1. สถานการณ์การผลิตกรมประมงเตือนเกษตรกรเลี้ยงปลาในหน้าหนาวระวังโรคระบาด
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง แถลงว่า ขณะนี้ได้เริ่มเข้าสู่ในช่วงฤดูหนาว อากาศเย็น คุณภาพน้ำมีการเปลี่ยนแปลงมากส่งผลให้สัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาเครียด อ่อนแอ ไม่กินอาหาร เป็นสาเหตุให้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าทำอันตรายต่อปลา ก่อให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย เชื้อโรคที่สำคัญคือ เชื้อราอาฟาโนมัยซีส (Aphanomyces invadans) เชื้อราชนิดนี้สามารถเกาะและชอนไชบริเวณผิวหนังที่มีแผลขนาดเล็กแล้วเจริญแพร่เข้าไปในกล้ามเนื้อของปลา และทะลุเข้าอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำให้เซลล์ตับ ม้าม และไตมีการเปลี่ยนแปลงและเซลล์บางส่วนมีการตาย การเกิดแผลบริเวณลำตัวอาจเกิดได้โดยเชื้ออื่น ๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส มีส่วนในการเกื้อหนุนให้เชื้อราเข้าทำอันตรายต่อปลาได้ง่าย ปัจจุบันนี้ยังไม่มีตัวยาหรือสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อราที่ฝังตัวอยู่ภายในกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน ของตัวปลาได้ แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นหรือหมดฤดูหนาวปลาจะมีภูมิต้านทานโรคสูงขึ้น และสามารถหายป่วยได้เอง ดังนั้น การป้องกันการเกิดโรคแผลเน่าเปื่อย จึงเป็นวิธีการที่ดี ที่สุด ซึ่งแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคระบาดปลาในบ่อเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้
1.วางแผนการจัดการเลี้ยงปลาให้ปลามีขนาดใกล้เคียงกับขนาดที่ตลาดต้องการก่อนช่วงฤดูหนาว ในกรณีที่พบปลาในธรรมชาติป่วย ให้รีบจับปลาที่เลี้ยงไว้ขายให้หมดก่อนที่โรคแพร่เข้ามาในฟาร์ม
2. ถ้าจะเลี้ยงปลาให้โตจับได้หลังฤดูหนาวก็ควรจะเลี้ยงปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดปลาน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาอื่น ๆ ที่ไม่มีเกล็ด แต่เกษตรกรจะต้องไม่เลี้ยงจนหนาแน่นมากเกินไป
3. ถ้าพบปลาป่วยเป็นโรคระบาดปลาในธรรมชาติในช่วงปลายฤดูฝนต่อกับฤดูหนาวให้รีบปิดน้ำหรืองดการเติมน้ำเข้าบ่อโดยทันที
4. ในระหว่างที่ปิดน้ำจำเป็นต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ปลากินเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
5. ควบคุมคุณภาพของน้ำในบ่อโดยใช้ปูนขาวในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
6. ถ้าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสียโดยมีแก๊สผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อให้สาดเกลือบริเวณที่มีแก๊สประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
7. เมื่อพบว่าปลาในธรรมชาติหายป่วยแล้วและอุณภูมิของน้ำสูงขึ้นหรือหมดฤดูหนาวแล้วจึงทำการถ่ายเทน้ำและเพิ่มปริมาณอาหารของปลาได้ตามปกติ
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาอยู่ในขณะนี้ และประสบปัญหาปลาในบ่อเลี้ยงป่วยด้วยโรคระบาดควรจะขอคำแนะนำข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่กรมประมง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปลาในบ่อเลี้ยงของตนเองของเกษตรกร รายอื่น และปลาในธรรมชาติ เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 12-18 พย. 2545 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,474.32 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 759.39 ตัน สัตว์น้ำจืด 714.93 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.88 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.12 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 85.90 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.65 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 41.46 ตัน 2. สถานการณ์การตลาดความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญปะจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.93 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ301.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 292.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 230.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 240.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ16.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.25บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25-29 พย. 2545 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.08 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 46 ประจำวันที่ 25 พ.ย.- 1 ธ.ค. 2545--
-สส-
นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง แถลงว่า ขณะนี้ได้เริ่มเข้าสู่ในช่วงฤดูหนาว อากาศเย็น คุณภาพน้ำมีการเปลี่ยนแปลงมากส่งผลให้สัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาเครียด อ่อนแอ ไม่กินอาหาร เป็นสาเหตุให้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าทำอันตรายต่อปลา ก่อให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย เชื้อโรคที่สำคัญคือ เชื้อราอาฟาโนมัยซีส (Aphanomyces invadans) เชื้อราชนิดนี้สามารถเกาะและชอนไชบริเวณผิวหนังที่มีแผลขนาดเล็กแล้วเจริญแพร่เข้าไปในกล้ามเนื้อของปลา และทะลุเข้าอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำให้เซลล์ตับ ม้าม และไตมีการเปลี่ยนแปลงและเซลล์บางส่วนมีการตาย การเกิดแผลบริเวณลำตัวอาจเกิดได้โดยเชื้ออื่น ๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส มีส่วนในการเกื้อหนุนให้เชื้อราเข้าทำอันตรายต่อปลาได้ง่าย ปัจจุบันนี้ยังไม่มีตัวยาหรือสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อราที่ฝังตัวอยู่ภายในกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน ของตัวปลาได้ แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นหรือหมดฤดูหนาวปลาจะมีภูมิต้านทานโรคสูงขึ้น และสามารถหายป่วยได้เอง ดังนั้น การป้องกันการเกิดโรคแผลเน่าเปื่อย จึงเป็นวิธีการที่ดี ที่สุด ซึ่งแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคระบาดปลาในบ่อเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้
1.วางแผนการจัดการเลี้ยงปลาให้ปลามีขนาดใกล้เคียงกับขนาดที่ตลาดต้องการก่อนช่วงฤดูหนาว ในกรณีที่พบปลาในธรรมชาติป่วย ให้รีบจับปลาที่เลี้ยงไว้ขายให้หมดก่อนที่โรคแพร่เข้ามาในฟาร์ม
2. ถ้าจะเลี้ยงปลาให้โตจับได้หลังฤดูหนาวก็ควรจะเลี้ยงปลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดปลาน้อย เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาอื่น ๆ ที่ไม่มีเกล็ด แต่เกษตรกรจะต้องไม่เลี้ยงจนหนาแน่นมากเกินไป
3. ถ้าพบปลาป่วยเป็นโรคระบาดปลาในธรรมชาติในช่วงปลายฤดูฝนต่อกับฤดูหนาวให้รีบปิดน้ำหรืองดการเติมน้ำเข้าบ่อโดยทันที
4. ในระหว่างที่ปิดน้ำจำเป็นต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ปลากินเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
5. ควบคุมคุณภาพของน้ำในบ่อโดยใช้ปูนขาวในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
6. ถ้าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสียโดยมีแก๊สผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อให้สาดเกลือบริเวณที่มีแก๊สประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่
7. เมื่อพบว่าปลาในธรรมชาติหายป่วยแล้วและอุณภูมิของน้ำสูงขึ้นหรือหมดฤดูหนาวแล้วจึงทำการถ่ายเทน้ำและเพิ่มปริมาณอาหารของปลาได้ตามปกติ
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงปลาอยู่ในขณะนี้ และประสบปัญหาปลาในบ่อเลี้ยงป่วยด้วยโรคระบาดควรจะขอคำแนะนำข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติมได้จากเจ้าหน้าที่กรมประมง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปลาในบ่อเลี้ยงของตนเองของเกษตรกร รายอื่น และปลาในธรรมชาติ เป็นต้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 12-18 พย. 2545 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,474.32 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 759.39 ตัน สัตว์น้ำจืด 714.93 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.88 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.12 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 85.90 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.65 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 41.46 ตัน 2. สถานการณ์การตลาดความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญปะจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.93 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.05 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ301.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 292.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 230.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 240.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 10.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ16.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.25บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25-29 พย. 2545 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.08 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 46 ประจำวันที่ 25 พ.ย.- 1 ธ.ค. 2545--
-สส-