ในบรรดาผักและผลไม้ที่ไทยส่งออกไปเกาหลีใต้นั้น ผักและผลไม้กระป๋องมีสัดส่วนกว่า 90% ของมูลค่าผักและผลไม้ที่ไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ทั้งหมด เนื่องจากเกาหลีใต้อนุญาตให้นำเข้าผักและผลไม้กระป๋องจากไทยได้ทุกชนิด ขณะที่ผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งมีสัดส่วนเพียง 10% ของมูลค่าผักและผลไม้ที่ไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ทั้งหมดเท่านั้น เนื่องจากเกาหลีใต้ค่อนข้างกีดกันการนำเข้าผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเกาหลีใต้เริ่มผ่อนคลายข้อจำกัดบางประการลง ที่สำคัญ คือ การอนุญาตให้นำเข้ามะม่วงสดอบไอน้ำจากไทยได้แล้ว ทำให้คาดว่าไทยจะสามารถขยายการส่งออกผักและผลไม้ไปเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากในช่วงครึ่งแรกของปี 2545 ไทยส่งออกผักและผลไม้สดรวมทั้งผักและผลไม้กระป๋องไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นราว 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนำเข้าผักและผลไม้ของเกาหลีใต้ ได้แก่
อัตราภาษี แบ่งเป็นผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เกาหลีใต้เรียกเก็บภาษีค่อนข้างสูงราว 50-70% ของราคานำเข้า ผักและผลไม้กระป๋อง เกาหลีใต้เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 20-50% ของราคานำเข้าผักและผลไม้ของไทยที่เกาหลีใต้อนุญาตให้นำเข้า ประกอบด้วยผักสดแช่เย็นแช่แข็ง อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้เกือบทุกชนิด ยกเว้น แตงทุกชนิด พริกสดแดง มะเขือเทศ ฟักทอง ขิงสด และพริกไทยสด ผลไม้สดแช่เย็น อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้เพียง 5 ชนิด คือ สับปะรด กล้วย องุ่น ทุเรียน และมะพร้าว ผลไม้สดแช่แข็ง อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้ทุกชนิด แต่ต้องแช่แข็งที่อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส ผักและผลไม้กระป๋อง อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้ทุกชนิดมาตรฐานฉลากสินค้าประเภทอาหาร (Labeling Standards for Food) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (The Korea Food and Drug Administration: KFDA) สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (Ministry of Health and Welfare: MHW) ของเกาหลีใต้กำหนดไว้ว่าสินค้าอาหารทุกชนิดที่นำเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต้องปิดฉลากสินค้าเป็นภาษาเกาหลีอย่างน้อย 1 ภาษา โดยฉลากต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 4 x 6 เซนติเมตร พร้อมระบุรายละเอียดต่างๆ ของสินค้า อาทิ ชื่อสินค้า ประเภทของสินค้า ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ผลิต วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ส่วนผสม สารอาหารที่จำเป็น น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ เป็นต้น มาตรฐานการนำเข้า ที่สำคัญ คือ Food Sanitation Law ของเกาหลีใต้ ซึ่งกำหนดให้สินค้าอาหารทุกชนิดที่นำเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าสินค้าดังกล่าวมีส่วนผสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งมีบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าถูกต้องตามมาตรฐานที่ KFDA กำหนดไว้ ทั้งนี้ ผักและผลไม้ของไทยที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต้องได้ใบรับรองสุขอนามัยพืชจากกรมวิชาการเกษตร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยก่อนการส่งออก และต้องผ่านกระบวนการนำเข้า (Import Procedures) ที่เกาหลีใต้ ดังนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำเข้ายื่นคำขอต่อ KFDA เพื่อขอให้ตรวจสอบสินค้าที่นำเข้า KFDA ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร รวมทั้งสุ่มตรวจสินค้า และเก็บตัวอย่างสินค้าเพื่อนำมาตรวจสอบในห้องแล็บ หากสินค้าดังกล่าวสอดคล้องตามมาตรฐานที่เกาหลีใต้กำหนด KFDA จะออกใบอนุญาตนำเข้า (Import Certificate) เพื่อให้ผู้นำเข้าในเกาหลีใต้นำไปผ่านกระบวนการศุลกากรเพื่อนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต่อไป หากสินค้าดังกล่าวไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด KFDA จะแจ้งให้ผู้นำเข้าและสำนักงานศุลกากรประจำภูมิภาคทราบถึงข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่สินค้าดังกล่าวเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้นำเข้าต้องดำเนินการทำลายสินค้านั้น หรือส่งสินค้านั้นกลับคืนไปยังประเทศผู้ส่งออก หรืออาจนำสินค้านั้นไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่เพื่อการบริโภค อย่างไรก็ตาม หากสินค้ามีข้อบกพร่องโดยใช้ฉลากสินค้าไม่ถูกต้อง ผู้นำเข้าสามารถนำสินค้าดังกล่าวกลับไปแก้ไขฉลากให้ถูกต้องก่อนยื่นขอรับการตรวจสอบใหม่อีกครั้งยกเว้น ผักและผลไม้สดซึ่งอาจเน่าเสียได้ง่ายและได้ใบรับรองก่อนการนำเข้า (Pre Certificate) จากประเทศผู้ส่งออกแล้ว KFDA จะออกรายงานการนำเข้า (Import Report) ก่อนการสุ่มตรวจสินค้าจะแล้วเสร็จ เพื่อให้ผู้นำเข้านำไปผ่านกระบวนการศุลกากรเพื่อนำไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต่อไป อย่างไรก็ตาม หากผลการสุ่มตรวจสินค้าพบว่าสินค้าดังกล่าวเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้นำเข้าต้องเรียกเก็บสินค้านั้นจากแหล่งต่างๆ กลับคืนไปให้หมด
5. การจัดจำหน่าย โดยปกติไทยมักส่งออกผักและผลไม้ไปเกาหลีใต้ผ่านทางตัวแทนนำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะกระจายสินค้าต่อไปยังห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และโรงแรมอีกต่อหนึ่ง
คู่แข่งของไทย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม และสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ไทยมีความได้เปรียบในด้านการผลิตและปลูกผักและผลไม้เมืองร้อน อีกทั้งคุณภาพผักและผลไม้ของไทยยังเป็นที่ยอมรับในตลาดเกาหลีใต้อีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2545--
-สส-
สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนำเข้าผักและผลไม้ของเกาหลีใต้ ได้แก่
อัตราภาษี แบ่งเป็นผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เกาหลีใต้เรียกเก็บภาษีค่อนข้างสูงราว 50-70% ของราคานำเข้า ผักและผลไม้กระป๋อง เกาหลีใต้เรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 20-50% ของราคานำเข้าผักและผลไม้ของไทยที่เกาหลีใต้อนุญาตให้นำเข้า ประกอบด้วยผักสดแช่เย็นแช่แข็ง อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้เกือบทุกชนิด ยกเว้น แตงทุกชนิด พริกสดแดง มะเขือเทศ ฟักทอง ขิงสด และพริกไทยสด ผลไม้สดแช่เย็น อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้เพียง 5 ชนิด คือ สับปะรด กล้วย องุ่น ทุเรียน และมะพร้าว ผลไม้สดแช่แข็ง อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้ทุกชนิด แต่ต้องแช่แข็งที่อุณหภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส ผักและผลไม้กระป๋อง อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้ทุกชนิดมาตรฐานฉลากสินค้าประเภทอาหาร (Labeling Standards for Food) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (The Korea Food and Drug Administration: KFDA) สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (Ministry of Health and Welfare: MHW) ของเกาหลีใต้กำหนดไว้ว่าสินค้าอาหารทุกชนิดที่นำเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต้องปิดฉลากสินค้าเป็นภาษาเกาหลีอย่างน้อย 1 ภาษา โดยฉลากต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 4 x 6 เซนติเมตร พร้อมระบุรายละเอียดต่างๆ ของสินค้า อาทิ ชื่อสินค้า ประเภทของสินค้า ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ผลิต วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ส่วนผสม สารอาหารที่จำเป็น น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ เป็นต้น มาตรฐานการนำเข้า ที่สำคัญ คือ Food Sanitation Law ของเกาหลีใต้ ซึ่งกำหนดให้สินค้าอาหารทุกชนิดที่นำเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าสินค้าดังกล่าวมีส่วนผสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งมีบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าถูกต้องตามมาตรฐานที่ KFDA กำหนดไว้ ทั้งนี้ ผักและผลไม้ของไทยที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต้องได้ใบรับรองสุขอนามัยพืชจากกรมวิชาการเกษตร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยก่อนการส่งออก และต้องผ่านกระบวนการนำเข้า (Import Procedures) ที่เกาหลีใต้ ดังนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนนำเข้ายื่นคำขอต่อ KFDA เพื่อขอให้ตรวจสอบสินค้าที่นำเข้า KFDA ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร รวมทั้งสุ่มตรวจสินค้า และเก็บตัวอย่างสินค้าเพื่อนำมาตรวจสอบในห้องแล็บ หากสินค้าดังกล่าวสอดคล้องตามมาตรฐานที่เกาหลีใต้กำหนด KFDA จะออกใบอนุญาตนำเข้า (Import Certificate) เพื่อให้ผู้นำเข้าในเกาหลีใต้นำไปผ่านกระบวนการศุลกากรเพื่อนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต่อไป หากสินค้าดังกล่าวไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด KFDA จะแจ้งให้ผู้นำเข้าและสำนักงานศุลกากรประจำภูมิภาคทราบถึงข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่สินค้าดังกล่าวเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้นำเข้าต้องดำเนินการทำลายสินค้านั้น หรือส่งสินค้านั้นกลับคืนไปยังประเทศผู้ส่งออก หรืออาจนำสินค้านั้นไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่เพื่อการบริโภค อย่างไรก็ตาม หากสินค้ามีข้อบกพร่องโดยใช้ฉลากสินค้าไม่ถูกต้อง ผู้นำเข้าสามารถนำสินค้าดังกล่าวกลับไปแก้ไขฉลากให้ถูกต้องก่อนยื่นขอรับการตรวจสอบใหม่อีกครั้งยกเว้น ผักและผลไม้สดซึ่งอาจเน่าเสียได้ง่ายและได้ใบรับรองก่อนการนำเข้า (Pre Certificate) จากประเทศผู้ส่งออกแล้ว KFDA จะออกรายงานการนำเข้า (Import Report) ก่อนการสุ่มตรวจสินค้าจะแล้วเสร็จ เพื่อให้ผู้นำเข้านำไปผ่านกระบวนการศุลกากรเพื่อนำไปจำหน่ายในเกาหลีใต้ต่อไป อย่างไรก็ตาม หากผลการสุ่มตรวจสินค้าพบว่าสินค้าดังกล่าวเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้นำเข้าต้องเรียกเก็บสินค้านั้นจากแหล่งต่างๆ กลับคืนไปให้หมด
5. การจัดจำหน่าย โดยปกติไทยมักส่งออกผักและผลไม้ไปเกาหลีใต้ผ่านทางตัวแทนนำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะกระจายสินค้าต่อไปยังห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และโรงแรมอีกต่อหนึ่ง
คู่แข่งของไทย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม และสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ไทยมีความได้เปรียบในด้านการผลิตและปลูกผักและผลไม้เมืองร้อน อีกทั้งคุณภาพผักและผลไม้ของไทยยังเป็นที่ยอมรับในตลาดเกาหลีใต้อีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2545--
-สส-