ข้อมูลพื้นฐานของประเทศอินเดีย
อินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 1,027 ล้านคน โดยประชากรร้อยละ 50 ของอินเดียมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและมีกำลังซื้อสูง
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอินเดียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี โครงสร้างการผลิตของอินเดียนั้น เป็นการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เกษตร และบริการ ร้อยละ 25.9 26.2 และ 47.9 ของ GDP ตามลำดับ โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญที่ทำการผลิต ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาลทราย ปุ๋ย เครื่องใช้ไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ
สินค้าส่งออกของอินเดียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุด ส่วนสินค้านำเข้าเป็นสินค้าประเภทน้ำมันดิบและน้ำมันหล่อลื่นมากที่สุด รองลงมาเป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่ เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้า อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า อุปกรณ์การขนส่ง และปุ๋ย ฯลฯ
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดีย
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งอาศัยการผลิตแบบดั้งเดิม มีผลผลิตต่ำและใช้แรงงานฝีมือจากคนเป็นหลัก ก่อนจะก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเครือข่ายทางการตลาดอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก มีแรงงานประมาณ 3.5 ล้านคน และใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีทันสมัยในการผลิต
อุตสาหรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกรวม และมีอัตราการขยายตัวในการส่งออกสูงมาก โดยตลาดส่งออกหลักของอินเดีย คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เบลเยี่ยม สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ญี่ปุ่น อิสราเอล และไทย
อุตสาหกรรมเจียระไนเพชร
เพชรที่เจียระไนในอินเดียส่วนใหญ่เป็นเพชรที่ผลิตขึ้นเพื่อการส่งออกและเป็นเพชรขนาดเล็ก อินเดียถูกจัดให้เป็นผู้ส่งออกเพชรเจียระไนแล้วรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นศูนย์กลางการเจียระไนเพชรขนาดเล็กที่สำคัญที่สุดในโลก
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเจียระไนเพชรของอินเดียกำลังอยู่ในระหว่างการก้าวจากการผลิตเพชรขนาดเล็กไปสู่การเจียระไนเพชรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น คุณภาพสูงขึ้น มีรูปแบบการเจียระไนและสีสันที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งมูลค่าการค้าเพชรโลกให้สูงขึ้น
มูลค่าการส่งออกเพชรที่เจียระไนแล้วของอินเดียมีสัดส่วนสูงถึงกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม โดยตลาดส่งออกเพชรเจียระไนแล้วที่สำคัญของอินเดีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น อิสราเอล และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ สำหรับแหล่งนำเข้าเพชรดิบที่สำคัญของอินเดีย คือ เบลเยี่ยม และสหราชอาณาจักร ฯลฯ
อุตสาหกรรมเจียระไนพลอยสี
อินเดียเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าพลอยสีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก พลอยสีของอินเดียส่วนใหญ่มักมีราคาค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง มีขนาดและรูปแบบการเจียระไนที่หลากหลาย โดยพลอยสีที่สำคัญของอินเดียได้แก่ มรกต และแทนซาไนท์ ปัจจุบันอินเดียได้ปรับปรุงการเจียระไนพลอยสีให้มีความหลากหลายทั้งในด้านประเภทและคุณภาพ ทั้งยังได้นำพลอยสีที่ผ่านการเจียระไนแล้วไปเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นโดยการนำไปประกอบตัวเรือนซึ่งทำจากโลหะมีค่าเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย
มูลค่าการส่งออกพลอยสีของอินเดียทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อน คิดเป็นร้อยละ 3 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม โดยตลาดพลอยสีที่สำคัญของอินเดีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี ฯลฯ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับของอินเดียได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นมาก มาตรฐานสินค้าและการผลิตเครื่องประดับของอินเดียได้รับการยอมรับในระดับสากล เนื่องจากอินเดียได้ฝึกอบรมกระบวนการออกแบบ และกระบวนการผลิตที่ทันสมัยให้แก่แรงงาน ประกอบกับการนำเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรอันทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม จึงส่งผลให้เครื่องประดับของอินเดียมีรูปแบบที่ทันสมัย และสามารถผลิตได้ปริมาณมากขึ้น นอกจากนี้ค่าแรงงานฝีมือของอินเดียยังค่อนข้างต่ำ เครื่องประดับของอินเดียจึงมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำมาก
เครื่องประดับส่วนใหญ่ที่อินเดียส่งออก เป็นเครื่องประดับทองคำ มีมูลค่าการส่งออกร้อยละ 13 - 14 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม โดยตลาดส่งออกเครื่องประดับที่สำคัญของดินเดีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ฮ่องกง เยอรมัน ฯลฯ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดีย
1.โครงสร้างพื้นฐาน
คนของอินเดียมีประสบการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ มีความรู้พื้นฐานทางอัญมณีศาสตร์และภาษาอังกฤษ ตลอดจนเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรอันทันสมัย
2. บุคลากรในอุตสาหกรรมแรงงานของอินเดียมีฝีมือ ทักษะ และความชำนาญสูง
3. สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียมีราคาอยู่ในระดับแข่งขันได้
สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีราคาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากค่าแรงในอินเดียต่ำมาก
4. เครือข่ายทางการค้า
อินเดียมีเครือข่ายทางการค้าอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วโลก นักธุรกิจอินเดียที่เข้าไปดำเนินธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ทั่วโลกต่างมีส่วนช่วยให้อินเดียเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบได้ง่าย มีอำนาจในการเจรจาต่อรองทางการค้า อีกทั้งยังเกื้อกูลกันทั้งด้านการเงิน การค้า อีกด้วย
5. ความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านอัญมณีและเครื่องประดับ
อินเดียมีองค์กรที่รับผิดชอบในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีสมาพันธ์ส่งเสริมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ
6. การศึกษาและฝึกอบรมด้านอัญมณีศาสตร์
อินเดียให้ความสำคัญกับการศึกษาและการฝึกอบรมด้านอัญมณีศาสตร์และการตลาดเป็นอย่างยิ่ง
7. งานแสดงสินค้าและเครื่องประดับนานาชาติ
อินเดียให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมออกร้านและจัดการแสดงแฟชั่นโชว์เครื่องประดับในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนานาชาติ
8. การส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ
ภาครัฐสนับสนุนด้านการจัดตั้ง Export Processing Zones และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
อินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 1,027 ล้านคน โดยประชากรร้อยละ 50 ของอินเดียมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและมีกำลังซื้อสูง
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอินเดียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี โครงสร้างการผลิตของอินเดียนั้น เป็นการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เกษตร และบริการ ร้อยละ 25.9 26.2 และ 47.9 ของ GDP ตามลำดับ โดยสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญที่ทำการผลิต ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาลทราย ปุ๋ย เครื่องใช้ไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ ฯลฯ
สินค้าส่งออกของอินเดียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุด ส่วนสินค้านำเข้าเป็นสินค้าประเภทน้ำมันดิบและน้ำมันหล่อลื่นมากที่สุด รองลงมาเป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่ เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้า อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า อุปกรณ์การขนส่ง และปุ๋ย ฯลฯ
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดีย
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งอาศัยการผลิตแบบดั้งเดิม มีผลผลิตต่ำและใช้แรงงานฝีมือจากคนเป็นหลัก ก่อนจะก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเครือข่ายทางการตลาดอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก มีแรงงานประมาณ 3.5 ล้านคน และใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีทันสมัยในการผลิต
อุตสาหรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีมูลค่าการส่งออกประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกรวม และมีอัตราการขยายตัวในการส่งออกสูงมาก โดยตลาดส่งออกหลักของอินเดีย คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เบลเยี่ยม สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ญี่ปุ่น อิสราเอล และไทย
อุตสาหกรรมเจียระไนเพชร
เพชรที่เจียระไนในอินเดียส่วนใหญ่เป็นเพชรที่ผลิตขึ้นเพื่อการส่งออกและเป็นเพชรขนาดเล็ก อินเดียถูกจัดให้เป็นผู้ส่งออกเพชรเจียระไนแล้วรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นศูนย์กลางการเจียระไนเพชรขนาดเล็กที่สำคัญที่สุดในโลก
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเจียระไนเพชรของอินเดียกำลังอยู่ในระหว่างการก้าวจากการผลิตเพชรขนาดเล็กไปสู่การเจียระไนเพชรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น คุณภาพสูงขึ้น มีรูปแบบการเจียระไนและสีสันที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งมูลค่าการค้าเพชรโลกให้สูงขึ้น
มูลค่าการส่งออกเพชรที่เจียระไนแล้วของอินเดียมีสัดส่วนสูงถึงกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม โดยตลาดส่งออกเพชรเจียระไนแล้วที่สำคัญของอินเดีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น อิสราเอล และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ สำหรับแหล่งนำเข้าเพชรดิบที่สำคัญของอินเดีย คือ เบลเยี่ยม และสหราชอาณาจักร ฯลฯ
อุตสาหกรรมเจียระไนพลอยสี
อินเดียเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและการค้าพลอยสีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก พลอยสีของอินเดียส่วนใหญ่มักมีราคาค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง มีขนาดและรูปแบบการเจียระไนที่หลากหลาย โดยพลอยสีที่สำคัญของอินเดียได้แก่ มรกต และแทนซาไนท์ ปัจจุบันอินเดียได้ปรับปรุงการเจียระไนพลอยสีให้มีความหลากหลายทั้งในด้านประเภทและคุณภาพ ทั้งยังได้นำพลอยสีที่ผ่านการเจียระไนแล้วไปเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นโดยการนำไปประกอบตัวเรือนซึ่งทำจากโลหะมีค่าเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย
มูลค่าการส่งออกพลอยสีของอินเดียทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อน คิดเป็นร้อยละ 3 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม โดยตลาดพลอยสีที่สำคัญของอินเดีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี ฯลฯ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับของอินเดียได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นมาก มาตรฐานสินค้าและการผลิตเครื่องประดับของอินเดียได้รับการยอมรับในระดับสากล เนื่องจากอินเดียได้ฝึกอบรมกระบวนการออกแบบ และกระบวนการผลิตที่ทันสมัยให้แก่แรงงาน ประกอบกับการนำเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรอันทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม จึงส่งผลให้เครื่องประดับของอินเดียมีรูปแบบที่ทันสมัย และสามารถผลิตได้ปริมาณมากขึ้น นอกจากนี้ค่าแรงงานฝีมือของอินเดียยังค่อนข้างต่ำ เครื่องประดับของอินเดียจึงมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำมาก
เครื่องประดับส่วนใหญ่ที่อินเดียส่งออก เป็นเครื่องประดับทองคำ มีมูลค่าการส่งออกร้อยละ 13 - 14 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวม โดยตลาดส่งออกเครื่องประดับที่สำคัญของดินเดีย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ฮ่องกง เยอรมัน ฯลฯ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดีย
1.โครงสร้างพื้นฐาน
คนของอินเดียมีประสบการณ์ทางการค้าระหว่างประเทศ มีความรู้พื้นฐานทางอัญมณีศาสตร์และภาษาอังกฤษ ตลอดจนเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรอันทันสมัย
2. บุคลากรในอุตสาหกรรมแรงงานของอินเดียมีฝีมือ ทักษะ และความชำนาญสูง
3. สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียมีราคาอยู่ในระดับแข่งขันได้
สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียมีราคาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากค่าแรงในอินเดียต่ำมาก
4. เครือข่ายทางการค้า
อินเดียมีเครือข่ายทางการค้าอยู่ตามเมืองใหญ่ทั่วโลก นักธุรกิจอินเดียที่เข้าไปดำเนินธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ทั่วโลกต่างมีส่วนช่วยให้อินเดียเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบได้ง่าย มีอำนาจในการเจรจาต่อรองทางการค้า อีกทั้งยังเกื้อกูลกันทั้งด้านการเงิน การค้า อีกด้วย
5. ความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านอัญมณีและเครื่องประดับ
อินเดียมีองค์กรที่รับผิดชอบในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีสมาพันธ์ส่งเสริมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ
6. การศึกษาและฝึกอบรมด้านอัญมณีศาสตร์
อินเดียให้ความสำคัญกับการศึกษาและการฝึกอบรมด้านอัญมณีศาสตร์และการตลาดเป็นอย่างยิ่ง
7. งานแสดงสินค้าและเครื่องประดับนานาชาติ
อินเดียให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมออกร้านและจัดการแสดงแฟชั่นโชว์เครื่องประดับในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับนานาชาติ
8. การส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ
ภาครัฐสนับสนุนด้านการจัดตั้ง Export Processing Zones และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--