แท็ก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอนก เหล่าธรรมทัศน์
พรรคประชาธิปัตย์
งบประมาณแผ่นดิน
วิษณุ เครืองาม
นายกรัฐมนตรี
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุถึงทางออก 4 แนวทางที่รัฐบาลไม่สามารถจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร้อยละ 35 ของงบประมาณแผ่นดินตาม พ.ร.บ.กระจายอำนายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นายเอนก กล่าวว่า รัฐบาลกำลังคิดอยู่ในแบบเดิมๆ และไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนด โดยคิดเพียงว่าภาระในการจัดสรรเงินอุดหนุนนั้นเป็นภาระที่หนักเกินไป ที่รัฐบาลหาทางออกโดยเฉพาะกับการเตรียมแก้ไขกฎหมายใน พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ในบทเฉพาะกาลให้มีการปรับลดงบประมาณลงนั้น เป็นสิ่งที่ตนได้ทำนายไว้ต้องแต่ต้น ว่าให้จับตาดู ในไม่ช้ารัฐบาลก็คงจะหาช่องทางในการเสนอแก้ไขกฎหมายตรงส่วนนี้
นายเอนก กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่รัฐบาลทำสวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลมักจะพูดเสมอว่ามีงบประมาณเพียงพอ หากอะไรที่ทำเพื่อประชาชนแล้วก็จะไม่มีคำว่า “ ไม่ ” รัฐบาลจะหนุนเต็มที่ แต่ผ่านมาตอนนนี้กลับมาพูดว่าไม่สามารถจัดสรรเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่นได้ เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ถ้าจะพูดถึงการปรับลด หากเป็นตัวเลขที่ 2 แสนล้านบาท แต่ขอปรับลดเหลือแค่ 1.8 แสนล้านบาท ก็คงพอฟังได้
นายเอนก กล่าวอีกว่า หากเศรษฐกิจไม่ดีจริง แต่ทำไมจึงเกิดความแตกต่างกันระหว่างสัดส่วนงบประมาณอื่นที่รัฐบาลส่วนกลางนำไปใช้ กับสัดส่วนทีท้องถิ่นควรจะได้รับตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด สิ่งนี้ทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่จริงใจในเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและไม่เข้าใจถึงกเรื่องการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ซึ่งตนอยากเสนอแนวทางที่ 5 เพิ่มให้ว่า รัฐบาลควรโอนงานที่เป็นนโยบายสำคัญกระจายไปให้ส่วนท้องถิ่นโดยเร็ว ยกตัวอย่างเช่น โครงการบ้านเอื้ออาทรที่จะมีการขยายโครงการไปในต่างจังหวัด หากรัฐบาลมอบให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ประโยชน์ก็จะตกอยู่ที่ประชาชนอย่างแท้จริงในการเลือกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ หรือโครงการอื่น ที่รัฐบาลไม่จำเป็นต้องดำเนินการเองก็ได้
นายเอนก กล่าวด้วยว่า หากมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้เข้ามามียทบาทแล้วก็จะสามารถสร้างรากฐานทางกศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ แต่ที่ผ่านมาเราถูกฝึกให้คิดแบบเดียวกันว่า อะไรที่รัฐบาลส่วนกลางทำแล้วท้องถิ่นก็จะไม่มีบทบาท ทำให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ หวงอำนาจไว้กับตัว ซึ่งขัดกับเจตนารมร์ของรัฐธรรมนูญที่ตค้องการให้การปกครองประเทศเป็นแบบอำนาจรัฐรวมท้องถิ่น ดังนั้นการออกมาส่งสัญญาณถึงการไม่สามารถจัดสรรเงินอุดหนุนดังกล่าวได้ตามสัดส่วนที่กำหนดนั้น จะยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มองค์กรกปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น และโดยส่วนตัวแล้ว ก็ไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาด้วยการเสนอแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ แต่ฝ่ายค้านคงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะขาดเสียงสนับสนุนในสภาที่มีรัฐบาลกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ทางออกที่พอจะช่วยหยุดรัฐบาลได้คือ การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,24/2/2546)--จบ--
-สส-
นายเอนก กล่าวว่า รัฐบาลกำลังคิดอยู่ในแบบเดิมๆ และไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนด โดยคิดเพียงว่าภาระในการจัดสรรเงินอุดหนุนนั้นเป็นภาระที่หนักเกินไป ที่รัฐบาลหาทางออกโดยเฉพาะกับการเตรียมแก้ไขกฎหมายใน พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ในบทเฉพาะกาลให้มีการปรับลดงบประมาณลงนั้น เป็นสิ่งที่ตนได้ทำนายไว้ต้องแต่ต้น ว่าให้จับตาดู ในไม่ช้ารัฐบาลก็คงจะหาช่องทางในการเสนอแก้ไขกฎหมายตรงส่วนนี้
นายเอนก กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่รัฐบาลทำสวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลมักจะพูดเสมอว่ามีงบประมาณเพียงพอ หากอะไรที่ทำเพื่อประชาชนแล้วก็จะไม่มีคำว่า “ ไม่ ” รัฐบาลจะหนุนเต็มที่ แต่ผ่านมาตอนนนี้กลับมาพูดว่าไม่สามารถจัดสรรเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่นได้ เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ถ้าจะพูดถึงการปรับลด หากเป็นตัวเลขที่ 2 แสนล้านบาท แต่ขอปรับลดเหลือแค่ 1.8 แสนล้านบาท ก็คงพอฟังได้
นายเอนก กล่าวอีกว่า หากเศรษฐกิจไม่ดีจริง แต่ทำไมจึงเกิดความแตกต่างกันระหว่างสัดส่วนงบประมาณอื่นที่รัฐบาลส่วนกลางนำไปใช้ กับสัดส่วนทีท้องถิ่นควรจะได้รับตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด สิ่งนี้ทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่จริงใจในเรื่องการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและไม่เข้าใจถึงกเรื่องการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ซึ่งตนอยากเสนอแนวทางที่ 5 เพิ่มให้ว่า รัฐบาลควรโอนงานที่เป็นนโยบายสำคัญกระจายไปให้ส่วนท้องถิ่นโดยเร็ว ยกตัวอย่างเช่น โครงการบ้านเอื้ออาทรที่จะมีการขยายโครงการไปในต่างจังหวัด หากรัฐบาลมอบให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ประโยชน์ก็จะตกอยู่ที่ประชาชนอย่างแท้จริงในการเลือกที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ หรือโครงการอื่น ที่รัฐบาลไม่จำเป็นต้องดำเนินการเองก็ได้
นายเอนก กล่าวด้วยว่า หากมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้เข้ามามียทบาทแล้วก็จะสามารถสร้างรากฐานทางกศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ แต่ที่ผ่านมาเราถูกฝึกให้คิดแบบเดียวกันว่า อะไรที่รัฐบาลส่วนกลางทำแล้วท้องถิ่นก็จะไม่มีบทบาท ทำให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ หวงอำนาจไว้กับตัว ซึ่งขัดกับเจตนารมร์ของรัฐธรรมนูญที่ตค้องการให้การปกครองประเทศเป็นแบบอำนาจรัฐรวมท้องถิ่น ดังนั้นการออกมาส่งสัญญาณถึงการไม่สามารถจัดสรรเงินอุดหนุนดังกล่าวได้ตามสัดส่วนที่กำหนดนั้น จะยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มองค์กรกปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น และโดยส่วนตัวแล้ว ก็ไม่เห็นด้วยหากรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาด้วยการเสนอแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ แต่ฝ่ายค้านคงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะขาดเสียงสนับสนุนในสภาที่มีรัฐบาลกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ทางออกที่พอจะช่วยหยุดรัฐบาลได้คือ การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
(ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์,24/2/2546)--จบ--
-สส-