บทนำ
นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้างซบเซาลงมาก ส่งผลให้ความต้องใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศหดตัวอย่างรุนแรงการแก้ปัญหาในช่วงขณะนั้น ยังขาดความชัดเจน จนกระทั่ง ปี 2544 ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาครัฐได้มีมาตรการกระตุ้นด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น มาตรการด้านภาษี มาตรการด้านการเงิน มาตรการการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการฟื้นตัว ส่งผลต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวที่รวดเร็ว รวมถึงอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์และเชื่อมโยงอื่น ๆ เช่นอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต อุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น ซึ่งมีทิศทางและแนวโน้มขยายตัวตามด้วย
สถานการณ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปัจจุบันการผลิตผู้ผลิต/กำลังการผลิตอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ภายในประเทศมีโครงสร้างการผลิต ซึ่งประกอบด้วย
ผู้ประกอบการผลิต รวม 8 ราย มีกำลังการผลิตรวมประมาณ 56 ล้านตัน/ปี โดยผู้ผลิตรายใหญ่มีจำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด บริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด และบริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด ส่วนผู้ผลิตรายเล็ก จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยสถาปนา จำกัด บริษัท สระบุรีซีเมนต์ จำกัด และบริษัท สามัคคีซีเมนต์ จำกัด ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกันประมาณ 1 ล้านตันเศษ โดยบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด มีกำลังการผลิตประมาณ 24 ล้านตัน/ปี ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 มีปริมาณรวม 18.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.3 ซึ่งมีปริมาณ 18.0 ล้านตัน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 มีปริมาณ 15.9 ล้านตัน โดยการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้ แบ่งเป็นการผลิตปูนเม็ดปริมาณ 10.1 ล้านตัน ผลิตซีเมนต์ 8.5 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ในส่วนการผลิตซีเมนต์ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.6 จากปริมาณ 9.3 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนเม็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และผลิตซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ขณะที่การผลิตในแต่ละเดือนของไตรมาสที่ 2 นั้น ยังคงมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากพบว่าปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนมีนาคม ปี 2545 อยู่ในระดับสูงสุด ในช่วงปลายไตรมาสแรกมีปริมาณ 6.6 ล้านตัน และปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในเดือนเมษายนและเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมต่อถึงเดือนมิถุนายน โดยทรงตัวอยู่ในระดับ 6.3 ข้างต้นคาดว่าจะมีแนวโน้มใกล้เคียงกันนี้ในไตรมาสต่อไป
การผลิตปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรก (มค.-มิย. 45) ปี 2545 มีปริมาณ 36.5 ล้านตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2544 ซึ่งมีปริมาณ 30.6 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นการผลิตปูนเม็ดมีปริมาณ 18.6 ล้านตัน และผลิตซีเมนต์ 17.7 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และร้อยละ 19.6 คิดเป็นปริมาณ 15.8 ล้านตัน และ 14.8 ล้านตัน ตามลำดับ
ปัญหาด้านการผลิต
ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) มีราคาที่สูง
ด้านการตลาดตลาดในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 มีปริมาณ 5.8 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีปริมาณ 7.2 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 19.5 เนื่องจากลูกค้าได้ซื้อสินค้าและสต๊อกไว้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ปี 45 ค่อนข้างมากกล่าวคือในเดือนมีนาคม มีปริมาณสูงถึง 2.9 ล้านตัน จึงทำให้การจำหน่ายปูนในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 อยู่ในภาวะที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ซึ่งมีปริมาณ 5.0 ล้านตัน
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในแต่ละเดือนของไตรมาสที่ 2 ปี 2545 แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลงบ้างนับจากไตรมาสที่ 1 ปี 2545 อย่างไรก็ตามมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับความต้องการใช้เฉลี่ยของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับ 1.8 ล้านตันต่อเดือน โดยมีปริมาณความต้องการใช้ที่แตะในระดับเกิน 2.0 ล้านตัน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544 เป็นต้นมา แม้ว่าเดือนมีนาคม 2545 มีปริมาณสูงสุดถึง 2.9 ล้านตัน และปรับตัวลดลงในเดือน เดือนเมษายนมีปริมาณ 1.8 ล้านตันเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่สำคัญ ในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนมีปริมาณ 2.0 ล้านตัน และคาดว่าในไตรมาสต่อไปอยู่ในภาวะที่ทรงตัว เนื่องจากในประเทศเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้การก่อสร้างมีการชะลอตัวลงบ้างตลาดต่างประเทศ
การส่งออกปูนซีเมนต์ไปตลาดต่างประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการส่งออกรวม 4.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.0 มีปริมาณ 4.0 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ซึ่งมีปริมาณ 4.6 ล้านตัน โดยการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ดังกล่าว เป็นการ ส่งออกของปูนเม็ดซึ่งมีปริมาณ 2.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 14.3 จากปริมาณ 2.1 ล้านตัน ในส่วนของส่งออกซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 มีปริมาณ 2.0 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1ปี 2545 ร้อยละ 7.4
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกปี 2545 มีปริมาณรวม 21.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2544 ร้อยละ 15.0 มีปริมาณ 18.7 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศปริมาณ 12.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2544 ร้อยละ 25.2 ซึ่งมีปริมาณ 10.3 ล้านตัน และการส่งออกครึ่งแรกของปี 2545 มีปริมาณ 8.5 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2544 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 1.1
สำหรับตลาดส่งออกหลัก ๆ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2545 ซีเมนต์ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 53.0 ไนจีเรีย ร้อยละ 14.5 กัมพูชา ร้อยละ 14.0 พม่า ร้อยละ 6.0 และลาว ร้อยละ 5.5 ตามลำดับ สำหรับปูนเม็ด ตลาดส่งออกหลักที่สำคัญได้แก่ บังคลาเทศ ร้อยละ 30.0 เวียดนาม ร้อยละ 25.6 ศรีลังกา บราซิล และมาเลเซีย ร้อยละ 5.7 5.2 และ 4.6 ตามลำดับ
ปัญหาการตลาด
- การแข่งขันด้านราคาสินค้าปูนซีเมนต์ตลาดในประเทศ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
- มาตรการกีดกันการนำเข้าของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมาตรการทางด้านภาษีศุลกากรและมาตรการอื่นๆ (TB และ NTB)
สรุป
จากการผลักดันมาตรการและนโยบายของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่องรวมกับการปรับตัวที่รวดเร็วของผู้ประกอบการส่งผลให้ภาคการก่อสร้างและด้านอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัวดังจะเห็นได้จากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว แม้ว่าในไตรมาสนี้ความต้องการใช้ภายในประเทศจะชะลอตัวลงเล็กน้อยซึ่งถือเป็นภาวะที่ทรงตัว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 18.4 ขณะเดียวกันการส่งออกเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสนี้แม้ว่าได้มีการปรับตัวลดลงเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในช่วงปลายไตรมาสนี้ เริ่มย่างเข้าสู่ฤดูมรสุมจนถึงไตรมาสต่อไป คาดว่าการก่อสร้างจะชะลอตัวลงบ้างซึ่งเป็นภาวะปกติ ดังนั้นความต้องการใช้ซีเมนต์ในประเทศจะมีระดับที่ใกล้เคียงกันหรืออยู่ในภาวะทรงตัวในไตรมาสต่อไป ขณะเดียวกันการส่งออกยังคงส่งไปตลาดหลัก ๆ และสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้โดยมีตลาดใหม่ ๆ เข้ามารองรับต่อไป
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-
นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้างซบเซาลงมาก ส่งผลให้ความต้องใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศหดตัวอย่างรุนแรงการแก้ปัญหาในช่วงขณะนั้น ยังขาดความชัดเจน จนกระทั่ง ปี 2544 ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาครัฐได้มีมาตรการกระตุ้นด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น มาตรการด้านภาษี มาตรการด้านการเงิน มาตรการการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีการฟื้นตัว ส่งผลต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวที่รวดเร็ว รวมถึงอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์และเชื่อมโยงอื่น ๆ เช่นอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต อุตสาหกรรมเหล็ก เป็นต้น ซึ่งมีทิศทางและแนวโน้มขยายตัวตามด้วย
สถานการณ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปัจจุบันการผลิตผู้ผลิต/กำลังการผลิตอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ภายในประเทศมีโครงสร้างการผลิต ซึ่งประกอบด้วย
ผู้ประกอบการผลิต รวม 8 ราย มีกำลังการผลิตรวมประมาณ 56 ล้านตัน/ปี โดยผู้ผลิตรายใหญ่มีจำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด บริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด บริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด และบริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด ส่วนผู้ผลิตรายเล็ก จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยสถาปนา จำกัด บริษัท สระบุรีซีเมนต์ จำกัด และบริษัท สามัคคีซีเมนต์ จำกัด ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกันประมาณ 1 ล้านตันเศษ โดยบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด มีกำลังการผลิตประมาณ 24 ล้านตัน/ปี ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 มีปริมาณรวม 18.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.3 ซึ่งมีปริมาณ 18.0 ล้านตัน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 มีปริมาณ 15.9 ล้านตัน โดยการผลิตปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้ แบ่งเป็นการผลิตปูนเม็ดปริมาณ 10.1 ล้านตัน ผลิตซีเมนต์ 8.5 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การผลิตปูนเม็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ในส่วนการผลิตซีเมนต์ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.6 จากปริมาณ 9.3 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนเม็ด เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และผลิตซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ขณะที่การผลิตในแต่ละเดือนของไตรมาสที่ 2 นั้น ยังคงมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากพบว่าปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนมีนาคม ปี 2545 อยู่ในระดับสูงสุด ในช่วงปลายไตรมาสแรกมีปริมาณ 6.6 ล้านตัน และปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในเดือนเมษายนและเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมต่อถึงเดือนมิถุนายน โดยทรงตัวอยู่ในระดับ 6.3 ข้างต้นคาดว่าจะมีแนวโน้มใกล้เคียงกันนี้ในไตรมาสต่อไป
การผลิตปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรก (มค.-มิย. 45) ปี 2545 มีปริมาณ 36.5 ล้านตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2544 ซึ่งมีปริมาณ 30.6 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นการผลิตปูนเม็ดมีปริมาณ 18.6 ล้านตัน และผลิตซีเมนต์ 17.7 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และร้อยละ 19.6 คิดเป็นปริมาณ 15.8 ล้านตัน และ 14.8 ล้านตัน ตามลำดับ
ปัญหาด้านการผลิต
ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะต้นทุนอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) มีราคาที่สูง
ด้านการตลาดตลาดในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 มีปริมาณ 5.8 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีปริมาณ 7.2 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 19.5 เนื่องจากลูกค้าได้ซื้อสินค้าและสต๊อกไว้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ปี 45 ค่อนข้างมากกล่าวคือในเดือนมีนาคม มีปริมาณสูงถึง 2.9 ล้านตัน จึงทำให้การจำหน่ายปูนในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 อยู่ในภาวะที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ซึ่งมีปริมาณ 5.0 ล้านตัน
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในแต่ละเดือนของไตรมาสที่ 2 ปี 2545 แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลงบ้างนับจากไตรมาสที่ 1 ปี 2545 อย่างไรก็ตามมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับความต้องการใช้เฉลี่ยของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับ 1.8 ล้านตันต่อเดือน โดยมีปริมาณความต้องการใช้ที่แตะในระดับเกิน 2.0 ล้านตัน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544 เป็นต้นมา แม้ว่าเดือนมีนาคม 2545 มีปริมาณสูงสุดถึง 2.9 ล้านตัน และปรับตัวลดลงในเดือน เดือนเมษายนมีปริมาณ 1.8 ล้านตันเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่สำคัญ ในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนมีปริมาณ 2.0 ล้านตัน และคาดว่าในไตรมาสต่อไปอยู่ในภาวะที่ทรงตัว เนื่องจากในประเทศเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้การก่อสร้างมีการชะลอตัวลงบ้างตลาดต่างประเทศ
การส่งออกปูนซีเมนต์ไปตลาดต่างประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการส่งออกรวม 4.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.0 มีปริมาณ 4.0 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ซึ่งมีปริมาณ 4.6 ล้านตัน โดยการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ดังกล่าว เป็นการ ส่งออกของปูนเม็ดซึ่งมีปริมาณ 2.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 14.3 จากปริมาณ 2.1 ล้านตัน ในส่วนของส่งออกซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 มีปริมาณ 2.0 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1ปี 2545 ร้อยละ 7.4
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกปี 2545 มีปริมาณรวม 21.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2544 ร้อยละ 15.0 มีปริมาณ 18.7 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศปริมาณ 12.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2544 ร้อยละ 25.2 ซึ่งมีปริมาณ 10.3 ล้านตัน และการส่งออกครึ่งแรกของปี 2545 มีปริมาณ 8.5 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2544 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 1.1
สำหรับตลาดส่งออกหลัก ๆ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2545 ซีเมนต์ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 53.0 ไนจีเรีย ร้อยละ 14.5 กัมพูชา ร้อยละ 14.0 พม่า ร้อยละ 6.0 และลาว ร้อยละ 5.5 ตามลำดับ สำหรับปูนเม็ด ตลาดส่งออกหลักที่สำคัญได้แก่ บังคลาเทศ ร้อยละ 30.0 เวียดนาม ร้อยละ 25.6 ศรีลังกา บราซิล และมาเลเซีย ร้อยละ 5.7 5.2 และ 4.6 ตามลำดับ
ปัญหาการตลาด
- การแข่งขันด้านราคาสินค้าปูนซีเมนต์ตลาดในประเทศ มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
- มาตรการกีดกันการนำเข้าของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมาตรการทางด้านภาษีศุลกากรและมาตรการอื่นๆ (TB และ NTB)
สรุป
จากการผลักดันมาตรการและนโยบายของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่องรวมกับการปรับตัวที่รวดเร็วของผู้ประกอบการส่งผลให้ภาคการก่อสร้างและด้านอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัวดังจะเห็นได้จากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัว แม้ว่าในไตรมาสนี้ความต้องการใช้ภายในประเทศจะชะลอตัวลงเล็กน้อยซึ่งถือเป็นภาวะที่ทรงตัว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 18.4 ขณะเดียวกันการส่งออกเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสนี้แม้ว่าได้มีการปรับตัวลดลงเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในช่วงปลายไตรมาสนี้ เริ่มย่างเข้าสู่ฤดูมรสุมจนถึงไตรมาสต่อไป คาดว่าการก่อสร้างจะชะลอตัวลงบ้างซึ่งเป็นภาวะปกติ ดังนั้นความต้องการใช้ซีเมนต์ในประเทศจะมีระดับที่ใกล้เคียงกันหรืออยู่ในภาวะทรงตัวในไตรมาสต่อไป ขณะเดียวกันการส่งออกยังคงส่งไปตลาดหลัก ๆ และสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้โดยมีตลาดใหม่ ๆ เข้ามารองรับต่อไป
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-