แท็ก
อุตสาหกรรม
1. การผลิต
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 เมื่อดูตัวเลข
ทั้งดัชนีผลผลิต , อัตราการใช้กำลังการผลิต และ ปริมาณการผลิต พบว่ามีค่าลดลงโดยที่ปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาส
ที่แล้ว 242,388 ตัน เป็น 233,017 ตัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.86 ( ตารางที่ 1 ) ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการ
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ( Seasonal Changes)
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิต และปริมาณการผลิต
ปี 2544 2545
ไตรมาส 1 2 3 4 1 2 3 4
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 300.9 299.8 301.9 310.8 311.4 284.9 323.3 310.8
อัตราการใช้กำลังการผลิต 98.1 97.7 98.4 101.3 90.9 82.6 94.4 90.7
ปริมาณการผลิต (ตัน) 225,554 224,771 226,306 233,006 233,453 213,568 242,388 233,017
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : - ดัชนีผลผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่ารวมกันเท่ากับร้อยละ 62 ของมูลค่าเพิ่มรวมของประเทศในปี 2538
- อัตราการใช้กำลังการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่าเพิ่มรวมกันเท่ากับร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่ม
รวมภาคอุตสาหกรรมในปี 2538
- ปริมาณการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งกำลังการผลิตรวมกันเท่ากับร้อยละ 75 ของกำลังการผลิตรวมของ
ประเทศ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ รวมทั้งการนำเข้ากระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์กระดาษ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 11.71 และ 2.71 ตามลำดับ (ตารางที่ 2 ) ทั้งนี้เนื่องจากการ
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ( Seasonal Changes ) , ความกังวลว่าจะเกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก ประกอบกับ
ราคาวัตถุดิบในช่วงนั้นมีราคาสูงขึ้น แหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษ และกระดาษที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
สิงค์โปร์ และไต้หวัน
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
ประเภทสินค้า ปี ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ )
43 44 45 2-45 3-45 4-45 ไตรมาส 4/ ไตรมาส 3 ปี 45 / 44
เยื่อกระดาษ และเศษกระดาษ 429.8 299.1 317.3 83.3 73.4 64.8 -11.71 6.08
กระดาษ กระดาษเเข็งและผลิตภัณฑ์ 559.5 536.7 484.8 116.4 121.6 118.3 -2.71 -9.67
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกสำหรับกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2545
พบว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.52 โดยแหล่งส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่สำคัญของไทย ได้แก่ประเทศจีน ฮ่องกง
และ มาเลเซีย ในขณะที่สิ่งพิมพ์และหนังสือในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 มีค่าลดลงถึงร้อยละ 35.7
แหล่งส่งออกสิ่งพิมพ์และหนังสือที่สำคัญของไทย ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ และ สหราชอาณาจักร
ตารางที่ 3 การส่งออกเยื่อกระดาษ และสิ่งพิมพ์ หนังสือ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทสินค้า ปี ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ )
43 44 45 2-45 3-45 4-45 ไตรมาส 4/ ไตรมาส 3 ปี 45 / 44
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 603.1 610.4 625.6 155.4 164.6 167.1 1.52 2.5
สิ่งพิมพ์ และหนังสือ 41.1 48.4 70.7 21.9 22.7 14.6 -35.7 46.1
ที่มา :กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
3. สรุป
สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย
เนื่องจากเป็นการปรับตัวตามฤดูกาล (Seasonal Changes) ประกอบกับภาวะสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกา
และอิรักซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิตลง
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษในช่วงไตรมาสหน้าน่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัว
ดังกล่าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเพียงไรยังขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และผลกระทบ
ภาวะจากเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายใน และต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 เมื่อดูตัวเลข
ทั้งดัชนีผลผลิต , อัตราการใช้กำลังการผลิต และ ปริมาณการผลิต พบว่ามีค่าลดลงโดยที่ปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาส
ที่แล้ว 242,388 ตัน เป็น 233,017 ตัน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.86 ( ตารางที่ 1 ) ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการ
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ( Seasonal Changes)
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิต และปริมาณการผลิต
ปี 2544 2545
ไตรมาส 1 2 3 4 1 2 3 4
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 300.9 299.8 301.9 310.8 311.4 284.9 323.3 310.8
อัตราการใช้กำลังการผลิต 98.1 97.7 98.4 101.3 90.9 82.6 94.4 90.7
ปริมาณการผลิต (ตัน) 225,554 224,771 226,306 233,006 233,453 213,568 242,388 233,017
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : - ดัชนีผลผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่ารวมกันเท่ากับร้อยละ 62 ของมูลค่าเพิ่มรวมของประเทศในปี 2538
- อัตราการใช้กำลังการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่าเพิ่มรวมกันเท่ากับร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่ม
รวมภาคอุตสาหกรรมในปี 2538
- ปริมาณการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งกำลังการผลิตรวมกันเท่ากับร้อยละ 75 ของกำลังการผลิตรวมของ
ประเทศ
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ รวมทั้งการนำเข้ากระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์กระดาษ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 11.71 และ 2.71 ตามลำดับ (ตารางที่ 2 ) ทั้งนี้เนื่องจากการ
เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ( Seasonal Changes ) , ความกังวลว่าจะเกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิรัก ประกอบกับ
ราคาวัตถุดิบในช่วงนั้นมีราคาสูงขึ้น แหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษ และกระดาษที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
สิงค์โปร์ และไต้หวัน
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
ประเภทสินค้า ปี ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ )
43 44 45 2-45 3-45 4-45 ไตรมาส 4/ ไตรมาส 3 ปี 45 / 44
เยื่อกระดาษ และเศษกระดาษ 429.8 299.1 317.3 83.3 73.4 64.8 -11.71 6.08
กระดาษ กระดาษเเข็งและผลิตภัณฑ์ 559.5 536.7 484.8 116.4 121.6 118.3 -2.71 -9.67
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกสำหรับกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2545
พบว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.52 โดยแหล่งส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่สำคัญของไทย ได้แก่ประเทศจีน ฮ่องกง
และ มาเลเซีย ในขณะที่สิ่งพิมพ์และหนังสือในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 มีค่าลดลงถึงร้อยละ 35.7
แหล่งส่งออกสิ่งพิมพ์และหนังสือที่สำคัญของไทย ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ และ สหราชอาณาจักร
ตารางที่ 3 การส่งออกเยื่อกระดาษ และสิ่งพิมพ์ หนังสือ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทสินค้า ปี ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ )
43 44 45 2-45 3-45 4-45 ไตรมาส 4/ ไตรมาส 3 ปี 45 / 44
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 603.1 610.4 625.6 155.4 164.6 167.1 1.52 2.5
สิ่งพิมพ์ และหนังสือ 41.1 48.4 70.7 21.9 22.7 14.6 -35.7 46.1
ที่มา :กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
3. สรุป
สถานการณ์ของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย
เนื่องจากเป็นการปรับตัวตามฤดูกาล (Seasonal Changes) ประกอบกับภาวะสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกา
และอิรักซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิตลง
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษในช่วงไตรมาสหน้าน่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัว
ดังกล่าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเพียงไรยังขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และผลกระทบ
ภาวะจากเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายใน และต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-