กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในโอกาสที่ พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2545 นั้น จะมีพิธีลงนามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Russian Federation on the Promotion and Reciprocal Protection of Investments) ในวันที่ 17 ตุลาคม 2545 เวลา 18.00 น. ณ ทำเนียบนายกรัฐมนตรี ที่กรุงมอสโก โดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนาม รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และนาย Valadimir Karatin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจและการค้ารัสเซียเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในพิธีลงนามดังกล่าวมี พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนาย Mikhail Kasyanov นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซียเป็นประธานและสักขีพยานการลงนาม
ไทยและสหพันธรัฐรัสเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 โดยความสัมพันธ์ได้ดำเนินจนถึงปี พ.ศ. 2460 เมื่อรัสเซียเกิดการปฏิวัติสังคมนิยมและสถาปนาประเทศสหภาพโซเวียตขึ้น ไทยจึงได้ถอนการมีผู้แทนทางการทูตที่ดูแลรัสเซียและยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันลงชั่วคราว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงได้กลับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี พ.ศ. 2490 จนถึงปัจจุบัน การค้าระหว่างไทยและสหพันธรัฐรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2544 มีมูลค่ารวม 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ารัสเซียมาโดยตลอด สินค้าส่งออกจากไทยไปสหพันธรัฐรัสเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคที่มีมูลค่าน้อย ได้แก่ น้ำตาล เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน ข้าว ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่สินค้านำเข้าจากสหพันธรัฐรัสเซียเป็นสินค้า อุตสาหกรรมและวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูง ได้แก่เหล็กและเหล็กกล้า น้ำมันสำเร็จรูป สินแร่โลหะ ปุ๋ย เส้นใยใช้ในการทอและกระดาษ เป็นต้น
การลงทุนระหว่างไทยกับรัสเซีย ส่วนใหญ่เป็นการร่วมลงทุนในการประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า การขนส่ง และกิจการท่องเที่ยวในไทย โดยการลงทุนในลักษณะ Joint Venture ที่ขอรับการส่งเสริมจาก BOI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 (มกราคม-สิงหาคม) มี 4 โครงการ เปิดดำเนินการแล้ว 1 โครงการ คือโครงการผลิต Cat Fish Food และ ได้รับอนุมัติแล้ว 1 โครงการ คือโครงการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาง และอยู่ระหว่างการขอรับการส่งเสริม 2 โครงการ คือ โครงการผลิตถุงพลาสติก และโครงการผลิตเครื่องสำอาง รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 910.72 ล้านบาท
การจัดทำความตกลงดังกล่าว จะเป็นกรอบและกลไกที่ให้การสนับสนุนพร้อมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนแก่ผู้ลงทุนของทั้งสองประเทศ โดยผู้ลงทุนและการลงทุนของประเทศคู่ภาคี จะได้รับการประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่ อันจะส่งผลให้นักธุรกิจของทั้งสองประเทศมีความมั่นใจที่จะลงทุนทำธุรกิจระหว่างกันมากขึ้น
ดังสรุปสาระสำคัญของความตกลงฯ แนบมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
ในโอกาสที่ พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2545 นั้น จะมีพิธีลงนามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Russian Federation on the Promotion and Reciprocal Protection of Investments) ในวันที่ 17 ตุลาคม 2545 เวลา 18.00 น. ณ ทำเนียบนายกรัฐมนตรี ที่กรุงมอสโก โดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนาม รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และนาย Valadimir Karatin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจและการค้ารัสเซียเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในพิธีลงนามดังกล่าวมี พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนาย Mikhail Kasyanov นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซียเป็นประธานและสักขีพยานการลงนาม
ไทยและสหพันธรัฐรัสเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 โดยความสัมพันธ์ได้ดำเนินจนถึงปี พ.ศ. 2460 เมื่อรัสเซียเกิดการปฏิวัติสังคมนิยมและสถาปนาประเทศสหภาพโซเวียตขึ้น ไทยจึงได้ถอนการมีผู้แทนทางการทูตที่ดูแลรัสเซียและยุติความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันลงชั่วคราว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงได้กลับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี พ.ศ. 2490 จนถึงปัจจุบัน การค้าระหว่างไทยและสหพันธรัฐรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2544 มีมูลค่ารวม 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ารัสเซียมาโดยตลอด สินค้าส่งออกจากไทยไปสหพันธรัฐรัสเซียส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคที่มีมูลค่าน้อย ได้แก่ น้ำตาล เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน ข้าว ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่สินค้านำเข้าจากสหพันธรัฐรัสเซียเป็นสินค้า อุตสาหกรรมและวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูง ได้แก่เหล็กและเหล็กกล้า น้ำมันสำเร็จรูป สินแร่โลหะ ปุ๋ย เส้นใยใช้ในการทอและกระดาษ เป็นต้น
การลงทุนระหว่างไทยกับรัสเซีย ส่วนใหญ่เป็นการร่วมลงทุนในการประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า การขนส่ง และกิจการท่องเที่ยวในไทย โดยการลงทุนในลักษณะ Joint Venture ที่ขอรับการส่งเสริมจาก BOI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 (มกราคม-สิงหาคม) มี 4 โครงการ เปิดดำเนินการแล้ว 1 โครงการ คือโครงการผลิต Cat Fish Food และ ได้รับอนุมัติแล้ว 1 โครงการ คือโครงการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาง และอยู่ระหว่างการขอรับการส่งเสริม 2 โครงการ คือ โครงการผลิตถุงพลาสติก และโครงการผลิตเครื่องสำอาง รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 910.72 ล้านบาท
การจัดทำความตกลงดังกล่าว จะเป็นกรอบและกลไกที่ให้การสนับสนุนพร้อมทั้งอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนแก่ผู้ลงทุนของทั้งสองประเทศ โดยผู้ลงทุนและการลงทุนของประเทศคู่ภาคี จะได้รับการประติบัติที่เป็นธรรมและการคุ้มครองอย่างเต็มที่ อันจะส่งผลให้นักธุรกิจของทั้งสองประเทศมีความมั่นใจที่จะลงทุนทำธุรกิจระหว่างกันมากขึ้น
ดังสรุปสาระสำคัญของความตกลงฯ แนบมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-