กรุงเทพฯ--5 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด ครั้งแรกของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ร่วมกับผู้นำจากจีน กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม ณ กรุงพนมเปญ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 โดยมีประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เข้าร่วมด้วย ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งภูมิหลัง และ สาระของการประชุมดังนี้
ภูมิหลัง
กลุ่มประเทศ GMS ทั้ง 6 ประเทศ ได้ร่วมกันดำเนินการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในกรอบ GMS มาเป็นเวลาครบ 10 ปี ความสำเร็จที่สำคัญจากโครงการของ GMS ที่ผ่านมา ประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงทางคมนาคมตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม) ตามแนวเหนือ-ใต้ (ไทย-ลาว-จีน) ตามแนวชายฝั่งทางใต้ (ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม) การพัฒนาและซื้อขายไฟฟ้าพลังน้ำ การเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคมด้วยระบบเครือข่ายใยแก้ว การส่งเสริมการท่องเที่ยวจุดหมายเดียว (GMS single tourist destination) เป็นต้น
คำแถลงของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ในระหว่างการประชุม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี. ได้แสดงเจตนารมณ์ของฝ่ายไทยที่จะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบ GMS อย่างเต็มที่ โดยชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่เริ่มมีความคืบหน้าของการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม โทรคมนาคม และอื่นๆ แล้ว ผู้นำจำเป็นต้องร่วมกันผลักดันและสนับสนุนการลดกฎระเบียบ เช่น ด้านตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกการข้ามแดน การขนส่งค้าขาย การลงทุน และการท่องเที่ยว และโดยที่เชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติที่ได้มาตรฐานมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และมีเส้นทางการบินเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆ ของประเทศสมาชิก GMS ทั้งหมดอยู่แล้ว เชียงใหม่ก็พร้อมจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการบินของ GMS และไทยยินดีให้สายการบินจาก GMS ขยายการบินเข้าสู่ไทยเพิ่มขึ้น เพื่อขยายการท่องเที่ยว การค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีฯ ได้ฝากให้ ADB ไม่ต้องกังวลในเรื่องการให้เงินกู้กับไทย เพราะไทยพร้อมที่จะพึ่งพาตนเอง แต่ขอให้สนับสนุนประเทศ GMS อื่นๆ มากขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการสนับสนุนไทยไปในตัว
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการเพิ่มกิจกรรมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเป็นโครงการหลัก สาขาที่ 11 ซึ่งนับเป็นผลดีกับไทยและประเทศเพื่อนบ้านใน GMS ร่วมกัน นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี GMS และคณะทำงานการท่องเที่ยวร่วมกันศึกษาการให้ตรวจลงตรา (วีซ่า) แก่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ โดยประเทศใดประเทศหนึ่ง มีผลให้สามารถเข้าประเทศ GMS อื่นๆ ได้ด้วย แบบเดียวกับวีซ่าที่ประเทศในสหภาพยุโรปตกลงกัน ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งจากภายในและภายนอก GMS
การลงนามความตกลง
ผู้นำ GMS ทั้ง 6 ประเทศ ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนาม 2 ฉบับ คือ (1) ความ ตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการซื้อขายไฟฟ้าและการสร้างเครือข่ายสายส่งระหว่างรัฐบาล 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (Inter-Government Agreement on Regional Power Trade) และ (2) บันทึกความเข้าใจที่เกี่ยวกับความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดน เพื่อยอมรับให้จีนมีข้อสงวนเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ (MOU on Clarification of the Relationship between the GMS Cross-border Agreement and Its Annexes and Protocols and Commitment to Amend Article 17 (Driving Permits) of the GMS Cross-border Agreement) สรุป
ไทยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ GMS ทั้งในระดับทวิภาคี ไตรภาคี และอนุภูมิภาค โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ที่ช่วยให้ปริมาณการค้าและการลงทุนและการไปมาหาสู่กันเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยยังได้ให้ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และมาตราการต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคระหว่างกัน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจของ GMS ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ไทยสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในลักษณะใต้-ใต้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการค้า การลงทุน การผลิต และบริการระหว่างกัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนภายนอกภูมิภาค และเพื่อเป็นการลดช่องว่างของการพัฒนา ไทยยินดีจะช่วยเหลือประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มทักษะด้านการเกษตร การศึกษาและสาธารณสุข การยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในอนุภูมิภาคดังกล่าว จะช่วยลดปัญหาข้ามชาติที่เกิดจากความยากจน เช่น แรงงานเถื่อน การลักลอบขนอาวุธและยาเสพติด ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นของ GMS จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อาเซียนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
ด้วย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอด ครั้งแรกของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ร่วมกับผู้นำจากจีน กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม ณ กรุงพนมเปญ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 โดยมีประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เข้าร่วมด้วย ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอแจ้งภูมิหลัง และ สาระของการประชุมดังนี้
ภูมิหลัง
กลุ่มประเทศ GMS ทั้ง 6 ประเทศ ได้ร่วมกันดำเนินการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในกรอบ GMS มาเป็นเวลาครบ 10 ปี ความสำเร็จที่สำคัญจากโครงการของ GMS ที่ผ่านมา ประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงทางคมนาคมตามแนวตะวันออก-ตะวันตก (พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม) ตามแนวเหนือ-ใต้ (ไทย-ลาว-จีน) ตามแนวชายฝั่งทางใต้ (ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม) การพัฒนาและซื้อขายไฟฟ้าพลังน้ำ การเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคมด้วยระบบเครือข่ายใยแก้ว การส่งเสริมการท่องเที่ยวจุดหมายเดียว (GMS single tourist destination) เป็นต้น
คำแถลงของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ในระหว่างการประชุม ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี. ได้แสดงเจตนารมณ์ของฝ่ายไทยที่จะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบ GMS อย่างเต็มที่ โดยชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่เริ่มมีความคืบหน้าของการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม โทรคมนาคม และอื่นๆ แล้ว ผู้นำจำเป็นต้องร่วมกันผลักดันและสนับสนุนการลดกฎระเบียบ เช่น ด้านตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกการข้ามแดน การขนส่งค้าขาย การลงทุน และการท่องเที่ยว และโดยที่เชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติที่ได้มาตรฐานมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และมีเส้นทางการบินเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆ ของประเทศสมาชิก GMS ทั้งหมดอยู่แล้ว เชียงใหม่ก็พร้อมจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการบินของ GMS และไทยยินดีให้สายการบินจาก GMS ขยายการบินเข้าสู่ไทยเพิ่มขึ้น เพื่อขยายการท่องเที่ยว การค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีฯ ได้ฝากให้ ADB ไม่ต้องกังวลในเรื่องการให้เงินกู้กับไทย เพราะไทยพร้อมที่จะพึ่งพาตนเอง แต่ขอให้สนับสนุนประเทศ GMS อื่นๆ มากขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการสนับสนุนไทยไปในตัว
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการเพิ่มกิจกรรมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเป็นโครงการหลัก สาขาที่ 11 ซึ่งนับเป็นผลดีกับไทยและประเทศเพื่อนบ้านใน GMS ร่วมกัน นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี GMS และคณะทำงานการท่องเที่ยวร่วมกันศึกษาการให้ตรวจลงตรา (วีซ่า) แก่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ โดยประเทศใดประเทศหนึ่ง มีผลให้สามารถเข้าประเทศ GMS อื่นๆ ได้ด้วย แบบเดียวกับวีซ่าที่ประเทศในสหภาพยุโรปตกลงกัน ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งจากภายในและภายนอก GMS
การลงนามความตกลง
ผู้นำ GMS ทั้ง 6 ประเทศ ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนาม 2 ฉบับ คือ (1) ความ ตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการซื้อขายไฟฟ้าและการสร้างเครือข่ายสายส่งระหว่างรัฐบาล 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (Inter-Government Agreement on Regional Power Trade) และ (2) บันทึกความเข้าใจที่เกี่ยวกับความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดน เพื่อยอมรับให้จีนมีข้อสงวนเกี่ยวกับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ (MOU on Clarification of the Relationship between the GMS Cross-border Agreement and Its Annexes and Protocols and Commitment to Amend Article 17 (Driving Permits) of the GMS Cross-border Agreement) สรุป
ไทยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ GMS ทั้งในระดับทวิภาคี ไตรภาคี และอนุภูมิภาค โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ที่ช่วยให้ปริมาณการค้าและการลงทุนและการไปมาหาสู่กันเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยยังได้ให้ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และมาตราการต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคระหว่างกัน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจของ GMS ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ไทยสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในลักษณะใต้-ใต้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการค้า การลงทุน การผลิต และบริการระหว่างกัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนภายนอกภูมิภาค และเพื่อเป็นการลดช่องว่างของการพัฒนา ไทยยินดีจะช่วยเหลือประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มทักษะด้านการเกษตร การศึกษาและสาธารณสุข การยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในอนุภูมิภาคดังกล่าว จะช่วยลดปัญหาข้ามชาติที่เกิดจากความยากจน เช่น แรงงานเถื่อน การลักลอบขนอาวุธและยาเสพติด ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นของ GMS จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อาเซียนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-