ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นการชำระคืนหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดไม่กระทบฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า การชำระคืนหนี้ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก่อนกำหนด ซึ่งมีกำหนดชำระในเดือน ก.ค.46 จะ
ไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยหลังชำระคืนหนี้แล้วทุนสำรองฯ จะอยู่ที่ระดับ 36,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับที่
แข็งแกร่ง (โลกวันนี้, ไทยโพสต์, แนวหน้า)
2. ต.ล.ท.ยืนยันไม่ปิดการซื้อขายหลักทรัพย์หากเกิดสงคราม สรอ.-อิรัก กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ต.ล.ท.) เปิดเผยว่า ต.ล.ท.จะไม่ปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ หากเกิดสงครามระหว่าง สรอ.กับอิรัก เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ทำให้ผู้ลงทุนตื่นตระหนกมากนัก เพราะนักลงทุนได้รับรู้สถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ต.ล.ท.ได้เตรียมนโยบายรองรับหากเกิดเหตุการณ์ฉับพลัน โดยอาจเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหรือปิดการซื้อขายในช่วงสั้นๆ และในกรณีเกิด
เหตุการณ์รุนแรงและส่งผลกระทบต่อการลงทุนมาก ต.ล.ท.ได้เตรียมระบบพักการซื้อขายเมื่อดัชนีปรับตัวลงเกินระดับที่กำหนด (เชอร์กิตเบรกเกอร์)
ไว้รองรับ อนึ่ง การตัดสินใจใช้นโยบายใดๆ ต.ล.ท.จะไม่อิงกับความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางตลาดทุนของโลก แต่จะ
พิจารณาผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเป็นหลัก (ไทยโพสต์)
3. ไทย-พม่าร่วมลงนามบันทึกความตกลงการค้าแบบหักบัญชี อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ก.พ.46
ไทยได้ลงนามในบันทึกความตกลงเรื่องการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) กับสหภาพพม่า โดยจะเป็นการใช้หน่วยงานของภาครัฐเป็นแกน
หลักในการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน ซึ่งในส่วนของไทยจะใช้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ทำหน้าที่ในการซื้อขาย สำหรับรูปแบบของการชำระค่า
สินค้าได้มีการตกลงเรียบร้อยแล้ว และจะลงนามร่วมกันในรายละเอียดอีกครั้งในเดือน มี.ค.46 ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง
ประเทศไทย และธนาคารการค้าและการลงทุนของสหภาพพม่า โดยจะมีการชำระบัญชีค่าสินค้าระหว่างกัน 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง และไม่มีการคิด
ดอกเบี้ย แต่จะเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการแทน ทั้งนี้คาดว่าช่วง 6 เดือนแรกของปี 46 จะมีการซื้อขายแบบหักบัญชีรวมประมาณ 1.5-2
ล.ดอลลาร์ สรอ. (64.5-86 ล.บาท) (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
4. ต.ล.ท.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจไทย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
เปิดเผยว่า ต.ล.ท. และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจไทย กับสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และชมรมวาณิชธนกิจ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.46 เพื่อยกระดับมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
ไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทย โดยในส่วนของ ต.ล.ท.จะเพิ่มโอกาสและความรวดเร็วในการให้คำแนะนำ
ปรึกษาและจดทะเบียนใน ต.ล.ท.และเอ็มเอไอ เพื่อให้มีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้สิทธิพิเศษแก่สมาชิก
ในการเข้าร่วมกิจกรรมของ ต.ล.ท.และเอ็มเอไอ (แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. 46 ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย รายงานจากลอนดอนเมื่อ 18 ก.พ.46 รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยว่า
ภาวะเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 2.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และคาดว่า
ธ.กลางอังกฤษอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง หากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นจากภาวะตกต่ำ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า
ราคาขายปลีกที่ไม่รวมเงินกู้ยืมซื้อบ้านในเดือน ม.ค. 46 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.1 แต่ไม่เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 45 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 2.6 นักวิเคราะห์กล่าวว่า ธ.กลางอังกฤษซึ่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย เป็นร้อยละ 3.75 ในเดือนนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 48 ปีแล้ว มีความวิตกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอลงอีกพร้อม
ทั้งได้คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นจะสูงกว่าเป้าหมายเนื่องจากผลกระทบของราคาบ้านและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง(รอยเตอร์)
2. คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ม.ค. 46 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 19 ก.พ. 46 นัก
เศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ในเดือน ม.ค. 46 ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index : PPI) ของ สรอ. จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับดัชนีฯ ในเดือน ธ.ค.45 ที่ลดลงร้อยละ 0.1 โดยดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI)
ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานอาจขยับตัวขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1 เนื่องจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นและความกังวลสงครามเกี่ยวกับอิรัก
อาจส่งผลให้ราคาพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-4 ซึ่งทำให้ผู้ผลิตมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.6 ในเดือน ธ.ค. 45 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 18 ก.พ. 46 รัฐบาลญี่ปุ่น
รายงานว่า ในเดือน ธ.ค. 45 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading index) ของญี่ปุ่น (ตัวเลขหลังปรับ) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.6 จากตัวเลข
เบื้องต้นที่ระดับ 60 ส่วนดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident index) ลดลงอยู่ที่ระดับ 40 จากตัวเลขเบื้องต้น 44.4 และดัชนีตามภาวะ
เศรษฐกิจ (Lagging index) ตัวเลขหลังปรับไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ 16.7 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ม.ค. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ14.8 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 18 ก.พ. 46 สำนักงานสถิติของจีน
เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ม.ค. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 โดยเฉพาะหมวดรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ในเดือน ธ.ค. 45 ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มสูงสุด นับตั้งแต่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียในช่วงปี 40-41 และในปี 45 จีนมี
ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ เติบโตร้อยละ 12.6 รวมทั้งคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 10 ในปี 46 ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติฯ ยังได้ประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของจีนว่าจะอยู่ใกล้เคียงระดับร้อยละ 8 ในปี 46 เนื่องจากความแข็งแกร่งในด้านการลงทุนและการบริโภค รวมทั้งมีการกระตุ้น
เศรษฐกิจจากรัฐบาลโดยการเร่งปฏิรูปภาครัฐวิสาหกิจ ภาคการเงิน และส่งเสริมให้ประชากรในชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้นในปีนี้ (รอยเตอร์)
5. ยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 18 ก.พ. 46
สำนักงานสถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมของมาเลเซียในเดือน ธ.ค. 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7เมื่อเทียบกับปี
ก่อน เนื่องจากในเดือน ธ.ค. 45 ผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นที่ระดับ 25.8 พัน ล. ริงกิต จากระดับ 23.1 พัน ล. ริงกิต
ในเดือน ธ.ค. 44 แต่ลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 45 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากตัวเลขดังกล่าวทำให้นัก
วิเคราะห์เห็นว่าการเติบโตของยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.พ. 46 18 ก.พ. 46 27 ธ.ค.45 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) - 43.072 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) - 42.8985/43.1943 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 1.6250 -1.8000 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 370.45/6.65 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,950/7,050 71,007,200 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.44 29.32 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99/14.79 16.99/14.79 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เชื่อมั่นการชำระคืนหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนดไม่กระทบฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า การชำระคืนหนี้ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก่อนกำหนด ซึ่งมีกำหนดชำระในเดือน ก.ค.46 จะ
ไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยหลังชำระคืนหนี้แล้วทุนสำรองฯ จะอยู่ที่ระดับ 36,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับที่
แข็งแกร่ง (โลกวันนี้, ไทยโพสต์, แนวหน้า)
2. ต.ล.ท.ยืนยันไม่ปิดการซื้อขายหลักทรัพย์หากเกิดสงคราม สรอ.-อิรัก กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ต.ล.ท.) เปิดเผยว่า ต.ล.ท.จะไม่ปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ หากเกิดสงครามระหว่าง สรอ.กับอิรัก เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่ทำให้ผู้ลงทุนตื่นตระหนกมากนัก เพราะนักลงทุนได้รับรู้สถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ต.ล.ท.ได้เตรียมนโยบายรองรับหากเกิดเหตุการณ์ฉับพลัน โดยอาจเลื่อนเวลาเปิดการซื้อขายหรือปิดการซื้อขายในช่วงสั้นๆ และในกรณีเกิด
เหตุการณ์รุนแรงและส่งผลกระทบต่อการลงทุนมาก ต.ล.ท.ได้เตรียมระบบพักการซื้อขายเมื่อดัชนีปรับตัวลงเกินระดับที่กำหนด (เชอร์กิตเบรกเกอร์)
ไว้รองรับ อนึ่ง การตัดสินใจใช้นโยบายใดๆ ต.ล.ท.จะไม่อิงกับความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นนิวยอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางตลาดทุนของโลก แต่จะ
พิจารณาผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเป็นหลัก (ไทยโพสต์)
3. ไทย-พม่าร่วมลงนามบันทึกความตกลงการค้าแบบหักบัญชี อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ก.พ.46
ไทยได้ลงนามในบันทึกความตกลงเรื่องการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) กับสหภาพพม่า โดยจะเป็นการใช้หน่วยงานของภาครัฐเป็นแกน
หลักในการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน ซึ่งในส่วนของไทยจะใช้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ทำหน้าที่ในการซื้อขาย สำหรับรูปแบบของการชำระค่า
สินค้าได้มีการตกลงเรียบร้อยแล้ว และจะลงนามร่วมกันในรายละเอียดอีกครั้งในเดือน มี.ค.46 ระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง
ประเทศไทย และธนาคารการค้าและการลงทุนของสหภาพพม่า โดยจะมีการชำระบัญชีค่าสินค้าระหว่างกัน 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง และไม่มีการคิด
ดอกเบี้ย แต่จะเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการแทน ทั้งนี้คาดว่าช่วง 6 เดือนแรกของปี 46 จะมีการซื้อขายแบบหักบัญชีรวมประมาณ 1.5-2
ล.ดอลลาร์ สรอ. (64.5-86 ล.บาท) (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
4. ต.ล.ท.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจไทย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
เปิดเผยว่า ต.ล.ท. และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจไทย กับสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ และชมรมวาณิชธนกิจ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.46 เพื่อยกระดับมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
ไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทย โดยในส่วนของ ต.ล.ท.จะเพิ่มโอกาสและความรวดเร็วในการให้คำแนะนำ
ปรึกษาและจดทะเบียนใน ต.ล.ท.และเอ็มเอไอ เพื่อให้มีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้สิทธิพิเศษแก่สมาชิก
ในการเข้าร่วมกิจกรรมของ ต.ล.ท.และเอ็มเอไอ (แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. 46 ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย รายงานจากลอนดอนเมื่อ 18 ก.พ.46 รัฐบาลอังกฤษเปิดเผยว่า
ภาวะเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ระดับร้อยละ 2.5 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และคาดว่า
ธ.กลางอังกฤษอาจจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง หากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นจากภาวะตกต่ำ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า
ราคาขายปลีกที่ไม่รวมเงินกู้ยืมซื้อบ้านในเดือน ม.ค. 46 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.1 แต่ไม่เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 45 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 2.6 นักวิเคราะห์กล่าวว่า ธ.กลางอังกฤษซึ่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย เป็นร้อยละ 3.75 ในเดือนนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 48 ปีแล้ว มีความวิตกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอลงอีกพร้อม
ทั้งได้คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นจะสูงกว่าเป้าหมายเนื่องจากผลกระทบของราคาบ้านและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง(รอยเตอร์)
2. คาดว่าดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ม.ค. 46 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 19 ก.พ. 46 นัก
เศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ในเดือน ม.ค. 46 ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index : PPI) ของ สรอ. จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับดัชนีฯ ในเดือน ธ.ค.45 ที่ลดลงร้อยละ 0.1 โดยดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI)
ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานอาจขยับตัวขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.1 เนื่องจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นและความกังวลสงครามเกี่ยวกับอิรัก
อาจส่งผลให้ราคาพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-4 ซึ่งทำให้ผู้ผลิตมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.6 ในเดือน ธ.ค. 45 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 18 ก.พ. 46 รัฐบาลญี่ปุ่น
รายงานว่า ในเดือน ธ.ค. 45 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading index) ของญี่ปุ่น (ตัวเลขหลังปรับ) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.6 จากตัวเลข
เบื้องต้นที่ระดับ 60 ส่วนดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident index) ลดลงอยู่ที่ระดับ 40 จากตัวเลขเบื้องต้น 44.4 และดัชนีตามภาวะ
เศรษฐกิจ (Lagging index) ตัวเลขหลังปรับไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ 16.7 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ม.ค. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ14.8 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 18 ก.พ. 46 สำนักงานสถิติของจีน
เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ม.ค. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 โดยเฉพาะหมวดรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ในเดือน ธ.ค. 45 ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มสูงสุด นับตั้งแต่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียในช่วงปี 40-41 และในปี 45 จีนมี
ผลผลิตอุตสาหกรรมฯ เติบโตร้อยละ 12.6 รวมทั้งคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 10 ในปี 46 ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติฯ ยังได้ประมาณการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของจีนว่าจะอยู่ใกล้เคียงระดับร้อยละ 8 ในปี 46 เนื่องจากความแข็งแกร่งในด้านการลงทุนและการบริโภค รวมทั้งมีการกระตุ้น
เศรษฐกิจจากรัฐบาลโดยการเร่งปฏิรูปภาครัฐวิสาหกิจ ภาคการเงิน และส่งเสริมให้ประชากรในชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้นในปีนี้ (รอยเตอร์)
5. ยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 18 ก.พ. 46
สำนักงานสถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมของมาเลเซียในเดือน ธ.ค. 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7เมื่อเทียบกับปี
ก่อน เนื่องจากในเดือน ธ.ค. 45 ผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นที่ระดับ 25.8 พัน ล. ริงกิต จากระดับ 23.1 พัน ล. ริงกิต
ในเดือน ธ.ค. 44 แต่ลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย. 45 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 จากตัวเลขดังกล่าวทำให้นัก
วิเคราะห์เห็นว่าการเติบโตของยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.พ. 46 18 ก.พ. 46 27 ธ.ค.45 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) - 43.072 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) - 42.8985/43.1943 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 1.6250 -1.8000 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 370.45/6.65 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,950/7,050 71,007,200 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.44 29.32 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99/14.79 16.99/14.79 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-