1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.85 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.61 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.21
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.75 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.392. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
มาเลเซียผลิตน้ำมันปาล์มได้ลดลง 13.2% ในเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนโดยผลิตได้ 920,000 ตัน ส่งออก 900,000 ตัน ส่งผลให้สต็อกคงเหลือลดลงจาก 1.23 ล้านตันในเดือนพฤศจิกายน เหลือ 1.13 ล้านตันในเดือนธันวาคม
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้นปาล์มให้ผลผลิตน้อย ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และต่างจากราคาน้ำมันถั่วเหลืองอยู่เพียง 60 ดอลล่าร์สหรัฐ/ตัน (2.57 บาท/กก.) อย่างไรก็ตามผู้นำเข้าหลักอาทิ จีน อินเดีย และปากีสถาน ยังคงนำเข้าน้ำมันปาล์มเนื่องจากความได้เปรียบของค่าขนส่ง และระยะทางการส่งมอบกล่าวคือหากนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองจากอัฟริกาจะใช้เวลาเดิน 35 วัน ขณะที่การนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทางเพียง 14 วัน ดังนั้นคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบจะยังอยู่ในเกณฑ์ดีจนถึงเดือน มีค.-เมย. ในระดับ 1,600 ริงกิต/ตัน (18.43 บาท/กก.)
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,662.94ดอลลาร์มาเลเซีย(19.15 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 1,695.02 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 462.50ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 467.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 6-12 ม.ค. 2545--
-สส-
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.85 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.61 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.21
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.75 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.392. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
มาเลเซียผลิตน้ำมันปาล์มได้ลดลง 13.2% ในเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนโดยผลิตได้ 920,000 ตัน ส่งออก 900,000 ตัน ส่งผลให้สต็อกคงเหลือลดลงจาก 1.23 ล้านตันในเดือนพฤศจิกายน เหลือ 1.13 ล้านตันในเดือนธันวาคม
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้นปาล์มให้ผลผลิตน้อย ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มสูงขึ้น และต่างจากราคาน้ำมันถั่วเหลืองอยู่เพียง 60 ดอลล่าร์สหรัฐ/ตัน (2.57 บาท/กก.) อย่างไรก็ตามผู้นำเข้าหลักอาทิ จีน อินเดีย และปากีสถาน ยังคงนำเข้าน้ำมันปาล์มเนื่องจากความได้เปรียบของค่าขนส่ง และระยะทางการส่งมอบกล่าวคือหากนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองจากอัฟริกาจะใช้เวลาเดิน 35 วัน ขณะที่การนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทางเพียง 14 วัน ดังนั้นคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบจะยังอยู่ในเกณฑ์ดีจนถึงเดือน มีค.-เมย. ในระดับ 1,600 ริงกิต/ตัน (18.43 บาท/กก.)
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซียราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,662.94ดอลลาร์มาเลเซีย(19.15 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 1,695.02 ดอลลาร์มาเลเซีย (19.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
ตลาดรอตเตอร์ดัมราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 462.50ดอลลาร์สหรัฐฯ (19.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 467.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 6-12 ม.ค. 2545--
-สส-