แท็ก
ออสเตรีย
กรุงเทพ--20 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2548 ไทยในฐานะประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network — HSN) เป็นเจ้าภาพจัดการหารือระหว่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา เกี่ยวกับการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์อันเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการนำตัวผู้ค้ามาลงโทษตามกฎหมาย ที่กรุงเวียนนา ประเททศออสเตรีย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม
2. ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์จากมุมมองของสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะของเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ เนื่องจากในหลายกรณี เหยื่อของการค้ามนุษย์มักปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับทางการ ในการสืบสวนเพื่อนำตัวผู้ค้ามาลงโทษ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตนและครอบครัวที่บ้าน ซึ่งที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อ อาทิ การให้เวลา 30 วันสำหรับเหยื่อในการปรับสภาพจิตใจโดยไม่ต้องให้ปากคำหรือถูกสอบสวน
3. ที่ประชุมเห็นว่าปัญหาความยากจนและการไม่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือเหยื่อให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้
4. ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัจจัยด้านอุปสงค์ และความสำคัญของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ รวมทั้งความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอและการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
5. ผลการหารือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาแผนการดำเนินงานร่วมกันของประเทศเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ทั้ง 14 ประเทศ ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในการเสริมการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ ซึ่งจะนำนำเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 8 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนพฤษภาคม 2549
6. การประชุมข้างต้นเป็นโอกาสอันดีที่ผู้แทนไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ แนวทางการดำเนินการของประเทศและองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้กับมาตรการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ภายในประเทศต่อไป
7. เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (HSN) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย แคนาดา ชิลี คอสตาริกา กรีซ ไอร์แลนด์ จอร์แดน มาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวีเนีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย โดยมีแอฟริกาใต้เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ (สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.humansecuritynetwork.org)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2548 ไทยในฐานะประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network — HSN) เป็นเจ้าภาพจัดการหารือระหว่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา เกี่ยวกับการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์อันเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการนำตัวผู้ค้ามาลงโทษตามกฎหมาย ที่กรุงเวียนนา ประเททศออสเตรีย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม
2. ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์จากมุมมองของสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะของเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ เนื่องจากในหลายกรณี เหยื่อของการค้ามนุษย์มักปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับทางการ ในการสืบสวนเพื่อนำตัวผู้ค้ามาลงโทษ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตนและครอบครัวที่บ้าน ซึ่งที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อ อาทิ การให้เวลา 30 วันสำหรับเหยื่อในการปรับสภาพจิตใจโดยไม่ต้องให้ปากคำหรือถูกสอบสวน
3. ที่ประชุมเห็นว่าปัญหาความยากจนและการไม่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือเหยื่อให้สามารถกลับเข้าสู่สังคมได้
4. ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัจจัยด้านอุปสงค์ และความสำคัญของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ รวมทั้งความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอและการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
5. ผลการหารือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาแผนการดำเนินงานร่วมกันของประเทศเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ทั้ง 14 ประเทศ ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในการเสริมการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นๆ ซึ่งจะนำนำเสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 8 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนพฤษภาคม 2549
6. การประชุมข้างต้นเป็นโอกาสอันดีที่ผู้แทนไทยจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ แนวทางการดำเนินการของประเทศและองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้กับมาตรการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ภายในประเทศต่อไป
7. เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (HSN) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย แคนาดา ชิลี คอสตาริกา กรีซ ไอร์แลนด์ จอร์แดน มาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวีเนีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย โดยมีแอฟริกาใต้เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ (สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.humansecuritynetwork.org)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-