โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการปรับเปลี่ยน ครม.ของรัฐบาล ระบุ ไม่ได้เป็นการปรับเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการ แต่รับเหตุผลทางการเมืองการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซ้ำ แฝงเสือเก่าทางการเมืองและโยงใยกลุ่มทุน ชี้ ให้ประชาชน จับตา การคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายครั้งใหญ่ เรียกร้อง แจงนโยบายกระทรวงใหม่เพราะประชาชนยังสับสนในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า ก็ต้องให้โอกาสกับรัฐมนตรีคนใหม่ที่เข้ามาทำงานเพื่อที่จะเห็นผลงานที่ชัดเจนด้วย
เมื่อเวลา 13.45 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคฯ แถลงถึงกรณีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีใหม่ของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีแล้ว ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เอง มีความรู้สึกไม่แตกต่างจากนักวิชาการ ประชาชน องค์กรประชาธิปไตย หรือแม้แต่สื่อมวลชนหลายแขนงที่รู้สึกว่าการปรับ ครม.ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการปรับเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการใหม่เหมือนที่นายกรัฐมนตรีได้เคยประกาศไว้ กลับเป็นการประกาศโดยใช้เหตุผลทางการเมืองในการตัดสินใจ และยังเห็นชัดว่าเป็นการสะท้อนถึงการไม่รับฟังเสียงของประชาชนซึ่งมีการเรียกร้องก่อนหน้านี้ ถึงความยอมรับในรัฐมนตรีบางคน
นายสาทิตย์ กล่าวว่า สิ่งที่พรรคจะติดตามและให้ความเป็นห่วงจากนี้ไป คือ การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งต้องยอมรับว่าการปรับเปลี่ยน ครม.ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อรัฐมนตรีซึ่งกำกับนโยบายอยู่เดิม เห็นได้ชัดว่า ในบางนโยบายที่เริ่มจะมีปัญหา ก็มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีออกไป เช่น ในกรณีกระทรวงสาธารณสุข หรือ กระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ที่หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตด้วยความเป็นห่วงว่า หลังจากปรับไปแล้วนโยบายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และกระทรวงใหม่ที่เกิดขึ้นทั้ง 6 กระทรวงนั้น เกิดท่ามกลางความสับสน และความกังขาของหลายฝ่ายว่ามีวัตถุประสงค์และมีนโยบายที่จะดำเนินการไปในทิศทางใด เช่น กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์นั้นเป็นกระทรวงซึ่งหลายฝ่ายมีความคาดหวังสูง แต่นายกฯก็กลับให้รัฐมนตรีที่ยังไม่เคยปรากฏว่ามีความรอบรู้ชำนาญในด้านนี้เข้าไปรับผิดชอบ จึงอยากจะเรียกร้องรัฐบาลให้ออกมาชี้แจงถึงนโยบายและแนวทางของกระทรวงใหม่ให้เกิดความชัดเจน มิเช่นนั้นจะทำให้กลายเป็นความสับสนว่าเป็นการปรับเพื่อรองรับเหตุผลทางการเมืองเท่านั้น
“โดยเฉพาะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งกระทรวงนี้ต้องยอมรับว่าเป็นกระทรวงที่มีที่มาเป็นจุดประสงค์พิเศษของนายกฯ เพราะไม่เคยปรากฏในการทำเวิร์คช็อปมาก่อน และการแต่งตั้ง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็น รมว. ซึ่งเป็นที่ทราบกันในวงภายในว่า มีความสนิทสนมอย่างใกล้ชิดกับ นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริยะเดช ซึ่งเป็นคนของบริษัทชินคอร์ป และเคยออกมาตอบโต้นายศิริโชค โสภาในกรณีของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ และมียังมีสายสัมพันธ์โยงใยไปถึงภรรยาของนายกฯ และอาณาจักรธุรกิจในกลุ่มชินฯ ด้วย จึงเป็นที่น่าจับตามองว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศนี้จะมีทิศทางไปในวันข้างหน้าอย่างไร” นายสาทิตย์ กล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สิ่งที่พรรคจะต้องจับตามองก็อีกข้อก็คือ การปรับ ครม.ครั้งนี้นั้น มีรัฐมนตรีหลายคนที่วงการเมืองรู้จักกันในนามของเสือเก่าทางการเมือง รวมทั้งมีตัวแทนของกลุ่มทุน ที่สัมพันธ์โยงใยกับรัฐบาลและยังเป็นกลุ่มทุนผูกขาด ซึ่งอาจจะมีการเตรียมดำเนินการในลักษณะที่เรียกว่า “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบายครั้งใหญ่” หรือไม่ เพราะที่ผ่านมานั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่เปิดโปงเรื่องของการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายที่แม้จะมีข้อมูลที่ออกมาชัดเจน แต่ดูเหมือนว่าช่วงหลังข่าวที่เงียบหายไปก็อาจจะทำให้รัฐบาลเองมีความรู้สึกว่าประชาชนลืมไปแล้ว เลยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรี โดยที่เอาหลายคนที่เรียกว่าเสือเก่าทางการเมือง มารับตำแหน่งใหญ่และตำแหน่งสำคัญ รวมถึงยังโยงใยไปถึงคนใกล้ชิดกับคนในรัฐบาลที่เข้ามารับตำแหน่งอีกด้วย
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องให้โอกาสกับรัฐมนตรีที่เป็นคนใหม่ที่เข้ามาทำงานเพื่อที่จะเห็นผลงานที่ชัดเจน การไปวิพากษ์วิจารณ์เสียก่อนว่า ไม่มีความรู้ความสามารถอย่างไร ก็คงจะยังสรุปไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่นายกฯไม่ได้ใช้โอกาสที่มีอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นความมีอำนาจเต็มในการปรับเปลี่ยนครม. โดยไม่ต้องคำนึงถึงกลุ่มถึงพรรคร่วมรัฐบาลอย่างรัฐบาลผสมในอดีต ซึ่งน่าที่จะใช้โอกาสนี้ในการที่จะนำคนที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาทำงานและให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา แต่กลับไปใช้เหตุผลในทางการเมือง ซึ่งพรรคเคยวิเคราะห์ไว้ว่านายกฯคงไม่ได้ตั้งใจที่จะอยู่ครบเทอม น่าที่จะมีการยุบสภาก่อน ซึ่งไม่ใช่ผลที่จะเกิดจากความขัดแย้งภายใน แต่น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1.หลีกเลี่ยงความล้มเหลวของนโยบาย และ2. ช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง การปรับครม.ครั้งนี้น่าจะเป็นการรองรับ 2 เหตุผลดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการแต่งตั้งนางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยาของประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย มาเป็นรัฐมนตรีวัฒนธรรมฯว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า ก็ต้องให้โอกาสในการทำงาน แม้ว่าจะมีที่มาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่ามีความรู้ที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องจับตาดูต่อไป เพียงแต่คำถามที่เกิดขึ้นมากในขณะนี้ก็คือ รัฐบาลได้ถือโอกาสนี้ปูทางหรือเป็นการเตรียมแนวทางสำหรับกระทรวงใหม่ที่เกิดขึ้น ด้วยความเอาจริงเอาจังมากน้อยเพียงใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากคุณภาพของคนที่เข้าไปรับตำแหน่งด้วย ส่วนกรณีของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า ก็ชัดเจนว่าอาจเป็นข้อตกลงระหว่างความหวังใหม่กับไทยรักไทยก่อนรวมพรรค
ต่อข้อถามถึงการดึงนายวิษณุ เครืองาม มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ตอบว่า คงต้องให้โอกาสท่านทำงาน ในฐานะที่เป็นคนซึ่งมีความรอบรู้เข้าใจเรื่องกฎหมาย เพราะต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีข้ออ่อนเรื่องกฎหมายค่อนข้างมาก การได้นายวิษณุมาก็จะเป็นการช่วยทำให้กฎหมายของรัฐบาลที่เป็นจุดอ่อนจะได้รับการแก้ไขมากขึ้น ซึ่ง ถ้าหากรัฐบาลคิดจะใช้ประโยชน์จากอาจารย์วิษณุ ในแง่ของกฎหมาย ต่อไปนี้ก็ควรที่จะเคารพในกระบวนการนิติบัญญัติ หรือเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ มากกว่าที่เป็นมาแล้วในกรณีของกฎหมายปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งกลายเป็นการฉกฉวยช่องว่างจาก จุดอ่อนของรัฐธรรมนูญบางส่วนที่เขียนไว้ไม่ชัด ก็เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ--จบ--
-สส-
เมื่อเวลา 13.45 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคฯ แถลงถึงกรณีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีใหม่ของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีแล้ว ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เอง มีความรู้สึกไม่แตกต่างจากนักวิชาการ ประชาชน องค์กรประชาธิปไตย หรือแม้แต่สื่อมวลชนหลายแขนงที่รู้สึกว่าการปรับ ครม.ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการปรับเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการใหม่เหมือนที่นายกรัฐมนตรีได้เคยประกาศไว้ กลับเป็นการประกาศโดยใช้เหตุผลทางการเมืองในการตัดสินใจ และยังเห็นชัดว่าเป็นการสะท้อนถึงการไม่รับฟังเสียงของประชาชนซึ่งมีการเรียกร้องก่อนหน้านี้ ถึงความยอมรับในรัฐมนตรีบางคน
นายสาทิตย์ กล่าวว่า สิ่งที่พรรคจะติดตามและให้ความเป็นห่วงจากนี้ไป คือ การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งต้องยอมรับว่าการปรับเปลี่ยน ครม.ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อรัฐมนตรีซึ่งกำกับนโยบายอยู่เดิม เห็นได้ชัดว่า ในบางนโยบายที่เริ่มจะมีปัญหา ก็มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีออกไป เช่น ในกรณีกระทรวงสาธารณสุข หรือ กระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ที่หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตด้วยความเป็นห่วงว่า หลังจากปรับไปแล้วนโยบายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และกระทรวงใหม่ที่เกิดขึ้นทั้ง 6 กระทรวงนั้น เกิดท่ามกลางความสับสน และความกังขาของหลายฝ่ายว่ามีวัตถุประสงค์และมีนโยบายที่จะดำเนินการไปในทิศทางใด เช่น กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์นั้นเป็นกระทรวงซึ่งหลายฝ่ายมีความคาดหวังสูง แต่นายกฯก็กลับให้รัฐมนตรีที่ยังไม่เคยปรากฏว่ามีความรอบรู้ชำนาญในด้านนี้เข้าไปรับผิดชอบ จึงอยากจะเรียกร้องรัฐบาลให้ออกมาชี้แจงถึงนโยบายและแนวทางของกระทรวงใหม่ให้เกิดความชัดเจน มิเช่นนั้นจะทำให้กลายเป็นความสับสนว่าเป็นการปรับเพื่อรองรับเหตุผลทางการเมืองเท่านั้น
“โดยเฉพาะกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งกระทรวงนี้ต้องยอมรับว่าเป็นกระทรวงที่มีที่มาเป็นจุดประสงค์พิเศษของนายกฯ เพราะไม่เคยปรากฏในการทำเวิร์คช็อปมาก่อน และการแต่งตั้ง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็น รมว. ซึ่งเป็นที่ทราบกันในวงภายในว่า มีความสนิทสนมอย่างใกล้ชิดกับ นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริยะเดช ซึ่งเป็นคนของบริษัทชินคอร์ป และเคยออกมาตอบโต้นายศิริโชค โสภาในกรณีของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ และมียังมีสายสัมพันธ์โยงใยไปถึงภรรยาของนายกฯ และอาณาจักรธุรกิจในกลุ่มชินฯ ด้วย จึงเป็นที่น่าจับตามองว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศนี้จะมีทิศทางไปในวันข้างหน้าอย่างไร” นายสาทิตย์ กล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สิ่งที่พรรคจะต้องจับตามองก็อีกข้อก็คือ การปรับ ครม.ครั้งนี้นั้น มีรัฐมนตรีหลายคนที่วงการเมืองรู้จักกันในนามของเสือเก่าทางการเมือง รวมทั้งมีตัวแทนของกลุ่มทุน ที่สัมพันธ์โยงใยกับรัฐบาลและยังเป็นกลุ่มทุนผูกขาด ซึ่งอาจจะมีการเตรียมดำเนินการในลักษณะที่เรียกว่า “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบายครั้งใหญ่” หรือไม่ เพราะที่ผ่านมานั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่เปิดโปงเรื่องของการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายที่แม้จะมีข้อมูลที่ออกมาชัดเจน แต่ดูเหมือนว่าช่วงหลังข่าวที่เงียบหายไปก็อาจจะทำให้รัฐบาลเองมีความรู้สึกว่าประชาชนลืมไปแล้ว เลยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรี โดยที่เอาหลายคนที่เรียกว่าเสือเก่าทางการเมือง มารับตำแหน่งใหญ่และตำแหน่งสำคัญ รวมถึงยังโยงใยไปถึงคนใกล้ชิดกับคนในรัฐบาลที่เข้ามารับตำแหน่งอีกด้วย
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องให้โอกาสกับรัฐมนตรีที่เป็นคนใหม่ที่เข้ามาทำงานเพื่อที่จะเห็นผลงานที่ชัดเจน การไปวิพากษ์วิจารณ์เสียก่อนว่า ไม่มีความรู้ความสามารถอย่างไร ก็คงจะยังสรุปไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่นายกฯไม่ได้ใช้โอกาสที่มีอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นความมีอำนาจเต็มในการปรับเปลี่ยนครม. โดยไม่ต้องคำนึงถึงกลุ่มถึงพรรคร่วมรัฐบาลอย่างรัฐบาลผสมในอดีต ซึ่งน่าที่จะใช้โอกาสนี้ในการที่จะนำคนที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาทำงานและให้เกิดความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา แต่กลับไปใช้เหตุผลในทางการเมือง ซึ่งพรรคเคยวิเคราะห์ไว้ว่านายกฯคงไม่ได้ตั้งใจที่จะอยู่ครบเทอม น่าที่จะมีการยุบสภาก่อน ซึ่งไม่ใช่ผลที่จะเกิดจากความขัดแย้งภายใน แต่น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1.หลีกเลี่ยงความล้มเหลวของนโยบาย และ2. ช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง การปรับครม.ครั้งนี้น่าจะเป็นการรองรับ 2 เหตุผลดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการแต่งตั้งนางอุไรวรรณ เทียนทอง ภรรยาของประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย มาเป็นรัฐมนตรีวัฒนธรรมฯว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่า ก็ต้องให้โอกาสในการทำงาน แม้ว่าจะมีที่มาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่ามีความรู้ที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องจับตาดูต่อไป เพียงแต่คำถามที่เกิดขึ้นมากในขณะนี้ก็คือ รัฐบาลได้ถือโอกาสนี้ปูทางหรือเป็นการเตรียมแนวทางสำหรับกระทรวงใหม่ที่เกิดขึ้น ด้วยความเอาจริงเอาจังมากน้อยเพียงใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากคุณภาพของคนที่เข้าไปรับตำแหน่งด้วย ส่วนกรณีของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า ก็ชัดเจนว่าอาจเป็นข้อตกลงระหว่างความหวังใหม่กับไทยรักไทยก่อนรวมพรรค
ต่อข้อถามถึงการดึงนายวิษณุ เครืองาม มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ตอบว่า คงต้องให้โอกาสท่านทำงาน ในฐานะที่เป็นคนซึ่งมีความรอบรู้เข้าใจเรื่องกฎหมาย เพราะต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีข้ออ่อนเรื่องกฎหมายค่อนข้างมาก การได้นายวิษณุมาก็จะเป็นการช่วยทำให้กฎหมายของรัฐบาลที่เป็นจุดอ่อนจะได้รับการแก้ไขมากขึ้น ซึ่ง ถ้าหากรัฐบาลคิดจะใช้ประโยชน์จากอาจารย์วิษณุ ในแง่ของกฎหมาย ต่อไปนี้ก็ควรที่จะเคารพในกระบวนการนิติบัญญัติ หรือเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ มากกว่าที่เป็นมาแล้วในกรณีของกฎหมายปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งกลายเป็นการฉกฉวยช่องว่างจาก จุดอ่อนของรัฐธรรมนูญบางส่วนที่เขียนไว้ไม่ชัด ก็เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ--จบ--
-สส-