“ ไตรรงค์ ” ย้ำ นายกฯแทรกแซงการประมาณการไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ เตือนรัฐ ปรับตัวเลขตามใบสั่งการเมือง ระวังเจ๊งแบบบางประเทศ แถมท้าย ระบุ ถ้าตนเป็นข้าราชการแล้วถูกแทรกแซงอย่างนี้คงลาออก ส่วนอภิสิทธิ์ เตือน ปรับประมาณการณ์ “ อิงการเมือง ” อันตราย เพราะตัวเลขถูกนำไปใช้วางแผนในหลายหน่วยงาน
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องการให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้สูงขึ้นกว่าเดิมว่า นายกฯจะไปกำหนดตัวเลขได้อย่างไร ต้องแล้วแต่เทคโนเครตหรือผู้ชำนาญการว่าควรเติบโตเท่าไหร่ ส่วนวิธีการประเมินนักเศรษฐศาสตร์มันสามารเล่นแร่แปรธาตุได้
จะเห็นได้ว่าการสั่งให้แก้ตัวเลข หลอกตัวเลขอย่างนี้สมัยประธานธิบดีมากรอสก็เจ๊งมาแล้ว นักลงทุนก็ไม่อยากมา ดังนั้นอย่าไปสั่งสถาบันต่าง ๆให้คิดตัวเลขตามใจ ต้องให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงจะสูงหรือต่ำไม่สำคัญ ปัญหาของประเทศไม่ได้อยู่เพียงเท่านี้ ไม่ใช่อัตราความเจริญ รายได้ประชาชาติสูงแล้วประเทศจะเจริญตามเสมอไป พรรคพวกรัฐบาลอาจมีรายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ชาวบ้านอาจมีรายได้น้อยลงก็ได้ ดังนั้นอัตราความเจริญและรายได้ประชาชาติไม่ใช่ตัวชี้วัด แต่ต้องรู้ว่าความเจริญ ไปถึงผู้ใดบ้าง การประเมินว่าสูงกว่ามีประโยชน์แค่เพียงว่าให้ไปคุยได้ว่าไทยรวยขึ้นเท่านั้น
นายไตรรงค์ กล่าวด้วยว่า ข้าราชการที่มีจริยธรรมจะไม่ยอมทำตามนายกฯ ถ้าให้แก้ตัวเลขลาออกดีกว่า ซึ่งขณะนี้มีข้าราชการหลายคนที่ไม่สามารถรับคำสั่งรัฐบาลชุดนี้ลาออกไปหลายคนแล้ว และต่อไปจะไม่มีใครเชื่อถือและไม่มีใครกล้าลงทุนกับประเทศเถื่อนแบบนี้ ซึ่งการสั่งให้แก้ตัวเลขอย่างนี้ในนานาชาติว่าเป็นความเถื่อน
นายไตรรงค์ ยังตอบคำถามถึงการประเมินผลการดำเนินงานในนโยบายกองทุนหมู่บ้านด้วยว่า รัฐบาลต้องให้คำตอบในเรื่องนี้ การที่รัฐบาลใช้เงินโดยกู้ธนาคารออมสิน 80,000 ล้านบาทเพื่อนำไปกระจายให้หมู่บ้านละ 1 ล้าน ซึ่งการให้กู้นั้นก็ขาดการวิเคราะห์ วิจัยว่าจะต้องเป็นโครงการที่ให้ผลตอบทนมากกว่าต้นทุน ตนอยากเรียกร้องว่าต้องไม่ปล่อยกู้วิธีนี้ และรัฐบาลต้องรับผิดชอบโดยจ้างบุคคลที่สามมาวิเคราะห์ เพราะ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่กู้ไปจะไม่ได้คืน รัฐบาลต้องมานั่งงบประมาณชดเชย ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวผ่านรายการ “ ข่าวมือเช้า ” ในช่วง “ ตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ ” ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101 .0 เมกะเฮิร์ท ว่า น่าเป็นห่วง สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนความน่าเป็นห่วงในหลายแง่มุม แง่มุมแรก ก็คือ เหมือนสะท้อนว่า หน่วยงานหลักในการวางแผนของราชการไม่ทราบนโยบายของรัฐบาล ซึ่งถือว่าน่าตกใจ เพราะรัฐบาลทำงานมา 2 ปีแล้ว “ นี่ไม่ใช่รัฐบาลใหม่แล้ว นี่รัฐบาล 2 ปี ครึ่งเทอมแล้ว ถ้านายกฯพูดอย่างนี้ก็หมายความว่าหน่วยงานวางแผนของทางราชการไม่ทราบเลยว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะทำอะไรอย่างนี้ ซึ่งน่าเป็นห่วง ”
ในอีกแง่มุม ก็คือ หน้าที่ประมาณการณ์ภาวะเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ แต่หากฝ่ายการเมืองจะตั้งคำถามก็ทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามกระบวนการที่โปร่งใส โดยระบุไปว่าไม่เห็นด้วย เพราะฝ่ายประเมินขาดข้อสมมติฐานใดไปบ้าง แล้วให้นำไปปรับปรุง วิธีการนี้ก็จะทำให้การประเมินมีความโปร่งใส แต่หากให้ปรับปรุงเพียงเพราะตามความต้องการของฝ่ายการเมือง ก็ถือเป็นเรื่องน่าห่วง
“ รัฐบาลอาจจะบอกว่าการประมาณการณ์นี้ไม่น่าจะถูกต้องเพราะใช้สมมติฐานราคาน้ำมันที่ไม่เป็นจริง หรือใช้สมมติฐานการขาดดุลที่ไม่เป็นจริง หรือไม่ได้คำนึงถึงอะไร ก็ว่ากันไป แต่ข้อสรุปที่บอกว่าต่อไปนี้จะทำการประมาณการอะไรให้มาถามรัฐบาลก่อน ตรงนี้หลายคนก็เป็นห่วงว่ามันจะกลายเป็นเรื่องของการเมืองหรือเปล่า เพราะต่อไปต้องไปคำนึงถึงความต้องการของการเมืองด้วยว่าประมาณการเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ไม่ใช้เรื่องของการใช้หลักวิชาในการประมาณการณ์แล้ว ซึ่งตรงนี้ไม่น่าจะถูกต้อง ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า การประมาณการณ์จำเป็นต้องการความตรงไปตรงมา เพราะผลการประมาณการณ์จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ในการนำไปใช้วางแผน แต่หากการประมาณการณ์ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองก็ถือเป็นเรื่องอันตราย
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,08/01/2546)--จบ--
-สส-
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีต้องการให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้สูงขึ้นกว่าเดิมว่า นายกฯจะไปกำหนดตัวเลขได้อย่างไร ต้องแล้วแต่เทคโนเครตหรือผู้ชำนาญการว่าควรเติบโตเท่าไหร่ ส่วนวิธีการประเมินนักเศรษฐศาสตร์มันสามารเล่นแร่แปรธาตุได้
จะเห็นได้ว่าการสั่งให้แก้ตัวเลข หลอกตัวเลขอย่างนี้สมัยประธานธิบดีมากรอสก็เจ๊งมาแล้ว นักลงทุนก็ไม่อยากมา ดังนั้นอย่าไปสั่งสถาบันต่าง ๆให้คิดตัวเลขตามใจ ต้องให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงจะสูงหรือต่ำไม่สำคัญ ปัญหาของประเทศไม่ได้อยู่เพียงเท่านี้ ไม่ใช่อัตราความเจริญ รายได้ประชาชาติสูงแล้วประเทศจะเจริญตามเสมอไป พรรคพวกรัฐบาลอาจมีรายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ชาวบ้านอาจมีรายได้น้อยลงก็ได้ ดังนั้นอัตราความเจริญและรายได้ประชาชาติไม่ใช่ตัวชี้วัด แต่ต้องรู้ว่าความเจริญ ไปถึงผู้ใดบ้าง การประเมินว่าสูงกว่ามีประโยชน์แค่เพียงว่าให้ไปคุยได้ว่าไทยรวยขึ้นเท่านั้น
นายไตรรงค์ กล่าวด้วยว่า ข้าราชการที่มีจริยธรรมจะไม่ยอมทำตามนายกฯ ถ้าให้แก้ตัวเลขลาออกดีกว่า ซึ่งขณะนี้มีข้าราชการหลายคนที่ไม่สามารถรับคำสั่งรัฐบาลชุดนี้ลาออกไปหลายคนแล้ว และต่อไปจะไม่มีใครเชื่อถือและไม่มีใครกล้าลงทุนกับประเทศเถื่อนแบบนี้ ซึ่งการสั่งให้แก้ตัวเลขอย่างนี้ในนานาชาติว่าเป็นความเถื่อน
นายไตรรงค์ ยังตอบคำถามถึงการประเมินผลการดำเนินงานในนโยบายกองทุนหมู่บ้านด้วยว่า รัฐบาลต้องให้คำตอบในเรื่องนี้ การที่รัฐบาลใช้เงินโดยกู้ธนาคารออมสิน 80,000 ล้านบาทเพื่อนำไปกระจายให้หมู่บ้านละ 1 ล้าน ซึ่งการให้กู้นั้นก็ขาดการวิเคราะห์ วิจัยว่าจะต้องเป็นโครงการที่ให้ผลตอบทนมากกว่าต้นทุน ตนอยากเรียกร้องว่าต้องไม่ปล่อยกู้วิธีนี้ และรัฐบาลต้องรับผิดชอบโดยจ้างบุคคลที่สามมาวิเคราะห์ เพราะ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่กู้ไปจะไม่ได้คืน รัฐบาลต้องมานั่งงบประมาณชดเชย ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวผ่านรายการ “ ข่าวมือเช้า ” ในช่วง “ ตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ ” ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101 .0 เมกะเฮิร์ท ว่า น่าเป็นห่วง สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนความน่าเป็นห่วงในหลายแง่มุม แง่มุมแรก ก็คือ เหมือนสะท้อนว่า หน่วยงานหลักในการวางแผนของราชการไม่ทราบนโยบายของรัฐบาล ซึ่งถือว่าน่าตกใจ เพราะรัฐบาลทำงานมา 2 ปีแล้ว “ นี่ไม่ใช่รัฐบาลใหม่แล้ว นี่รัฐบาล 2 ปี ครึ่งเทอมแล้ว ถ้านายกฯพูดอย่างนี้ก็หมายความว่าหน่วยงานวางแผนของทางราชการไม่ทราบเลยว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะทำอะไรอย่างนี้ ซึ่งน่าเป็นห่วง ”
ในอีกแง่มุม ก็คือ หน้าที่ประมาณการณ์ภาวะเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ แต่หากฝ่ายการเมืองจะตั้งคำถามก็ทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามกระบวนการที่โปร่งใส โดยระบุไปว่าไม่เห็นด้วย เพราะฝ่ายประเมินขาดข้อสมมติฐานใดไปบ้าง แล้วให้นำไปปรับปรุง วิธีการนี้ก็จะทำให้การประเมินมีความโปร่งใส แต่หากให้ปรับปรุงเพียงเพราะตามความต้องการของฝ่ายการเมือง ก็ถือเป็นเรื่องน่าห่วง
“ รัฐบาลอาจจะบอกว่าการประมาณการณ์นี้ไม่น่าจะถูกต้องเพราะใช้สมมติฐานราคาน้ำมันที่ไม่เป็นจริง หรือใช้สมมติฐานการขาดดุลที่ไม่เป็นจริง หรือไม่ได้คำนึงถึงอะไร ก็ว่ากันไป แต่ข้อสรุปที่บอกว่าต่อไปนี้จะทำการประมาณการอะไรให้มาถามรัฐบาลก่อน ตรงนี้หลายคนก็เป็นห่วงว่ามันจะกลายเป็นเรื่องของการเมืองหรือเปล่า เพราะต่อไปต้องไปคำนึงถึงความต้องการของการเมืองด้วยว่าประมาณการเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ไม่ใช้เรื่องของการใช้หลักวิชาในการประมาณการณ์แล้ว ซึ่งตรงนี้ไม่น่าจะถูกต้อง ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า การประมาณการณ์จำเป็นต้องการความตรงไปตรงมา เพราะผลการประมาณการณ์จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ในการนำไปใช้วางแผน แต่หากการประมาณการณ์ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองก็ถือเป็นเรื่องอันตราย
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,08/01/2546)--จบ--
-สส-