กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดการสัมมนา เรื่อง “ ทรัพย์สินทางปัญญากับการเจรจาการค้ารอบใหม่ใน WTO ” เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2545 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 217 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ของภาคเอกชน นักวิชาการ รัฐวิสาหกิจและส่วนราชการ จากแบบประเมินผลที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาตอบกลับมาสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ทรัพย์สินทางปัญญามีความเกี่ยวข้องกับการค้าผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เห็นว่าช่วยให้สามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญาของผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 29 เห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญาถูกใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้ามากขึ้น และร้อยละ 1 เห็นว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าแต่เป็นการให้รางวัลแก่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ
2. การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนใหญ่ร้อยละ86เห็นว่าจำเป็นต้องมีทั้งกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อมิให้มีการละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น ตลาดต่างประเทศต้องมีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาการคุ้มครองจะจูงใจให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุน จากต่างประเทศและการคุ้มครองเป็นเหตุจูงใจให้เกิดการสร้างสรร ส่วนการดูแลสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนและเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
3. บทบาทของภาคเอกชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57 เห็นว่าภาคเอกชนควรดูแลผลประโยชน์ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาของตนให้มากขึ้น รวมทั้งเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศด้วยร้อยละ 42 เห็นว่าควรมีการแบ่งปันความรับผิดชอบระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างชัดเจนในการ ดูแลผลประโยชน์และร้อยละ 1 เห็นว่าไม่จำเป็น เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ควรจะปกป้อง
4. ความช่วยเหลือของภาครัฐในการดูแลสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่ภาคเอกชนต้องการมากที่สุด ส่วนใหญ่ร้อยละ 46 เห็นว่า ควรให้คำแนะนำ และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าและบริการ รองลงมาร้อยละ 35 ต้องการให้ภาครัฐอำนวยความสะดวกในการจด สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ และร้อยละ 17 เห็นว่าควรจัดสัมมนาให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา อย่างสม่ำเสมอ 5. การให้ความสำคัญกับการพิทักษ์สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาทั้งของตนเองและผู้อื่น ส่วนใหญ่ร้อยละ 71 เห็นว่าหน่วยงานของตนให้ความ สำคัญมาก ร้อยละ 26 ให้ความสำคัญน้อย และร้อยละ 3 เห็นว่าไม่ให้ความสำคัญ
6. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยในอนาคต มีดังนี้ - กลยุทธ์ขยายการส่งออกของไทยในอนาคต ควรมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มีองค์ประกอบด้านทรัพย์สินทางปัญญาสูง เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อหน่วย ของสินค้าส่งออกมากกว่ามุ่งเน้นด้านปริมาณ - ปรับปรุงขั้นตอนในการรับรองการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้กระชับและรวดเร็วขึ้น (ปัจจุบันใช้เวลาในการจดทะเบียนเฉลี่ยประมาณ 2 ปี) - ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมีอยู่มากมาย วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทย รัฐควรดูแลประโยชน์ของประเทศ และปฏิบัติงานเชิงรุกให้รวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น - การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดมากเกินไป จะก่อให้เกิดการผูกขาดของกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งเรามักจะมองข้าม - ควรจัดทำคู่มือการจดทะเบียนในต่างประเทศ ฐานข้อมูลและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทุกระดับทราบ มากขึ้น โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และนำไปอยู่ในหลักสูตรภาคบังคับเรียนในระดับต่างๆ รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือสัมมนาเช่นนี้บ่อยๆ โดยอาจ แยกเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะเรื่อง 7. หลังจากฟังการสัมมนาแล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 96 เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น และร้อยละ 4 เห็นว่า มีความรู้ความเข้าใจเท่าเดิม
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2545--
-ปส-
1. ทรัพย์สินทางปัญญามีความเกี่ยวข้องกับการค้าผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เห็นว่าช่วยให้สามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญาของผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 29 เห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญาถูกใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้ามากขึ้น และร้อยละ 1 เห็นว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าแต่เป็นการให้รางวัลแก่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ
2. การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนใหญ่ร้อยละ86เห็นว่าจำเป็นต้องมีทั้งกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อมิให้มีการละเมิดสิทธิ ของผู้อื่น ตลาดต่างประเทศต้องมีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาการคุ้มครองจะจูงใจให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุน จากต่างประเทศและการคุ้มครองเป็นเหตุจูงใจให้เกิดการสร้างสรร ส่วนการดูแลสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชนและเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
3. บทบาทของภาคเอกชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57 เห็นว่าภาคเอกชนควรดูแลผลประโยชน์ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาของตนให้มากขึ้น รวมทั้งเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศด้วยร้อยละ 42 เห็นว่าควรมีการแบ่งปันความรับผิดชอบระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างชัดเจนในการ ดูแลผลประโยชน์และร้อยละ 1 เห็นว่าไม่จำเป็น เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ควรจะปกป้อง
4. ความช่วยเหลือของภาครัฐในการดูแลสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาที่ภาคเอกชนต้องการมากที่สุด ส่วนใหญ่ร้อยละ 46 เห็นว่า ควรให้คำแนะนำ และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าและบริการ รองลงมาร้อยละ 35 ต้องการให้ภาครัฐอำนวยความสะดวกในการจด สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ และร้อยละ 17 เห็นว่าควรจัดสัมมนาให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา อย่างสม่ำเสมอ 5. การให้ความสำคัญกับการพิทักษ์สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาทั้งของตนเองและผู้อื่น ส่วนใหญ่ร้อยละ 71 เห็นว่าหน่วยงานของตนให้ความ สำคัญมาก ร้อยละ 26 ให้ความสำคัญน้อย และร้อยละ 3 เห็นว่าไม่ให้ความสำคัญ
6. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยในอนาคต มีดังนี้ - กลยุทธ์ขยายการส่งออกของไทยในอนาคต ควรมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มีองค์ประกอบด้านทรัพย์สินทางปัญญาสูง เพื่อเพิ่มมูลค่าต่อหน่วย ของสินค้าส่งออกมากกว่ามุ่งเน้นด้านปริมาณ - ปรับปรุงขั้นตอนในการรับรองการจดทะเบียนสิทธิบัตรให้กระชับและรวดเร็วขึ้น (ปัจจุบันใช้เวลาในการจดทะเบียนเฉลี่ยประมาณ 2 ปี) - ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมีอยู่มากมาย วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทย รัฐควรดูแลประโยชน์ของประเทศ และปฏิบัติงานเชิงรุกให้รวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น - การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดมากเกินไป จะก่อให้เกิดการผูกขาดของกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งเรามักจะมองข้าม - ควรจัดทำคู่มือการจดทะเบียนในต่างประเทศ ฐานข้อมูลและเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทุกระดับทราบ มากขึ้น โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และนำไปอยู่ในหลักสูตรภาคบังคับเรียนในระดับต่างๆ รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือสัมมนาเช่นนี้บ่อยๆ โดยอาจ แยกเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะเรื่อง 7. หลังจากฟังการสัมมนาแล้ว ส่วนใหญ่ร้อยละ 96 เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น และร้อยละ 4 เห็นว่า มีความรู้ความเข้าใจเท่าเดิม
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2545--
-ปส-