กระทรวงอุตสาหกรรม ชูแผนปฎิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมภูมิภาค สร้างจุดเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทั้งระบบ มุ่งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมโดดเด่นในแต่ละภาค พร้อมลุยแผน ปฎิบัติการ อย่างเต็มรูปแบบ พ.ค.นี้
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้รายงานความก้าวหน้า เกี่ยวกับ"โครงการแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค" ว่า เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมรายสาขา โดยได้วางแผนปฎิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนา และสนับสนุนซึ่งกันและกันของภาคอุตสาหกรรม และแผนปฎิบัติการการรวมกลุ่ม อุตสาหกรรม (Cluster) ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้พื้นฐานการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการปฎิบัติงาน (Network) สำหรับหน่วยงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่เป้าหมาย ในภูมิภาค ซึ่งจะสามารถนำแผนปฎิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยคาดว่าจะนำไปสู่แผนปฎิบัติการรายภูมิภาคได้ ในเดือนพฤษภาคม 2546
โครงการแผนปฎิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค นับเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งเพื่อรองรับวิสัยทัศน์ การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ที่ต้องการมุ่งส่งเสริมความร่วมมือและบูรณาการเครือข่ายขององค์กรภาครัฐ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมไทย ในการเผชิญกับการแข่งขันบนเวทีการค้าโลก " นายสมศักดิ์กล่าว
สำหรับกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของแผนปฎิบัติการรายภูมิภาค และกลุ่ม อุตสาหกรรม สามารถแบ่งอุตสาหกรรมในภูมิภาคเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีศักยภาพที่ใช้หลักการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม (Industiral Cluster) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเชื่อมโยงการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน แปรรูปอาหาร พลาสติก เป็นต้น 2. กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการผลิตอยู่ในภูมิภาคที่มีจำนวนประกอบการมาก และเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนหลักเกณฑ์ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อประกอบอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค มุ่งไปที่การใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคคาบสมุทรอาเซียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงมณฑลยูนาน และกว่างสีของประเทศจีน และการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์ตามเมืองที่เป็นประตูทางการค้า(Gateway) ของการเชื่อมโยงภูมิศาสตร์
ทั้งนี้ภายใต้แผนปฎิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในแต่ละภูมิภาค ดังนี้ ภาคเหนือ ประกอบด้วย สิ่งทอ แปรรูปผักและผลไม้ เซรามิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน (เครื่องจักรกลการเกษตร). อัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม (หัตถกรรมเป่าแก้ว หัตถกรรมหินอ่อน) เนื่องจากพบว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้มีศักยภาพทางด้านแรงงาน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านใช้วัตถุดิบในพื้นที่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไม้และเครื่องเรือน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์จากเกลือหิน ผลิตภัณฑ์เอทานอล อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม เนื่องจากพบว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้มีศักยภาพในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีอัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ
ภาคกลาง ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เซรามิกส์ เครื่องหนังและรองเท้า อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ มีช่องทางการขยายตลาดได้ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับอยู่ในพื้นที่มีสาธารณูปโภค พร้อมในการผลิตและส่งออก
ภาคตะวันออก ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหาร (ผลไม้แปรรูป) อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี พลาสติก อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน เหล็กและเหล็กกล้า ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นสินค้าอุปโภค และบริโภคเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับมีเอกลักษณ์การผลิตของสินค้าที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น
ภาคใต้ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง อาหารและอาหารสัตว์ (อาหารฮาลาล, แปรรูปอาหารทะเล) เหล็กและเหล็กกล้า ยานยนต์และชิ้นส่วน (อู่ต่อเรือ ซ่อมเรือ) อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน (ไม้ยางพารา) เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก ประกอบกับมีวัตถุดิบด้านการผลิตของสินค้าต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยง อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้อย่างครบวงจร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้รายงานความก้าวหน้า เกี่ยวกับ"โครงการแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค" ว่า เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากจัดทำแผนแม่บทอุตสาหกรรมรายสาขา โดยได้วางแผนปฎิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนา และสนับสนุนซึ่งกันและกันของภาคอุตสาหกรรม และแผนปฎิบัติการการรวมกลุ่ม อุตสาหกรรม (Cluster) ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้พื้นฐานการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการปฎิบัติงาน (Network) สำหรับหน่วยงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่เป้าหมาย ในภูมิภาค ซึ่งจะสามารถนำแผนปฎิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยคาดว่าจะนำไปสู่แผนปฎิบัติการรายภูมิภาคได้ ในเดือนพฤษภาคม 2546
โครงการแผนปฎิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค นับเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งเพื่อรองรับวิสัยทัศน์ การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ที่ต้องการมุ่งส่งเสริมความร่วมมือและบูรณาการเครือข่ายขององค์กรภาครัฐ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมไทย ในการเผชิญกับการแข่งขันบนเวทีการค้าโลก " นายสมศักดิ์กล่าว
สำหรับกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของแผนปฎิบัติการรายภูมิภาค และกลุ่ม อุตสาหกรรม สามารถแบ่งอุตสาหกรรมในภูมิภาคเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่มีศักยภาพที่ใช้หลักการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม (Industiral Cluster) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเชื่อมโยงการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน แปรรูปอาหาร พลาสติก เป็นต้น 2. กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการผลิตอยู่ในภูมิภาคที่มีจำนวนประกอบการมาก และเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
ส่วนหลักเกณฑ์ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อประกอบอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค มุ่งไปที่การใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคคาบสมุทรอาเซียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงมณฑลยูนาน และกว่างสีของประเทศจีน และการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เป็นยุทธศาสตร์ตามเมืองที่เป็นประตูทางการค้า(Gateway) ของการเชื่อมโยงภูมิศาสตร์
ทั้งนี้ภายใต้แผนปฎิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับภูมิภาค ได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในแต่ละภูมิภาค ดังนี้ ภาคเหนือ ประกอบด้วย สิ่งทอ แปรรูปผักและผลไม้ เซรามิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน (เครื่องจักรกลการเกษตร). อัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม (หัตถกรรมเป่าแก้ว หัตถกรรมหินอ่อน) เนื่องจากพบว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้มีศักยภาพทางด้านแรงงาน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านใช้วัตถุดิบในพื้นที่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไม้และเครื่องเรือน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์จากเกลือหิน ผลิตภัณฑ์เอทานอล อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม เนื่องจากพบว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้มีศักยภาพในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีอัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ
ภาคกลาง ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เซรามิกส์ เครื่องหนังและรองเท้า อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ มีช่องทางการขยายตลาดได้ ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับอยู่ในพื้นที่มีสาธารณูปโภค พร้อมในการผลิตและส่งออก
ภาคตะวันออก ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหาร (ผลไม้แปรรูป) อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี พลาสติก อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน เหล็กและเหล็กกล้า ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมครอบครัวและหัตถกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นสินค้าอุปโภค และบริโภคเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับมีเอกลักษณ์การผลิตของสินค้าที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น
ภาคใต้ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง อาหารและอาหารสัตว์ (อาหารฮาลาล, แปรรูปอาหารทะเล) เหล็กและเหล็กกล้า ยานยนต์และชิ้นส่วน (อู่ต่อเรือ ซ่อมเรือ) อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน (ไม้ยางพารา) เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก ประกอบกับมีวัตถุดิบด้านการผลิตของสินค้าต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยง อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้อย่างครบวงจร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-