพูนทางการค้าระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนี้ รัสเซียยังเป็นหนี้ค่าข้าวประเทศไทย การค้าแบบหักบัญชีจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งฝ่ายรัสเซียให้ความสนใจและจะส่งผู้แทนมาหารือกับธนาคารเพื่อการส่งออกของไทย (Eximbank)
3.2 ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายรัสเซียใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (hub) ของการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่ไทยกำลังจะมีความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area — FTA) ได้แก่ อินเดีย ออสเตรเลีย จีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้ ฝ่ายรัสเซียเห็นว่าฝ่ายไทยควรมองรัสเซียเป็นประตู (gateway) ไปยังประเทศ CIS ที่เกิดใหม่
3.3 นอกจากนี้ ยังมีความตกลงต่าง ๆ อีกหลายฉบับระหว่างไทยกับรัสเซียที่ยังค้างคากันอยู่ อาทิ ความตกลงด้านกฎหมายและต่อต้านยาเสพติดก็จะเร่งรัดให้สามารถลงนามกันได้เมื่อนายกรัฐมนตรีไปเยือนรัสเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญประธานาธิบดีปูติน ของรัสเซียเยือนประเทศไทยด้วย เนื่องจากในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับรัสเซียนับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประธานาธิบดีรัสเซียยังไม่เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยเลย
4. การหารือทวิภาคีกับนายยัสวันต์ สิงหะ (Mr. Yashwant Singha) รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย
4.1 ในระหว่างการประชุม ACD นายยัสวันต์ สิงหะ ได้เข้าร่วมประชุมฯ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะนี้ นายยัสวันต์ สิงหะ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ขอให้ฝ่ายอินเดียแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบว่า สนใจที่จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดใดของ ACD ซึ่งอินเดียแจ้งว่าสนใจในเรื่องเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร และการเงินการคลัง
4.2 เรื่องการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) ฝ่ายไทยได้ส่งตัวอย่างความตกลงระหว่างไทยกับเวียดนามเรื่องข้าวให้ฝ่ายอินเดียพิจารณาเป็นตัวอย่างแล้วและคาดว่าจะสามารถลงนามระหว่างกันได้ในโอกาสต่อไป
4.3 ฝ่ายอินเดียได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อินเดีย ที่อินเดียในเดือนพฤศจิกายน 2545 เพื่อติดตามความ คืบหน้าในประเด็นต่าง ๆ
4.4 ฝ่ายไทยขอเชิญนายกรัฐมนตรีอินเดียมาเยือนประเทศไทย นอกจากนี้ นายปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอเชิญรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอินเดียมาเยือนไทยเพื่อหารือเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับอินเดีย
5. การหารือทวิภาคีกับนาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย
5.1 ออสเตรเลียแสดงความพอใจเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่ง (Closer Economic Relations) หรือความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลียที่คืบหน้าไปมาก ซึ่งสาขาการค้าในกลุ่มแรกจะสามารถตกลงกันได้ภายใน 3 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้หารือกันระหว่างการเยือนออสเตรเลียของนายกรัฐมนตรีของไทย
5.2 เรื่องการตรวจลงตรา Working Holiday Visa ซึ่งฝ่ายไทยแสดงความ สนใจและขอให้ฝ่ายออสเตรเลียพิจารณาเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาไทยสามารถท่องเที่ยวและทำงานไปด้วยในออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี เดิมทีออสเตรเลียจะทำความตกลงดังกล่าวเฉพาะกับประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่ยังไม่มีความตกลงกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียตอบตกลงตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ และโครงการ Working Holiday Visa ระหว่างออสเตรเลียกับไทยจะสามารถเริ่มได้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545
5.3 บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับออสเตรเลียเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายจะสามารถลงนามระหว่างกันได้ในเดือนตุลาคม 2545
5.4 ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นายจอห์น เฮาเวิร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้แสดงความสนใจและพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศไทยในโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติดในประเทศพม่าโดยผ่านมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ฝ่ายออสเตรเลียขอให้ไทยส่งแผนการทำงานทั้งหมดให้กับ Austaid นอกจากนี้ ออสเตรเลียจะร่วมกับไทยในการชักชวนประเทศอื่น ๆ อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วย
5.5 ฝ่ายออสเตรเลียได้แสดงความสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกการประชุม ACD ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่าไม่มีข้อขัดข้องแต่ประการใด แต่การประชุม ACD เป็นของประเทศสมาชิก 17 ประเทศ การเชิญประเทศใดเป็นสมาชิกเพิ่มเติมจะต้องสร้างกลไกในการหารือระหว่าง 17 ประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) ที่บันดาร์ เสรี เบกาวัน บรูไน ดารุสซาลาม ถึงผลการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า เวียดนาม รัสเซีย อินเดีย และออสเตรเลียในวันเดียวกัน ดังนี้
1. การหารือกับอู วิน อ่อง (U Win Aung) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับ นายอู วิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 นั้น ภายหลังการรับประทานอาหารกลางวันระหว่างการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้มีโอกาสหารือกับนายอู วิน อ่อง ประมาณ 40 นาที ผลการหารือ ดังนี้
1.1 นายอู วิน อ่อง ได้เชิญ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ไปเยือนประเทศพม่า เพื่อหารือกับผู้นำของประเทศพม่าในเรื่องปัญหาความเข้าใจผิดบริเวณพรมแดนไทย-พม่า ซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ แจ้งว่า จะได้เรียนให้ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีทราบ
ทั้งนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ เห็นว่าการเยือนดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์หากสามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังกล่าวด้วยว่า นายอู วิน อ่อง ได้แจ้งให้ทราบว่าผู้นำพม่ามีความเห็น สอดคล้องกับฝ่ายไทยว่า ประเทศไทยกับประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกันกว่า 2,000 กิโลเมตร จึงควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยผู้นำพม่ามีความเชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรีมีความจริงใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า และฝ่ายพม่าเห็นว่าควรมองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วก็ขอให้ผ่านไป ควรมองไปข้างหน้ามากกว่า และพร้อมที่จะสร้างกลไกในการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ยังไม่ได้หารือกับ นายอู วิน อ่อง เรื่องการเปิดด่าน เนื่องจากการเปิดด่านเป็นเพียงผลของความเข้าใจผิดระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า เมื่อสาเหตุของความเข้าใจผิดหมดไป ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ จะคลี่คลายไปในทางที่ดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายอู วิน อ่องเห็นว่า สงครามด้านคำพูด (war of words) ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าควรจะยุติโดยเร็ว และเชื่อว่าการที่ประชาชนชาวพม่าต่อต้านสินค้าไทยก็จะหมดไป นอกจากนี้ ฝ่ายพม่าได้เรียกนางมา ติน วินและอธิบดีกรมสารสนเทศของพม่ามาชี้แจงว่า การเขียนบทความจะต้องไม่พาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเป็นสถาบันที่ทั้งคนไทยเคารพสูงสุด ฝ่ายพม่าชี้แจงว่า ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในปัจจุบัน แต่กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต อย่างไรก็ตาม ดร. สุรเกียรติ์ฯ ยืนยันว่าการเขียนพาดพิงถึงสถาบันในอดีตฝ่ายไทยก็ถือว่าเป็นการจาบจ้วง สถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน
1.3 ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ กลไกในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าในระดับต่าง ๆ สะดุดหยุดลง คงเหลือแต่ช่องทางทางการทูตเพียงช่องทางเดียว จึงมีความเห็นว่า ประเทศไทยควรเสริมสร้างช่องทางความสัมพันธ์กับพม่า เพิ่มเติม อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการ สื่อมวลชน ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน
2. การหารือทวิภาคีกับนายเหงียน ซี เนียน (Mr. Nguyen Di Nien) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม
2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่านายกรัฐมนตรีฝากขอบคุณนายกรัฐมนตรีเวียดนามที่มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามไปร่วมประชุมความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2545 และ แจ้งว่า หากฝ่ายเวียดนามสนใจที่จะเป็นหัวหน้าคณะทำงานคณะใดใน ACD ขอให้แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ
2.2 ดร. สุรเกียรติ์ฯ แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีแผนที่จะพัฒนาเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค โดยขยายครอบคลุมฮานอยและดานัง โดยใช้หลักการของการแบ่งผลกำไร (profit sharing) โดยมีเป้าหมายคือการขยายจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น
2.3 ถนนสายที่ 9 เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดมุกดาหาร สะหวันนะเขต เว้และ ดานัง ซึ่งยังมีอุปสรรคเรื่องการผ่านแดนที่ด่านลาวบาวระหว่างลาวกับเวียดนาม ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายเวียดนามพิจารณาแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการผ่านแดนเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถผ่านแดนได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
2.4 ฝ่ายไทยเสนอให้จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสะหวันนะเขตและจังหวัด กวางตรีซึ่งอยู่บนเส้นทางหมายเลข 9 จัดทำความตกลงเมืองแฝด 3 เมืองและขอให้ฝ่ายเวียดนามสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของไทยเพื่อให้มีความร่วมมือในระดับจังหวัดและจะเป็นประตูของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จะส่งสินค้าออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
3. การหารือทวิภาคีกับนายอิกอร์ อิวานอฟ (Mr. Igor Ivanov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแจ้งว่าฝ่ายรัสเซียประสงค์ที่จะเชิญนายกรัฐมนตรีเยือนประเทศรัสเซียอย่างเป็นทางการ ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมของการเยือนดังกล่าว ซึ่งฝ่ายรัสเซียขอปรึกษานายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียก่อน ในการนี้ ฝ่ายรัสเซียประสงค์ที่จะเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปเยือน รัสเซียเพื่อปูทางสำหรับการเยือนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในชั้นนี้ กำหนดการเยือนระหว่างวันที่ 1 — 2 ตุลาคม 2545 โดยมีประเด็นของการหารือระหว่างการเยือน ดังนี้
3.1 เรื่องการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าจะเป็นช่องทางในการเพิ่มพูนทางการค้าระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนี้ รัสเซียยังเป็นหนี้ค่าข้าวประเทศไทย การค้าแบบหักบัญชีจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งฝ่ายรัสเซียให้ความสนใจและจะส่งผู้แทนมาหารือกับธนาคารเพื่อการส่งออกของไทย (Eximbank)
3.2 ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายรัสเซียใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (hub) ของการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่ไทยกำลังจะมีความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area — FTA) ได้แก่ อินเดีย ออสเตรเลีย จีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้ ฝ่ายรัสเซียเห็นว่าฝ่ายไทยควรมองรัสเซียเป็นประตู (gateway) ไปยังประเทศ CIS ที่เกิดใหม่
3.3 นอกจากนี้ ยังมีความตกลงต่าง ๆ อีกหลายฉบับระหว่างไทยกับรัสเซียที่ยังค้างคากันอยู่ อาทิ ความตกลงด้านกฎหมายและต่อต้านยาเสพติดก็จะเร่งรัดให้สามารถลงนามกันได้เมื่อนายกรัฐมนตรีไปเยือนรัสเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญประธานาธิบดีปูติน ของรัสเซียเยือนประเทศไทยด้วย เนื่องจากในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับรัสเซียนับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประธานาธิบดีรัสเซียยังไม่เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยเลย
4. การหารือทวิภาคีกับนายยัสวันต์ สิงหะ (Mr. Yashwant Singha) รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย
4.1 ในระหว่างการประชุม ACD นายยัสวันต์ สิงหะ ได้เข้าร่วมประชุมฯ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะนี้ นายยัสวันต์ สิงหะ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทยได้ขอให้ฝ่ายอินเดียแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบว่า สนใจที่จะเป็นประธานคณะกรรมการชุดใดของ ACD ซึ่งอินเดียแจ้งว่าสนใจในเรื่องเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร และการเงินการคลัง
4.2 เรื่องการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) ฝ่ายไทยได้ส่งตัวอย่างความตกลงระหว่างไทยกับเวียดนามเรื่องข้าวให้ฝ่ายอินเดียพิจารณาเป็นตัวอย่างแล้วและคาดว่าจะสามารถลงนามระหว่างกันได้ในโอกาสต่อไป
4.3 ฝ่ายอินเดียได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อินเดีย ที่อินเดียในเดือนพฤศจิกายน 2545 เพื่อติดตามความ คืบหน้าในประเด็นต่าง ๆ
4.4 ฝ่ายไทยขอเชิญนายกรัฐมนตรีอินเดียมาเยือนประเทศไทย นอกจากนี้ นายปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอเชิญรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอินเดียมาเยือนไทยเพื่อหารือเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับอินเดีย
5. การหารือทวิภาคีกับนาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย
5.1 ออสเตรเลียแสดงความพอใจเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่ง (Closer Economic Relations) หรือความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับออสเตรเลียที่คืบหน้าไปมาก ซึ่งสาขาการค้าในกลุ่มแรกจะสามารถตกลงกันได้ภายใน 3 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้หารือกันระหว่างการเยือนออสเตรเลียของนายกรัฐมนตรีของไทย
5.2 เรื่องการตรวจลงตรา Working Holiday Visa ซึ่งฝ่ายไทยแสดงความ สนใจและขอให้ฝ่ายออสเตรเลียพิจารณาเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาไทยสามารถท่องเที่ยวและทำงานไปด้วยในออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี เดิมทีออสเตรเลียจะทำความตกลงดังกล่าวเฉพาะกับประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่ยังไม่มีความตกลงกับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียตอบตกลงตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ และโครงการ Working Holiday Visa ระหว่างออสเตรเลียกับไทยจะสามารถเริ่มได้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545
5.3 บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับออสเตรเลียเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายจะสามารถลงนามระหว่างกันได้ในเดือนตุลาคม 2545
5.4 ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นายจอห์น เฮาเวิร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้แสดงความสนใจและพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศไทยในโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติดในประเทศพม่าโดยผ่านมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ฝ่ายออสเตรเลียขอให้ไทยส่งแผนการทำงานทั้งหมดให้กับ Austaid นอกจากนี้ ออสเตรเลียจะร่วมกับไทยในการชักชวนประเทศอื่น ๆ อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วย
5.5 ฝ่ายออสเตรเลียได้แสดงความสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกการประชุม ACD ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่าไม่มีข้อขัดข้องแต่ประการใด แต่การประชุม ACD เป็นของประเทศสมาชิก 17 ประเทศ การเชิญประเทศใดเป็นสมาชิกเพิ่มเติมจะต้องสร้างกลไกในการหารือระหว่าง 17 ประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-