ตัวแทนสมาคมวิชาชีพสื่อ 3 องค์กร คือ สมาคมวิชาชีพสื่อ สำนักวิชาการ และ
ประชาชน ยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพ สื่อวิทยุ โทรทัศน์
ที่รัฐสภา วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10.30 นาฬิกา นายสมศักดิ์
ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลัง
รับหนังสือคัดค้านจากนายเทพชัย หย่อง อุปนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะ
ตัวแทนสมาคมวิชาชีพสื่อ 3 องค์กร เพื่อส่งต่อไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ในการถอนร่าง
พระราชบัญญัติสภาวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่มีอำนาจในการถอน
ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเป็นผู้มีสิทธิ์เสนอถอนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพียงผู้เดียว
ซึ่งในขณะนี้มีร่างของนายจักรพันธุ์ ยมจินดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย
เพียงร่างเดียวเท่านั้น
ในเรื่องดังกล่าวนี้ตัวแทนสื่อเห็นว่า อำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรการให้
บุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอำนาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ดังนั้นบุคลากรในกิจการวิทยุ
โทรทัศน์จึงสมควรเป็นผู้กำหนดกรอบจรรยาบรรณร่วมกับคณะกรรมการ กสช. ขณะที่พระราชบัญญัติ
สื่อวิทยุโทรทัศน์ที่เสนอโดยพรรคไทยรักไทยในบางมาตรา ได้มอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีเป็น
ผู้แต่งตั้งผู้ประกอบวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เหมือนกับเป็นการให้อำนาจกับ
นักการเมืองเข้าควบคุมการทำงานของสื่อมวลชน ตัวแทนสื่อจึงขอคัดค้านและเรียกร้องให้ถอนร่าง
ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
-------------------------------------------------
ประชาชน ยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพ สื่อวิทยุ โทรทัศน์
ที่รัฐสภา วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10.30 นาฬิกา นายสมศักดิ์
ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลัง
รับหนังสือคัดค้านจากนายเทพชัย หย่อง อุปนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะ
ตัวแทนสมาคมวิชาชีพสื่อ 3 องค์กร เพื่อส่งต่อไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ในการถอนร่าง
พระราชบัญญัติสภาวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์นั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่มีอำนาจในการถอน
ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเป็นผู้มีสิทธิ์เสนอถอนต่อสภาผู้แทนราษฎรเพียงผู้เดียว
ซึ่งในขณะนี้มีร่างของนายจักรพันธุ์ ยมจินดา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย
เพียงร่างเดียวเท่านั้น
ในเรื่องดังกล่าวนี้ตัวแทนสื่อเห็นว่า อำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรการให้
บุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอำนาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ดังนั้นบุคลากรในกิจการวิทยุ
โทรทัศน์จึงสมควรเป็นผู้กำหนดกรอบจรรยาบรรณร่วมกับคณะกรรมการ กสช. ขณะที่พระราชบัญญัติ
สื่อวิทยุโทรทัศน์ที่เสนอโดยพรรคไทยรักไทยในบางมาตรา ได้มอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีเป็น
ผู้แต่งตั้งผู้ประกอบวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เหมือนกับเป็นการให้อำนาจกับ
นักการเมืองเข้าควบคุมการทำงานของสื่อมวลชน ตัวแทนสื่อจึงขอคัดค้านและเรียกร้องให้ถอนร่าง
ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
-------------------------------------------------