กรุงเทพ--21 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนภายหลังการกล่าวถ้อยแถลงต่อสมัชชา สหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 60 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมระหว่าง ASEAN- สหรัฐ ฯ โดยรัฐมนตรีว่าการ ฯ และ ดร.คอนโดลีซ่า ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ ได้เป็นประธานการประชุมระหว่างอาเซียน และสหรัฐ ฯ โดยที่ประชุมได้ย้ำที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แนบแน่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านสาธารณสุข การป้องกันและรักษาโรคภัยแพร่ระบาดต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ ไทยยังได้มีโอกาสหารือกับสหรัฐ ฯ เป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะในเรื่องปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี
2. การประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue (ACD) Breakfast Meeting) การประชุม ในครั้งนี้ ไทยเป็นประธานการประชุม ฯ โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก ACD เข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก โดยที่ประชุมได้พิจารณาความร่วมมือในกรอบต่าง ๆ และได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพลังงาน โดยได้มีการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะให้ประเทศผลิตน้ำมันนำเงินทุนมาลงทุนในประเทศสมาชิก ACD การวางท่อน้ำมันผ่านประเทศสมาชิก ตลอดจนข้อเสนอให้มีการประชุมในระหว่างรัฐมนตรีพลังงานของ ACD ด้วย และที่ประชุมได้หารือถึงข้อเสนอของไทยเรื่องพันธบัตรเอเชียโดยได้แสดงความประสงค์ให้มีการเดินหน้าต่อไป ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิก ACD เป็นอย่างมาก และที่ประชุมได้เพิจารณาในเบื้องต้นข้อเสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ(Secretariat) ของการประชุม ACD ด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบต่อข้อเสนอของไทยให้จัดการประชุมระดับระหว่างรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสมาชิก รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะจัดการประชุมสุดยอด ACD ครั้งแรกในช่วงปลายปีนี้หรือ ต้นปีหน้า
3. การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกเครือข่าย ความมั่นคงของมนุษย์ ไทยเป็นประธานการประชุม ฯ โดยไทยรับช่วงต่อจากแคนาดา โดยที่ประชุมได้กล่าวถึงความสำคัญของความมั่นคงทางมนุษย์ และเห็นพ้องให้มีการกระชับความร่วมมือด้านสาธารณสุข การป้องกันและบรรเทาพิบัติภัย และการป้องกันปัญหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในส่วนของไทย ไทยได้ให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์มาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาโรคเอดส์ การค้ามนุษย์ และทุ่นระเบิด ทั้งนี้ ประเทศไทยกำหนดที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี (Human Security Network (HSN) Informal Ministerial Working Lunch) ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพ ฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549
4. การหารือทวิภาคีกับแอลจีเรียและสโลวีเนีย ในช่วงเช้า ดร.กันตธีร์ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับนายโมฮัมเหม็ด เบ็ดจาวี (Mr. Mohamed Bedjaoui) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแอลจีเรีย โดยได้ย้ำความตั้งใจของ ทั้งสองฝ่ายในการกระชับความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านพลังงาน และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบัน แอลจีเรียกำลังต้องการแรงงานไปช่วยเรื่องการก่อสร้างท่าอากาศยาน และท่าเรือ ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและท่องเที่ยวของแอลจีเรีย
ในส่วนการพบหารือทวิภาคีกับนายดิมิตริย์ รูเป็ล (Mr. Dimitrij Rupel) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวีเนีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า แม้ว่า ประเทศสโลวีเนียจะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่เป็นประเทศในยุโรปตะวันออกที่ประสบความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก โดยในระหว่างการหารือ ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าควรกระชับความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร นอกจากนี้ สโลวีเนียได้รับที่จะอำนวยความสะดวกในด้านการตรวจลงตราให้กับภาคเอกชนไทยด้วย
อนึ่ง ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนว่า ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้มีโอกาสพบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซียกรณีคน 131 คนลักลอบเข้ารัฐกลันตันอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ฯ ตอบว่า ได้มีการพบหารือเรื่องการประสานงานระหว่างกัน และความร่วมมือในการตรวจสอบสัญชาติของกลุ่มบุคคลดังกล่าวต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2548 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนภายหลังการกล่าวถ้อยแถลงต่อสมัชชา สหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 60 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมระหว่าง ASEAN- สหรัฐ ฯ โดยรัฐมนตรีว่าการ ฯ และ ดร.คอนโดลีซ่า ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ ได้เป็นประธานการประชุมระหว่างอาเซียน และสหรัฐ ฯ โดยที่ประชุมได้ย้ำที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แนบแน่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านสาธารณสุข การป้องกันและรักษาโรคภัยแพร่ระบาดต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ ไทยยังได้มีโอกาสหารือกับสหรัฐ ฯ เป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะในเรื่องปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี
2. การประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue (ACD) Breakfast Meeting) การประชุม ในครั้งนี้ ไทยเป็นประธานการประชุม ฯ โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก ACD เข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก โดยที่ประชุมได้พิจารณาความร่วมมือในกรอบต่าง ๆ และได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพลังงาน โดยได้มีการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะให้ประเทศผลิตน้ำมันนำเงินทุนมาลงทุนในประเทศสมาชิก ACD การวางท่อน้ำมันผ่านประเทศสมาชิก ตลอดจนข้อเสนอให้มีการประชุมในระหว่างรัฐมนตรีพลังงานของ ACD ด้วย และที่ประชุมได้หารือถึงข้อเสนอของไทยเรื่องพันธบัตรเอเชียโดยได้แสดงความประสงค์ให้มีการเดินหน้าต่อไป ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิก ACD เป็นอย่างมาก และที่ประชุมได้เพิจารณาในเบื้องต้นข้อเสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ(Secretariat) ของการประชุม ACD ด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบต่อข้อเสนอของไทยให้จัดการประชุมระดับระหว่างรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสมาชิก รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะจัดการประชุมสุดยอด ACD ครั้งแรกในช่วงปลายปีนี้หรือ ต้นปีหน้า
3. การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกเครือข่าย ความมั่นคงของมนุษย์ ไทยเป็นประธานการประชุม ฯ โดยไทยรับช่วงต่อจากแคนาดา โดยที่ประชุมได้กล่าวถึงความสำคัญของความมั่นคงทางมนุษย์ และเห็นพ้องให้มีการกระชับความร่วมมือด้านสาธารณสุข การป้องกันและบรรเทาพิบัติภัย และการป้องกันปัญหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในส่วนของไทย ไทยได้ให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์มาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาโรคเอดส์ การค้ามนุษย์ และทุ่นระเบิด ทั้งนี้ ประเทศไทยกำหนดที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี (Human Security Network (HSN) Informal Ministerial Working Lunch) ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพ ฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549
4. การหารือทวิภาคีกับแอลจีเรียและสโลวีเนีย ในช่วงเช้า ดร.กันตธีร์ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือทวิภาคีกับนายโมฮัมเหม็ด เบ็ดจาวี (Mr. Mohamed Bedjaoui) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแอลจีเรีย โดยได้ย้ำความตั้งใจของ ทั้งสองฝ่ายในการกระชับความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านพลังงาน และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบัน แอลจีเรียกำลังต้องการแรงงานไปช่วยเรื่องการก่อสร้างท่าอากาศยาน และท่าเรือ ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและท่องเที่ยวของแอลจีเรีย
ในส่วนการพบหารือทวิภาคีกับนายดิมิตริย์ รูเป็ล (Mr. Dimitrij Rupel) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสโลวีเนีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า แม้ว่า ประเทศสโลวีเนียจะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่เป็นประเทศในยุโรปตะวันออกที่ประสบความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก โดยในระหว่างการหารือ ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าควรกระชับความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร นอกจากนี้ สโลวีเนียได้รับที่จะอำนวยความสะดวกในด้านการตรวจลงตราให้กับภาคเอกชนไทยด้วย
อนึ่ง ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนว่า ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้มีโอกาสพบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซียกรณีคน 131 คนลักลอบเข้ารัฐกลันตันอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ฯ ตอบว่า ได้มีการพบหารือเรื่องการประสานงานระหว่างกัน และความร่วมมือในการตรวจสอบสัญชาติของกลุ่มบุคคลดังกล่าวต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-