“ ปณิธาณ ” เผยภูมิหลังปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ “ ติด 3 กับดัก ความมั่นคง มั่งคั่ง มั่นใจ ” ด้าน “สนั่น” ชี้ “ธุรกิจสีเทา” ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องแก้ที่โครงสร้างและ รากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ขณะที่ “ สุรินทร์” เสนอทางสว่างให้รัฐ “ มองไม่ลึกไฟใต้ไม่ดับ “ ติง “ ซีอีโอ ” ถ่างช่องว่าง รัฐ-ประชาชน
เมื่อวันที่ 1 กันยายน เวลา 14.00 น. พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดให้มีการเสวนา ในโครงการ ” ลานประชาธิปไตย “ ในหัวข้อ “ ความมั่นคง ความมั่งคั่ง 3 จัดหวัดชายแดนภาคใต้ ” บริเวณลานพระแม่ธรณี พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีผู้ร่วมการเสวนาประกอบด้วย ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสนั่น สุธากุล สส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรรณ สส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเสวนาในครั้งนี้ มี สส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้ารับฟังเป็นจำนวนมาก ขณะที่ประชาชนหลายท่านที่ให้ความสนใจ เช่นเดียวกับสื่อมวลชนที่ร่วมทำข่าว
เริ่มต้นการเสวนา โดย ดร.ปณิธาน บรรยายเรื่อง “ภูมิหลังปัญหา 3 จังหวัดชายแดน ใต้” ว่า สำหรับปัญหาภาคใต้ที่เกิดขึ้นสรุปโดยรวมมี 3 ประการ 1.กับดักของความมั่นคง รัฐบาลทุกรัฐบาลอยากให้ประเทศมีความมั่นคง จึงพยายามทำทุกอย่างให้ประเทศมั่นคง แต่กลับกลายเป็นการเข้าไปสู่กับดักของปัญหา รัฐบาลหลายๆ รัฐบาลอยากจะเข้าไปจัดการกับปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ แต่กลับกลายว่าเป็นการไปบีบคั้นคนในพื้นที่จึงเกิดปัญหาสะสมเรื่อยมาในทุกรัฐบาล 2.กับดักของความมั่งคั่ง คนมักจะมองว่าประชาชนภาคใต้มีฐานะ เนื่องจากเศรษฐกิจและพื้นที่ดี แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยังต้องมีการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติร่วมด้วย รัฐบาลพยายามจึงพยายามเข้าไปจัดการและทำให้เกิดความมั่งคั่งจึงติดกับดัก ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม เกิดความขัดแย้งกันของคนในพื้นที่ 3.กับดักของความมั่นใจ ซึ่งนโยบายของรัฐบาลทุกสมัยมักจะ อะลุ่มอล่วยตามนิสัยของคนไทย แต่การปฏิบัติขึ้นอยู่กับผู้นำแต่ละสมัยว่าจะมีความละเอียดอ่อนแค่ไหน อย่างการยุบ ศอ.บต.ที่มีมานานทำให้เกิดสูญญากาศระหว่างรัฐบาลกับคนในพื้นที่ ดังนั้นการแก้ไขโดยตั้งคณะทำงานขึ้นมาใหม่แล้วจะทำให้ความสัมพันธ์กลับมาเหมือนเดิมคงต้องใช้เวลาบ้าง
หลังจากนั้น นายสนั่น กล่าวเสวนาว่า ปัญหาหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดคือเรื่องของการฉกฉวยแสวงหาผลประโยชน์ จากสถานการณ์ปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีหลายกลุ่มที่แสวงหาประโยชน์ บางครั้งก็เป็นเจ้าหน้าที่ หรือกลุ่มอิทธิพล และกลุ่มอื่นๆ ยอมรับว่า “ธุรกิจสีเทา” มีอยู่จริง ในฐานะที่ใช้ชีวิตรับราชการ ในยะลา 2-3 ปี ได้รับรู้ปัญหาจากพี่น้องประชาชนมาก
นายสนั่น กล่าวว่า ชายแดนที่ติดกับเพื่อนบ้าน มีการค้าขายที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ ธุรกิจสีขาว สีเทาก็จะควบคู่ไปด้วย เกิดจากการแสวงหาผลประโยชน์โดยใช้อำนาจเข้ามาครอบครองมีเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติงานไม่ให้เกิดผิดกฎหมาย การพนัน โสเภณี อาวุธเถื่อน เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดชอบในการควบคุม เคร่งครัดในช่วงแรก แต่พอรู้ลึก การดึงผู้มีอำนาจเข้าไปปกครองก็เกิดขึ้น มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ พอผลประโยชน์ชัดเจนมากขึ้น ก็จะลุกลามมาจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของพื้นที่ และส่งขึ้นมาเกินระดับพื้นที่ จนเกินเป็นวงจร ไม่ว่าจะเป็นการคุมบ่อน แต่กลไกของรัฐไม่สามารถจัดการได้อย่างราบคาบ โดยอาศัยสถานการณ์ในความไม่สงเป็นเกราะ และอาศัย เจ้าหน้าที่เป็นเกราะอีกส่วน ทำให้การแสวงหาผลประโยชน์มีอยู่
“สำหรับการแก้ไข ต้องยอมรับผลการวิเคราะห์ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ว่า ปัญหาชายแดนภาคใต้มีการทับซ้อนหลายชั้น ชั้นที่ลึกสุดคือมาจากปัญหารากเหง้าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อทางศาสนา ละเอียดอ่อน สั่งสมกันมานาน ซึ่งถ้ามองเผินๆ จะมองไม่เห็น “
นายสนั่น กล่าวต่อว่า ปัญหาที่ทับรองมาคือปัญหาโครงสร้างโดยเฉพาะในอำนาจรรัฐที่ลงไปดูแลเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในชายแดนภาคใต้ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจสีเทา เจ้าหน้าที่ของรัฐไปสมยอมร่วมกับผู้ทำผิดก็ทำให้เกิดปัญหานี้โดยตรง และมีผลกระทบไปถึงความรู้สึกของประชาชนที่มีปมทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อน คนในพื้นที่ที่มีความเชื่อ ความศรัทธา โดยเฉพาะตามหลักศาสนาอิสลามซึ่งรับไม่ได้กับเรื่องนี้ แม้จะถูกกฎหมาย ทำให้ปัญหานี้สร้างเสริมความไม่พอใจจนรุนแรงขึ้น ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเอาหน้าที่มากดขี่ข่มเหงก็ทำให้ยิ่งมากขึ้น เช่นเรียกส่วย รถขนส่งผลไม้ ถ้าไปผสมกับการปกครองในอดีตที่เขาอยากแยกดินแดนส่วนนั้นเป็นอิสระ และหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาเป็นเงื่อนไข ทำให้มีการหยิบฉวย เงื่อนไขเหล่านี้มาหาแนวร่วมเป็นผลประโยชน์โดยมิชอบ โดยอิงอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายมาบังหน้า เพื่อจะเรียกร้องค่าคุ้มครองและทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับมอบหมาย
นายสนั่น กล่าวด้วยว่า แนวทางการแก้ปัญหาจึงต้องแก้ให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาที่แท้จริงซึ่งสอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือปลายเหตุของปัญหา ซึ่งภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์มีการจัดทำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ที่ระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2542-2546 ที่พัฒนามาจากความมั่นคงเดิมที่ทำมา ในสมัย พล.อ.เปรม เป็นนายกมีการจัดตั้ง ศอ.บต. ขึ้นมาเพื่อดูแลการใช้นโยบายเพื่อการแก้ปัญหาความั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ และให้ ศอ.บต. 43 เป็นผู้รับผิดชอบในการใช้กำลังในการแก้ปัญหา และยุทธการ โดยมีการพัฒนานโยบายนี้ เพื่อจะแก้ปัญหารากเหง้าระดับโครงสร้างระดับ ระดับผิวหน้า ซึ่ง สาระสำคัญอยู่ตรงที่ไม่มองความหลากหลาย ทางสังคมวัฒนธรรมเป็นปัญหา แต่มองว่าเป็นทุนสังคม ข้อได้เปรียบทางสังคมไทย ที่ต้องหยิบฉวยมาใช้เป็นประโยชน์ให้ได้ และการแก้ปัญหาโดยสรุปจากส่วนกลางทั้งหมดไม่ได้ ต้องการเน้นการมีส่วนรวมของส.ส. ในพื้นที่
“ศอ.บต. 42-46 จึงมุ่งเน้นสามส่วน บุคคล ให้อยู่การแก้ปัญหาในทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาในสามส่วนให้อยู่ดีกินดี สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการ พัฒนาบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา ศาสนาวัฒนธรรมประเพณี การมีส่วนร่วมของประชาชนมาคิดค้นการแก้ปัญหา ตรวจสอบการแก้ปัญหา นั้น เป็นนโยบายที่รากเหง้า ศอ.บต. เป็นผู้ดูแล และควบคู่ไปกับการดูแลการเป็นองค์กรหลัก ที่จะผลักดันโครงการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน นั่นก็คือมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาธุรกิจสีเทา ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ก็จะคลี่คลาย ในที่สุดพื้นที่ตรงนี้จะกลายเป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงและมั่นคั่ง” นายสนั่นสรุป
ต่อมา ดร.สุรินทร์ ได้เสวนาเป็นคนสุดท้ายว่า ในอดีตเคยเคยมีความคิดที่เป็น รัฐนิยม ที่เห็นว่าประชาชนในทุกท้องถิ่นต้องปรับตัวเองให้กับรัฐส่วนกลาง เพื่อสร้างความมั่นคง แต่ต่อมาก็พบว่าแนวคิดดังกล่าวทำให้ ประชาชนรู้สึกอึดอัด เกิดช่องว่างระหว่างรัฐกับประชาชน จนความขัดแย้งปะทุกลายเป็นความรุนแรงในที่สุด ต่อมาแนวความคิดในการแก้ปัญหาได้เปลี่ยนไป โดยเชื่อว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ถือเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีค่า ที่นำความคิดเห็นที่แตกต่าง มาช่วยกันพัฒนาชาติได้
ดร.สุรินทร์ กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ว่า จากแนวความคิดที่เห็นคุณค่าของความหลากหลาย ทำให้มีการตั้งหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรวม ในรูปของ ศอ.บต. ซึ่งช่วยประสานความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานราชการ และประชาชน รวมทั้งผู้นำทางศาสนาในพื้นที่ จากการมีส่วนร่วมของประชาชนนี้เอง ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชาติ คอยเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐในการป้องกันเหตุการณ์รุนแรง อีกทั้งร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาชาติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็นำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นกรอบในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่มีการบริหารประเทศ ทำให้ช่องว่างระหว่างรัฐ ราชการ และประชาชน ลดลงไป เห็นได้จากเหตุการณ์รุนแรงที่ลดลงมาโดยตลอด
ดร.สุรินทร์ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กลับมีบางกลุ่มพยายามถ่างช่องว่างระหว่างรัฐและประชาชนออกไป โดยพยายามโยนความผิดในทุกเรื่องไปที่ข้าราชการ ให้ร้ายข้าราชการว่าเป็นตัวกดขี่ข่มเหงประชาชน จนในที่สุดทำข้าราชการเป็นผู้ร้าย กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชน ทั้งที่แท้จริงแล้ว ข้าราชการส่วนใหญ่ได้ดำเนินการอยู่ในกรอบของความดี ไม่ได้สร้างปัญหาแต่อย่างใด
แนวคิดในการรวบอำนาจ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความรุนแรงปะทุขึ้นอีกครั้ง แนวคิดแบบซีอีโอ ที่รวบอำนาจการตัดสินใจเข้าสู่ส่วนกลาง ด้วยความเชื่อที่ว่าตนเองรู้ทุกอย่างดี ทำให้การมองปัญหาเป็นไปด้วยความผิดพลาด การล้วงลูกของฝ่ายการเมืองที่เข้าไปจัดการปัญหาด้วยตนเองในทุกเรื่อง พร้อมๆกับการยัดเยียดความผิดให้กับข้าราชการ ทำให้ข้าราชการในพื้นที่ซึ่งใกล้ชิด และเข้าใจในปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการใดๆ
ดร.สุรินทร์ กล่าวถึง การยุบ ศอ.บต.ด้วยว่า ทำให้ เครือข่ายของประชาชนในท้องถิ่นที่ฝังรากลึกไปถึงระดับหมู่บ้าน รู้สึกว่าไม่มีหน้าที่ที่ต้องคอยดูแลปัญหาต่างๆ การตัดสินใจยึดติดจากความรู้สึกจากส่วนกลางที่ไม่ได้เข้าไปสัมผัสกับข้อเท็จจริง รวมทั้งการมองปัญหาแบบง่ายเกินไป ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด เห็นได้จากกรณีการระเบิดที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ เมื่อต้นปีที่แล้ว ที่ผู้ตัดสินใจ เชื่อและกล่าวอยู่เสมอว่า รู้ปัญหาหมดแล้ว จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ภายใน 3 เดือน แต่มาบัดนี้ปัญหาความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญานของสันติ
ดร.สุรินทร์ ยังกล่าวถึงการเพิกถอนคนสองสัญชาติด้วยว่า เมื่อครั้ง นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เคยมีการพูดคุยเรื่องนี้กับนายกฯมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย เพื่อขอถอนสัญชาติ เฉพาะพวกที่ก่อปัญหาเท่านั้นถึงทั้งสองฝ่ายก็เห็นพ้องต้องกัน และรัฐบาลชุดนี้ กลับแสดงความไม่เข้าใจ ด้วยคิดว่า คนสองสัญชาติเป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมด ทั้งๆที่ความจริงแล้ว คนกลุ่มนี้เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ก่อปัญหา การเหมารวมถอนสัญชาติทั้งหมด ทำให้กลุ่มคนดีที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างไทยและมาเลเซีย ไม่สามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้อย่าง
ในตอนท้าย ดร.สุรินทร์ ได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาว่า ต้องมีวิธีคิดที่มองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ในปัจจุบันผู้มีอำนาจตัดสินใจมักมองเพียงว่า ปัญหาเกิดการสร้างความวุ่นวายของกลุ่มโจรติดยาเสพติด แล้วเข้าไปแก้ปัญหาที่จุดต้น ซึ่งความคิดดังกล่าวถือว่ายังมองปัญหาไม่ถึงรากเหง้า ซึ่งหากมองให้ลึกลงไปจะพบว่า การที่คนติดยาเสพย์ติด เพราะไม่มีงานทำ คนไม่มีงานทำ เพราะไม่มีคุณภาพ คนที่ไม่มีคุณภาพเพราะไม่มีการศึกษา คนที่ไม่มีการศึกษา เพราะขาดโอกาสที่เข้าถึงการศึกษา ซึ่งด้วยตรรกะดังกล่าว ประชาธิปัตย์จึงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการเน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้กับประชาชนในพื้นที่จัดหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้กับเยาวชนในท้องถิ่น เพื่อให้มีโอกาสเข้าศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เพราะเชื่อว่าเยาวชน เหล่านี้ ก็คือ ผู้นำในอนาคต หากเขามีโอกาสที่ดีทางการศึกษา ย่อมพบกับโอกาสดีๆในชีวิต ซึ่งนั่นย่อมทำให้ความขัดแย้งต่างๆ ถูกขจัดไปอย่างสิ้นเชิง--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 1 กันยายน เวลา 14.00 น. พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดให้มีการเสวนา ในโครงการ ” ลานประชาธิปไตย “ ในหัวข้อ “ ความมั่นคง ความมั่งคั่ง 3 จัดหวัดชายแดนภาคใต้ ” บริเวณลานพระแม่ธรณี พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีผู้ร่วมการเสวนาประกอบด้วย ดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสนั่น สุธากุล สส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรรณ สส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเสวนาในครั้งนี้ มี สส.พรรคประชาธิปัตย์ เข้ารับฟังเป็นจำนวนมาก ขณะที่ประชาชนหลายท่านที่ให้ความสนใจ เช่นเดียวกับสื่อมวลชนที่ร่วมทำข่าว
เริ่มต้นการเสวนา โดย ดร.ปณิธาน บรรยายเรื่อง “ภูมิหลังปัญหา 3 จังหวัดชายแดน ใต้” ว่า สำหรับปัญหาภาคใต้ที่เกิดขึ้นสรุปโดยรวมมี 3 ประการ 1.กับดักของความมั่นคง รัฐบาลทุกรัฐบาลอยากให้ประเทศมีความมั่นคง จึงพยายามทำทุกอย่างให้ประเทศมั่นคง แต่กลับกลายเป็นการเข้าไปสู่กับดักของปัญหา รัฐบาลหลายๆ รัฐบาลอยากจะเข้าไปจัดการกับปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ แต่กลับกลายว่าเป็นการไปบีบคั้นคนในพื้นที่จึงเกิดปัญหาสะสมเรื่อยมาในทุกรัฐบาล 2.กับดักของความมั่งคั่ง คนมักจะมองว่าประชาชนภาคใต้มีฐานะ เนื่องจากเศรษฐกิจและพื้นที่ดี แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยังต้องมีการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติร่วมด้วย รัฐบาลพยายามจึงพยายามเข้าไปจัดการและทำให้เกิดความมั่งคั่งจึงติดกับดัก ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม เกิดความขัดแย้งกันของคนในพื้นที่ 3.กับดักของความมั่นใจ ซึ่งนโยบายของรัฐบาลทุกสมัยมักจะ อะลุ่มอล่วยตามนิสัยของคนไทย แต่การปฏิบัติขึ้นอยู่กับผู้นำแต่ละสมัยว่าจะมีความละเอียดอ่อนแค่ไหน อย่างการยุบ ศอ.บต.ที่มีมานานทำให้เกิดสูญญากาศระหว่างรัฐบาลกับคนในพื้นที่ ดังนั้นการแก้ไขโดยตั้งคณะทำงานขึ้นมาใหม่แล้วจะทำให้ความสัมพันธ์กลับมาเหมือนเดิมคงต้องใช้เวลาบ้าง
หลังจากนั้น นายสนั่น กล่าวเสวนาว่า ปัญหาหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาพูดคือเรื่องของการฉกฉวยแสวงหาผลประโยชน์ จากสถานการณ์ปัญหาชายแดนภาคใต้ ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีหลายกลุ่มที่แสวงหาประโยชน์ บางครั้งก็เป็นเจ้าหน้าที่ หรือกลุ่มอิทธิพล และกลุ่มอื่นๆ ยอมรับว่า “ธุรกิจสีเทา” มีอยู่จริง ในฐานะที่ใช้ชีวิตรับราชการ ในยะลา 2-3 ปี ได้รับรู้ปัญหาจากพี่น้องประชาชนมาก
นายสนั่น กล่าวว่า ชายแดนที่ติดกับเพื่อนบ้าน มีการค้าขายที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ ธุรกิจสีขาว สีเทาก็จะควบคู่ไปด้วย เกิดจากการแสวงหาผลประโยชน์โดยใช้อำนาจเข้ามาครอบครองมีเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติงานไม่ให้เกิดผิดกฎหมาย การพนัน โสเภณี อาวุธเถื่อน เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดชอบในการควบคุม เคร่งครัดในช่วงแรก แต่พอรู้ลึก การดึงผู้มีอำนาจเข้าไปปกครองก็เกิดขึ้น มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ พอผลประโยชน์ชัดเจนมากขึ้น ก็จะลุกลามมาจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของพื้นที่ และส่งขึ้นมาเกินระดับพื้นที่ จนเกินเป็นวงจร ไม่ว่าจะเป็นการคุมบ่อน แต่กลไกของรัฐไม่สามารถจัดการได้อย่างราบคาบ โดยอาศัยสถานการณ์ในความไม่สงเป็นเกราะ และอาศัย เจ้าหน้าที่เป็นเกราะอีกส่วน ทำให้การแสวงหาผลประโยชน์มีอยู่
“สำหรับการแก้ไข ต้องยอมรับผลการวิเคราะห์ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ว่า ปัญหาชายแดนภาคใต้มีการทับซ้อนหลายชั้น ชั้นที่ลึกสุดคือมาจากปัญหารากเหง้าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อทางศาสนา ละเอียดอ่อน สั่งสมกันมานาน ซึ่งถ้ามองเผินๆ จะมองไม่เห็น “
นายสนั่น กล่าวต่อว่า ปัญหาที่ทับรองมาคือปัญหาโครงสร้างโดยเฉพาะในอำนาจรรัฐที่ลงไปดูแลเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในชายแดนภาคใต้ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจสีเทา เจ้าหน้าที่ของรัฐไปสมยอมร่วมกับผู้ทำผิดก็ทำให้เกิดปัญหานี้โดยตรง และมีผลกระทบไปถึงความรู้สึกของประชาชนที่มีปมทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อน คนในพื้นที่ที่มีความเชื่อ ความศรัทธา โดยเฉพาะตามหลักศาสนาอิสลามซึ่งรับไม่ได้กับเรื่องนี้ แม้จะถูกกฎหมาย ทำให้ปัญหานี้สร้างเสริมความไม่พอใจจนรุนแรงขึ้น ให้เป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเอาหน้าที่มากดขี่ข่มเหงก็ทำให้ยิ่งมากขึ้น เช่นเรียกส่วย รถขนส่งผลไม้ ถ้าไปผสมกับการปกครองในอดีตที่เขาอยากแยกดินแดนส่วนนั้นเป็นอิสระ และหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาเป็นเงื่อนไข ทำให้มีการหยิบฉวย เงื่อนไขเหล่านี้มาหาแนวร่วมเป็นผลประโยชน์โดยมิชอบ โดยอิงอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายมาบังหน้า เพื่อจะเรียกร้องค่าคุ้มครองและทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับมอบหมาย
นายสนั่น กล่าวด้วยว่า แนวทางการแก้ปัญหาจึงต้องแก้ให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาที่แท้จริงซึ่งสอดคล้องกับสภาพปัญหาหรือปลายเหตุของปัญหา ซึ่งภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์มีการจัดทำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ที่ระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2542-2546 ที่พัฒนามาจากความมั่นคงเดิมที่ทำมา ในสมัย พล.อ.เปรม เป็นนายกมีการจัดตั้ง ศอ.บต. ขึ้นมาเพื่อดูแลการใช้นโยบายเพื่อการแก้ปัญหาความั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ และให้ ศอ.บต. 43 เป็นผู้รับผิดชอบในการใช้กำลังในการแก้ปัญหา และยุทธการ โดยมีการพัฒนานโยบายนี้ เพื่อจะแก้ปัญหารากเหง้าระดับโครงสร้างระดับ ระดับผิวหน้า ซึ่ง สาระสำคัญอยู่ตรงที่ไม่มองความหลากหลาย ทางสังคมวัฒนธรรมเป็นปัญหา แต่มองว่าเป็นทุนสังคม ข้อได้เปรียบทางสังคมไทย ที่ต้องหยิบฉวยมาใช้เป็นประโยชน์ให้ได้ และการแก้ปัญหาโดยสรุปจากส่วนกลางทั้งหมดไม่ได้ ต้องการเน้นการมีส่วนรวมของส.ส. ในพื้นที่
“ศอ.บต. 42-46 จึงมุ่งเน้นสามส่วน บุคคล ให้อยู่การแก้ปัญหาในทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาในสามส่วนให้อยู่ดีกินดี สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการ พัฒนาบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา ศาสนาวัฒนธรรมประเพณี การมีส่วนร่วมของประชาชนมาคิดค้นการแก้ปัญหา ตรวจสอบการแก้ปัญหา นั้น เป็นนโยบายที่รากเหง้า ศอ.บต. เป็นผู้ดูแล และควบคู่ไปกับการดูแลการเป็นองค์กรหลัก ที่จะผลักดันโครงการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน นั่นก็คือมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาธุรกิจสีเทา ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ก็จะคลี่คลาย ในที่สุดพื้นที่ตรงนี้จะกลายเป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงและมั่นคั่ง” นายสนั่นสรุป
ต่อมา ดร.สุรินทร์ ได้เสวนาเป็นคนสุดท้ายว่า ในอดีตเคยเคยมีความคิดที่เป็น รัฐนิยม ที่เห็นว่าประชาชนในทุกท้องถิ่นต้องปรับตัวเองให้กับรัฐส่วนกลาง เพื่อสร้างความมั่นคง แต่ต่อมาก็พบว่าแนวคิดดังกล่าวทำให้ ประชาชนรู้สึกอึดอัด เกิดช่องว่างระหว่างรัฐกับประชาชน จนความขัดแย้งปะทุกลายเป็นความรุนแรงในที่สุด ต่อมาแนวความคิดในการแก้ปัญหาได้เปลี่ยนไป โดยเชื่อว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ถือเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีค่า ที่นำความคิดเห็นที่แตกต่าง มาช่วยกันพัฒนาชาติได้
ดร.สุรินทร์ กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์ว่า จากแนวความคิดที่เห็นคุณค่าของความหลากหลาย ทำให้มีการตั้งหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนรวม ในรูปของ ศอ.บต. ซึ่งช่วยประสานความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานราชการ และประชาชน รวมทั้งผู้นำทางศาสนาในพื้นที่ จากการมีส่วนร่วมของประชาชนนี้เอง ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชาติ คอยเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐในการป้องกันเหตุการณ์รุนแรง อีกทั้งร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาชาติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็นำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นกรอบในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่มีการบริหารประเทศ ทำให้ช่องว่างระหว่างรัฐ ราชการ และประชาชน ลดลงไป เห็นได้จากเหตุการณ์รุนแรงที่ลดลงมาโดยตลอด
ดร.สุรินทร์ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กลับมีบางกลุ่มพยายามถ่างช่องว่างระหว่างรัฐและประชาชนออกไป โดยพยายามโยนความผิดในทุกเรื่องไปที่ข้าราชการ ให้ร้ายข้าราชการว่าเป็นตัวกดขี่ข่มเหงประชาชน จนในที่สุดทำข้าราชการเป็นผู้ร้าย กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชน ทั้งที่แท้จริงแล้ว ข้าราชการส่วนใหญ่ได้ดำเนินการอยู่ในกรอบของความดี ไม่ได้สร้างปัญหาแต่อย่างใด
แนวคิดในการรวบอำนาจ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความรุนแรงปะทุขึ้นอีกครั้ง แนวคิดแบบซีอีโอ ที่รวบอำนาจการตัดสินใจเข้าสู่ส่วนกลาง ด้วยความเชื่อที่ว่าตนเองรู้ทุกอย่างดี ทำให้การมองปัญหาเป็นไปด้วยความผิดพลาด การล้วงลูกของฝ่ายการเมืองที่เข้าไปจัดการปัญหาด้วยตนเองในทุกเรื่อง พร้อมๆกับการยัดเยียดความผิดให้กับข้าราชการ ทำให้ข้าราชการในพื้นที่ซึ่งใกล้ชิด และเข้าใจในปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจดำเนินการใดๆ
ดร.สุรินทร์ กล่าวถึง การยุบ ศอ.บต.ด้วยว่า ทำให้ เครือข่ายของประชาชนในท้องถิ่นที่ฝังรากลึกไปถึงระดับหมู่บ้าน รู้สึกว่าไม่มีหน้าที่ที่ต้องคอยดูแลปัญหาต่างๆ การตัดสินใจยึดติดจากความรู้สึกจากส่วนกลางที่ไม่ได้เข้าไปสัมผัสกับข้อเท็จจริง รวมทั้งการมองปัญหาแบบง่ายเกินไป ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด เห็นได้จากกรณีการระเบิดที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ เมื่อต้นปีที่แล้ว ที่ผู้ตัดสินใจ เชื่อและกล่าวอยู่เสมอว่า รู้ปัญหาหมดแล้ว จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ภายใน 3 เดือน แต่มาบัดนี้ปัญหาความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญานของสันติ
ดร.สุรินทร์ ยังกล่าวถึงการเพิกถอนคนสองสัญชาติด้วยว่า เมื่อครั้ง นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เคยมีการพูดคุยเรื่องนี้กับนายกฯมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย เพื่อขอถอนสัญชาติ เฉพาะพวกที่ก่อปัญหาเท่านั้นถึงทั้งสองฝ่ายก็เห็นพ้องต้องกัน และรัฐบาลชุดนี้ กลับแสดงความไม่เข้าใจ ด้วยคิดว่า คนสองสัญชาติเป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมด ทั้งๆที่ความจริงแล้ว คนกลุ่มนี้เพียงบางส่วนเท่านั้นที่ก่อปัญหา การเหมารวมถอนสัญชาติทั้งหมด ทำให้กลุ่มคนดีที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างไทยและมาเลเซีย ไม่สามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้อย่าง
ในตอนท้าย ดร.สุรินทร์ ได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาว่า ต้องมีวิธีคิดที่มองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ในปัจจุบันผู้มีอำนาจตัดสินใจมักมองเพียงว่า ปัญหาเกิดการสร้างความวุ่นวายของกลุ่มโจรติดยาเสพติด แล้วเข้าไปแก้ปัญหาที่จุดต้น ซึ่งความคิดดังกล่าวถือว่ายังมองปัญหาไม่ถึงรากเหง้า ซึ่งหากมองให้ลึกลงไปจะพบว่า การที่คนติดยาเสพย์ติด เพราะไม่มีงานทำ คนไม่มีงานทำ เพราะไม่มีคุณภาพ คนที่ไม่มีคุณภาพเพราะไม่มีการศึกษา คนที่ไม่มีการศึกษา เพราะขาดโอกาสที่เข้าถึงการศึกษา ซึ่งด้วยตรรกะดังกล่าว ประชาธิปัตย์จึงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการเน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้กับประชาชนในพื้นที่จัดหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้กับเยาวชนในท้องถิ่น เพื่อให้มีโอกาสเข้าศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เพราะเชื่อว่าเยาวชน เหล่านี้ ก็คือ ผู้นำในอนาคต หากเขามีโอกาสที่ดีทางการศึกษา ย่อมพบกับโอกาสดีๆในชีวิต ซึ่งนั่นย่อมทำให้ความขัดแย้งต่างๆ ถูกขจัดไปอย่างสิ้นเชิง--จบ--
-สส-