กรุงเทพ--14 ก.พ.--กระทรวงต่างประเทศ
วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2546) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวถึงผลการหารือกับนายโชซากุ ยาซุย ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการค้าไทย — ญี่ปุ่น ของสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น ที่กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. เขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่น (Japan — Thailand Economic Partnership — JTEP) ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นที่ฝ่ายญี่ปุ่นยังคงมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเป็นอุปสรรค ต่อความคืบหน้าในการเจรจาเขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่น อาทิ ฝ่ายญี่ปุ่นมีความกังวลเรื่องการเปิดเสรีการค้าข้าว เกี่ยวกับเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งต่อฝ่ายญี่ปุ่นว่า จุดยืนของประเทศไทยคือพร้อมที่จะเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่นในทุกเรื่อง อย่างไรก็ตาม เรื่องใดที่ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะร่วมมือกันได้ก่อน ก็จะหยิบยกขึ้นเจรจาและดำเนินการได้เลย ส่วนประเด็นใดที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่พร้อมที่จะเจรจา ก็ให้ยกเว้นไว้ก่อน และจะหยิบยกขึ้นมาเจรจาในอนาคตเมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อม ซึ่งอาจเป็นในระยะที่ 2 หรือที่ 3 ในอีก 10 — 20 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ยืนยันกับฝ่ายญี่ปุ่นว่า คณะผู้แทนไทยยังไม่เคยหยิบยกเรื่องข้าวขึ้นเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่นเลย นอกจากนี้ผู้แทนไทย ก็ไม่เคยหยิบยกเรื่องการเคลื่อนไหวของบุคลากรวิชาชีพ (movement of persons) ขึ้นหารือในการเจรจาเขตการค้าเสรีกับฝ่ายญี่ปุ่นเช่นกัน ฝ่ายญี่ปุ่นพอใจกับคำชี้แจงดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรับที่จะไปแจ้งให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทราบข้อเท็จจริงเพื่อให้การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่นมีความคืบหน้าต่อไป
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทราบถึงความคืบหน้าของการประชุมความร่วมมือแห่งเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue — ACD) ว่า หลายประเทศสมาชิก ACD หลายประเทศได้เสนอตัวเป็นประธานคณะทำงานด้านต่าง ๆ ของ ACD อาทิ สิงคโปร์เป็นประธานคณะทำงานด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) บาห์เรนและอินโดนีเซียเป็นประธานคณะทำงานความมั่นคงด้านพลังงาน
ในการนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจในเรื่องพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้แจ้งความประสงค์ของฝ่ายไทยที่จะให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมใน คณะทำงานดังกล่าวด้วย ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือในสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นต่อไป
3. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวถึงการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 2003 และได้แจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทราบถึงประเด็นการประชุมหลัก (Main Theme) และประเด็นการประชุมย่อย (Sub-Theme) ของการประชุมเอเปค 2003 และได้ขอความร่วมมือฝ่ายญี่ปุ่นในการชักชวนผู้บริหารระดับสูง (CEO) ของภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้บริหารระดับสูงของเอเปค (APEC CEO Summit) ในการนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะชักชวนนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่นให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ถือโอกาสนี้ แจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทางว่า การเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ อาทิ จีน ออสเตรเลียและบาห์เรนมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะกับบาห์เรน ได้มีการลงนามความตกลงฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต่อไปนี้ตลาดของไทยจะขยายไปยังอินเดีย บาห์เรนและอีก 6 ประเทศในตะวันออกกลาง ตลอดจน จีนและออสเตรเลีย โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในการส่งออกไปยังประเทศที่ไทยมีความตกลงเขตการค้าเสรีด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
วันนี้ (12 กุมภาพันธ์ 2546) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวถึงผลการหารือกับนายโชซากุ ยาซุย ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการค้าไทย — ญี่ปุ่น ของสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น ที่กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. เขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่น (Japan — Thailand Economic Partnership — JTEP) ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นที่ฝ่ายญี่ปุ่นยังคงมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเป็นอุปสรรค ต่อความคืบหน้าในการเจรจาเขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่น อาทิ ฝ่ายญี่ปุ่นมีความกังวลเรื่องการเปิดเสรีการค้าข้าว เกี่ยวกับเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งต่อฝ่ายญี่ปุ่นว่า จุดยืนของประเทศไทยคือพร้อมที่จะเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่นในทุกเรื่อง อย่างไรก็ตาม เรื่องใดที่ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะร่วมมือกันได้ก่อน ก็จะหยิบยกขึ้นเจรจาและดำเนินการได้เลย ส่วนประเด็นใดที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่พร้อมที่จะเจรจา ก็ให้ยกเว้นไว้ก่อน และจะหยิบยกขึ้นมาเจรจาในอนาคตเมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อม ซึ่งอาจเป็นในระยะที่ 2 หรือที่ 3 ในอีก 10 — 20 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ยืนยันกับฝ่ายญี่ปุ่นว่า คณะผู้แทนไทยยังไม่เคยหยิบยกเรื่องข้าวขึ้นเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่นเลย นอกจากนี้ผู้แทนไทย ก็ไม่เคยหยิบยกเรื่องการเคลื่อนไหวของบุคลากรวิชาชีพ (movement of persons) ขึ้นหารือในการเจรจาเขตการค้าเสรีกับฝ่ายญี่ปุ่นเช่นกัน ฝ่ายญี่ปุ่นพอใจกับคำชี้แจงดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรับที่จะไปแจ้งให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทราบข้อเท็จจริงเพื่อให้การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่นมีความคืบหน้าต่อไป
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทราบถึงความคืบหน้าของการประชุมความร่วมมือแห่งเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue — ACD) ว่า หลายประเทศสมาชิก ACD หลายประเทศได้เสนอตัวเป็นประธานคณะทำงานด้านต่าง ๆ ของ ACD อาทิ สิงคโปร์เป็นประธานคณะทำงานด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) บาห์เรนและอินโดนีเซียเป็นประธานคณะทำงานความมั่นคงด้านพลังงาน
ในการนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจในเรื่องพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้แจ้งความประสงค์ของฝ่ายไทยที่จะให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมใน คณะทำงานดังกล่าวด้วย ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือในสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นต่อไป
3. ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวถึงการที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 2003 และได้แจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทราบถึงประเด็นการประชุมหลัก (Main Theme) และประเด็นการประชุมย่อย (Sub-Theme) ของการประชุมเอเปค 2003 และได้ขอความร่วมมือฝ่ายญี่ปุ่นในการชักชวนผู้บริหารระดับสูง (CEO) ของภาคเอกชนญี่ปุ่นเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้บริหารระดับสูงของเอเปค (APEC CEO Summit) ในการนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะชักชวนนักธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่นให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ถือโอกาสนี้ แจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทางว่า การเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ อาทิ จีน ออสเตรเลียและบาห์เรนมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะกับบาห์เรน ได้มีการลงนามความตกลงฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต่อไปนี้ตลาดของไทยจะขยายไปยังอินเดีย บาห์เรนและอีก 6 ประเทศในตะวันออกกลาง ตลอดจน จีนและออสเตรเลีย โดยประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในการส่งออกไปยังประเทศที่ไทยมีความตกลงเขตการค้าเสรีด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-