กรุงเทพ--2 ม.ค.--กระทรวงต่างประเทศ
วันนี้ (26 ธันวาคม 2545) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ร่วมกับนายฮอร์ นัมฮอง รัฐมนตรีอาวุโสว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 | 27 ธันวาคม 2545 ณ โรงแรมเวสติน ริเวอร์ไซด์ พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา เป็นกลไกสูงสุด ที่ทำหน้าที่ กำกับดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-กัมพูชาในภาพรวม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 กรรมการในคณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชาทุกหน่วยและในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ 4 ครั้ง โดยการประชุมครั้งที่ 1 มีขึ้น ที่กรุงพนมเปญ (5-7 พฤษภาคม 2538) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ (20-22 มีนาคม 2540) ครั้งที่ 3 ที่จังหวัดเสียมราฐ (31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2543) และครั้งนี้เป็นอีกวาระหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ไทย-กัมพูชา ซึ่งการประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จและบรรลุผล ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2. ความสำเร็จเห็นได้จากการขยายตัวของความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ในกรอบของคณะกรรมาธิการร่วมฯ ซึ่งเพิ่มจำนวนจาก 31 ประเด็น จากการประชุมครั้งที่ 1 เป็น 55 ประเด็นในการ ประชุมครั้งที่ 3 และในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านต่างๆ ครอบคลุม 79 ประเด็นความ ร่วมมือ ครอบคลุมเนื้อหาต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งครอบคลุมถึงประเด็นทวิภาคีในกรอบความร่วมมือ ระดับพหุภาคีด้วย เช่น ในกรอบของอาเซียน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และความร่วมมือในกรอบ ของสามเหลี่ยมมรกต เป็นต้น
3. ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือกันอย่างกว้างขวางและได้ข้อสรุปที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีให้ก้าวหน้าต่อไปมีเป็นจำนวนมาก แต่ที่ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นความริเริ่มใหม่ และเป็นสิ่งที่จะตอบสนองต่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศร่วมกันในระยะยาว ได้แก่
3.1 การให้ความช่วยเหลือกัมพูชาในการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างไทย-กัมพูชา ได้แก่ ถนนหมายเลข 48 (เกาะกง-สแรอัมเบิล) และถนนหมายเลข 67 (สะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ)
- กรณีถนนหมายเลข 48 นอกจากจะตอบสนองผลประโยชน์ร่วมกันในด้านการ พัฒนาแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมภายในภูมิภาค เพราะในอนาคตจะทำให้สามารถเดินทางจากประเทศไทย ไปจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา และสามารถต่อไปยังกรุงพนมเปญ และเดินทางต่อไปเวียดนามได้โดยทางรถยนต์
- ส่วนถนนหมายเลข 67 จากช่องสะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ นั้น จะเชื่อมโยงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยเข้ากับภาคเหนือของกัมพูชา ซึ่งรวมถึงแหล่งโบราณสถานสำคัญทั้งปวงในเขตจังหวัดเสียมราฐของกัมพูชา อันจะเกื้อกูลต่อการเชื่อมโยงและตอบสนองผลประโยชน์ ด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะ เปิดช่องทางในบางพื้นที่เป็นจุดผ่านแดนถาวร อาทิ ที่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
3.2 โครงการนำร่อง 4 โครงการ ตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทย- กัมพูชา ได้แก่
- การศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่เกาะกง
- การศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งระบบตลาดขายส่งและตลาดส่งออก สินค้าการเกษตรในกัมพูชา
- โครงการพัฒนาการผลิตพืชไร่ในกัมพูชา
- โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันซึ่งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชานี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงไว้ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2544 และการกำหนดแผนงานต่าง ๆ ได้ แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2544 โครงการทั้ง 4 จะตอบสนองต่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และวางรากฐานให้กับการดำเนินโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
3.3 ที่ประชุมยังได้หารือกันถึงการเปิดจุด ผ่านแดนถาวร ระหว่างกันเพิ่มเติม อาทิ ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ที่ บ้านผักกาด ตรงข้ามบ้านพรม กรุงไพลิน และ บ้านแหลม ตรงข้ามบ้าดวง จังหวัดพระตะบอง และที่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ตรงข้าม ช่องจวม จังหวัดอุดรมีชัย โดยตกลงจะหารือเรื่องนี้กันในรายละเอียด อีกครั้งหนึ่งภายในเดือนมีนาคม 2546
3.4 โครงการความร่วมมือในการเก็บกู้กับระเบิดบริเวณชายแดนระหว่างศูนย์ ปฏิบัติการ ทุ่นระเบิดแห่งชาติ กับ Cambodian Mines Action and Victim Assistance Authority (CMAA) เพื่อกำหนด แผนการเก็บกู้ระเบิดที่สอดคล้องกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ชายแดนไทยและ กัมพูชาที่ปลอดจาก กับระเบิดอย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนของทั้งสองฝ่าย
4. นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกันเกี่ยวกับโครงการใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ในด้านต่าง ๆ อาทิ
- การจัดทำ MOU on Cooperation in Agriculture เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศด้านการเกษตรอย่างครบวงจร
- การจัดทำ Agreement on Technical Cooperation on Sanitary and Phytosanitary Measures เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับสุขอนามัยพืชและสัตว์ ยกระดับคุณภาพผลผลิตต่าง ๆ ที่มาจากพืชและสัตว์ และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคพืชและสัตว์ อย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดทำ MOU on Cooperation of Employment of Workers เพื่อการจัดระเบียบแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย รวมทั้งการส่งกลับแรงงานผิดกฎหมายอย่างเป็นระบบ
- การริเริ่มจัดทำ MOU on Women and Children Trafficking เพื่อป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถลงนามความตกลงต่างๆข้างต้นภายในปี 2546
5. ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อการบริหารจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพ โดยฝ่ายไทยได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน เอกสารทำงานเรื่อง Thailand-Cambodia Border Points of Entry : Ways toward New order, Effective Border Management and Greater Bilateral Cooperation ประมวลสภาพปัญหาต่าง ๆ และเสนอมาตรการแก้ไขบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้ให้ ความร่วมมือในการพิจารณาเรื่องนี้ และได้ยื่นเอกสารทำงานของกัมพูชา (Counter Draft) ให้ฝ่ายไทย พิจารณาด้วย ซึ่งจะได้มีการหารือในรายละเอียดในระดับเจ้าหน้าที่อีกครั้งหนึ่งภายในเดือนมีนาคม 2546 เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีมาตรการที่เห็นพ้องร่วมกัน และใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพ
6. ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกตนั้น ที่ประชุมได้รับทราบว่าลาวได้เห็นชอบกับข้อเสนอของไทยและกัมพูชาเรื่องความร่วมมือฯ ทางด้านการ ท่องเที่ยวและเสนอ ที่จะจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ฝ่าย (ไทย ลาว และ กัมพูชา) ที่เมืองปากเซ ในต้นปี 2546
7. ในโอกาสการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาทราบถึงพัฒนาการต่างๆ ในการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue | ACD) และ กัมพูชาได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวที่ไทยเป็นประธานด้วย สำหรับข้อเสนอของไทยที่จะให้สิทธการบินแก่สายการบินแห่งชาติกัมพูชาในการทำการบินระหว่างเสียมราฐ กับเชียงใหม่ ตามนโยบายและข้อเสนอของไทยที่จะส่งเสริมให้เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนั้น ฝ่ายกัมพูชาจะได้นำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาต่อไป นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องกันเรื่องแนวความคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่องการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกันและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจะได้หารือกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาซึ่งได้เห็นชอบในหลักการกับความคิดนี้แล้วต่อไปและหากเป็นไปได้ ก็จะจัด การประชุมคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชาขึ้นในช่วงต้นปี 2546
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
วันนี้ (26 ธันวาคม 2545) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ร่วมกับนายฮอร์ นัมฮอง รัฐมนตรีอาวุโสว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 | 27 ธันวาคม 2545 ณ โรงแรมเวสติน ริเวอร์ไซด์ พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา เป็นกลไกสูงสุด ที่ทำหน้าที่ กำกับดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-กัมพูชาในภาพรวม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 กรรมการในคณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชาทุกหน่วยและในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ 4 ครั้ง โดยการประชุมครั้งที่ 1 มีขึ้น ที่กรุงพนมเปญ (5-7 พฤษภาคม 2538) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ (20-22 มีนาคม 2540) ครั้งที่ 3 ที่จังหวัดเสียมราฐ (31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2543) และครั้งนี้เป็นอีกวาระหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ไทย-กัมพูชา ซึ่งการประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จและบรรลุผล ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2. ความสำเร็จเห็นได้จากการขยายตัวของความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ในกรอบของคณะกรรมาธิการร่วมฯ ซึ่งเพิ่มจำนวนจาก 31 ประเด็น จากการประชุมครั้งที่ 1 เป็น 55 ประเด็นในการ ประชุมครั้งที่ 3 และในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือถึงความร่วมมือด้านต่างๆ ครอบคลุม 79 ประเด็นความ ร่วมมือ ครอบคลุมเนื้อหาต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งครอบคลุมถึงประเด็นทวิภาคีในกรอบความร่วมมือ ระดับพหุภาคีด้วย เช่น ในกรอบของอาเซียน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และความร่วมมือในกรอบ ของสามเหลี่ยมมรกต เป็นต้น
3. ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือกันอย่างกว้างขวางและได้ข้อสรุปที่จะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีให้ก้าวหน้าต่อไปมีเป็นจำนวนมาก แต่ที่ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นความริเริ่มใหม่ และเป็นสิ่งที่จะตอบสนองต่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศร่วมกันในระยะยาว ได้แก่
3.1 การให้ความช่วยเหลือกัมพูชาในการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างไทย-กัมพูชา ได้แก่ ถนนหมายเลข 48 (เกาะกง-สแรอัมเบิล) และถนนหมายเลข 67 (สะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ)
- กรณีถนนหมายเลข 48 นอกจากจะตอบสนองผลประโยชน์ร่วมกันในด้านการ พัฒนาแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมภายในภูมิภาค เพราะในอนาคตจะทำให้สามารถเดินทางจากประเทศไทย ไปจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา และสามารถต่อไปยังกรุงพนมเปญ และเดินทางต่อไปเวียดนามได้โดยทางรถยนต์
- ส่วนถนนหมายเลข 67 จากช่องสะงำ-อันลองเวง-เสียมราฐ นั้น จะเชื่อมโยงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยเข้ากับภาคเหนือของกัมพูชา ซึ่งรวมถึงแหล่งโบราณสถานสำคัญทั้งปวงในเขตจังหวัดเสียมราฐของกัมพูชา อันจะเกื้อกูลต่อการเชื่อมโยงและตอบสนองผลประโยชน์ ด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะ เปิดช่องทางในบางพื้นที่เป็นจุดผ่านแดนถาวร อาทิ ที่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น
3.2 โครงการนำร่อง 4 โครงการ ตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทย- กัมพูชา ได้แก่
- การศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่เกาะกง
- การศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งระบบตลาดขายส่งและตลาดส่งออก สินค้าการเกษตรในกัมพูชา
- โครงการพัฒนาการผลิตพืชไร่ในกัมพูชา
- โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันซึ่งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-กัมพูชานี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงไว้ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2544 และการกำหนดแผนงานต่าง ๆ ได้ แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2544 โครงการทั้ง 4 จะตอบสนองต่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และวางรากฐานให้กับการดำเนินโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
3.3 ที่ประชุมยังได้หารือกันถึงการเปิดจุด ผ่านแดนถาวร ระหว่างกันเพิ่มเติม อาทิ ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ที่ บ้านผักกาด ตรงข้ามบ้านพรม กรุงไพลิน และ บ้านแหลม ตรงข้ามบ้าดวง จังหวัดพระตะบอง และที่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ตรงข้าม ช่องจวม จังหวัดอุดรมีชัย โดยตกลงจะหารือเรื่องนี้กันในรายละเอียด อีกครั้งหนึ่งภายในเดือนมีนาคม 2546
3.4 โครงการความร่วมมือในการเก็บกู้กับระเบิดบริเวณชายแดนระหว่างศูนย์ ปฏิบัติการ ทุ่นระเบิดแห่งชาติ กับ Cambodian Mines Action and Victim Assistance Authority (CMAA) เพื่อกำหนด แผนการเก็บกู้ระเบิดที่สอดคล้องกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ชายแดนไทยและ กัมพูชาที่ปลอดจาก กับระเบิดอย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนของทั้งสองฝ่าย
4. นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกันเกี่ยวกับโครงการใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ในด้านต่าง ๆ อาทิ
- การจัดทำ MOU on Cooperation in Agriculture เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศด้านการเกษตรอย่างครบวงจร
- การจัดทำ Agreement on Technical Cooperation on Sanitary and Phytosanitary Measures เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับสุขอนามัยพืชและสัตว์ ยกระดับคุณภาพผลผลิตต่าง ๆ ที่มาจากพืชและสัตว์ และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคพืชและสัตว์ อย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดทำ MOU on Cooperation of Employment of Workers เพื่อการจัดระเบียบแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะแรงงานกัมพูชาในประเทศไทย รวมทั้งการส่งกลับแรงงานผิดกฎหมายอย่างเป็นระบบ
- การริเริ่มจัดทำ MOU on Women and Children Trafficking เพื่อป้องกันและปราบปรามขบวนการลักลอบค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรี
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถลงนามความตกลงต่างๆข้างต้นภายในปี 2546
5. ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมความร่วมมือ เพื่อการบริหารจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพ โดยฝ่ายไทยได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน เอกสารทำงานเรื่อง Thailand-Cambodia Border Points of Entry : Ways toward New order, Effective Border Management and Greater Bilateral Cooperation ประมวลสภาพปัญหาต่าง ๆ และเสนอมาตรการแก้ไขบนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้ให้ ความร่วมมือในการพิจารณาเรื่องนี้ และได้ยื่นเอกสารทำงานของกัมพูชา (Counter Draft) ให้ฝ่ายไทย พิจารณาด้วย ซึ่งจะได้มีการหารือในรายละเอียดในระดับเจ้าหน้าที่อีกครั้งหนึ่งภายในเดือนมีนาคม 2546 เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีมาตรการที่เห็นพ้องร่วมกัน และใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการชายแดนที่มีประสิทธิภาพ
6. ในส่วนที่เกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกตนั้น ที่ประชุมได้รับทราบว่าลาวได้เห็นชอบกับข้อเสนอของไทยและกัมพูชาเรื่องความร่วมมือฯ ทางด้านการ ท่องเที่ยวและเสนอ ที่จะจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ 3 ฝ่าย (ไทย ลาว และ กัมพูชา) ที่เมืองปากเซ ในต้นปี 2546
7. ในโอกาสการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาทราบถึงพัฒนาการต่างๆ ในการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue | ACD) และ กัมพูชาได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวที่ไทยเป็นประธานด้วย สำหรับข้อเสนอของไทยที่จะให้สิทธการบินแก่สายการบินแห่งชาติกัมพูชาในการทำการบินระหว่างเสียมราฐ กับเชียงใหม่ ตามนโยบายและข้อเสนอของไทยที่จะส่งเสริมให้เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนั้น ฝ่ายกัมพูชาจะได้นำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกัมพูชาต่อไป นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องกันเรื่องแนวความคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่องการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกันและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจะได้หารือกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาซึ่งได้เห็นชอบในหลักการกับความคิดนี้แล้วต่อไปและหากเป็นไปได้ ก็จะจัด การประชุมคณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชาขึ้นในช่วงต้นปี 2546
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-