แท็ก
อุตสาหกรรม
การผลิต : ขยายตัวดีต่อเนื่อง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการเพิ่มขึ้นยังอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นมากทั้งหมวดที่ผลิตเพื่อขายในประเทศ และหมวดที่ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานปีก่อนที่บางหมวดมีการผลิตต่ำมาก เนื่องจากมีสต๊อกสูง โดยรวมทั้งปี 2545 ผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ (+91.5%) ขยายตัวสูงมาก เป็นผลจากฐานปีก่อนที่มีการผลิตต่ำสุดของปี 2544 เพราะสต็อกสินค้าอยู่ในระดับสูง หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+34.8%) ชะลอตัวตามการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ที่เร่งผลิตในเดือนก่อนหน้า ขณะที่รถยนต์นั่งยังคงขยายตัวดีตามการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อรองรับคำสั่งซื้อ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+28.6%) ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการผลิตแผงวงจรรวมที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเนื่องจากมีการผลิตสินค้าชนิดใหม่ หมวดอื่นๆ (+ 22.2%) เร่งตัวขึ้นจากการส่งออกที่ขยายตัวดีในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางแท่ง คอมเพรสเซอร์ กระจกแผ่น แผ่นเหล็กชุบดีบุกและปิโตรเคมีขั้นต้น หมวดเครื่องดื่ม (+20.8 %) เพิ่มขึ้นมากในหลายผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะเบียร์ ที่สามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+19.3%) ชะลอตัวตามภาวะก่อสร้างและการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็น ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตท่อเหล็กลดลงมาก จากการหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง
หมวดที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง (-17.1%) ลดลงทั้งปูนซิเมนต์ผสมและปอร์ตแลนด์เป็นผลจากฐานเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีการเร่งผลิตจากการแข่งขันกันลดราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด กอปรกับภาวะก่อสร้างชะลอตัวลง
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคมอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.7 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่หากเทียบกับระดับร้อยละ 54.7 ในเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (59.2%) ใช้กำลังการผลิตลดลง โดยเฉพาะรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หลังจากที่เร่งผลิตเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อในช่วงก่อนหน้า หมวดยาสูบ (49.9%) ลดลง หลังจากเร่งผลิตในเดือนก่อนเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปลายปี อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (60.7%) ลดลง ตามการใช้กำลังการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากได้เร่งผลิตเพื่อส่งออกไปในช่วงก่อนหน้า และเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (55.3%) ใช้กำลังการผลิตลดลง โดยเฉพาะท่อเหล็ก ที่มีการปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรของผู้ผลิตรายใหญ่ต่อเนื่องจากเดือนก่อน
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (64.9%) ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปลายปี ประกอบกับมีการใช้กำลังการผลิตเบียร์เพิ่มขึ้นมาก เพื่อผลิตส่งออกมากขึ้น และหมวดอาหาร (50.1%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตน้ำตาล ซึ่งได้ทยอยเปิดหีบเกือบครบทุกโรงในเดือนนี้
สำหรับ การใช้กำลังการผลิตในปีนี้ อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.7 เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 53.6 ในปีก่อน ตามการผลิตของหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการเพิ่มขึ้นยังอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นมากทั้งหมวดที่ผลิตเพื่อขายในประเทศ และหมวดที่ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานปีก่อนที่บางหมวดมีการผลิตต่ำมาก เนื่องจากมีสต๊อกสูง โดยรวมทั้งปี 2545 ผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ (+91.5%) ขยายตัวสูงมาก เป็นผลจากฐานปีก่อนที่มีการผลิตต่ำสุดของปี 2544 เพราะสต็อกสินค้าอยู่ในระดับสูง หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+34.8%) ชะลอตัวตามการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ที่เร่งผลิตในเดือนก่อนหน้า ขณะที่รถยนต์นั่งยังคงขยายตัวดีตามการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อรองรับคำสั่งซื้อ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+28.6%) ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการผลิตแผงวงจรรวมที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเนื่องจากมีการผลิตสินค้าชนิดใหม่ หมวดอื่นๆ (+ 22.2%) เร่งตัวขึ้นจากการส่งออกที่ขยายตัวดีในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางแท่ง คอมเพรสเซอร์ กระจกแผ่น แผ่นเหล็กชุบดีบุกและปิโตรเคมีขั้นต้น หมวดเครื่องดื่ม (+20.8 %) เพิ่มขึ้นมากในหลายผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะเบียร์ ที่สามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+19.3%) ชะลอตัวตามภาวะก่อสร้างและการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็น ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตท่อเหล็กลดลงมาก จากการหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง
หมวดที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง (-17.1%) ลดลงทั้งปูนซิเมนต์ผสมและปอร์ตแลนด์เป็นผลจากฐานเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีการเร่งผลิตจากการแข่งขันกันลดราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด กอปรกับภาวะก่อสร้างชะลอตัวลง
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคมอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.7 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่หากเทียบกับระดับร้อยละ 54.7 ในเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (59.2%) ใช้กำลังการผลิตลดลง โดยเฉพาะรถยนต์เพื่อการพาณิชย์หลังจากที่เร่งผลิตเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อในช่วงก่อนหน้า หมวดยาสูบ (49.9%) ลดลง หลังจากเร่งผลิตในเดือนก่อนเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปลายปี อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (60.7%) ลดลง ตามการใช้กำลังการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากได้เร่งผลิตเพื่อส่งออกไปในช่วงก่อนหน้า และเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (55.3%) ใช้กำลังการผลิตลดลง โดยเฉพาะท่อเหล็ก ที่มีการปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรของผู้ผลิตรายใหญ่ต่อเนื่องจากเดือนก่อน
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (64.9%) ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปลายปี ประกอบกับมีการใช้กำลังการผลิตเบียร์เพิ่มขึ้นมาก เพื่อผลิตส่งออกมากขึ้น และหมวดอาหาร (50.1%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตน้ำตาล ซึ่งได้ทยอยเปิดหีบเกือบครบทุกโรงในเดือนนี้
สำหรับ การใช้กำลังการผลิตในปีนี้ อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.7 เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 53.6 ในปีก่อน ตามการผลิตของหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-