ก.มาตรการภาษี
1. การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 อนุมัติขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 ไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2546
2. การปรับปรุงการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 อนุมัติการปรับปรุงการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตให้กับผู้มีเงินได้จากที่กำหนดให้หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 เป็น 50,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลา ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปและเป็นการประกันชีวิตกับบริษัทที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรและผู้มีเงินได้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้เช่นเดียวกัน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป
ข. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2545 อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ชนิดจำกัดผู้ซื้อ อายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี ในวงเงินรวม 305,000 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2545 เพื่อชดใช้ความเสียหายแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2545)
2. การขอขยายวงเงินการใช้เงินกู้ในรูป Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2545 พิจารณาให้ความเห็นชอบในการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme จาก 1,000 เป็น 2,000 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อรองรับการทำ Refinance ตามแผนการบริหารและปรับโครงสร้างหนี้ของกระทรวงการคลัง และเพื่อรองรับความต้องการใช้เงินกู้ในอนาคตหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน
3. การออกพันธบัตร Global Bond กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 อนุมัติการออกพันธบัตรชนิดจำหน่ายทั่วไปของกระทรวงการคลังในตลาดเงินทุนต่างประเทศ (Global Bond) วงเงินระหว่าง 800-1,000 ล้านเหรียญ สรอ. ระยะเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี โดยมี Citigroup/SSB Deutsche Bank JP Morgan และ Morgan Stanley เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่าย (Lead Underwriter) เพื่อนำมา Refinance หนี้เงินกู้จากธนาคารโลก (IBRD) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดต้นทุนการกู้เงินและป้องกันปัญหาหนี้กระจุกตัว
4. การกู้เงินเพื่อการชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ พ.ศ.2546
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 ให้รัฐวิสาหกิจจำนวน 5 แห่ง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้จากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ พ.ศ.2546 จำนวน 14,159.4 ล้านบาท ดังนี้
1) การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 2,000.0 ล้านบาท
2) การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 2,119.1 ล้านบาท
3) การเคหะแห่งชาติ จำนวน 3,815.0 ล้านบาท
4) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 5,415.3 ล้านบาท
5) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวน 810.0 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจดังกล่าวสามารถกู้เงินระยะสั้น (Bridge Loan) ไปก่อนในกรณีที่ยังไม่สามารถจัดหาเงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ได้
ค. มาตรการรัฐวิสาหกิจ
1. การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน
- การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545 ให้ดำเนินการแปลงท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ทั้งองค์กรเป็นบริษัทมหาชนจำกัด (AATPI) โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบแนวทางการแปลงสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท. เป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TOT Corporation Public Company Limited และ ทศท. ได้ จดทะเบียนเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545
2. การปรับปรุงอัตราเงินเดือน/ค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
* คณะรัฐมนตรีมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2545 เห็นควรให้ชะลอ
1) การปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 5 ขั้นของพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งทั้งระบบ
2) การปรับปรุงอัตราเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพิ่มขึ้นอีก 3 ขั้น
* คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบการปรับอัตราเงินเดือนค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจจากวันละ 157 เป็น 165 บาท ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยอ-
1. การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 อนุมัติขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 ไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2546
2. การปรับปรุงการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 อนุมัติการปรับปรุงการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตให้กับผู้มีเงินได้จากที่กำหนดให้หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 เป็น 50,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลา ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปและเป็นการประกันชีวิตกับบริษัทที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรและผู้มีเงินได้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีได้เช่นเดียวกัน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นไป
ข. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2545 อนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ชนิดจำกัดผู้ซื้อ อายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี ในวงเงินรวม 305,000 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2545 เพื่อชดใช้ความเสียหายแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2545)
2. การขอขยายวงเงินการใช้เงินกู้ในรูป Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2545 พิจารณาให้ความเห็นชอบในการขยายวงเงินกู้ภายใต้ ECP Programme จาก 1,000 เป็น 2,000 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อรองรับการทำ Refinance ตามแผนการบริหารและปรับโครงสร้างหนี้ของกระทรวงการคลัง และเพื่อรองรับความต้องการใช้เงินกู้ในอนาคตหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน
3. การออกพันธบัตร Global Bond กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 อนุมัติการออกพันธบัตรชนิดจำหน่ายทั่วไปของกระทรวงการคลังในตลาดเงินทุนต่างประเทศ (Global Bond) วงเงินระหว่าง 800-1,000 ล้านเหรียญ สรอ. ระยะเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี โดยมี Citigroup/SSB Deutsche Bank JP Morgan และ Morgan Stanley เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดการจัดจำหน่าย (Lead Underwriter) เพื่อนำมา Refinance หนี้เงินกู้จากธนาคารโลก (IBRD) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดต้นทุนการกู้เงินและป้องกันปัญหาหนี้กระจุกตัว
4. การกู้เงินเพื่อการชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ พ.ศ.2546
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 ให้รัฐวิสาหกิจจำนวน 5 แห่ง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้จากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ พ.ศ.2546 จำนวน 14,159.4 ล้านบาท ดังนี้
1) การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 2,000.0 ล้านบาท
2) การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 2,119.1 ล้านบาท
3) การเคหะแห่งชาติ จำนวน 3,815.0 ล้านบาท
4) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 5,415.3 ล้านบาท
5) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวน 810.0 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจดังกล่าวสามารถกู้เงินระยะสั้น (Bridge Loan) ไปก่อนในกรณีที่ยังไม่สามารถจัดหาเงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ได้
ค. มาตรการรัฐวิสาหกิจ
1. การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน
- การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2545 ให้ดำเนินการแปลงท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ทั้งองค์กรเป็นบริษัทมหาชนจำกัด (AATPI) โดยใช้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบแนวทางการแปลงสภาพองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท. เป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TOT Corporation Public Company Limited และ ทศท. ได้ จดทะเบียนเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545
2. การปรับปรุงอัตราเงินเดือน/ค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
* คณะรัฐมนตรีมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2545 เห็นควรให้ชะลอ
1) การปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 5 ขั้นของพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งทั้งระบบ
2) การปรับปรุงอัตราเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพิ่มขึ้นอีก 3 ขั้น
* คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2545 เห็นชอบการปรับอัตราเงินเดือนค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจจากวันละ 157 เป็น 165 บาท ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยอ-