สุกร : ราคาเริ่มทรงตัว
ปี 2545 มีปริมาณการผลิตสุกร 9.876 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 1.65 แม้ว่าจะมีการขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นแต่ปัญหาโรคระบาดในลูกสุกรและสุกรขุนทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ส่งผลให้ราคาสุกรในช่วงเดือนมกราคม - กันยายน 2545 อยู่ในเกณฑ์ดี คือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.41 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2544 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.44 บาท ร้อยละ 5.41 อย่างไรก็ตามราคาสุกรได้ปรับตัวลดลงเป็นลำดับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 เป็นต้นมา และลดลงมากในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2545 ถึงต้นเดือนมกราคม 2546 โดยราคาสุกรลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.62 บาท ในเดือนตุลาคม 2545 เหลือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.51 บาท ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2546 ขณะที่ต้นทุนการผลิตสุกรประมาณกิโลกรัมละ 34 - 35 บาท สาเหตุที่ราคาสุกรปรับตัวลดลงมากเนื่องจาก
1. การขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่
2. ในช่วงปลายปีเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3. ในเดือนธันวาคมเกิดปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดในบางพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นแหล่งเลี้ยงสำคัญในภาคกลาง ทำให้มีการเร่งระบายสุกรออกจากฟาร์ม
อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาสุกรจะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายเดือนมกราคม เพราะเข้าสู่เทศกาลตรุษจีนซึ่งมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น และราคาสุกรจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่วนปี 2546 คาดไว้ในเบื้องต้นว่าจะมีปริมาณการผลิตสุกร 9.994 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 1.19 แต่ถ้าฟาร์มสุกรยังคงขยายการผลิตเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาสุกรล้นตลาดและราคาตกต่ำได้ในช่วงปลายปี 2546 ดังนั้น จึงไม่ควรขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นอีกในช่วงนี้
สำหรับการแก้ไขปัญหาราคาสุกรตกต่ำ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้เสนอ คชก. ให้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนแทรกแซงราคาสุกร 2 โครงการ คือ
1. โครงการจำหน่ายสุกรชำแหละราคาถูก 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาท เพื่อเพิ่มความต้องการบริโภค วงเงิน 35 ล้านบาท
2. โครงการเก็บสต็อกเนื้อสุกรเข้าห้องเย็น เพื่อลดปริมาณสุกรในตลาด วงเงิน 300 ล้านบาท
ไขไก่ : ราคาไข่ไก่ตกต่ำ
ผลผลิตไข่ไก่ในปี 2545 ที่ประมาณการจากการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์มีประมาณ 8,333 ล้านฟอง สูงขึ้นจาก 8,094 ล้านฟอง ในปี 2544 ร้อยละ 2.95 เนื่องจากราคาจูงใจ แต่ราคาไข่ไก่เริ่มอ่อนตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยราคาเฉลี่ยภาคกลางฟองละ 1.30 บาท และลดลงเหลือ 1.16 บาท สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม 2546 สาเหตุที่ราคาไข่ไก่ลดต่ำลง ได้แก่
1) เดือนตุลาคม เป็นเทศกาลกินเจ
2) สภาพอากาศที่เย็นเอื้ออำนวยต่อการผลิตไข่ไก่
3) การปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงจากโรงเรือนธรรมดา มาเป็นโรงเรือนระบบปิดที่สภาพอากาศเย็น ทำให้อัตราการให้ไข่เพิ่มขึ้น
4) ในปี 2545 มีการจัดระเบียบการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ เพื่อควบคุมปริมาณการผลิตไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดส่งผลให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ตื่นตระหนก เกรงว่าลูกไก่จะขาดแคลน สั่งซื้อเพิ่มขึ้นทำให้ลูกไก่ราคาแพง ขณะเดียวกัน ยืดอายุการปลดแม่ไก่ไข่ออกไป
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้มีผลผลิตส่วนเกินมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่ามีไข่ล้นตลาดวันละ 3-4 ล้านฟอง เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จึงเร่งระบายผลผลิตออกจากฟาร์ม กอปรกับผู้ประกอบการรายใหญ่เร่งระบายไข่ไก่สู่ตลาดส่งผลให้ราคาไข่ไก่คละขณะนี้ลดลงเหลือฟองละ 1 บาท เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟองละ 1.40-1.50 บาท เกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อนมาก ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำและไม่คุ้มทุนทำให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้มีหนังสือร้องเรียนภาครัฐให้กรมปศุสัตว์และกรมการค้าภายในหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ต่อไป
ล่าสุดจากการประชุมร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิต ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ในการกำหนดแนวทางแก้ไขวิกฤตราคาไข่ไก่ตกต่ำที่กรมการค้าภายใน สรุปว่าต้องลดปริมาณแม่ไก่ไข่ออกจากระบบ จำนวน 2 ล้านตัว ภายใน 4 สัปดาห์ แต่เบื้องต้นจะปลดแม่ไก่ไข่ จำนวน 1 ล้านตัว ในสุดสัปดาห์นี้ โดยบริษัทใหญ่ ๆ ร่วมกันปลดแม่ไก่ไข่ จำนวน 880,000 ตัว ที่เหลือ 120,000 ตัว ผู้เลี้ยงรายย่อยจะต้องร่วมกันเสียสละ การปลดแม่ไก่ไข่ 1 ล้านตัว จะทำให้ลดปริมาณไข่ไก่ที่เข้าสู่ตลาดวันละประมาณ 7 แสนฟอง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาได้รวดเร็วที่สุด นอกจากนั้นแล้วควรมีแนวทางการแก้ไขอื่น ๆ ได้แก่
1. ผลักดันการส่งออกไข่ไก่ไปตลาดต่าง ๆ ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ๆ
2. หาตลาดจำหน่ายไข่ไก่สู่ผู้บริโภคโดยตรงตามตลาดต่าง ๆ เช่น อตก. ตลาดนัดจตุจักร และงานเกษตรแห่งชาติ
3. รณรงค์ให้ประชาชนบริโภคไข่ไก่ให้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้คนไทยบริโภคไข่ไก่เฉลี่ยคนละ 132 ฟอง/ปี เทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ญี่ปุ่น บริโภคคนละ 340 ฟอง/ปี ดังนั้น ควรรณรงค์การบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อยคนละ 150 ฟอง/ปี
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 52 ประจำวันที่ 13-19 ม.ค. 2546--
-สส-
ปี 2545 มีปริมาณการผลิตสุกร 9.876 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 1.65 แม้ว่าจะมีการขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นแต่ปัญหาโรคระบาดในลูกสุกรและสุกรขุนทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ส่งผลให้ราคาสุกรในช่วงเดือนมกราคม - กันยายน 2545 อยู่ในเกณฑ์ดี คือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.41 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2544 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.44 บาท ร้อยละ 5.41 อย่างไรก็ตามราคาสุกรได้ปรับตัวลดลงเป็นลำดับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 เป็นต้นมา และลดลงมากในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2545 ถึงต้นเดือนมกราคม 2546 โดยราคาสุกรลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.62 บาท ในเดือนตุลาคม 2545 เหลือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.51 บาท ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2546 ขณะที่ต้นทุนการผลิตสุกรประมาณกิโลกรัมละ 34 - 35 บาท สาเหตุที่ราคาสุกรปรับตัวลดลงมากเนื่องจาก
1. การขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะฟาร์มขนาดใหญ่
2. ในช่วงปลายปีเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3. ในเดือนธันวาคมเกิดปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดในบางพื้นที่ของจังหวัดที่เป็นแหล่งเลี้ยงสำคัญในภาคกลาง ทำให้มีการเร่งระบายสุกรออกจากฟาร์ม
อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาสุกรจะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายเดือนมกราคม เพราะเข้าสู่เทศกาลตรุษจีนซึ่งมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น และราคาสุกรจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่วนปี 2546 คาดไว้ในเบื้องต้นว่าจะมีปริมาณการผลิตสุกร 9.994 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 1.19 แต่ถ้าฟาร์มสุกรยังคงขยายการผลิตเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาสุกรล้นตลาดและราคาตกต่ำได้ในช่วงปลายปี 2546 ดังนั้น จึงไม่ควรขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้นอีกในช่วงนี้
สำหรับการแก้ไขปัญหาราคาสุกรตกต่ำ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้เสนอ คชก. ให้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนแทรกแซงราคาสุกร 2 โครงการ คือ
1. โครงการจำหน่ายสุกรชำแหละราคาถูก 2 กิโลกรัมต่อ 100 บาท เพื่อเพิ่มความต้องการบริโภค วงเงิน 35 ล้านบาท
2. โครงการเก็บสต็อกเนื้อสุกรเข้าห้องเย็น เพื่อลดปริมาณสุกรในตลาด วงเงิน 300 ล้านบาท
ไขไก่ : ราคาไข่ไก่ตกต่ำ
ผลผลิตไข่ไก่ในปี 2545 ที่ประมาณการจากการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์มีประมาณ 8,333 ล้านฟอง สูงขึ้นจาก 8,094 ล้านฟอง ในปี 2544 ร้อยละ 2.95 เนื่องจากราคาจูงใจ แต่ราคาไข่ไก่เริ่มอ่อนตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม โดยราคาเฉลี่ยภาคกลางฟองละ 1.30 บาท และลดลงเหลือ 1.16 บาท สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม 2546 สาเหตุที่ราคาไข่ไก่ลดต่ำลง ได้แก่
1) เดือนตุลาคม เป็นเทศกาลกินเจ
2) สภาพอากาศที่เย็นเอื้ออำนวยต่อการผลิตไข่ไก่
3) การปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงจากโรงเรือนธรรมดา มาเป็นโรงเรือนระบบปิดที่สภาพอากาศเย็น ทำให้อัตราการให้ไข่เพิ่มขึ้น
4) ในปี 2545 มีการจัดระเบียบการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ เพื่อควบคุมปริมาณการผลิตไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดส่งผลให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ตื่นตระหนก เกรงว่าลูกไก่จะขาดแคลน สั่งซื้อเพิ่มขึ้นทำให้ลูกไก่ราคาแพง ขณะเดียวกัน ยืดอายุการปลดแม่ไก่ไข่ออกไป
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้มีผลผลิตส่วนเกินมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่ามีไข่ล้นตลาดวันละ 3-4 ล้านฟอง เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จึงเร่งระบายผลผลิตออกจากฟาร์ม กอปรกับผู้ประกอบการรายใหญ่เร่งระบายไข่ไก่สู่ตลาดส่งผลให้ราคาไข่ไก่คละขณะนี้ลดลงเหลือฟองละ 1 บาท เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟองละ 1.40-1.50 บาท เกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อนมาก ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำและไม่คุ้มทุนทำให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้มีหนังสือร้องเรียนภาครัฐให้กรมปศุสัตว์และกรมการค้าภายในหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ต่อไป
ล่าสุดจากการประชุมร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิต ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ในการกำหนดแนวทางแก้ไขวิกฤตราคาไข่ไก่ตกต่ำที่กรมการค้าภายใน สรุปว่าต้องลดปริมาณแม่ไก่ไข่ออกจากระบบ จำนวน 2 ล้านตัว ภายใน 4 สัปดาห์ แต่เบื้องต้นจะปลดแม่ไก่ไข่ จำนวน 1 ล้านตัว ในสุดสัปดาห์นี้ โดยบริษัทใหญ่ ๆ ร่วมกันปลดแม่ไก่ไข่ จำนวน 880,000 ตัว ที่เหลือ 120,000 ตัว ผู้เลี้ยงรายย่อยจะต้องร่วมกันเสียสละ การปลดแม่ไก่ไข่ 1 ล้านตัว จะทำให้ลดปริมาณไข่ไก่ที่เข้าสู่ตลาดวันละประมาณ 7 แสนฟอง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาได้รวดเร็วที่สุด นอกจากนั้นแล้วควรมีแนวทางการแก้ไขอื่น ๆ ได้แก่
1. ผลักดันการส่งออกไข่ไก่ไปตลาดต่าง ๆ ทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ๆ
2. หาตลาดจำหน่ายไข่ไก่สู่ผู้บริโภคโดยตรงตามตลาดต่าง ๆ เช่น อตก. ตลาดนัดจตุจักร และงานเกษตรแห่งชาติ
3. รณรงค์ให้ประชาชนบริโภคไข่ไก่ให้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้คนไทยบริโภคไข่ไก่เฉลี่ยคนละ 132 ฟอง/ปี เทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ญี่ปุ่น บริโภคคนละ 340 ฟอง/ปี ดังนั้น ควรรณรงค์การบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อยคนละ 150 ฟอง/ปี
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 52 ประจำวันที่ 13-19 ม.ค. 2546--
-สส-