กรุงเทพ--25 ก.พ.--กระทรวงต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1/2003 ที่จังหวัดเชียงราย โดยมีนายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน และมีเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ประธานคณะกรรมการและกลุ่มหารือต่างๆ ตลอดจนผู้แทนจากสำนักเลขาธิการเอเปค เข้าร่วมการประชุม
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ (SOM Retreat) ได้หารือใน 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ (1) การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสกับ Finance Ministers ’ Process (2) การจัด SOM Policy Dialogue on RTAs/FTAs (3) กระบวนการหารือระหว่างผู้นำเอเปคกับภาคเอกชน (ABAC) (4) รูปแบบการประชุมผู้นำในเดือนตุลาคม 2546 เจ้าหน้าที่อาวุโสได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการของ CTI ในการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี ซึ่งมีประเด็นหลัก คือ (1) การเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ และ (2) การสนับสนุนการเจรจา ภายใต้กรอบ WTO
ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะสนับสนุนการเจรจาภายใต้กรอบ WTO โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 5 ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2546 ที่เมือง Cancun ประเทศเม็กซิโก โดยสมาชิกเอเปคจะส่งสัญญาณทางการเมืองผ่านที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade: MRT) และใช้เวที APEC Caucus เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างเอเปคกับ WTO ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ไทยในฐานะประธาน APEC 2003 เป็นผู้ประสานงานหลัก ที่จะให้เป็นเวทีของสมาชิกเอเปคในการหารือเรื่อง WTO อย่างไม่เป็นทางการ แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องต่างๆ และนำเสนอท่าทีของเอเปคให้ผู้แทนของสมาชิกเอเปคใน
WTO ดำเนินการต่อไป พร้อมกับเชิญผู้แทนจาก WTO รายงานความคืบหน้าของ การเจรจาเรื่องต่างๆ ต่อที่ประชุมเอเปค ที่ประชุมเห็นชอบต่อการจัด SOM Policy Dialogue on RTAs/FTAs ในช่วง SOM II /2003 ที่ขอนแก่น ปลายเดือนพฤษภาคม 2546 ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนโยบายในการจัดทำหรือรองรับกระบวนการเปิดเสรีภายใต้เขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาค ขณะนี้ ไทยกำลังดำเนินการจัดทำ FTA กับประเทศต่างๆ ดังนั้น การหารือเช่นนี้ ย่อมจะเป็นประโยชน์กับไทยโดยตรง ที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากสมาชิกเอเปคอื่นๆ
ในส่วนของโครงการนำร่อง (Pathfinder Initiatives) สหรัฐฯ ได้เวียนเอกสาร Leaders ’ Pathfinder Statement to Implement APEC Policies on Trade and Digital Economy ซึ่งมีสาระสำคัญให้สมาชิกที่เข้าร่วม โครงการนำร่องเรื่อง Trade and Digital Economy รายงานความคืบหน้าในการเปิดเสรีสาขาบริการที่เกี่ยวข้องกับ e-commerce การปรับปรุงระเบียบกฎหมาย ตลอดจนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ต่อ CTI และ sub-for a ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมได้ขอให้สมาชิกหารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งข้อคิดเห็นภายในวันที่ 15 มีนาคม 2546 เพื่อให้สหรัฐฯ นำไปปรับปรุงเอกสารดังกล่าว
ด้านหลักการความโปร่งใส ที่ประชุมได้มติเห็นชอบให้กลุ่มหารือย่อยภายใต้ CTI (CTI small group) จัดทำข้อเสนอแนะปรับปรุงตารางแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (IAP) ให้สอดคล้องกับหลักการด้านความโปร่งใส และให้สมาชิกหารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งข้อคิดเห็นภายในวันที่ 15 มีนาคม 2546 เพื่อให้สหรัฐฯ นำไปปรับปรุงเอกสารข้อเสนอ “Transparency by 2005: An APEC Transparency Strategy to Ensure Implementation of Leaders ’ Transparency Standards ” เพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านหลักการความโปร่งใส เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามเวลาที่กำหนด (ปี 2005) นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้บรรจุเรื่องหลักการความโปร่งใสไว้ในวาระการหารือ Policy Dialogue on RTAs/FTAs ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นระหว่างการประชุม SOM II/2003 ด้วย
สำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้า (APEC Trade Facilitation Action Plan) สมาชิกเอเปค 13 สมาชิก รวมทั้งไทย ได้ยื่นตารางความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า การดำเนินการเช่นนี้เป็นตัวอย่างรูปธรรมอีกแบบหนึ่งที่เอเปคสร้างประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจเอกชน
ที่ประชุมได้รับทราบการรายงานการทบทวนแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (IAP (Individual Action Plan) Peer Review) ของออสเตรเลีย แคนาดา และไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี แผน IAP เป็นแผนปฏิบัติการที่สมาชิกเอเปคจัดทำขึ้นในการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนใน 14 สาขา ตามความพร้อมและความสมัครใจ เพื่อสร้างความโปร่งใส เอเปคได้มีกระบวนการทบทวนแผนปฏิบัติการ (IAP Peer Review) ซึ่งเป็นโอกาสที่สมาชิกจะนำเสนอแผน IAP ของตนให้สมาชิกอื่นได้ทบทวน ซักถาม และให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงการดำเนินการให้ดีขึ้น ในส่วนของไทย ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินว่า ไทยมีความพร้อม และได้ดำเนินการไปในแนวทางที่ถูกต้อง สอดคล้องกับหลักการเอเปค และกฎระเบียบของ WTO และมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุตามเป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) ภายในปี 2020 (รายละเอียดปรากฎในเอกสารแนบ)
ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้ง Life Sciences Innovation Forum (LSIF) ขึ้นภายใต้ CTI และได้กำหนดให้เริ่มประชุมครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2003
ในประเด็นก่อการร้าย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับร่างแผนงานการปฏิบัติการต่อด้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism Action Plan) พร้อมกับการจัดทำร่างตารางเพื่อรวบรวม มาตรการด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของปีนี้ แผนงานที่จะดำเนินการเพิ่มเติม และความช่วยเหลือในการเสริมสร้างขีดความสามารถ โดยตกลงที่จะรวบรวมให้เสร็จภายใน SOM III/2003
ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเอเปคด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (APEC Counter-Terrorism Task Force) เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักในกรอบเอเปคและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ โดยไทยจะเข้าร่วมด้วย เพื่อติดตามและร่วมมือในด้านมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าและคน และหาวิธีการลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนเพิ่มการอำนวยความสะดวกในธุรกิจการค้า
ที่ประชุมได้รับทราบว่าสหรัฐอเมริกาและไทยจะจัดการสัมมนาเกี่ยวกับข้อเสนอ STAR (Secure Trade in the APEC Region) ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2546 เพื่อให้ความรู้แก่ประเทศสมาชิกในการดำเนินการตามโครงการ STAR และเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกเอเปคที่อาจได้รับผลกระทบในด้านการค้า ค่าใช้จ่ายการทำธุรกิจจากมาตรการป้องกันภัยจากการก่อการร้าย
ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของ กต. ไทยและแคนาดาให้มีการกำหนดลำดับความสำคัญหลักของ กิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการในกรอบเอเปคสำหรับปีนี้และในอนาคตข้างหน้า เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ชัดเจนใน 4 ด้าน ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาการค้า และการเชื่อมโยงวิสาหกิจขนาดกลาง ย่อม และจิ๋ว เข้ากับเศรษฐกิจโลก
2. การสร้างขีดความสามารถเพื่อดำเนินมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย
3. การพัฒนาสังคมบนพื้นฐานของความรู้ รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและเศรษฐกิจใหม่
4. การตอบสนองต่อมิติด้านสังคมเพื่อส่งเสริมการปรับตัวท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์
ทั้งนี้ เอเปคจะสานต่อการแสวงหาความร่วมมือในด้านเหล่านี้กับองค์กรภายนอกและภาคเอกชน ที่ประชุมรับทราบผลการหารือเชิงนโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรที่เชียงราย ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน เมื่อ 14-15 ก.พ. 45 และข้อเสนอของสหรัฐฯ ให้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนในด้านบริการสุขภาพ ซึ่งไทยได้แถลงจะร่วมมือกับฝ่ายสหรัฐฯ อย่างแข็งขัน เพราะเป็นผลประโยชน์ร่วม โดยเฉพาะการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนไทยที่ได้รับรองมาตรฐานแล้ว
ในด้านวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอไทยว่า ในปีนี้ จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะประกอบการ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ และการขจัดอุปสรรคของวิสาหกิจเหล่านี้ โดยเฉพาะในการส่งออก นอกจากนั้น ที่ประชุมยังสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มย่อยด้านวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (sub-group on micro-enterprises) เพื่อเน้นความสำคัญของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนกิจการอันจะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจเช่นระบบเศรษฐกิจของไทยมาก
ที่ประชุมรับทราบกิจกรรมของเครือข่ายเสริมสร้างขีดความสามารถด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Net: SSN) ซึ่งเป็นความริเริ่มของไทยและเกาหลี และสนับสนุนข้อเสนอไทยในการมอบให้คณะทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development Working Group: HRDWG) และเครือข่าย SSN ให้ศึกษาวิธีการที่เอเปคจะสามารถสนับสนุนการฝึกฝนยกระดับคุณภาพและฝีมือของคนงานที่จะได้รับผลกระทบจากกระบวนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
ที่ประชุมได้รับทรบคำแถลงแนวทางจากผู้แทนไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพในการวางกรอบผลลัพธ์สำคัญสำหรับเอเปค 2003 ซึ่งสร้างความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายโบกอร์ด้านการค้าและการลงทุนเสรี ดังนี้
1. เอเปคจะต้องมีส่วนผลักดันการเจรจาการค้ารอบโดฮา ที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านการพัฒนา
2. เอเปคจะสร้างสมดุลระหว่างประเด็นการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ควบคู่ไปกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งฝ่ายไทยและแคนาดามีบทบาทในการเสนอลำดับความสำคัญหลักของกิจกรรม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
3. เอเปคจะประสานการหารือและกระบวนการทำงานของรัฐมนตรีคลังที่สอดคล้อง รองรับกันและกันกับกระบวนการหลักของเอเปค
4. เอเปคจะจัดตั้งกลุ่มย่อยว่าด้วยวิสาหกิจขนาดจิ๋ว พร้อมแนวทางการทำงานที่ชัดเจนตามคำสั่งการของผู้นำฯ
5. จะจัดรูปแบบการประชุมผู้นำฯ และการหารือระหว่างผู้นำฯ กับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ผู้นำภาคเอกชน) ที่เอื้อต่อการหารืออย่างใกล้ชิด สะดวกใจ มิใช้ผลัดกันอ่านคำแถลงการณ์ สำหรับการเตรียมการแถลงการณ์ผู้นำฯ จะมีความกระชับ มีศูนย์รวมชัดเจน และมีสาระสะท้อนการหารือของผู้นำอย่างจริงจัง และมีวิสัยทัศน์สมกับเป็นคำแถลงของผู้นำ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
เมื่อวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1/2003 ที่จังหวัดเชียงราย โดยมีนายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน และมีเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ประธานคณะกรรมการและกลุ่มหารือต่างๆ ตลอดจนผู้แทนจากสำนักเลขาธิการเอเปค เข้าร่วมการประชุม
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ (SOM Retreat) ได้หารือใน 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ (1) การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสกับ Finance Ministers ’ Process (2) การจัด SOM Policy Dialogue on RTAs/FTAs (3) กระบวนการหารือระหว่างผู้นำเอเปคกับภาคเอกชน (ABAC) (4) รูปแบบการประชุมผู้นำในเดือนตุลาคม 2546 เจ้าหน้าที่อาวุโสได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการของ CTI ในการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี ซึ่งมีประเด็นหลัก คือ (1) การเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ และ (2) การสนับสนุนการเจรจา ภายใต้กรอบ WTO
ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะสนับสนุนการเจรจาภายใต้กรอบ WTO โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 5 ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2546 ที่เมือง Cancun ประเทศเม็กซิโก โดยสมาชิกเอเปคจะส่งสัญญาณทางการเมืองผ่านที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade: MRT) และใช้เวที APEC Caucus เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างเอเปคกับ WTO ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ไทยในฐานะประธาน APEC 2003 เป็นผู้ประสานงานหลัก ที่จะให้เป็นเวทีของสมาชิกเอเปคในการหารือเรื่อง WTO อย่างไม่เป็นทางการ แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องต่างๆ และนำเสนอท่าทีของเอเปคให้ผู้แทนของสมาชิกเอเปคใน
WTO ดำเนินการต่อไป พร้อมกับเชิญผู้แทนจาก WTO รายงานความคืบหน้าของ การเจรจาเรื่องต่างๆ ต่อที่ประชุมเอเปค ที่ประชุมเห็นชอบต่อการจัด SOM Policy Dialogue on RTAs/FTAs ในช่วง SOM II /2003 ที่ขอนแก่น ปลายเดือนพฤษภาคม 2546 ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนโยบายในการจัดทำหรือรองรับกระบวนการเปิดเสรีภายใต้เขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาค ขณะนี้ ไทยกำลังดำเนินการจัดทำ FTA กับประเทศต่างๆ ดังนั้น การหารือเช่นนี้ ย่อมจะเป็นประโยชน์กับไทยโดยตรง ที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากสมาชิกเอเปคอื่นๆ
ในส่วนของโครงการนำร่อง (Pathfinder Initiatives) สหรัฐฯ ได้เวียนเอกสาร Leaders ’ Pathfinder Statement to Implement APEC Policies on Trade and Digital Economy ซึ่งมีสาระสำคัญให้สมาชิกที่เข้าร่วม โครงการนำร่องเรื่อง Trade and Digital Economy รายงานความคืบหน้าในการเปิดเสรีสาขาบริการที่เกี่ยวข้องกับ e-commerce การปรับปรุงระเบียบกฎหมาย ตลอดจนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ต่อ CTI และ sub-for a ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมได้ขอให้สมาชิกหารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งข้อคิดเห็นภายในวันที่ 15 มีนาคม 2546 เพื่อให้สหรัฐฯ นำไปปรับปรุงเอกสารดังกล่าว
ด้านหลักการความโปร่งใส ที่ประชุมได้มติเห็นชอบให้กลุ่มหารือย่อยภายใต้ CTI (CTI small group) จัดทำข้อเสนอแนะปรับปรุงตารางแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (IAP) ให้สอดคล้องกับหลักการด้านความโปร่งใส และให้สมาชิกหารือเพิ่มเติมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งข้อคิดเห็นภายในวันที่ 15 มีนาคม 2546 เพื่อให้สหรัฐฯ นำไปปรับปรุงเอกสารข้อเสนอ “Transparency by 2005: An APEC Transparency Strategy to Ensure Implementation of Leaders ’ Transparency Standards ” เพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านหลักการความโปร่งใส เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามเวลาที่กำหนด (ปี 2005) นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้บรรจุเรื่องหลักการความโปร่งใสไว้ในวาระการหารือ Policy Dialogue on RTAs/FTAs ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นระหว่างการประชุม SOM II/2003 ด้วย
สำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้า (APEC Trade Facilitation Action Plan) สมาชิกเอเปค 13 สมาชิก รวมทั้งไทย ได้ยื่นตารางความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า การดำเนินการเช่นนี้เป็นตัวอย่างรูปธรรมอีกแบบหนึ่งที่เอเปคสร้างประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจเอกชน
ที่ประชุมได้รับทราบการรายงานการทบทวนแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (IAP (Individual Action Plan) Peer Review) ของออสเตรเลีย แคนาดา และไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี แผน IAP เป็นแผนปฏิบัติการที่สมาชิกเอเปคจัดทำขึ้นในการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนใน 14 สาขา ตามความพร้อมและความสมัครใจ เพื่อสร้างความโปร่งใส เอเปคได้มีกระบวนการทบทวนแผนปฏิบัติการ (IAP Peer Review) ซึ่งเป็นโอกาสที่สมาชิกจะนำเสนอแผน IAP ของตนให้สมาชิกอื่นได้ทบทวน ซักถาม และให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงการดำเนินการให้ดีขึ้น ในส่วนของไทย ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินว่า ไทยมีความพร้อม และได้ดำเนินการไปในแนวทางที่ถูกต้อง สอดคล้องกับหลักการเอเปค และกฎระเบียบของ WTO และมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุตามเป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) ภายในปี 2020 (รายละเอียดปรากฎในเอกสารแนบ)
ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้ง Life Sciences Innovation Forum (LSIF) ขึ้นภายใต้ CTI และได้กำหนดให้เริ่มประชุมครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2003
ในประเด็นก่อการร้าย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับร่างแผนงานการปฏิบัติการต่อด้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism Action Plan) พร้อมกับการจัดทำร่างตารางเพื่อรวบรวม มาตรการด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของปีนี้ แผนงานที่จะดำเนินการเพิ่มเติม และความช่วยเหลือในการเสริมสร้างขีดความสามารถ โดยตกลงที่จะรวบรวมให้เสร็จภายใน SOM III/2003
ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเอเปคด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (APEC Counter-Terrorism Task Force) เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักในกรอบเอเปคและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ โดยไทยจะเข้าร่วมด้วย เพื่อติดตามและร่วมมือในด้านมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าและคน และหาวิธีการลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนเพิ่มการอำนวยความสะดวกในธุรกิจการค้า
ที่ประชุมได้รับทราบว่าสหรัฐอเมริกาและไทยจะจัดการสัมมนาเกี่ยวกับข้อเสนอ STAR (Secure Trade in the APEC Region) ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2546 เพื่อให้ความรู้แก่ประเทศสมาชิกในการดำเนินการตามโครงการ STAR และเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกเอเปคที่อาจได้รับผลกระทบในด้านการค้า ค่าใช้จ่ายการทำธุรกิจจากมาตรการป้องกันภัยจากการก่อการร้าย
ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของ กต. ไทยและแคนาดาให้มีการกำหนดลำดับความสำคัญหลักของ กิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการในกรอบเอเปคสำหรับปีนี้และในอนาคตข้างหน้า เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ชัดเจนใน 4 ด้าน ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาการค้า และการเชื่อมโยงวิสาหกิจขนาดกลาง ย่อม และจิ๋ว เข้ากับเศรษฐกิจโลก
2. การสร้างขีดความสามารถเพื่อดำเนินมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย
3. การพัฒนาสังคมบนพื้นฐานของความรู้ รวมถึงการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและเศรษฐกิจใหม่
4. การตอบสนองต่อมิติด้านสังคมเพื่อส่งเสริมการปรับตัวท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์
ทั้งนี้ เอเปคจะสานต่อการแสวงหาความร่วมมือในด้านเหล่านี้กับองค์กรภายนอกและภาคเอกชน ที่ประชุมรับทราบผลการหารือเชิงนโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรที่เชียงราย ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน เมื่อ 14-15 ก.พ. 45 และข้อเสนอของสหรัฐฯ ให้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนในด้านบริการสุขภาพ ซึ่งไทยได้แถลงจะร่วมมือกับฝ่ายสหรัฐฯ อย่างแข็งขัน เพราะเป็นผลประโยชน์ร่วม โดยเฉพาะการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนไทยที่ได้รับรองมาตรฐานแล้ว
ในด้านวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอไทยว่า ในปีนี้ จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะประกอบการ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ และการขจัดอุปสรรคของวิสาหกิจเหล่านี้ โดยเฉพาะในการส่งออก นอกจากนั้น ที่ประชุมยังสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มย่อยด้านวิสาหกิจขนาดจิ๋ว (sub-group on micro-enterprises) เพื่อเน้นความสำคัญของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนกิจการอันจะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจเช่นระบบเศรษฐกิจของไทยมาก
ที่ประชุมรับทราบกิจกรรมของเครือข่ายเสริมสร้างขีดความสามารถด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Net: SSN) ซึ่งเป็นความริเริ่มของไทยและเกาหลี และสนับสนุนข้อเสนอไทยในการมอบให้คณะทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development Working Group: HRDWG) และเครือข่าย SSN ให้ศึกษาวิธีการที่เอเปคจะสามารถสนับสนุนการฝึกฝนยกระดับคุณภาพและฝีมือของคนงานที่จะได้รับผลกระทบจากกระบวนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
ที่ประชุมได้รับทรบคำแถลงแนวทางจากผู้แทนไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพในการวางกรอบผลลัพธ์สำคัญสำหรับเอเปค 2003 ซึ่งสร้างความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายโบกอร์ด้านการค้าและการลงทุนเสรี ดังนี้
1. เอเปคจะต้องมีส่วนผลักดันการเจรจาการค้ารอบโดฮา ที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านการพัฒนา
2. เอเปคจะสร้างสมดุลระหว่างประเด็นการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ควบคู่ไปกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งฝ่ายไทยและแคนาดามีบทบาทในการเสนอลำดับความสำคัญหลักของกิจกรรม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
3. เอเปคจะประสานการหารือและกระบวนการทำงานของรัฐมนตรีคลังที่สอดคล้อง รองรับกันและกันกับกระบวนการหลักของเอเปค
4. เอเปคจะจัดตั้งกลุ่มย่อยว่าด้วยวิสาหกิจขนาดจิ๋ว พร้อมแนวทางการทำงานที่ชัดเจนตามคำสั่งการของผู้นำฯ
5. จะจัดรูปแบบการประชุมผู้นำฯ และการหารือระหว่างผู้นำฯ กับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (ผู้นำภาคเอกชน) ที่เอื้อต่อการหารืออย่างใกล้ชิด สะดวกใจ มิใช้ผลัดกันอ่านคำแถลงการณ์ สำหรับการเตรียมการแถลงการณ์ผู้นำฯ จะมีความกระชับ มีศูนย์รวมชัดเจน และมีสาระสะท้อนการหารือของผู้นำอย่างจริงจัง และมีวิสัยทัศน์สมกับเป็นคำแถลงของผู้นำ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-