ภาวะแรงงาน : การจ้างงานปรับตัวดีขึ้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี
ภาวะตลาดแรงงาน
จากการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรเดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ตลาดแรงงานมีกำลังแรงงานรวมทั้งสิ้น
35.1 ล้านคน โดยสัดส่วนผู้มีงานทำต่อกำลังแรงงานสูงถึงร้อยละ 98.0 หรือเท่ากับ 34.4 ล้านคน ส่วนหนึ่งเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ทำ
ให้จำนวนผู้ว่างงานและผู้รอฤดูกาลในภาคเกษตรลดลงเหลือ 0.6 และ 0.1 ล้านคน ตามลำดับ นอกจากนั้นการจ้างงานในสาขาสำคัญนอกภาคเกษตร
ได้แก่ การก่อสร้างและการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ภาวะการมีงานทำ
การจ้างงานในภาคเกษตรลดลงเล็กน้อยจากระยะเดีนวกันปีก่อน (-0.1%) ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวไม่สูงนัก (1.5%)
เนื่องจากฐานปีก่อนสูงเพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานรากของรัฐบาลส่งผลให้การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวสูงตั้งแต่ครึ่งหลังของปี
2544 เป็นต้นมา
แม้การจ้างงานนอกภาคเกษตรจะขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องในสาขาก่อสร้าง (21.1%) และการผลิต (6.6%) ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการผลิตภาคอุตสาหกรรมแต่ การจ้างงานในสาขาบริการ ได้แก่ โรงแรมและภัตตาคารและการค้า
ส่งค้าปลีกเริ่มชะลอลงบ้าง (2.3%และ1.7% ตามลำดับ ) นอกจากนั้นการจ้างงานในสาขาอื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วนการจ้างงานต่อการจ้างงานรวมนอกภาค
เกษตรประมาณร้อยละ 28 มีการจ้างงานลดลงเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เช่น การเงินธนาคาร (-11.8%)และการขนส่ง(-9.7%)
ภาวะการว่างงาน
จำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานโดยรวมลดต่ำลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานรากของรัฐบาลมุ่งสร้างงานให้แรงงานกลุ่มนี้โดยตรง
ภาวะการจ้างงานภาคเอกชนจากเครื่องชี้รายเดือน
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2545 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมีจำนวนทั้งสิ้น 6.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 53,905 คน หรือขยายตัว
จากระยะเดียวกันปีก่อนสูงถึงร้อยละ 15.4 ทั้งนี้เป็นผลจาก (1)การทยอยเข้าสู่ระบบประกันสังคมของผู้ประกันตนในสถาปนประกอบการที่มีลูกจ้างต่ำกว่า
10 คน ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ประกันตนทั้งระบบ และ (2) หากพิจารณาเฉพาะผู้ประกันตนที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูก
จ้าง 10 คนขึ้นไป พบว่าขยายตัวค่อนข้างสูงจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งสะท้อนภาวะการจ้างงานของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับขัอมูล
การจ้างงาน นอกภาคเกษตรของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ขยายตัวดี ในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะในสาขาก่อสร้าง และสาขาการผลิตอุตสาหกรรม
การจ้างงานในสาขาก่อสร้างและการผลิตปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะไตรมาส 3
ภาวะการมีงานทำของประชากร
ร้อยละของ 2544 2545(^%)
กำลังคนทำงานรวม (^%)
( ณ พ.ศ. 2545) ก.พ. พ.ค. ส.ค.
กำลังแรงงานรวม (ล้านคน) 100.0 33.9 33.5 34.0 35.1
ผู้มีงานทำ 98.0 2.8 3.9 4.3 0.7
- ภาคเกษตกรรม 45.2 -2.2 2.6 5.1 -0.1
- นอกภาคเกษตรกรรม 52.8 6.8 4.6 3.8 1.5
- การผลิต 14.7 10.1 -2.5 1.2 6.6
- การค้าส่งและค้าปลีก 13.5 6.8 16.1 2.4 1.7
- โรงแรมและภัตตาคาร 5.8 8.0 14.8 9.4 2.3
- การก่อสร้าง 4.3 5.2 -1.5 11.1 21.1
- อื่นๆ 14.4 3.7 1.1 2.9 -8.0
ผู้ไม่มีงานทำ 1.8 -8.2 -33.7 -29.2 -16.6
ผู้รอฤดูกาลเกษตร 0.2 -11.7 -38.1 -25.3 66.8
หมายเหตุ : (^%)แสดงร้อยละการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-กจ-
ภาวะตลาดแรงงาน
จากการสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรเดือนสิงหาคม 2545 ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ตลาดแรงงานมีกำลังแรงงานรวมทั้งสิ้น
35.1 ล้านคน โดยสัดส่วนผู้มีงานทำต่อกำลังแรงงานสูงถึงร้อยละ 98.0 หรือเท่ากับ 34.4 ล้านคน ส่วนหนึ่งเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูกาลเพาะปลูก ทำ
ให้จำนวนผู้ว่างงานและผู้รอฤดูกาลในภาคเกษตรลดลงเหลือ 0.6 และ 0.1 ล้านคน ตามลำดับ นอกจากนั้นการจ้างงานในสาขาสำคัญนอกภาคเกษตร
ได้แก่ การก่อสร้างและการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ภาวะการมีงานทำ
การจ้างงานในภาคเกษตรลดลงเล็กน้อยจากระยะเดีนวกันปีก่อน (-0.1%) ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวไม่สูงนัก (1.5%)
เนื่องจากฐานปีก่อนสูงเพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานรากของรัฐบาลส่งผลให้การจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวสูงตั้งแต่ครึ่งหลังของปี
2544 เป็นต้นมา
แม้การจ้างงานนอกภาคเกษตรจะขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องในสาขาก่อสร้าง (21.1%) และการผลิต (6.6%) ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการผลิตภาคอุตสาหกรรมแต่ การจ้างงานในสาขาบริการ ได้แก่ โรงแรมและภัตตาคารและการค้า
ส่งค้าปลีกเริ่มชะลอลงบ้าง (2.3%และ1.7% ตามลำดับ ) นอกจากนั้นการจ้างงานในสาขาอื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วนการจ้างงานต่อการจ้างงานรวมนอกภาค
เกษตรประมาณร้อยละ 28 มีการจ้างงานลดลงเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เช่น การเงินธนาคาร (-11.8%)และการขนส่ง(-9.7%)
ภาวะการว่างงาน
จำนวนผู้ว่างงานและอัตราการว่างงานโดยรวมลดต่ำลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานรากของรัฐบาลมุ่งสร้างงานให้แรงงานกลุ่มนี้โดยตรง
ภาวะการจ้างงานภาคเอกชนจากเครื่องชี้รายเดือน
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2545 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมีจำนวนทั้งสิ้น 6.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 53,905 คน หรือขยายตัว
จากระยะเดียวกันปีก่อนสูงถึงร้อยละ 15.4 ทั้งนี้เป็นผลจาก (1)การทยอยเข้าสู่ระบบประกันสังคมของผู้ประกันตนในสถาปนประกอบการที่มีลูกจ้างต่ำกว่า
10 คน ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ประกันตนทั้งระบบ และ (2) หากพิจารณาเฉพาะผู้ประกันตนที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูก
จ้าง 10 คนขึ้นไป พบว่าขยายตัวค่อนข้างสูงจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งสะท้อนภาวะการจ้างงานของภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับขัอมูล
การจ้างงาน นอกภาคเกษตรของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ขยายตัวดี ในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะในสาขาก่อสร้าง และสาขาการผลิตอุตสาหกรรม
การจ้างงานในสาขาก่อสร้างและการผลิตปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะไตรมาส 3
ภาวะการมีงานทำของประชากร
ร้อยละของ 2544 2545(^%)
กำลังคนทำงานรวม (^%)
( ณ พ.ศ. 2545) ก.พ. พ.ค. ส.ค.
กำลังแรงงานรวม (ล้านคน) 100.0 33.9 33.5 34.0 35.1
ผู้มีงานทำ 98.0 2.8 3.9 4.3 0.7
- ภาคเกษตกรรม 45.2 -2.2 2.6 5.1 -0.1
- นอกภาคเกษตรกรรม 52.8 6.8 4.6 3.8 1.5
- การผลิต 14.7 10.1 -2.5 1.2 6.6
- การค้าส่งและค้าปลีก 13.5 6.8 16.1 2.4 1.7
- โรงแรมและภัตตาคาร 5.8 8.0 14.8 9.4 2.3
- การก่อสร้าง 4.3 5.2 -1.5 11.1 21.1
- อื่นๆ 14.4 3.7 1.1 2.9 -8.0
ผู้ไม่มีงานทำ 1.8 -8.2 -33.7 -29.2 -16.6
ผู้รอฤดูกาลเกษตร 0.2 -11.7 -38.1 -25.3 66.8
หมายเหตุ : (^%)แสดงร้อยละการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-กจ-