สาธารณรัฐอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) ตั้งอยู่ตอนบนตรงมุมขวาสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ประมาณ 1,002,000 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง คือ กรุงไคโร แม้ว่าอียิปต์จะเป็นตลาดที่ไม่ใหญ่นัก เนื่องจากมีประชากรราว 77 ล้านคน มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีไม่สูงนักราว 1,111 ดอลลาร์สหรัฐแต่อียิปต์เป็นประเทศที่ผู้ส่งออกและนักลงทุนที่ต้องการเจาะตลาดในทวีปแอฟริกาและทวีปใกล้เคียงให้ความสนใจ เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุน ดังนี้
* ความได้เปรียบด้านภูมิประเทศ
อียิปต์มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับเอเชียโดยผ่านภูมิภาคตะวันออกกลาง (อียิปต์อยู่ติดกับอิสราเอล) โดยทิศเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ซึ่งกั้นระหว่างทวีปยุโรปและแอฟริกา) ส่วนทิศตะวันออกติดกับทะเลแดง (กั้นระหว่างอียิปต์กับซาอุดีอาระเบีย) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังทะเลอาหรับและมหาสมุทรอินเดียได้ ทำเลที่ตั้งอันเหมาะสมดังกล่าวส่งผลให้อียิปต์เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่มีความสำคัญมาแต่อดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้มีการขุด "คลองสุเอซ" ผ่านอียิปต์เมื่อปี 2412 เพื่อให้เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลแดงและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
จากศักยภาพข้างต้น ทำให้หลายประเทศนิยมขนส่งสินค้าโดยใช้เส้นทางเดินเรือผ่านคลองสุเอซ เนื่องจากอียิปต์เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าที่สำคัญสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา และส่งออกต่อไปยังยุโรป และตะวันออกกลางได้ โดยในปี 2546 มีการขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซสูงถึง 548 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 14% ของปริมาณการค้ารวมของทั้งโลก นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนในอียิปต์เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเส้นทางขนส่งสินค้าบริเวณท่าเรือสุเอซให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้ง มีแผนจะขุดคลองสุเอซเพื่อเพิ่มระดับความลึกให้อยู่ที่ระดับ 72 ฟุต ภายในปี 2553 จากระดับประมาณ 59 ฟุตในปัจจุบัน เพื่อรองรับเรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
* นโยบายส่งเสริมการลงทุน
รัฐบาลอียิปต์ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2533 โดยการเร่งแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน และเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ด้วยการออกกฎหมายInvestment Incentive and Guarantees Law 8 of 1997 เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในอียิปต์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยา การแปรรูปอาหาร ยานยนต์ การท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องเป็นต้น โดยนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในอียิปต์จะสามารถโอนผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุนกลับประเทศของตนได้ แต่ต้องไม่เกินมูลค่าของโครงการลงทุนนั้น ๆ นอกจากนี้ ในปี 2547 ที่ผ่านมา อียิปต์ได้จัดตั้ง The General Authority for Investment and Free Zones (GAFI) ให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนอนุมัติการลงทุนให้กับนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งยังได้จัดตั้งเขตส่งเสริมการลงทุนประเภทต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนอีกด้วย อาทิ
- เขตปลอดอากร (Free Zone) เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนนอกชายฝั่ง (Off-shore Zone) ที่เน้นส่งเสริมการผลิตเพื่อการส่งออก โดยธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในเขตฯ นี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าวัตถุดิบเครื่องจักร รวมทั้งยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกด้วย โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นโครงการลงทุนที่มีการผลิตเพื่อส่งออกไม่น้อยกว่า 50% - 80% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมด
- เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในเขตฯ นี้ จะได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้า อีกทั้งยังได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 40% เหลือ 10 % โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออก
- เขตนิคมอุตสาหกรรม (Industrial Park) เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีจำนวน 49 เขต ทั่วประเทศ ธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในเขตฯ นี้ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลานานถึง 5-20 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรมที่เข้าไปลงทุน
* อียิปต์เป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market of Eastern and Southern Africa : COMESA) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 20 ประเทศ โดยปัจจุบัน 11 ประเทศในกลุ่ม COMESA (ได้แก่ บุรุนดี จิบูตี อียิปต์ เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส รวันดา ซูดาน แซมเบีย และซิมบับเว)ได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกันแล้ว ซึ่งจะทำให้สินค้าที่ผลิตหรือส่งเข้าไปขายในอียิปต์สามารถกระจายต่อไปยังใน 11 ประเทศนี้ ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยประชากรกว่า 200 ล้านคน และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) สูงถึง 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่ต้องเสียภาษีระหว่างกัน
ในปี 2547 ที่ผ่านมา อียิปต์เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาที่ไทยค้าขายด้วยมากเป็นอันดับ 3 ด้วยมูลค่าการค้ารวม 302.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองจาก แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย โดยสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการขยายตลาดในอียิปต์ ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ใบยาสูบ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกอาหารทะเลกระป๋อง ส่วนธุรกิจไทยที่มีศักยภาพด้านการลงทุนในอียิปต์ ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเนื่องจากอียิปต์เป็นแหล่งผลิตฝ้ายที่มีคุณภาพ เฟอร์นิเจอร์ไม้และผลิตภัณฑ์ ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารไทย และสปา
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-
* ความได้เปรียบด้านภูมิประเทศ
อียิปต์มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับเอเชียโดยผ่านภูมิภาคตะวันออกกลาง (อียิปต์อยู่ติดกับอิสราเอล) โดยทิศเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ซึ่งกั้นระหว่างทวีปยุโรปและแอฟริกา) ส่วนทิศตะวันออกติดกับทะเลแดง (กั้นระหว่างอียิปต์กับซาอุดีอาระเบีย) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังทะเลอาหรับและมหาสมุทรอินเดียได้ ทำเลที่ตั้งอันเหมาะสมดังกล่าวส่งผลให้อียิปต์เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่มีความสำคัญมาแต่อดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้มีการขุด "คลองสุเอซ" ผ่านอียิปต์เมื่อปี 2412 เพื่อให้เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลแดงและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
จากศักยภาพข้างต้น ทำให้หลายประเทศนิยมขนส่งสินค้าโดยใช้เส้นทางเดินเรือผ่านคลองสุเอซ เนื่องจากอียิปต์เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าที่สำคัญสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา และส่งออกต่อไปยังยุโรป และตะวันออกกลางได้ โดยในปี 2546 มีการขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซสูงถึง 548 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 14% ของปริมาณการค้ารวมของทั้งโลก นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนในอียิปต์เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเส้นทางขนส่งสินค้าบริเวณท่าเรือสุเอซให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้ง มีแผนจะขุดคลองสุเอซเพื่อเพิ่มระดับความลึกให้อยู่ที่ระดับ 72 ฟุต ภายในปี 2553 จากระดับประมาณ 59 ฟุตในปัจจุบัน เพื่อรองรับเรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
* นโยบายส่งเสริมการลงทุน
รัฐบาลอียิปต์ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2533 โดยการเร่งแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน และเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ด้วยการออกกฎหมายInvestment Incentive and Guarantees Law 8 of 1997 เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในอียิปต์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยา การแปรรูปอาหาร ยานยนต์ การท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องเป็นต้น โดยนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในอียิปต์จะสามารถโอนผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุนกลับประเทศของตนได้ แต่ต้องไม่เกินมูลค่าของโครงการลงทุนนั้น ๆ นอกจากนี้ ในปี 2547 ที่ผ่านมา อียิปต์ได้จัดตั้ง The General Authority for Investment and Free Zones (GAFI) ให้เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนอนุมัติการลงทุนให้กับนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งยังได้จัดตั้งเขตส่งเสริมการลงทุนประเภทต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนอีกด้วย อาทิ
- เขตปลอดอากร (Free Zone) เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนนอกชายฝั่ง (Off-shore Zone) ที่เน้นส่งเสริมการผลิตเพื่อการส่งออก โดยธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในเขตฯ นี้ จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าวัตถุดิบเครื่องจักร รวมทั้งยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกด้วย โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นโครงการลงทุนที่มีการผลิตเพื่อส่งออกไม่น้อยกว่า 50% - 80% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมด
- เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในเขตฯ นี้ จะได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้า อีกทั้งยังได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 40% เหลือ 10 % โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออก
- เขตนิคมอุตสาหกรรม (Industrial Park) เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีจำนวน 49 เขต ทั่วประเทศ ธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในเขตฯ นี้ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลานานถึง 5-20 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรมที่เข้าไปลงทุน
* อียิปต์เป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market of Eastern and Southern Africa : COMESA) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 20 ประเทศ โดยปัจจุบัน 11 ประเทศในกลุ่ม COMESA (ได้แก่ บุรุนดี จิบูตี อียิปต์ เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส รวันดา ซูดาน แซมเบีย และซิมบับเว)ได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกันแล้ว ซึ่งจะทำให้สินค้าที่ผลิตหรือส่งเข้าไปขายในอียิปต์สามารถกระจายต่อไปยังใน 11 ประเทศนี้ ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยประชากรกว่า 200 ล้านคน และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) สูงถึง 1.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่ต้องเสียภาษีระหว่างกัน
ในปี 2547 ที่ผ่านมา อียิปต์เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาที่ไทยค้าขายด้วยมากเป็นอันดับ 3 ด้วยมูลค่าการค้ารวม 302.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองจาก แอฟริกาใต้ และไนจีเรีย โดยสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการขยายตลาดในอียิปต์ ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ใบยาสูบ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกอาหารทะเลกระป๋อง ส่วนธุรกิจไทยที่มีศักยภาพด้านการลงทุนในอียิปต์ ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเนื่องจากอียิปต์เป็นแหล่งผลิตฝ้ายที่มีคุณภาพ เฟอร์นิเจอร์ไม้และผลิตภัณฑ์ ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารไทย และสปา
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-