แท็ก
สหภาพยุโรป
คุณถาม : ประเทศใดบ้างที่ยื่นใบสมัครขอเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union: EU)
EXIM ตอบ : ปัจจุบันมีประเทศที่ยื่นใบสมัครขอเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU รวมทั้งสิ้น 13 ประเทศ ซึ่งยังไม่สามารถ
สรุปได้แน่ชัดว่าประเทศใดจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU ได้ในช่วงเวลาใด เนื่องจากประเทศดังกล่าว
ต้องผ่านเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆ ที่กลุ่ม EU กำหนดไว้ โดยสโลวีเนียเป็นประเทศที่มีความคืบหน้า
ในการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังการเลือกตั้งคณะ
กรรมาธิการสหภาพยุโรป (European Parliament Elections) ในเดือนมิถุนายน 2547 จะมีการรับ
สมาชิกใหม่กลุ่มแรก ส่วนที่เหลือคาดว่าจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU ได้ภายในปี 2550
กลุ่มประเทศที่ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU ทั้ง 13 ประเทศ ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยาก
จนเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกเดิมของกลุ่ม EU โดยมีประชากรรวมกันราวร้อยละ 45 ของประชากรรวม
ทั้งสิ้นของกลุ่ม EU แต่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)
เพียงร้อยละ 7 ของ GDP รวมของกลุ่ม EU เท่านั้น ประเทศที่มีรายได้ต่อหัว (GDP Per Capita)
สูงสุด คือ ไซปรัส แต่ยังต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในกลุ่ม EU เดิมกว่า 4,000 ยูโร
อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนการค้ากับกลุ่ม EU ค่อนข้างสูง (ถึงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการค้า
ทั้งหมด) โดยมีดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
ดูตารางได้จาก web www.exim.go.th ใน Exim News ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฏาคม 2545
หมายเหตุ: n.a. = not available ข้อมูลปี 200 ที่มา: Europa
คุณถาม : GHP คืออะไร
EXIM ตอบ : GHP (Good Hygiene Practices) หรือหลักเกณฑ์ว่าด้วยสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เป็นหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration:
USFDA) จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการควบคุมการผลิตสินค้าประเภทอาหาร ยา เครื่องสำอาง
และเวชภัณฑ์ต่างๆ
หลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดของ GHP ในการควบคุมคุณภาพสินค้าต่างๆ ดังกล่าว ครอบคลุมตั้งแต่สุขอนามัยของ
สถานที่ผลิตวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งต้องสะอาดเพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนในสินค้า นอกจากนี้ยังควบคุมสุขอนามัย
ในทุกขั้นตอนการผลิต การบำรุงรักษาสถานที่ผลิต และการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค หลักเกณฑ์
GHP มีความคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices)
หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตซึ่งเป็นมาตรฐานหนึ่งที่ USFDA กำหนดขึ้นเพื่อใช้ควบคุมการผลิตสินค้าประเภท
เดียวกับ GHP เพื่อให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดใน GHP มีความเข้มงวดน้อยกว่าเกณฑ์ของ GMP โดยผ่อนปรนในเรื่องการบริหารการผลิต
การจัดเก็บเอกสาร รายงานการตรวจสอบคุณภาพสินค้า เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่สามารถ
พัฒนากระบวนการผลิตให้ถึงระดับ GMP ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร
สำหรับประเทศไทย การผลิตตามมาตรฐาน GHP เป็นไป โดยความสมัครใจและยังไม่มีการประกาศใช้เป็นกฎหมาย
แต่อย่างใด
แม้ว่าการผลิตสินค้าตามหลักเกณฑ์ GHP จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ที่ใช้สินค้าดังกล่าวได้ในระดับหนึ่งว่าเป็นสินค้าที่
ผ่านกระบวนการผลิตที่ทำให้สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการผลิตสินค้า
ให้ตรงตามหลักเกณฑ์สากลที่มีมาตรฐานสูงขึ้น เช่น GMP ทั้งนี้เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้สินค้าของตนสามารถยืนหยัด
และแข่งขันได้ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศคู่ค้ามักหยิบยกประเด็นมาตรฐานสินค้าเข้ามาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่าง
ประเทศมากขึ้นทุกขณะ
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน
--Exim News ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฏาคม 2545--
-ศน-
EXIM ตอบ : ปัจจุบันมีประเทศที่ยื่นใบสมัครขอเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU รวมทั้งสิ้น 13 ประเทศ ซึ่งยังไม่สามารถ
สรุปได้แน่ชัดว่าประเทศใดจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU ได้ในช่วงเวลาใด เนื่องจากประเทศดังกล่าว
ต้องผ่านเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆ ที่กลุ่ม EU กำหนดไว้ โดยสโลวีเนียเป็นประเทศที่มีความคืบหน้า
ในการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังการเลือกตั้งคณะ
กรรมาธิการสหภาพยุโรป (European Parliament Elections) ในเดือนมิถุนายน 2547 จะมีการรับ
สมาชิกใหม่กลุ่มแรก ส่วนที่เหลือคาดว่าจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU ได้ภายในปี 2550
กลุ่มประเทศที่ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม EU ทั้ง 13 ประเทศ ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยาก
จนเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกเดิมของกลุ่ม EU โดยมีประชากรรวมกันราวร้อยละ 45 ของประชากรรวม
ทั้งสิ้นของกลุ่ม EU แต่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)
เพียงร้อยละ 7 ของ GDP รวมของกลุ่ม EU เท่านั้น ประเทศที่มีรายได้ต่อหัว (GDP Per Capita)
สูงสุด คือ ไซปรัส แต่ยังต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในกลุ่ม EU เดิมกว่า 4,000 ยูโร
อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนการค้ากับกลุ่ม EU ค่อนข้างสูง (ถึงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการค้า
ทั้งหมด) โดยมีดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
ดูตารางได้จาก web www.exim.go.th ใน Exim News ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฏาคม 2545
หมายเหตุ: n.a. = not available ข้อมูลปี 200 ที่มา: Europa
คุณถาม : GHP คืออะไร
EXIM ตอบ : GHP (Good Hygiene Practices) หรือหลักเกณฑ์ว่าด้วยสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เป็นหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration:
USFDA) จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการควบคุมการผลิตสินค้าประเภทอาหาร ยา เครื่องสำอาง
และเวชภัณฑ์ต่างๆ
หลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดของ GHP ในการควบคุมคุณภาพสินค้าต่างๆ ดังกล่าว ครอบคลุมตั้งแต่สุขอนามัยของ
สถานที่ผลิตวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งต้องสะอาดเพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนในสินค้า นอกจากนี้ยังควบคุมสุขอนามัย
ในทุกขั้นตอนการผลิต การบำรุงรักษาสถานที่ผลิต และการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค หลักเกณฑ์
GHP มีความคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices)
หรือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตซึ่งเป็นมาตรฐานหนึ่งที่ USFDA กำหนดขึ้นเพื่อใช้ควบคุมการผลิตสินค้าประเภท
เดียวกับ GHP เพื่อให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดใน GHP มีความเข้มงวดน้อยกว่าเกณฑ์ของ GMP โดยผ่อนปรนในเรื่องการบริหารการผลิต
การจัดเก็บเอกสาร รายงานการตรวจสอบคุณภาพสินค้า เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่สามารถ
พัฒนากระบวนการผลิตให้ถึงระดับ GMP ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร
สำหรับประเทศไทย การผลิตตามมาตรฐาน GHP เป็นไป โดยความสมัครใจและยังไม่มีการประกาศใช้เป็นกฎหมาย
แต่อย่างใด
แม้ว่าการผลิตสินค้าตามหลักเกณฑ์ GHP จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ผู้ที่ใช้สินค้าดังกล่าวได้ในระดับหนึ่งว่าเป็นสินค้าที่
ผ่านกระบวนการผลิตที่ทำให้สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการผลิตสินค้า
ให้ตรงตามหลักเกณฑ์สากลที่มีมาตรฐานสูงขึ้น เช่น GMP ทั้งนี้เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้สินค้าของตนสามารถยืนหยัด
และแข่งขันได้ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศคู่ค้ามักหยิบยกประเด็นมาตรฐานสินค้าเข้ามาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่าง
ประเทศมากขึ้นทุกขณะ
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน
--Exim News ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฏาคม 2545--
-ศน-