ปาล์มน้ำมัน : การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับปาล์มน้ำมัน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 โดยกำหนดเขตฯ นั้น คำนึงถึงศักยภาพเขตพื้นที่ในการผลิตเป็นสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ชนิดประกอบกัน เช่น ความเหมาะสมของพื้นที่ทางด้านกายภาพ แหล่งผลิตเดิมที่มีอยู่ ผลผลิตต่อไร่ และระยะทางจากแหล่งผลิตถึงโรงงาน ซึ่งจะทำให้ได้พื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุดของประเทศ โดยที่เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจ นั้น จะได้รับการดูแลและสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอันดับแรก เมื่อมีนโยบายหรือมาตรการในการช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งได้แก่จังหวัด ดังต่อไปนี้
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงสภาพการผลิตในปัจจุบันของปาล์มน้ำมันไว้อย่างละเอียด ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น การขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเติมหรือการปลูกใหม่ ควรดำเนินการ บริเวณใด จึงจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตที่ดีที่สุดได้ถึงระดับตำบล ได้ที่ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความคืบหน้า : การเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน และไทย - จีน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รายงานผลการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2545 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งผู้นำอาเซียน - จีน ก็ได้ตกลงที่จะลดข้อจำกัดกีดกั้นทางด้านการค้าลงไปอีก
ทั้งนี้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมเจรจากับผู้นำจีนในประเด็นการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ซึ่งจีนก็ได้ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว โดยตั้งเป้าลดภาษีตั้งแต่ปี 2005 และจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นปี 2010 สำหรับชาติสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ชาติ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บูรไน ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนสมาชิกใหม่ คือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม นั้น จะดำเนินการให้เสร็จในปี 2015 โดยประเด็นที่สำคัญของความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน ครอบคลุมความร่วมทั้งด้านสินค้า บริการ การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่อง Early Harvest (EH) สำหรับการลดภาษีสินค้าที่มีความพร้อมในการเปิดเสรีขั้นแรกก่อนเริ่มการดำเนินการเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
ในขั้นแรกของการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องให้มีการลดภาษีสินค้าที่มีความพร้อมที่จะนำมาลดภาษีเหลือ 0 % ในระยะเวลา 8 ปี โดยเริ่มต้นใน พ.ศ. 2547 ( ปี 2004 ) และลดภาษีลงเหลือ 0% ภายใน พ.ศ. 2549 ( ปี 2006 ) ซึ่งสินค้าขั้นแรกของการเปิดเสรี คือ กลุ่มสินค้าเกษตรในพิกัด 01 - 08 ทุกรายการ ได้แก่ สินค้าในกลุ่มสัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ปลาและสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์อื่นจากสัตว์ ต้นไม้และพืชผักและผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยจะได้เปรียบประเทศอื่น เพราะสินค้าทั้ง 8 กลุ่ม เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ในบางสินค้า เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง และผลิตภัณฑ์นมยังคงสามารถคุ้มครองการนำเข้า โดยมีโควตาภาษีภายใต้ข้อตกลง WTO นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเร่งกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยของสินค้านำเข้าและระบบการตรวจสอบที่เข้มงวดให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดการลดภาษี EH
นอกจากนี้ ภายใต้เขตการค้าเสรีไทย - จีน ผู้นำของไทยและจีนได้หารือและเห็นพ้องกันให้เริ่มดำเนินการลดภาษีภายใต้ EH สำหรับกลุ่มสินค้าผลไม้ ( Chapter 08 ) เป็นกลุ่มแรก โดยจะให้ลดภาษีเหลือ 0% โดยเร็วที่สุด ซึ่งคาดว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกผลไม้เขตร้อน เช่น ทุเรียน ลำไย เข้าสู่ตลาดจีนมากขึ้น และผู้บริโภคในประเทศก็จะมีโอกาสได้บริโภคผลไม้เมืองหนาวบางชนิดในราคาถูกลงเช่นกัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 4 - 11 พ.ย. 2545--
-สส-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 โดยกำหนดเขตฯ นั้น คำนึงถึงศักยภาพเขตพื้นที่ในการผลิตเป็นสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ชนิดประกอบกัน เช่น ความเหมาะสมของพื้นที่ทางด้านกายภาพ แหล่งผลิตเดิมที่มีอยู่ ผลผลิตต่อไร่ และระยะทางจากแหล่งผลิตถึงโรงงาน ซึ่งจะทำให้ได้พื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุดของประเทศ โดยที่เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจ นั้น จะได้รับการดูแลและสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอันดับแรก เมื่อมีนโยบายหรือมาตรการในการช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งได้แก่จังหวัด ดังต่อไปนี้
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงสภาพการผลิตในปัจจุบันของปาล์มน้ำมันไว้อย่างละเอียด ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น การขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเติมหรือการปลูกใหม่ ควรดำเนินการ บริเวณใด จึงจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตที่ดีที่สุดได้ถึงระดับตำบล ได้ที่ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความคืบหน้า : การเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน และไทย - จีน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รายงานผลการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2545 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งผู้นำอาเซียน - จีน ก็ได้ตกลงที่จะลดข้อจำกัดกีดกั้นทางด้านการค้าลงไปอีก
ทั้งนี้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมเจรจากับผู้นำจีนในประเด็นการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ซึ่งจีนก็ได้ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว โดยตั้งเป้าลดภาษีตั้งแต่ปี 2005 และจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นปี 2010 สำหรับชาติสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ชาติ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บูรไน ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนสมาชิกใหม่ คือ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม นั้น จะดำเนินการให้เสร็จในปี 2015 โดยประเด็นที่สำคัญของความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและจีน ครอบคลุมความร่วมทั้งด้านสินค้า บริการ การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่อง Early Harvest (EH) สำหรับการลดภาษีสินค้าที่มีความพร้อมในการเปิดเสรีขั้นแรกก่อนเริ่มการดำเนินการเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
ในขั้นแรกของการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องให้มีการลดภาษีสินค้าที่มีความพร้อมที่จะนำมาลดภาษีเหลือ 0 % ในระยะเวลา 8 ปี โดยเริ่มต้นใน พ.ศ. 2547 ( ปี 2004 ) และลดภาษีลงเหลือ 0% ภายใน พ.ศ. 2549 ( ปี 2006 ) ซึ่งสินค้าขั้นแรกของการเปิดเสรี คือ กลุ่มสินค้าเกษตรในพิกัด 01 - 08 ทุกรายการ ได้แก่ สินค้าในกลุ่มสัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ปลาและสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์อื่นจากสัตว์ ต้นไม้และพืชผักและผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยจะได้เปรียบประเทศอื่น เพราะสินค้าทั้ง 8 กลุ่ม เป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ในบางสินค้า เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง และผลิตภัณฑ์นมยังคงสามารถคุ้มครองการนำเข้า โดยมีโควตาภาษีภายใต้ข้อตกลง WTO นอกจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเร่งกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยของสินค้านำเข้าและระบบการตรวจสอบที่เข้มงวดให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดการลดภาษี EH
นอกจากนี้ ภายใต้เขตการค้าเสรีไทย - จีน ผู้นำของไทยและจีนได้หารือและเห็นพ้องกันให้เริ่มดำเนินการลดภาษีภายใต้ EH สำหรับกลุ่มสินค้าผลไม้ ( Chapter 08 ) เป็นกลุ่มแรก โดยจะให้ลดภาษีเหลือ 0% โดยเร็วที่สุด ซึ่งคาดว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากการขยายการส่งออกผลไม้เขตร้อน เช่น ทุเรียน ลำไย เข้าสู่ตลาดจีนมากขึ้น และผู้บริโภคในประเทศก็จะมีโอกาสได้บริโภคผลไม้เมืองหนาวบางชนิดในราคาถูกลงเช่นกัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 43 ประจำวันที่ 4 - 11 พ.ย. 2545--
-สส-