กรุงเทพฯ--25 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรี เอเปคที่เมืองลอส คาบอส ประเทศเม็กซิโก
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545 ที่ประเทศเม็กซิโก ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยได้สรุปภารกิจและกิจกรรมสำคัญๆที่เกิดขึ้นในวันนี้ ดังนี้
1.การประชุมรัฐมนตรีเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) มีเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่อง
คือ เรื่องการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย และเรื่องการค้าพหุภาคี หรืออีกนัยหนึ่งคือเรื่องที่เกี่ยวกับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยในเรื่องแรก ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับนานาชาติในการแก้ปัญหาการก่อการร้ายภายใต้กรอบของสหประชาชาติมาโดยตลอด อาทิ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศกับออสเตรเลียเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 และยังได้ลงนามความตกลงกับสหภาพยุโรปในเรื่องการป้องกันการฟอกเงิน เพราะเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการดำเนินการของขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังได้ร่วมมือกับประเทศสมาชิก ARF ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าประเทศไทย เห็นด้วยกับข้อริเริ่มเกี่ยวกับความมั่นคงทางการค้าในภูมิภาคเอเปค (Secure Trade in the APEC Region) หรือ STAR ของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ให้การค้าและการ ขนส่งระหว่างประเทศมีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ภาคเอกชนควรจะมีส่วนร่วมรับรู้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อสามารถที่จะปรับตัวได้ทันท่วงที เนื่องจากมาตรการดังกล่าวอาจมีผลกระทบกับต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้า
ในเรื่องที่เกี่ยวกับองค์การการค้าโลกนั้น ดร.สุรเกียรติ์ ฯได้ย้ำกับที่ประชุมว่ามาตรการใดๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรนั้น นอกจากควรหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วยังควรที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วย นอกจากนั้นเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญชวนให้สมาชิกเอเปคส่งบุคลากรเข้าอบรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่สถาบันการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง UNCTAD กับประเทศไทย
2. การกล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารกลางวันของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า รัฐบาลไทยเห็นด้วยกับข้อริเริ่ม STAR ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมาตรการตรวจสอบการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และได้ย้ำให้ภาคเอกชน ซึ่งรวมถึงสมาชิกสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคให้เข้ามามีบทบาทและรับทราบถึงมาตรการดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงความร่วมมือเอเชียหรือ ACD ซึ่งเป็นความริเริ่มของ ฯพณฯนายรัฐมนตรี
โดย ACD เป็นเวทีความร่วมมือของประเทศสมาชิกในเรื่องต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น หากสมาชิก ACD เข้มแข็งขึ้นก็จะสามารถเป็นคู่ค้าและผู้ลงทุนที่ดีของเอเปคได้ ทั้งนี้สมาชิกเอเปค 10 ประเทศก็ยังเป็นสมาชิกของ ACD อีกด้วย นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังได้กล่าวถึง Asian Bond ซึ่งเป็นความคิดที่ได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ เป็นอย่างมาก และในที่ประชุม ASEM ครั้งล่าสุดที่ประเทศเดนมาร์กก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และมีแผนที่ จะศึกษาแนวคิดดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป
3. การพบปะหารือทวิภาคี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับ
นาย Phil Goff รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศนิวซีแลนด์เกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาครวมทั้งเรื่องการก่อการร้ายระหว่างประเทศ โดยนาย Phil Goff ได้แสดงความสนใจในเรื่องพัฒนาการทางการเมืองในประเทศพม่าซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าประเทศไทยกับประเทศพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไทยมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน ไทยให้การสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า และเห็นว่าในการเจรจาเพื่อนำไปสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาตินั้น นอกจากรัฐบาลพม่าและนางอองซานซูจีแล้ว ควรมีตัวแทนชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่ติดอาวุธอีก 2-3 กลุ่มร่วมอยู่ด้วย นอกจากนั้น ไทยยังร่วมมือกับพม่าในโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติดซึ่งออสเตรเลียและญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจเข้าร่วมในโครงการดังกล่าวด้วย ในการนี้ นิวซีแลนด์ได้แสดงความสนใจโดยจะศึกษาในรายละเอียดของโครงการดังกล่าวต่อไป
ในการพบกับนาย Allan Wagner รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเปรู ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นว่าทั้งไทยและเปรูสามารถเป็นประตูทางเศรษฐกิจ (Economic Gateway) ซึ่งกันและกัน โดยเปรูสามารถเป็นประตูให้ไทยเข้าสู่ประเทศละตินอเมริการวมทั้งประเทศสมาชิก NAFTA ซึ่งเปรูเป็นประเทศสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญประเทศหนึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวย้ำว่าไทยสามารถเป็น gateway สำหรับเปรูไม่เพียงแต่ประเทศในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอีกหลายประเทศซึ่งประเทศไทยกำลังทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ในขณะนี้ เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และบาเรนห์ เป็นต้น นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศเปรูได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปเยือนเปรูเพื่อกระชับความสัมพันธ์และหาลู่ทางความร่วมมือใน ด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยในระหว่างการเยือนนั้นจะได้มีการประชุมกรรมาธิการร่วมไทย-เปรู
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าจะนำภาคเอกชนไทยไปร่วมหารือกับคู่เจรจาด้านการค้าและการลงทุนภาคเอกชนของเปรูด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรี เอเปคที่เมืองลอส คาบอส ประเทศเม็กซิโก
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545 ที่ประเทศเม็กซิโก ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยได้สรุปภารกิจและกิจกรรมสำคัญๆที่เกิดขึ้นในวันนี้ ดังนี้
1.การประชุมรัฐมนตรีเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ (Retreat) มีเรื่องที่สำคัญ 2 เรื่อง
คือ เรื่องการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย และเรื่องการค้าพหุภาคี หรืออีกนัยหนึ่งคือเรื่องที่เกี่ยวกับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยในเรื่องแรก ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับนานาชาติในการแก้ปัญหาการก่อการร้ายภายใต้กรอบของสหประชาชาติมาโดยตลอด อาทิ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศกับออสเตรเลียเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 และยังได้ลงนามความตกลงกับสหภาพยุโรปในเรื่องการป้องกันการฟอกเงิน เพราะเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการดำเนินการของขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังได้ร่วมมือกับประเทศสมาชิก ARF ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าประเทศไทย เห็นด้วยกับข้อริเริ่มเกี่ยวกับความมั่นคงทางการค้าในภูมิภาคเอเปค (Secure Trade in the APEC Region) หรือ STAR ของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ให้การค้าและการ ขนส่งระหว่างประเทศมีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ภาคเอกชนควรจะมีส่วนร่วมรับรู้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อสามารถที่จะปรับตัวได้ทันท่วงที เนื่องจากมาตรการดังกล่าวอาจมีผลกระทบกับต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้า
ในเรื่องที่เกี่ยวกับองค์การการค้าโลกนั้น ดร.สุรเกียรติ์ ฯได้ย้ำกับที่ประชุมว่ามาตรการใดๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรนั้น นอกจากควรหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วยังควรที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วย นอกจากนั้นเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญชวนให้สมาชิกเอเปคส่งบุคลากรเข้าอบรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่สถาบันการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง UNCTAD กับประเทศไทย
2. การกล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารกลางวันของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่า รัฐบาลไทยเห็นด้วยกับข้อริเริ่ม STAR ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมาตรการตรวจสอบการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และได้ย้ำให้ภาคเอกชน ซึ่งรวมถึงสมาชิกสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคให้เข้ามามีบทบาทและรับทราบถึงมาตรการดังกล่าวตั้งแต่เริ่มต้น นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงความร่วมมือเอเชียหรือ ACD ซึ่งเป็นความริเริ่มของ ฯพณฯนายรัฐมนตรี
โดย ACD เป็นเวทีความร่วมมือของประเทศสมาชิกในเรื่องต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น หากสมาชิก ACD เข้มแข็งขึ้นก็จะสามารถเป็นคู่ค้าและผู้ลงทุนที่ดีของเอเปคได้ ทั้งนี้สมาชิกเอเปค 10 ประเทศก็ยังเป็นสมาชิกของ ACD อีกด้วย นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ยังได้กล่าวถึง Asian Bond ซึ่งเป็นความคิดที่ได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ เป็นอย่างมาก และในที่ประชุม ASEM ครั้งล่าสุดที่ประเทศเดนมาร์กก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และมีแผนที่ จะศึกษาแนวคิดดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป
3. การพบปะหารือทวิภาคี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือกับ
นาย Phil Goff รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศนิวซีแลนด์เกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาครวมทั้งเรื่องการก่อการร้ายระหว่างประเทศ โดยนาย Phil Goff ได้แสดงความสนใจในเรื่องพัฒนาการทางการเมืองในประเทศพม่าซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าประเทศไทยกับประเทศพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไทยมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน ไทยให้การสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า และเห็นว่าในการเจรจาเพื่อนำไปสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาตินั้น นอกจากรัฐบาลพม่าและนางอองซานซูจีแล้ว ควรมีตัวแทนชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่ติดอาวุธอีก 2-3 กลุ่มร่วมอยู่ด้วย นอกจากนั้น ไทยยังร่วมมือกับพม่าในโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติดซึ่งออสเตรเลียและญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจเข้าร่วมในโครงการดังกล่าวด้วย ในการนี้ นิวซีแลนด์ได้แสดงความสนใจโดยจะศึกษาในรายละเอียดของโครงการดังกล่าวต่อไป
ในการพบกับนาย Allan Wagner รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเปรู ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นว่าทั้งไทยและเปรูสามารถเป็นประตูทางเศรษฐกิจ (Economic Gateway) ซึ่งกันและกัน โดยเปรูสามารถเป็นประตูให้ไทยเข้าสู่ประเทศละตินอเมริการวมทั้งประเทศสมาชิก NAFTA ซึ่งเปรูเป็นประเทศสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญประเทศหนึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวย้ำว่าไทยสามารถเป็น gateway สำหรับเปรูไม่เพียงแต่ประเทศในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอีกหลายประเทศซึ่งประเทศไทยกำลังทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ในขณะนี้ เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และบาเรนห์ เป็นต้น นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศเปรูได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปเยือนเปรูเพื่อกระชับความสัมพันธ์และหาลู่ทางความร่วมมือใน ด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยในระหว่างการเยือนนั้นจะได้มีการประชุมกรรมาธิการร่วมไทย-เปรู
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่าจะนำภาคเอกชนไทยไปร่วมหารือกับคู่เจรจาด้านการค้าและการลงทุนภาคเอกชนของเปรูด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-