คณะทำงานฝ่ายค้านเปิดโปงเครือข่ายขบวนการฮั้วประมูลซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว
150 ล้าน พบหลักฐานใหม่ชี้ชัด ชมรมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย (ชสท.) บริษัทคู่สัญญา
และอีก 3 บริษัทร่วมกันฮั้วโครงการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวเข้าข่ายทุจริตผิดกฎหมายป้องกันการฮั้ว
ชัดเจน และมีพยานยืนยันซื้อข้าวเปลือกเก่าค้างปี ซึ่งไม่ใช่เมล็ดพันธุ์ข้าวตามสเปค
ที่รัฐสภา วันที่ 20 ธันวาคม 2545 เวลา 11.15 นาฬิกา นายอลงกรณ์
พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงาน
สอบสวนการทุจริตจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว 150 ล้านบาทได้กล่าวว่า คณะทำงานฯ ได้พบหลักฐานเพิ่มเติม
เกี่ยวกับพฤติกรรมการฮั้วของชมรมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย (ชสท) และบริษัทอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องส่อพิรุธชัดเจนในการสมรู้ร่วมคิดกระทำผิดพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อ
หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (กฎหมายป้องกันการฮั้ว) กล่าวคือ ในการประกวดราคาจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว
กข. 6 ของกรมส่งเสริมการเกษตรงบประมาณ 150 ล้านบาท มีผู้ซื้อซองประกวดราคา 12 ราย
ในจำนวนนี้มี หจก. ชัยชนะเกษตร, บริษัทข้าวศิริเอี่ยมแสง และ หจก. เชียงใหม่ลิ้ม ศักดากุล
รวมอยู่ด้วยและเมื่อถึงกำหนดวันยื่นซองในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 ทั้ง 3 รายไม่ได้ยื่นซอง
ประกวดราคามีเพียง ชสท. และ อตก. เท่านั้น ที่ยื่นซองประกวดราคา โดย ชสท. ชนะการประมูลราคา
และได้ทำสัญญากับกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2545 ต่อมา ชสท. ได้ทำสัญญากับ
3 บริษัทได้แก่ บริษัทแสงอีสานการเกษตรจำกัดตั้งอยู่จังหวัดบุรีรัมย์ บริษัทรัตนอริเท็ค แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
ตั้งอยู่จังหวัดเชียงใหม่และบริษัทป่าสักบิสสิเนส ตั้งอยู่จังหวัดลพบุรี ซึ่งจากการสืบสวนของคณะทำงานฯ
พบว่าบริษัทรัตนอริเท็คแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท มีกรรมการบริษัท 2 คนคือ
นายวิรัตน์ ลิ้มศักดากุล และนางเทวี ลิ้มศักดากุล ตามเอกสารของกรมทะเบียนการค้าลงวันที่ 18 ธันวาคม 2545
ปรากฏว่า บุคคลทั้งสองเป็นเจ้าของหจก. เชียงใหม่ ลิ้มศักดากุล ตั้งอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนบริษัท
ป่าสักบิสิเนส จำกัด คู่สัญญาของ ชสท. ตั้งอยู่เลขที่ 75/1 หมู่ที่ 4 ตำบลชัยนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล
จังหวัดลพบุรี คณะทำงานฯได้ตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงบ้านชาวบ้านธรรมดาหลังหนึ่งและเมื่อตรวจสอบ
งบกำไรขาดทุนสำหรับปีที่ผ่านมา มีรายได้เพียง 7,893 บาท ค่าใช้จ่ายบริหาร 7,000 บาท และ
ในรายงานของผู้สอบบัญชีระบุว่า บริษัทไม่ได้มีการดำเนินงานพาณิชกิจแต่อย่างใด
ประธานคณะทำงานฯ ได้กล่าวต่อว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ชสท.
กับผู้ซื้อซองประกวดราคา 3 รายที่ไม่ได้ยื่นซองเข้าแข่งขันและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ บริษัทคู่สัญญา 3 รายของ
ชสท. ซึ่งเป็นพฤติกรรมอันควรเชื่อได้ว่าสมรู้ร่วมคิดกันกระทำผิดพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา
ต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ กฏหมายป้องกันการฮั้วในโครงการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว กข. 6
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 2545
--------------------------------------
150 ล้าน พบหลักฐานใหม่ชี้ชัด ชมรมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย (ชสท.) บริษัทคู่สัญญา
และอีก 3 บริษัทร่วมกันฮั้วโครงการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวเข้าข่ายทุจริตผิดกฎหมายป้องกันการฮั้ว
ชัดเจน และมีพยานยืนยันซื้อข้าวเปลือกเก่าค้างปี ซึ่งไม่ใช่เมล็ดพันธุ์ข้าวตามสเปค
ที่รัฐสภา วันที่ 20 ธันวาคม 2545 เวลา 11.15 นาฬิกา นายอลงกรณ์
พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะทำงาน
สอบสวนการทุจริตจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว 150 ล้านบาทได้กล่าวว่า คณะทำงานฯ ได้พบหลักฐานเพิ่มเติม
เกี่ยวกับพฤติกรรมการฮั้วของชมรมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย (ชสท) และบริษัทอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องส่อพิรุธชัดเจนในการสมรู้ร่วมคิดกระทำผิดพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อ
หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (กฎหมายป้องกันการฮั้ว) กล่าวคือ ในการประกวดราคาจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว
กข. 6 ของกรมส่งเสริมการเกษตรงบประมาณ 150 ล้านบาท มีผู้ซื้อซองประกวดราคา 12 ราย
ในจำนวนนี้มี หจก. ชัยชนะเกษตร, บริษัทข้าวศิริเอี่ยมแสง และ หจก. เชียงใหม่ลิ้ม ศักดากุล
รวมอยู่ด้วยและเมื่อถึงกำหนดวันยื่นซองในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 ทั้ง 3 รายไม่ได้ยื่นซอง
ประกวดราคามีเพียง ชสท. และ อตก. เท่านั้น ที่ยื่นซองประกวดราคา โดย ชสท. ชนะการประมูลราคา
และได้ทำสัญญากับกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2545 ต่อมา ชสท. ได้ทำสัญญากับ
3 บริษัทได้แก่ บริษัทแสงอีสานการเกษตรจำกัดตั้งอยู่จังหวัดบุรีรัมย์ บริษัทรัตนอริเท็ค แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
ตั้งอยู่จังหวัดเชียงใหม่และบริษัทป่าสักบิสสิเนส ตั้งอยู่จังหวัดลพบุรี ซึ่งจากการสืบสวนของคณะทำงานฯ
พบว่าบริษัทรัตนอริเท็คแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท มีกรรมการบริษัท 2 คนคือ
นายวิรัตน์ ลิ้มศักดากุล และนางเทวี ลิ้มศักดากุล ตามเอกสารของกรมทะเบียนการค้าลงวันที่ 18 ธันวาคม 2545
ปรากฏว่า บุคคลทั้งสองเป็นเจ้าของหจก. เชียงใหม่ ลิ้มศักดากุล ตั้งอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนบริษัท
ป่าสักบิสิเนส จำกัด คู่สัญญาของ ชสท. ตั้งอยู่เลขที่ 75/1 หมู่ที่ 4 ตำบลชัยนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล
จังหวัดลพบุรี คณะทำงานฯได้ตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงบ้านชาวบ้านธรรมดาหลังหนึ่งและเมื่อตรวจสอบ
งบกำไรขาดทุนสำหรับปีที่ผ่านมา มีรายได้เพียง 7,893 บาท ค่าใช้จ่ายบริหาร 7,000 บาท และ
ในรายงานของผู้สอบบัญชีระบุว่า บริษัทไม่ได้มีการดำเนินงานพาณิชกิจแต่อย่างใด
ประธานคณะทำงานฯ ได้กล่าวต่อว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ชสท.
กับผู้ซื้อซองประกวดราคา 3 รายที่ไม่ได้ยื่นซองเข้าแข่งขันและมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ บริษัทคู่สัญญา 3 รายของ
ชสท. ซึ่งเป็นพฤติกรรมอันควรเชื่อได้ว่าสมรู้ร่วมคิดกันกระทำผิดพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา
ต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ กฏหมายป้องกันการฮั้วในโครงการจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว กข. 6
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 2545
--------------------------------------