จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในปี 2546 แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยยังมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับปี 2545 โดยคาดว่าอัตราการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP จะอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 4-5 เนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่ไทยอาจต้องเผชิญในหลายด้านด้วยกัน เช่น ภาวะภัยสงคราม ที่อาจจะเกิดขึ้น แม้ไม่ถึงกับทำให้การส่งออกต้องเกิดการชะงักงัน หรือชะลอตัวจนทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤติอีกครั้ง
หากพิจารณาในสถานการณ์โดยรวมของตลาดโลก ไทยยังสามารถพึ่งพาตลาดใหม่ๆ ได้ในหลายช่องทางด้วยกัน ไม่ใช้เพียงตลาดหลักๆ เท่านั้น แต่ควรให้ความสำคัญกับตลาดในภูมิภาคอย่างอาเซียนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงอาจต้องมีภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจบ้าง ขณะที่ตลาดจีนกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด จุดนี้ยังยากที่ไทยจะประเมินออกมาได้ว่า ตลาดใดเป็นแหล่งพึ่งพาที่สำคัญของผู้ประกอบการไทยในระยะยาว
สถานการณ์ดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องสิ้นหวัง แต่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ ในแง่ของการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านปัจจัยจากภายในและภายนอก โดยเป้าหมายสำคัญของผู้ประกอบการในเวลานี้ คือการสร้างตลาดใหม่ๆ มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช้มุ่งเพียงตลาดใหญ่ๆ เท่านั้นความสำคัญ ที่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องเพิ่มขีดศักยภาพในการแข่งขันให้ได้ คือการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในทุกด้าน ด้วยการปรับโครงสร้างธุรกิจ หรือการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
ขณะเดียวกันภาครัฐบาล และภาคอุตสาหกรรม ควรมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม การกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อนำไปสู่การวางแผน และการปฎิบัติ ของกระบวนการผลิตสินค้า ที่ได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ทำอย่างไรให้ อุตสาหกรรมทีมีอยู่แล้ว มีการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสนองความต้องการตลาดในราคาที่แข่งขันได้
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รัฐบาล โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งรัดให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ภาคอุตสาหกรรม เพื่อประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และเสนอแนะยุทธศาสตร์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทุก 15 วัน เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และการพัฒนาอุตสาหกรรมมีเป้าหมายชัดเจน ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จะเป็นหน่วยงานหลักที่จะนำเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยให้ความสำคัญต่อการปรับทิศทางการผลิตของ ผู้ประกอบการ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมุ่งเน้นการพัฒนาด้วยการนำนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปผสมผสานในกระบวนการผลิต เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดที่สำคัญนอกเหนือจากรูปแบบการผลิตข้างต้นแล้วนั้น ปรัชญาของการผลิตสินค้าจะต้องคำนึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ (Demand Driven) รวมทั้งการพัฒนาความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (Customer Responsiveness) และส่งมอบสินค้าอย่างตรงเวลาและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางด้าน Economies of Speed ยิ่งขึ้น
การพัฒนาศักยภาพการผลิตที่จะเน้นการเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มและการตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าจำเป็นต้องใช้ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาด้วยนวัตกรรม (Innovation) และการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่ม คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้
การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยแบ่งขอบเขตกลุ่มอุตสาหกรรมไทย ตามความสามารถในการแข่งขันและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศเป็น 3 กลุ่ม อุตสาหกรรมดังนี้ คือ
1. กลุ่ม Globalization Industry ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศสูง ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. กลุ่ม Regional and Domestic Industry ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศในระดับปานกลาง และตลาดส่วนมากเป็นตลาดในประเทศและภูมิภาค ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว
3 . กลุ่ม Basic and Strategic Industry ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็น ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ปิโตรเคมี เหล็ก และเหล็กกล้า และกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักร
นอกจากนี้ยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมและยุทธศาสตร์ย่อยในแต่ละอุตสาหกรรม จะมียุทธศาสตร์ที่เป็น Common Strategies และบางส่วนจำต้องมียุทธศาสตร์เฉพาะ (Customized Strategies) สำหรับแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตามแนวทางข้างต้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านนโยบายการดำเนิน และองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะหลักการในส่วนของนโยบายนั้น รัฐจำต้องคำนึงถึงบทบาทของตนเองในฐานะผู้ชี้นำสนับสนุนส่งเสริมมากกว่าผู้ดำเนินการ และการสร้างบรรยากาศในการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าร่วมการจัดทำแผนปฎิบัติการ โครงการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ใหม่ และร่วมปรับปรุงธุรกิจไปพร้อมๆกัน
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-
หากพิจารณาในสถานการณ์โดยรวมของตลาดโลก ไทยยังสามารถพึ่งพาตลาดใหม่ๆ ได้ในหลายช่องทางด้วยกัน ไม่ใช้เพียงตลาดหลักๆ เท่านั้น แต่ควรให้ความสำคัญกับตลาดในภูมิภาคอย่างอาเซียนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงอาจต้องมีภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจบ้าง ขณะที่ตลาดจีนกำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด จุดนี้ยังยากที่ไทยจะประเมินออกมาได้ว่า ตลาดใดเป็นแหล่งพึ่งพาที่สำคัญของผู้ประกอบการไทยในระยะยาว
สถานการณ์ดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องสิ้นหวัง แต่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ ในแง่ของการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านปัจจัยจากภายในและภายนอก โดยเป้าหมายสำคัญของผู้ประกอบการในเวลานี้ คือการสร้างตลาดใหม่ๆ มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช้มุ่งเพียงตลาดใหญ่ๆ เท่านั้นความสำคัญ ที่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องเพิ่มขีดศักยภาพในการแข่งขันให้ได้ คือการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในทุกด้าน ด้วยการปรับโครงสร้างธุรกิจ หรือการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
ขณะเดียวกันภาครัฐบาล และภาคอุตสาหกรรม ควรมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม การกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อนำไปสู่การวางแผน และการปฎิบัติ ของกระบวนการผลิตสินค้า ที่ได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า ทำอย่างไรให้ อุตสาหกรรมทีมีอยู่แล้ว มีการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสนองความต้องการตลาดในราคาที่แข่งขันได้
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รัฐบาล โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งรัดให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ภาคอุตสาหกรรม เพื่อประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และเสนอแนะยุทธศาสตร์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทุก 15 วัน เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และการพัฒนาอุตสาหกรรมมีเป้าหมายชัดเจน ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จะเป็นหน่วยงานหลักที่จะนำเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ โดยให้ความสำคัญต่อการปรับทิศทางการผลิตของ ผู้ประกอบการ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการแข่งขันในตลาดการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมุ่งเน้นการพัฒนาด้วยการนำนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปผสมผสานในกระบวนการผลิต เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดที่สำคัญนอกเหนือจากรูปแบบการผลิตข้างต้นแล้วนั้น ปรัชญาของการผลิตสินค้าจะต้องคำนึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ (Demand Driven) รวมทั้งการพัฒนาความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (Customer Responsiveness) และส่งมอบสินค้าอย่างตรงเวลาและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางด้าน Economies of Speed ยิ่งขึ้น
การพัฒนาศักยภาพการผลิตที่จะเน้นการเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มและการตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าจำเป็นต้องใช้ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาด้วยนวัตกรรม (Innovation) และการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่ม คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้
การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยแบ่งขอบเขตกลุ่มอุตสาหกรรมไทย ตามความสามารถในการแข่งขันและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศเป็น 3 กลุ่ม อุตสาหกรรมดังนี้ คือ
1. กลุ่ม Globalization Industry ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศสูง ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. กลุ่ม Regional and Domestic Industry ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศในระดับปานกลาง และตลาดส่วนมากเป็นตลาดในประเทศและภูมิภาค ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว
3 . กลุ่ม Basic and Strategic Industry ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็น ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ปิโตรเคมี เหล็ก และเหล็กกล้า และกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักร
นอกจากนี้ยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมและยุทธศาสตร์ย่อยในแต่ละอุตสาหกรรม จะมียุทธศาสตร์ที่เป็น Common Strategies และบางส่วนจำต้องมียุทธศาสตร์เฉพาะ (Customized Strategies) สำหรับแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตามแนวทางข้างต้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านนโยบายการดำเนิน และองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะหลักการในส่วนของนโยบายนั้น รัฐจำต้องคำนึงถึงบทบาทของตนเองในฐานะผู้ชี้นำสนับสนุนส่งเสริมมากกว่าผู้ดำเนินการ และการสร้างบรรยากาศในการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าร่วมการจัดทำแผนปฎิบัติการ โครงการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ใหม่ และร่วมปรับปรุงธุรกิจไปพร้อมๆกัน
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-