การประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 15
(The 15th APEC Technical Working Group Meeting)
16-18 ธันวาคม 2545 ณ จังหวัดเชียงใหม่
___________________
กระทรวงการคลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (The 15th APEC Technical Working Group Meeting) ครั้งที่ 15 ในระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2545 ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การจัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (The 15th APEC Technical Working Group Meeting) ครั้งนี้นับเป็นการประชุมแรกเพื่อเตรียมการไปสู่การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 10 ที่กระทรวงการคลังประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน 2546 ณ จังหวัดภูเก็ต การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจมหภาคและการเงินภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการปฏิรูประบบการเงินของโลก
2. ในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2545 จะเป็นการหารือแนวทางการทำงานของคณะทำงานต่าง ๆ อาทิ คณะทำงานด้านการป้องกันการส่งเงินทางช่องทางอื่นเพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย (Alternative Remittance Systems) คณะทำงานด้าน Voluntary Action Plan for Supporting Freer and Stable Capital Flows คณะทำงานด้าน Development of Securitization and Credit Guarantee Markets คณะทำงานด้าน Pathfinder Initiative on Corporate Governance เป็นต้น
3. ในวันที่ 18 ธันวาคม 2545 จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก และรายงานผลการประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อให้ที่ประชุมทราบและพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปคต่อไป
ในการนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอหัวข้อหลัก (Main Theme) สำหรับใช้หารือในการประชุม ซึ่งในปีนี้ได้เลือกหัวข้อที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ในครั้งนี้เพื่อให้สมาชิกเอเปคได้ร่วมพิจารณา ดังนี้
หัวข้อหลัก: Local Link, Global Reach: A New APEC Financial Cooperation โดยหัวข้อดังกล่าวให้ความสำคัญกับการพัฒนาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจภายในประเทศและของภูมิภาค ควบคู่กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ สมาชิกเอเปคจึงสมควรมีความร่วมมือทางการเงินที่จะสร้างการเชื่อมโยง (Linkage) ที่แข็งแกร่งระหว่างเศรษฐกิจในประเทศและของภูมิภาค เนื่องจากประเทศไม่สามารถที่จะพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้ หากปราศจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจใน 2 ส่วนที่สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ส่วนหัวข้อย่อยจะประกอบด้วย (1) Grass-roots and SME Development โดยหัวข้อย่อยนี้จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศขั้นพื้นฐานได้แก่การส่งเสริมและสนับสนุน SMEs และ Micro-Enterprises โดยอาจมีความร่วมมือของสมาชิกเอเปคในรูปความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจ (Incubation Process) การสนับสนุนทางการเงินทั้งทางส่วนที่เป็นหนี้ (Debt Financing) โดยการกู้ยืมจากระบบธนาคาร และส่วนที่เป็นทุน (Equity Financing) ผ่าน Venture Capital และ Equity Fund (2) Regional Bond Market ซึ่งเป็นการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาคเพื่อสร้างการเชื่อมโยงระหว่างอุปสงค์และอุปทานของความต้องการเงินทุน ซึ่งจะช่วยสร้าง Linkage ของระบบเศรษฐกิจในประเทศเข้ากับภูมิภาคในด้านเงินทุน และช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศในภูมิภาค ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการที่จะสนับสนุนการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค (3) Regional Trade Arrangement ความร่วมมือในการเปิดเสรีทางการค้าจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและสร้างการเชื่อมโยงในด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยจะเน้นประเด็นด้านนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายภาษีอากร และนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอื่นๆ เพื่อสนับสนุนเขตการค้าเสรี
นอกจากนี้ ที่ประชุมจะได้มีการหารือเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินโลก (International Financial Architecture-IFA) การจัดทำและดำเนินมาตรการริเริ่มต่างๆ (Collaborative Initiatives) ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจ/การเงินภายในภูมิภาคเอเปค
สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านเทคนิครัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งนี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงการคลังและธนาคารกลางเอเปค ผู้แทนระดับสูงของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซีย
กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่า การประชุมครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และสามารถนำผลการประชุมเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 10 ได้ลุล่วงตามที่กำหนดไว้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 83/2545 13 ธันวาคม 2545--
-ศน-
(The 15th APEC Technical Working Group Meeting)
16-18 ธันวาคม 2545 ณ จังหวัดเชียงใหม่
___________________
กระทรวงการคลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (The 15th APEC Technical Working Group Meeting) ครั้งที่ 15 ในระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2545 ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การจัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (The 15th APEC Technical Working Group Meeting) ครั้งนี้นับเป็นการประชุมแรกเพื่อเตรียมการไปสู่การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 10 ที่กระทรวงการคลังประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน 2546 ณ จังหวัดภูเก็ต การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจมหภาคและการเงินภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการปฏิรูประบบการเงินของโลก
2. ในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2545 จะเป็นการหารือแนวทางการทำงานของคณะทำงานต่าง ๆ อาทิ คณะทำงานด้านการป้องกันการส่งเงินทางช่องทางอื่นเพื่อสนับสนุนการก่อการร้าย (Alternative Remittance Systems) คณะทำงานด้าน Voluntary Action Plan for Supporting Freer and Stable Capital Flows คณะทำงานด้าน Development of Securitization and Credit Guarantee Markets คณะทำงานด้าน Pathfinder Initiative on Corporate Governance เป็นต้น
3. ในวันที่ 18 ธันวาคม 2545 จะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก และรายงานผลการประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อให้ที่ประชุมทราบและพิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปคต่อไป
ในการนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอหัวข้อหลัก (Main Theme) สำหรับใช้หารือในการประชุม ซึ่งในปีนี้ได้เลือกหัวข้อที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ในครั้งนี้เพื่อให้สมาชิกเอเปคได้ร่วมพิจารณา ดังนี้
หัวข้อหลัก: Local Link, Global Reach: A New APEC Financial Cooperation โดยหัวข้อดังกล่าวให้ความสำคัญกับการพัฒนาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจภายในประเทศและของภูมิภาค ควบคู่กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ สมาชิกเอเปคจึงสมควรมีความร่วมมือทางการเงินที่จะสร้างการเชื่อมโยง (Linkage) ที่แข็งแกร่งระหว่างเศรษฐกิจในประเทศและของภูมิภาค เนื่องจากประเทศไม่สามารถที่จะพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้ หากปราศจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจใน 2 ส่วนที่สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ส่วนหัวข้อย่อยจะประกอบด้วย (1) Grass-roots and SME Development โดยหัวข้อย่อยนี้จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศขั้นพื้นฐานได้แก่การส่งเสริมและสนับสนุน SMEs และ Micro-Enterprises โดยอาจมีความร่วมมือของสมาชิกเอเปคในรูปความช่วยเหลือทางวิชาการด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจ (Incubation Process) การสนับสนุนทางการเงินทั้งทางส่วนที่เป็นหนี้ (Debt Financing) โดยการกู้ยืมจากระบบธนาคาร และส่วนที่เป็นทุน (Equity Financing) ผ่าน Venture Capital และ Equity Fund (2) Regional Bond Market ซึ่งเป็นการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาคเพื่อสร้างการเชื่อมโยงระหว่างอุปสงค์และอุปทานของความต้องการเงินทุน ซึ่งจะช่วยสร้าง Linkage ของระบบเศรษฐกิจในประเทศเข้ากับภูมิภาคในด้านเงินทุน และช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศในภูมิภาค ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการที่จะสนับสนุนการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค (3) Regional Trade Arrangement ความร่วมมือในการเปิดเสรีทางการค้าจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและสร้างการเชื่อมโยงในด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยจะเน้นประเด็นด้านนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายภาษีอากร และนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอื่นๆ เพื่อสนับสนุนเขตการค้าเสรี
นอกจากนี้ ที่ประชุมจะได้มีการหารือเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินโลก (International Financial Architecture-IFA) การจัดทำและดำเนินมาตรการริเริ่มต่างๆ (Collaborative Initiatives) ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจ/การเงินภายในภูมิภาคเอเปค
สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านเทคนิครัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งนี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงการคลังและธนาคารกลางเอเปค ผู้แทนระดับสูงของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเซีย
กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่า การประชุมครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และสามารถนำผลการประชุมเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคครั้งที่ 10 ได้ลุล่วงตามที่กำหนดไว้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 83/2545 13 ธันวาคม 2545--
-ศน-