แท็ก
ข้อมูล
หนี้ต่างประเทศลดลงจากการชำระหนี้ของภาคเอกชนของภาคเอกชนและทางการ
ในเดือนนี้ มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศตามผลสำรวจหนี้ไตรมาส 3/2545 และมีการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังถึงไตรมาส 2/2545
ทำให้หนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 2/2545 และสิ้นไตรมาส 3/2545 เพิ่มขึ้นสุทธิ 31 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 110 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ตามลำดับ
-เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2545
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2545 มี จำนวน 60.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ส่วนใหญ่เกิดจากการชำระคืนหนี้สุทธิ ของภาคเอกชนและทางการ
หนี้ภาคเอกชนลดลง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการชำระคืนหนี้สุทธิ 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นผลมาจากค่าเงิน
เยนที่อ่อนลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ ภาคธนาคาร ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น ของธนาคาร
พาณิชย์ญี่ปุ่นซึ่งได้กู้เพื่อเสริมสภาพคล่องช่วงปิดงวดบัญชีในเดือนก่อน และการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวตามกำหนดของกิจการวิเทศธนกิจ ส่วนหนี้ภาค
ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ลดลง 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการชำระคืนหนี้ทั้งสิ้น 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการชำระคืน
เงินกู้ระยะยาวของธุรกิจโทรคมนาคม โดยเป็นการชำระคืนก่อนครบกำหนด 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ยอดค้างหนี้ต่างประเทศ
ล้านดอลลาร์ สรอ. 2543 2544 2545 เทียบกับ เทียบกับ
ก.ย. ต.ค. เดือนก.ย. สิ้นปี 2544
1.ภาคทางการ 33,913 28,308 24,207 23,572 -635 -4,736
1.1 ธปท.(ระยะยาว) 12,019 8,325 5,624 5,385 -239 -2,940
1.2 ภาครัฐบาล 21,864 19,983 18,583 18,187 -396 -1,796
ระยะยาว 21,868 19,836 17,715 17,509 -206 -2,327
ระยะสั้น 26 147 868 678 -190 531
2.ภาคเอกชน 45,802 39,203 37,542 36,472 -1,070 -2,731
ระยะยาว 31,134 25,961 23,699 22,905 -794 -3,056
ระยะสั้น 14,668 13,242 13,843 13,567 -276 325
2.1 ภาคธนาคาร 12,157 9,354 8,468 7,992 -476 -1,362
ระยะยาว 6,731 4,334 4,203 4,007 -196 -327
ระยะสั้น 5,426 5,020 4,265 3,985 -280 -1,035
2.1.1 ธนาคารพาณิชย์ 3,921 3,262 3,044 2,654 -390 -608
ระยะยาว 2,580 1,765 1,510 1,481 -29 -284
ระยะสั้น 1,341 1,497 1,534 1,173 -361 -324
2.1.2 วิเทศธนกิจ 8,236 6,092 5,424 5,338 -86 -754
ระยะยาว 4,151 2,569 2,693 2,526 -167 -43
ระยะสั้น 4,085 3,523 2,731 2,812 81 -711
2.2 ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร 33,645 29,849 29,074 28,480 -594 -1,729
ระยะยาว 24,403 21,627 19,496 18,898 -598 -2,729
ระยะสั้น 9,242 8,222 9,578 9,582 4 1,360
รวม (1+2) 79,715 67,511 61,749 60,044 -1,705 -7,467
ระยะยาว 65,021 54,122 47,038 45,799 -1,239 -8,323
ระยะสั้น 14,694 13,389 14,711 14,245 -466 856
สัดส่วน (%) 100.0 100.0 100.0 100.0
ระยะยาว 81.6 80.2 76.7 76.3
ระยะสั้น 18.4 19.8 23.3 23.7
สัดส่วน (%) 100.0 100.0 100.0 100.0
ระยะยาว 57.5 58.1 60.8 60.7
ระยะสั้น 42.5 41.9 39.2 39.3
หนี้ภาคทางการ (รวม ธปท.) ลดลง 0.6 พันล้านดอลลาร์สรอ. จากการชำระหนี้ของภาครัฐบาล 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โดยส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจ และการลดหนี้จากการที่ธนาคารพาณิชย์ซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ของ
รัฐบาลที่ตลาดรองในต่างประเทศกลับนอกกจากนี้ ธปท. มีการชำระคืนเงินกู้ IMF จำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2544
หนี้ต่างประเทศรวม ลดลง 7.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของหนี้ภาคทางการ
หนี้ภาคเอกชน มีการชำระคืนหนี้ทั้งสิ้น 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของบริษัทนอกเครือและ
ตราสารหนี้ระยะยาวภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร สำหรับระยะสั้นส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ของภาคธนาคาร ทั้งธนาคารพาณิชย์และกิจการ
วิเทศธนกิจ ขณะเดียวกันมีการนำเข้าหนี้ระยะสั้น โดยเฉพาะสินเชื่อการค้าและเงินกู้จากบริษัทในเครือ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับ
สิ้นปี 2544 มีแนวโน้มแข็งขึ้นจึงทำให้เมื่อแปลงหนี้เป็นสกุลดอลลาร์ สรอ. แล้ว ยอดหนี้คงค้างของภาคเอกชนลดลงเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ.
หนี้ภาคทางการ มีการชำระคืนหนี้ทั้งสิ้น 5.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดย ธปท. ชำระหนี้ IMF package 3.3 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ขณะที่ภาครัฐบาลชำระคืนตราสารหนี้ระยะยาวเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (SAL) และเงินกู้ในโครงการต่างๆ 3.1 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งหนี้ดังกล่าวส่วนหนึ่ง refinance ด้วยการออก ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งบางส่วนธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
ได้ซื้อกลับคืนมา จึงทำให้หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่จากผลของค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้ยอดหนี้คงค้างของภาคทางการ
ลดลงเพียง 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ : สัดส่วนหนี้ระยะยาวต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 76:24 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าแต่สัดส่วนหนี้ระยะ
สั้นเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาส ที่ 2 ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 21:79 เนื่องจากการออก ECP เพื่อ refinance เงินกู้อของรัฐบาล
รวมทั้งมีการออกตราสารหนี้ระยะสั้นของภาคธุรกิจทีไม่ใช่ธนาคารและได้รับสินเชื่อการค้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่านำเข้าที่เพิ่ม่ขึ้นสำหรับสัดส่วนหนี้ภาค
เอกชนต่อหนี้ภาคทางการอยู่ที่ร้อยละ 61:39
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สก-
ในเดือนนี้ มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศตามผลสำรวจหนี้ไตรมาส 3/2545 และมีการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังถึงไตรมาส 2/2545
ทำให้หนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 2/2545 และสิ้นไตรมาส 3/2545 เพิ่มขึ้นสุทธิ 31 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 110 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ตามลำดับ
-เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2545
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2545 มี จำนวน 60.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ส่วนใหญ่เกิดจากการชำระคืนหนี้สุทธิ ของภาคเอกชนและทางการ
หนี้ภาคเอกชนลดลง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการชำระคืนหนี้สุทธิ 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นผลมาจากค่าเงิน
เยนที่อ่อนลง 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ ภาคธนาคาร ลดลง 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น ของธนาคาร
พาณิชย์ญี่ปุ่นซึ่งได้กู้เพื่อเสริมสภาพคล่องช่วงปิดงวดบัญชีในเดือนก่อน และการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวตามกำหนดของกิจการวิเทศธนกิจ ส่วนหนี้ภาค
ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร ลดลง 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการชำระคืนหนี้ทั้งสิ้น 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการชำระคืน
เงินกู้ระยะยาวของธุรกิจโทรคมนาคม โดยเป็นการชำระคืนก่อนครบกำหนด 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ยอดค้างหนี้ต่างประเทศ
ล้านดอลลาร์ สรอ. 2543 2544 2545 เทียบกับ เทียบกับ
ก.ย. ต.ค. เดือนก.ย. สิ้นปี 2544
1.ภาคทางการ 33,913 28,308 24,207 23,572 -635 -4,736
1.1 ธปท.(ระยะยาว) 12,019 8,325 5,624 5,385 -239 -2,940
1.2 ภาครัฐบาล 21,864 19,983 18,583 18,187 -396 -1,796
ระยะยาว 21,868 19,836 17,715 17,509 -206 -2,327
ระยะสั้น 26 147 868 678 -190 531
2.ภาคเอกชน 45,802 39,203 37,542 36,472 -1,070 -2,731
ระยะยาว 31,134 25,961 23,699 22,905 -794 -3,056
ระยะสั้น 14,668 13,242 13,843 13,567 -276 325
2.1 ภาคธนาคาร 12,157 9,354 8,468 7,992 -476 -1,362
ระยะยาว 6,731 4,334 4,203 4,007 -196 -327
ระยะสั้น 5,426 5,020 4,265 3,985 -280 -1,035
2.1.1 ธนาคารพาณิชย์ 3,921 3,262 3,044 2,654 -390 -608
ระยะยาว 2,580 1,765 1,510 1,481 -29 -284
ระยะสั้น 1,341 1,497 1,534 1,173 -361 -324
2.1.2 วิเทศธนกิจ 8,236 6,092 5,424 5,338 -86 -754
ระยะยาว 4,151 2,569 2,693 2,526 -167 -43
ระยะสั้น 4,085 3,523 2,731 2,812 81 -711
2.2 ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร 33,645 29,849 29,074 28,480 -594 -1,729
ระยะยาว 24,403 21,627 19,496 18,898 -598 -2,729
ระยะสั้น 9,242 8,222 9,578 9,582 4 1,360
รวม (1+2) 79,715 67,511 61,749 60,044 -1,705 -7,467
ระยะยาว 65,021 54,122 47,038 45,799 -1,239 -8,323
ระยะสั้น 14,694 13,389 14,711 14,245 -466 856
สัดส่วน (%) 100.0 100.0 100.0 100.0
ระยะยาว 81.6 80.2 76.7 76.3
ระยะสั้น 18.4 19.8 23.3 23.7
สัดส่วน (%) 100.0 100.0 100.0 100.0
ระยะยาว 57.5 58.1 60.8 60.7
ระยะสั้น 42.5 41.9 39.2 39.3
หนี้ภาคทางการ (รวม ธปท.) ลดลง 0.6 พันล้านดอลลาร์สรอ. จากการชำระหนี้ของภาครัฐบาล 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โดยส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจ และการลดหนี้จากการที่ธนาคารพาณิชย์ซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น (ECP) ของ
รัฐบาลที่ตลาดรองในต่างประเทศกลับนอกกจากนี้ ธปท. มีการชำระคืนเงินกู้ IMF จำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2544
หนี้ต่างประเทศรวม ลดลง 7.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของหนี้ภาคทางการ
หนี้ภาคเอกชน มีการชำระคืนหนี้ทั้งสิ้น 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวของบริษัทนอกเครือและ
ตราสารหนี้ระยะยาวภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร สำหรับระยะสั้นส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ของภาคธนาคาร ทั้งธนาคารพาณิชย์และกิจการ
วิเทศธนกิจ ขณะเดียวกันมีการนำเข้าหนี้ระยะสั้น โดยเฉพาะสินเชื่อการค้าและเงินกู้จากบริษัทในเครือ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับ
สิ้นปี 2544 มีแนวโน้มแข็งขึ้นจึงทำให้เมื่อแปลงหนี้เป็นสกุลดอลลาร์ สรอ. แล้ว ยอดหนี้คงค้างของภาคเอกชนลดลงเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ.
หนี้ภาคทางการ มีการชำระคืนหนี้ทั้งสิ้น 5.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดย ธปท. ชำระหนี้ IMF package 3.3 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ขณะที่ภาครัฐบาลชำระคืนตราสารหนี้ระยะยาวเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (SAL) และเงินกู้ในโครงการต่างๆ 3.1 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งหนี้ดังกล่าวส่วนหนึ่ง refinance ด้วยการออก ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งบางส่วนธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
ได้ซื้อกลับคืนมา จึงทำให้หนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่จากผลของค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้ยอดหนี้คงค้างของภาคทางการ
ลดลงเพียง 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ : สัดส่วนหนี้ระยะยาวต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ที่ร้อยละ 76:24 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าแต่สัดส่วนหนี้ระยะ
สั้นเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาส ที่ 2 ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 21:79 เนื่องจากการออก ECP เพื่อ refinance เงินกู้อของรัฐบาล
รวมทั้งมีการออกตราสารหนี้ระยะสั้นของภาคธุรกิจทีไม่ใช่ธนาคารและได้รับสินเชื่อการค้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่านำเข้าที่เพิ่ม่ขึ้นสำหรับสัดส่วนหนี้ภาค
เอกชนต่อหนี้ภาคทางการอยู่ที่ร้อยละ 61:39
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สก-