นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นหลังจากได้ฟังการบรรยายของนายเดอ โซโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวเปรู ซึ่งเป็นเจ้าของแนวคิดการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน ในหัวข้อ “การเพิ่มอำนาจให้กับคนยากจน” ว่า แนวคิดของเดอโซโต ในเรื่องของการที่จะแก้ปัญหาความยากจน โดยเฉพาะการที่จะเอาทุนที่มีอยู่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เป็นแนวคิดที่ดี และตนคิดว่าถ้ารัฐบาลจะดำเนินการก็ควรจะมีการทำความเข้าใจกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจตรงกันในแนวทาง ...
และรัฐบาลควรจะต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแนวทางที่เหมาะสม เพราะกระบวนการนี้ต้องอาศัยการปรับระบบกฎหมายพอสมควร และมันไม่มีสูตรสำเร็จ ฉะนั้นความต้องการข้อเท็จจริงและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่อาจจะไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องทำด้วยการคำนึงถึงความหลากหลายตรงนี้ด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หนังสือของเดอโซโตตนได้มีโอกาสอ่านเมื่อต้นปี ซึ่งในเนื้อหานั้นน่าสนใจ เพราะได้เสนอมุมมองแนวคิดว่าทำไมคนส่วนใหญ่ของประเทศโลกกำลังพัฒนาจึงอยู่บนภาวะของความยากจน และไม่สามารถที่จะเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เป็นกระแสหลักได้ และเมื่อได้มีการศึกษาวิจัยรวบรวมข้อมูลหลายประเทศด้วยกัน รวมทั้งเสนอข้อคิดทางออกของการที่จะทำให้คนเหล่านี้สามารถมีโอกาสในการเข้ามาสู่ระบบของตลาดได้จะทำอย่างไร
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากความหมายที่สื่อผ่านหนังสือ มีการพุ่งไปที่ประเด็นกฎหมายสิทธิต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในบ้านเรา เรื่องที่เราบอกใครเป็นคนยากจน ซึ่งแท้จริงแล้ว เขาเหล่านั้นมีทุนอยู่ เพียงแต่ทุนนั้นไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนอีกเรื่องที่หนังสือพยายามจะบอกคือการระบุชัดว่าต้องปรับระบบกฎหมายให้เข้ามารองรับการลงทุนด้วย
ซึ่งถ้าจะดูภาพรวมแนวคิดทั้งหมด คล้ายๆว่าการแปลงสินทรัพย์ต่างๆ เป็นทุนเป็นเพียงเครื่องมือเป้าหมายคือให้คนจนทำการผลิตที่แท้จริง ซึ่งนายเดอโซโตได้ย้ำพร้อมกับกราบเรียนไปที่นายกฯด้วยว่า คำว่าทุนไม่ใช่เงิน ไม่ใช่เรื่องของการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์บางอย่างแล้วเอาเงินไป แล้วก็จะบอกว่าเขาไม่มีกระบวนการในการผลิตอยู่ก็ไม่ใช่ อันนี้มันมีข้อจำกัดอยู่มาก ซึ่งประเด็นคือการปรับเข้ามา หมายความว่าเป็นวิธีการที่จะขยายหรือเปิดโอกาสให้คนกลุ่มใหญ่ แต่การไปยกระดับความเป็นอยู่หลังจากโอกาสแล้วต้องมีการผลิตที่ดีที่มีประสิทธิภาพด้วย
ต่อข้อถามที่ว่า ในทางปฏิบัติคิดว่าจะนำแนวคิดของเดอโซโตมาปรับใช้อย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริง นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจข้อเท็จจริงเพราะลักษณะของการปรับหรือการขยายโอกาสให้กลุ่มคนต่างๆ ก็จะมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันออกไป เช่น กรณีคนจนในเขตเมืองก็เป็นอีกอย่าง ชุมชนแออัดก็จะเป็นแบบหนึ่ง ในกรณีของชนบทก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง และความไม่มีสูตรสำเร็จ การให้สิทธิไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นลักษณะสิทธิส่วนบุคคลเสมอไป ซึ่งมันอาจจะเป็นลักษณะของการให้สิทธิในทางชุมชนก็ได้ เรื่องนี้อาจจะเป็นคำตอบที่สอดคล้องกับงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชน และการสร้างระบบความร่วมมือในการผลิตในชนบทและเพื่อกระจายความเสี่ยงด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือเจตนารมณ์ที่จะผลักดันเรื่องนี้ โดยการจะผลักดันต้องมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฝ่ายที่ออกกฎหมายที่เขาเน้นว่าเป็นหัวใจ มันก็คือกระบวนการทางการเมือง ซึ่งถ้าเป็นการเมืองมันก็มีอันตรายทั้งสองทาง ทางหนึ่งก็มีกลุ่มที่คัดค้านต่อต้านเพราะอาจจะมีกลุ่มที่เสียประโยชน์ อีกทางหนึ่งก็คือถ้าเอาทางหนึ่งไปเล่น เพื่อหาเสียงทางการเมืองมากเกินไปมันก็จะผิดวัตถุประสงค์
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,08/11/2545)--จบ--
-สส-
และรัฐบาลควรจะต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแนวทางที่เหมาะสม เพราะกระบวนการนี้ต้องอาศัยการปรับระบบกฎหมายพอสมควร และมันไม่มีสูตรสำเร็จ ฉะนั้นความต้องการข้อเท็จจริงและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่อาจจะไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องทำด้วยการคำนึงถึงความหลากหลายตรงนี้ด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หนังสือของเดอโซโตตนได้มีโอกาสอ่านเมื่อต้นปี ซึ่งในเนื้อหานั้นน่าสนใจ เพราะได้เสนอมุมมองแนวคิดว่าทำไมคนส่วนใหญ่ของประเทศโลกกำลังพัฒนาจึงอยู่บนภาวะของความยากจน และไม่สามารถที่จะเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่เป็นกระแสหลักได้ และเมื่อได้มีการศึกษาวิจัยรวบรวมข้อมูลหลายประเทศด้วยกัน รวมทั้งเสนอข้อคิดทางออกของการที่จะทำให้คนเหล่านี้สามารถมีโอกาสในการเข้ามาสู่ระบบของตลาดได้จะทำอย่างไร
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากความหมายที่สื่อผ่านหนังสือ มีการพุ่งไปที่ประเด็นกฎหมายสิทธิต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในบ้านเรา เรื่องที่เราบอกใครเป็นคนยากจน ซึ่งแท้จริงแล้ว เขาเหล่านั้นมีทุนอยู่ เพียงแต่ทุนนั้นไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนอีกเรื่องที่หนังสือพยายามจะบอกคือการระบุชัดว่าต้องปรับระบบกฎหมายให้เข้ามารองรับการลงทุนด้วย
ซึ่งถ้าจะดูภาพรวมแนวคิดทั้งหมด คล้ายๆว่าการแปลงสินทรัพย์ต่างๆ เป็นทุนเป็นเพียงเครื่องมือเป้าหมายคือให้คนจนทำการผลิตที่แท้จริง ซึ่งนายเดอโซโตได้ย้ำพร้อมกับกราบเรียนไปที่นายกฯด้วยว่า คำว่าทุนไม่ใช่เงิน ไม่ใช่เรื่องของการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์บางอย่างแล้วเอาเงินไป แล้วก็จะบอกว่าเขาไม่มีกระบวนการในการผลิตอยู่ก็ไม่ใช่ อันนี้มันมีข้อจำกัดอยู่มาก ซึ่งประเด็นคือการปรับเข้ามา หมายความว่าเป็นวิธีการที่จะขยายหรือเปิดโอกาสให้คนกลุ่มใหญ่ แต่การไปยกระดับความเป็นอยู่หลังจากโอกาสแล้วต้องมีการผลิตที่ดีที่มีประสิทธิภาพด้วย
ต่อข้อถามที่ว่า ในทางปฏิบัติคิดว่าจะนำแนวคิดของเดอโซโตมาปรับใช้อย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แท้จริง นายอภิสิทธิ์ ตอบว่า ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจข้อเท็จจริงเพราะลักษณะของการปรับหรือการขยายโอกาสให้กลุ่มคนต่างๆ ก็จะมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันออกไป เช่น กรณีคนจนในเขตเมืองก็เป็นอีกอย่าง ชุมชนแออัดก็จะเป็นแบบหนึ่ง ในกรณีของชนบทก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง และความไม่มีสูตรสำเร็จ การให้สิทธิไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นลักษณะสิทธิส่วนบุคคลเสมอไป ซึ่งมันอาจจะเป็นลักษณะของการให้สิทธิในทางชุมชนก็ได้ เรื่องนี้อาจจะเป็นคำตอบที่สอดคล้องกับงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุมชน และการสร้างระบบความร่วมมือในการผลิตในชนบทและเพื่อกระจายความเสี่ยงด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือเจตนารมณ์ที่จะผลักดันเรื่องนี้ โดยการจะผลักดันต้องมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฝ่ายที่ออกกฎหมายที่เขาเน้นว่าเป็นหัวใจ มันก็คือกระบวนการทางการเมือง ซึ่งถ้าเป็นการเมืองมันก็มีอันตรายทั้งสองทาง ทางหนึ่งก็มีกลุ่มที่คัดค้านต่อต้านเพราะอาจจะมีกลุ่มที่เสียประโยชน์ อีกทางหนึ่งก็คือถ้าเอาทางหนึ่งไปเล่น เพื่อหาเสียงทางการเมืองมากเกินไปมันก็จะผิดวัตถุประสงค์
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,08/11/2545)--จบ--
-สส-