จากกรณีการแปรสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคม ที่รัฐบาลออกเป็นพระราชกำหนดให้จัดเก็บรายได้เข้าสู่รัฐในรูปของภาษีสรรพสามิต ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้กว่า 2 แสนล้านบาท ในวันนี้ ( 22 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ตอบคำถามเรื่องนี้ ผ่านทางรายการ “ ข่าวมื้อเช้า ” ช่วง “ ตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ ” ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ท
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ถูกจับตามาอย่างต่อเนื่องจากหลายฝ่ายทั้งจากฝ่ายค้าน นักวิชาการ และภาคประชาชน “ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคำว่าทุจริตเชิงนโยบาย เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ซึ่งถ้าพูดไปแล้ว ถามว่าผิดกฎหมายไหม ไม่ผิด แต่อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มซึ่งมีผลประโยชน์อยู่แล้วเกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินใจ ในขณะที่ผู้ที่เสียหายหรือผู้ที่เสียเปรียบก็จะเป็นผู้อื่น หรือเป็นประชาชนทั่วไป ”
นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวถึงที่มาของการแปรสัญญาฯว่า เคยมีการศึกษาว่าหากมีการปูทางไปสูการเปิดเสรีโทรคมนาคมในปี 2549 จะปรับเปลี่ยนอย่างไรในส่วนของรัฐวิสาหกิจที่มีสัมปทาน ซึ่งได้มีการศึกษาและเห็นว่า ต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และจัดความสัมพันธ์ในแบบที่ไม่ใช่สัมปทานอีกต่อไป อย่างไรก็มีผลการศึกษาระบุด้วยว่า การแปรสัญญาถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องทำ แต่หากทำได้ก็ต้องมีการเจรจาระหว่างคู่สัญญาไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียประโยชน์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า หลักการเดิมของการแปรสัญญา คือ คู่สัญญาจะต้องไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน ต้องเอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และต้องคำนึงการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันให้มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเพื่อลดการผูกขาด ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วได้ศึกษาเรื่องนี้ และมีการเจรจาระหว่างคู่สัญญา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ พอรัฐบาลชุดนี้เข้ามาก็มาเปลี่ยนหลักการการใหม่ โดยแรกสุดมีการกล่าวเหมือนว่าจะไม่ให้เอกชนจ่ายค่าสัมปทานส่วนที่เหลือหลังปี 49 แต่ก็เกิดเสียงคัดค้านมาก จนเรื่องเงียบไป
“ มาพูดกันอีกครั้งหลังการจัดตั้งกระทรวง ซึ่งตอนจัดตั้งกระทรวงรัฐบาลไม่เคยชี้แจงที่ไหนเลยว่าจะมาทำเรื่องของการแปรสัญญาสัมปทาน แต่ว่าพอตั้งขึ้นก็บอกว่าจะทำเรื่องนี้ แล้วก็เปลี่ยนแนวทางบอกว่า ที่เคยพูดไว้ที่มีการคัดค้านก็ไม่เอาแล้ว แต่จะเปลี่ยนว่าค่าสัมปทาน มาเป็นภาษีสรรพสามิตแทน แล้วเมื่อวานนี้ก็มีการออกพระราชกำหนด โดยเอาเรื่องนี้เข้าไปรวมกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงภาษีสรรพสามิตอื่นๆ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่รัฐบาลชี้แจงว่า รัฐจะไม่เสียประโยชน์ และทำรูปแบบเดิมไม่ได้เพราะว่ากำลังจะมีการแปรรูปนั้น ก็มีคำถามว่า แม้ก็การเก็บรายได้เข้าสู่รัฐในรูปภาษีสรรพสามิต แล้วจะมีแก้ไขสัญญาอย่างไร เพราะกฎหมายนี้ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงสัญญา จึงจำเป็นต้องรู้ว่าหากมีการแก้ไขสัญญาแล้ว สัญญาจะเป็นอย่างไร นอกจากนั้นแล้ว การแก้ไขสัญญาอาจจะเกิดปัญหาว่า บริษัทจะผ่านภาษีส่วนนี้มาให้ประชาชนหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากผ่านได้ ก็สามารถผลักภาระภาษีให้ตกอยู่กับประชาชนได้ อีกทั้งฝ่ายบริหารก็สามารถเปลี่ยนแปลงภาษีสรรสามิตได้ ทำให้ข้ออ้างที่ว่าเอกชนยังจ่ายให้รัฐเหมือนเดิมจึงไม่น่าจะจริง
นอกจากนั้นแล้ว ในส่วนการเปลี่ยนแปลงจากที่ต้องจ่ายรายได้ให้ กสท. และทศท. มาเป็นจ่ายเป็นภาษีให้กับรัฐ ก็ยังมีความไม่ชัดเจนว่าใครจะชดเชยรายได้ที่หายไปของ กสท.และ ทศท. หากรัฐจ่ายเป็นผู้ชดเชยก็ ถือเป็นการจ่ายวนไปวนมา แต่หากว่ามีการแปรรูป กสท.และ ทศท. ก็ต้องถามว่ามูลค่าในส่วนนี้เป็นเท่าใด เพราะต้องมีความชัดเจนก่อนที่จะจำหน่ายหุ้นให้กับเอกชน
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้าสู่ระบบใหม่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาต และภาษี ซึ่งเมื่อรวมกับปัจจัยอื่นๆก็จะทำให้ต้นทุนสูงกว่าผู้ประกอบการเดิม ก็จะทำให้แข่งขันยาก เกิดการผูกขาดซึ่งประชาชนก็จะเสียประโยชน์ และยังมีคำถามเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในสัญญาสัมปทานเดิมนั้น เมื่อผู้ประกอบการครบอายุสัมปทานก็ต้องโอนทรัพย์สินทุกอย่างให้กับรัฐ แล้วทรัพย์สินในส่วนนี้จะหายไปในส่วนไหน
“ ถ้าหากบอกว่าตรงนี้แค่เก็บภาษี ก็เท่ากับว่าทั้งทรัพย์สิน เครือข่าย และผมเข้าใจว่าในสัญญาหมายถึงลูกค้าด้วย ที่จะต้องโอนมาให้กับคู่สัญญา ก็จะไม่โอนแล้ว ก็จะตกเป็นของบริษัทที่ได้รับสัมปทานในขณะนี้ เพราะฉะนั้นเห็นได้ชัดว่ากรอบทั้งหมดนี้ ยังมีคำถามข้อสงสัยอีกมากมาย ที่สำคัญก็คือว่ารัฐบาลได้เลือกใช้วิธีการเดินหน้าเรื่องนี้ ในลักษณะที่ต้องเรียกตรงๆว่าหมกเม็ด ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมในส่วนนี้ว่า รัฐบาลไม่บอกว่าจะแก้ไขสัญญาอย่างไร และยังออกเป็นพระราชกำหนดซึ่งทำให้สภาแก้ไขรายละเอียดไม่ได้ “ รายละเอียดต่างๆว่าตัวภาษีนี้จะเก็บอัตราอะไร อย่างไร หรือสมมติเราอยากจะผ่านให้เฉพาะเรื่องของสุราที่พูดกันเมื่อวาน แต่ไม่อยากให้ผ่านเรื่องนี้ ก็ทำไม่ได้ ถ้าคว่ำก็คว่ำทั้งหมด และผมเองก็ไม่แน่ใจว่าถ้าออก พรก.จะเข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นหลีกเลี่ยงมิได้ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า หลายฝ่ายให้ความเห็นว่าอยากให้ กทช.เกิดขึ้นเพื่อดำเนินการในส่วนนี้ แต่รัฐบาลกลับมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ กทช.มีปัญหา อย่างกรณีที่เคยมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย รัฐบาลก็พยายามถ่วงเวลาโดยการส่งไปให้กฤษฎีกา
“ ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องของความไม่ชอบมาพากล ซึ่งรัฐบาลอาจจะฉวยจังหวะ หรือกระแส หรืออะไรก็ตาม ทำเรื่องนี้ แล้วก็เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่รับสัมปทานซึ่งทุกคนก็ทราบดีว่าโยงใยถึงบุคคลในรัฐบาลนี้ อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง รัฐบาลน่าที่จะต้องทบทวนก่อนที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้ น่าที่จะเอาข้อเท็จจริงทั้งหมดมาบอกว่า สัญญาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร และตอบคำถามที่มีการตั้งขึ้นมาให้ได้ว่า หนึ่ง ตกลงผลประโยชน์ของรัฐ ของประชาชน ของบริษัท ใครได้ใครเสีย สอง การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันที่เอื้อต่อประสิทธิภาพ และการลดต้นทุนในเรื่องโทรคมนาคมในประเทศหรือไม่ สาม การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันตามหลักการของการเปิดเสรีจริงหรือไม่ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,22/01/2546)--จบ--
-สส-
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ถูกจับตามาอย่างต่อเนื่องจากหลายฝ่ายทั้งจากฝ่ายค้าน นักวิชาการ และภาคประชาชน “ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคำว่าทุจริตเชิงนโยบาย เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ซึ่งถ้าพูดไปแล้ว ถามว่าผิดกฎหมายไหม ไม่ผิด แต่อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มซึ่งมีผลประโยชน์อยู่แล้วเกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินใจ ในขณะที่ผู้ที่เสียหายหรือผู้ที่เสียเปรียบก็จะเป็นผู้อื่น หรือเป็นประชาชนทั่วไป ”
นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวถึงที่มาของการแปรสัญญาฯว่า เคยมีการศึกษาว่าหากมีการปูทางไปสูการเปิดเสรีโทรคมนาคมในปี 2549 จะปรับเปลี่ยนอย่างไรในส่วนของรัฐวิสาหกิจที่มีสัมปทาน ซึ่งได้มีการศึกษาและเห็นว่า ต้องมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และจัดความสัมพันธ์ในแบบที่ไม่ใช่สัมปทานอีกต่อไป อย่างไรก็มีผลการศึกษาระบุด้วยว่า การแปรสัญญาถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องทำ แต่หากทำได้ก็ต้องมีการเจรจาระหว่างคู่สัญญาไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียประโยชน์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า หลักการเดิมของการแปรสัญญา คือ คู่สัญญาจะต้องไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน ต้องเอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และต้องคำนึงการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันให้มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเพื่อลดการผูกขาด ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วได้ศึกษาเรื่องนี้ และมีการเจรจาระหว่างคู่สัญญา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ พอรัฐบาลชุดนี้เข้ามาก็มาเปลี่ยนหลักการการใหม่ โดยแรกสุดมีการกล่าวเหมือนว่าจะไม่ให้เอกชนจ่ายค่าสัมปทานส่วนที่เหลือหลังปี 49 แต่ก็เกิดเสียงคัดค้านมาก จนเรื่องเงียบไป
“ มาพูดกันอีกครั้งหลังการจัดตั้งกระทรวง ซึ่งตอนจัดตั้งกระทรวงรัฐบาลไม่เคยชี้แจงที่ไหนเลยว่าจะมาทำเรื่องของการแปรสัญญาสัมปทาน แต่ว่าพอตั้งขึ้นก็บอกว่าจะทำเรื่องนี้ แล้วก็เปลี่ยนแนวทางบอกว่า ที่เคยพูดไว้ที่มีการคัดค้านก็ไม่เอาแล้ว แต่จะเปลี่ยนว่าค่าสัมปทาน มาเป็นภาษีสรรพสามิตแทน แล้วเมื่อวานนี้ก็มีการออกพระราชกำหนด โดยเอาเรื่องนี้เข้าไปรวมกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงภาษีสรรพสามิตอื่นๆ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่รัฐบาลชี้แจงว่า รัฐจะไม่เสียประโยชน์ และทำรูปแบบเดิมไม่ได้เพราะว่ากำลังจะมีการแปรรูปนั้น ก็มีคำถามว่า แม้ก็การเก็บรายได้เข้าสู่รัฐในรูปภาษีสรรพสามิต แล้วจะมีแก้ไขสัญญาอย่างไร เพราะกฎหมายนี้ไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงสัญญา จึงจำเป็นต้องรู้ว่าหากมีการแก้ไขสัญญาแล้ว สัญญาจะเป็นอย่างไร นอกจากนั้นแล้ว การแก้ไขสัญญาอาจจะเกิดปัญหาว่า บริษัทจะผ่านภาษีส่วนนี้มาให้ประชาชนหรือไม่ อย่างไรก็ตามหากผ่านได้ ก็สามารถผลักภาระภาษีให้ตกอยู่กับประชาชนได้ อีกทั้งฝ่ายบริหารก็สามารถเปลี่ยนแปลงภาษีสรรสามิตได้ ทำให้ข้ออ้างที่ว่าเอกชนยังจ่ายให้รัฐเหมือนเดิมจึงไม่น่าจะจริง
นอกจากนั้นแล้ว ในส่วนการเปลี่ยนแปลงจากที่ต้องจ่ายรายได้ให้ กสท. และทศท. มาเป็นจ่ายเป็นภาษีให้กับรัฐ ก็ยังมีความไม่ชัดเจนว่าใครจะชดเชยรายได้ที่หายไปของ กสท.และ ทศท. หากรัฐจ่ายเป็นผู้ชดเชยก็ ถือเป็นการจ่ายวนไปวนมา แต่หากว่ามีการแปรรูป กสท.และ ทศท. ก็ต้องถามว่ามูลค่าในส่วนนี้เป็นเท่าใด เพราะต้องมีความชัดเจนก่อนที่จะจำหน่ายหุ้นให้กับเอกชน
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้าสู่ระบบใหม่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาต และภาษี ซึ่งเมื่อรวมกับปัจจัยอื่นๆก็จะทำให้ต้นทุนสูงกว่าผู้ประกอบการเดิม ก็จะทำให้แข่งขันยาก เกิดการผูกขาดซึ่งประชาชนก็จะเสียประโยชน์ และยังมีคำถามเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในสัญญาสัมปทานเดิมนั้น เมื่อผู้ประกอบการครบอายุสัมปทานก็ต้องโอนทรัพย์สินทุกอย่างให้กับรัฐ แล้วทรัพย์สินในส่วนนี้จะหายไปในส่วนไหน
“ ถ้าหากบอกว่าตรงนี้แค่เก็บภาษี ก็เท่ากับว่าทั้งทรัพย์สิน เครือข่าย และผมเข้าใจว่าในสัญญาหมายถึงลูกค้าด้วย ที่จะต้องโอนมาให้กับคู่สัญญา ก็จะไม่โอนแล้ว ก็จะตกเป็นของบริษัทที่ได้รับสัมปทานในขณะนี้ เพราะฉะนั้นเห็นได้ชัดว่ากรอบทั้งหมดนี้ ยังมีคำถามข้อสงสัยอีกมากมาย ที่สำคัญก็คือว่ารัฐบาลได้เลือกใช้วิธีการเดินหน้าเรื่องนี้ ในลักษณะที่ต้องเรียกตรงๆว่าหมกเม็ด ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมในส่วนนี้ว่า รัฐบาลไม่บอกว่าจะแก้ไขสัญญาอย่างไร และยังออกเป็นพระราชกำหนดซึ่งทำให้สภาแก้ไขรายละเอียดไม่ได้ “ รายละเอียดต่างๆว่าตัวภาษีนี้จะเก็บอัตราอะไร อย่างไร หรือสมมติเราอยากจะผ่านให้เฉพาะเรื่องของสุราที่พูดกันเมื่อวาน แต่ไม่อยากให้ผ่านเรื่องนี้ ก็ทำไม่ได้ ถ้าคว่ำก็คว่ำทั้งหมด และผมเองก็ไม่แน่ใจว่าถ้าออก พรก.จะเข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นหลีกเลี่ยงมิได้ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า หลายฝ่ายให้ความเห็นว่าอยากให้ กทช.เกิดขึ้นเพื่อดำเนินการในส่วนนี้ แต่รัฐบาลกลับมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ กทช.มีปัญหา อย่างกรณีที่เคยมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย รัฐบาลก็พยายามถ่วงเวลาโดยการส่งไปให้กฤษฎีกา
“ ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องของความไม่ชอบมาพากล ซึ่งรัฐบาลอาจจะฉวยจังหวะ หรือกระแส หรืออะไรก็ตาม ทำเรื่องนี้ แล้วก็เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่รับสัมปทานซึ่งทุกคนก็ทราบดีว่าโยงใยถึงบุคคลในรัฐบาลนี้ อันนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง รัฐบาลน่าที่จะต้องทบทวนก่อนที่จะเดินหน้าในเรื่องนี้ น่าที่จะเอาข้อเท็จจริงทั้งหมดมาบอกว่า สัญญาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร และตอบคำถามที่มีการตั้งขึ้นมาให้ได้ว่า หนึ่ง ตกลงผลประโยชน์ของรัฐ ของประชาชน ของบริษัท ใครได้ใครเสีย สอง การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันที่เอื้อต่อประสิทธิภาพ และการลดต้นทุนในเรื่องโทรคมนาคมในประเทศหรือไม่ สาม การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันตามหลักการของการเปิดเสรีจริงหรือไม่ ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,22/01/2546)--จบ--
-สส-