ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.หารือหลักการร่วมกับ ก.คลังเกี่ยวกับการออกบาทบอนด์เพื่อไม่ให้กระทบเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ รองผู้ว่าการสาย
เสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการออก พธบ.ในรูปเงินบาท (บาทบอนด์) ที่ ก.คลังเตรียมอนุมัติให้สถาบันการ
เงินระหว่างประเทศ คือ ธ.โลก บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ และ ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย เข้ามาออก พธบ.ในรูปเงินบาทได้ในวงเงินไม่เกิน
10,000 ล.บาท ว่า ในเบื้องต้น ธปท.ได้มีการหารือกับ ก.คลังถึงหลักการของการออก พธบ.ดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย
ระหว่างประเทศ ซึ่งหากการออก พธบ.มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ภายในประเทศสำหรับโครงการพัฒนาประเทศก็เชื่อว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และหากเป็น
การออกตราสารเพื่อใช้ในต่างประเทศ จะมีเงื่อนไขให้ผู้ออกทำสวอปเงินสกุลบาทเป็นสกุลต่างประเทศก่อน เพื่อให้การนำเงินออกมีช่องทางนำเงินกลับ
ในจำนวนเท่าๆ กัน อีกทั้งจะควบคุมวงเงินไม่ให้มากจนกระทบการออกตราสารของภาคเอกชน (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
2. ธปท.ชี้แจง การปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากของ ธพ.เป็นไปตามการแข่งขัน รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการที่ ธพ.ทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก โดยไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ว่า เป็นไปตามการแข่งขัน ซึ่งกลไกของตลาด
จะทำงานให้ดอกเบี้ยปรับตามความเหมาะสม สำหรับในส่วนของ ธปท.จะพิจารณาเฉพาะดอกเบี้ยนโยบายหรือดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี)
ประเภท 14 วันเท่านั้น ทั้งนี้ ธพ.ที่มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากได้แก่ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.ทหารไทย ส่วน ธ.กรุงเทพ และ
ธ.กรุงไทย อยู่ระหว่างการพิจารณา (มติชน, โลกวันนี้)
3. สถานการณ์ความไม่แน่นอนจากสงครามอิรักส่งผลให้ยอดสั่งซื้อสินค้าจากสหรัฐและยุโรปลดลง รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนที่จะเกิดสงครามอิรัก ได้ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 46
จากกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯ ลดลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ ลดลงถึง 50% ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากคือ กลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม
นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบให้ค่าประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าพลังงาน ปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อเนื่องถึงวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหลายประเภท
ปรับเพิ่มขึ้น (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. เดือน ก.พ.46 กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีสูงกว่าประมาณการ 14.98% อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีประจำเดือน
ก.พ.46 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 42,947 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,164 ล.บาท หรือ 16.76% และสูงกว่าประมาณการ
5,594 ล.บาท หรือ 14.98% เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ประกอบกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี (แนวหน้า, มติชน)
5. ก.คลังพิจารณาผลกระทบการยกเว้นภาษีเงินปันผลที่จัดเก็บซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้นิติบุคคล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่าง
การพิจารณายกเว้นภาษีสำหรับเงินปันผลที่มีการจัดเก็บซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งแม้จะเป็นแนวทางที่มีประโยชน์ต่อนักลงทุน แต่คงต้องพิจารณา
ถึงความจำเป็นในการใช้เงินของรัฐบาลเป็นหลัก หากลดหรือยกเว้นภาษีแล้วไม่กระทบต่อ งปม.ของประเทศ ก็อาจจะพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ภาษี
ดังกล่าว (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. เพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 10 มี.ค.46 รัฐบาล สรอ. เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบสำรองเมื่อสิ้น
สุดสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.พ. 46 ว่ามีปริมาณ 273.6 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.70 ล้านบาร์เรล และจากผลสำรวจของรอยเตอร์นักวิเคราะห์
เชื่อว่า การสูงขึ้นของปริมาณน้ำมันดิบสำรองของ สรอ. เนื่องจากปริมาณนำเข้าน้ำมันมากขึ้น ทำให้น้ำมันที่กลั่นแล้วเพิ่มขึ้นแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้
อุปทานน้ำมันดิบลดลง คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบสำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มี.ค. จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านบาร์เรล ขณะที่น้ำมันที่กลั่นแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.7 และหากเป็นไปตามคาด อุปทานน้ำมันของประเทศจะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 และจะสูงกว่าระดับ 269.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งจะส่งผลให้
สต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์สิ้นสุด 7 ก.พ. ทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 18 เป็นผลให้ผู้กลั่นน้ำมัน สรอ.เริ่มสะสมน้ำมันดิบสำหรับการผลิตในอนาคต ขณะนี้
อุตสาหกรรมน้ำมันกำลังเผชิญภาวะวิกฤตน้ำมันจากความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะสงครามระหว่าง สรอ. และอิรัก ขณะเดียวกันประเทศเวเนซุ
เอลาซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 5 และส่งน้ำมันให้ สรอ. ถึงร้อยละ 13 ของปริมาณการผลิตน้ำมันรายวัน ก็พยายามเพิ่ม
การผลิตและส่งออกหลังจากประสบปัญหาผลผลิตน้ำมันลดลงจากการหยุดงานประท้วงของคนงานมาตั้งเต่เดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว(รอยเตอร์)
2. เยอรมนีอาจจะใช้เงินจำนวน 15 พัน ล.ยูโรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 11 มี.ค. 46 นรม. ของ
เยอรมนีกล่าวต่อที่ประชุมพรรคสังคมประชาธิปไตยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลมีโครงการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะให้เงินกู้
ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 7.5 พัน ล. ยูโร ช่วยเหลือภาคการก่อสร้างที่อ่อนตัวลงเพื่อใช้ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน และต้องใช้
เงินอีก 7.5 พัน ล. ยูโร เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่นที่ขาดแคลนเงินสด ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการช่วยเหลือโดยตรงจำนวน 2 พัน ล. ยูโร
ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้แทนราษฎรบางส่วนได้เผยแพร่งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการลดการก่อหนี้สาธารณะ ซึ่งหากเป็นไปได้จะ
เป็นการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 11 มี.ค. 46
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงของญี่ปุ่นสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 45 (ต.ค.-ธ.ค.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อ
เทียบจากไตรมาสก่อน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ สำหรับตัวเลขตลอดปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี และเป็นไปตาม
ที่คาดการณ์ไว้ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรายจ่ายลงทุนในไตรมาสที่ 4 ปี 45 ที่ระดับร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน นับว่าดีกว่าที่
ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 1 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ก.พ. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 มี.ค. 46
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ก.พ. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบจากปีก่อน และในช่วง
2 เดือนแรกของปี 46 (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งสูงกว่าปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 2 หมวดอุตสาห
กรรมหลัก คือ 1) หมวดโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) หมวดการขนส่ง สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. 46
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบต่อปี และตลอดปี 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จีนยังไม่มีการตั้งเป้าหมายการเติบโตอย่างเป็น
ทางการสำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของปี 46 แต่ได้คาดการณ์ว่าอาจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในปี 46 (รอยเตอร์)
5. บริษัทด้านการสื่อสารรายใหญ่ที่สุดของอาร์เจนตินาต้องขาดทุนเป็นจำนวนมากในปี 45 หลังการลดค่าเงินเปโซ รายงานจาก
บูเอโนไอเรสเมื่อ 10 มี.ค.46 Telecom Argentina บริษัทด้านการสื่อสารอันดับหนึ่งของอาร์เจนตินาเปิดเผยว่า ปี 45 บริษัทฯ ต้องขาดทุน
เป็นจำนวนเงิน 4.35 พัน ล. เปโซ (1.38 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากการลดค่าเงินเปโซอย่างมากในช่วงต้นปี หลังจากบริษัทฯ มี
กำไรในปี 44 เป็นจำนวน 99 ล้านเปโซ โดยค่าเงินเปโซลดลงถึงร้อยละ 70 เมื่อเทียบต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. นับตั้งแต่มีการลดค่าเงินใน
เดือน ม.ค. 45 โดยบริษัทหลายแห่งที่ให้บริการโทรศัพท์ซึ่งมีหนี้สินที่เป็นเงินดอลลาร์จำนวนมากไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอาร์เจนตินาให้ปรับ
เพิ่มอัตราค่าบริการ และขณะนี้ Telecom Argentina ก็อยู่ในสภาพเดียวกับบริษัทอื่น ๆ คือ ไม่สามารถชำระหนี้สินในปีที่ผ่านมาเนื่องจากผล
ของลดค่าเงินเปโซ อนึ่ง Telecom Argentina อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของบริษัทแม่โดยมี France Telecom และ Telecom Italia
เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วนที่เท่ากัน(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 มี.ค. 46 10 มี.ค. 46 27 ธ.ค.45 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) - 42.46 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) - 42.2608/42.5726 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 1.6875 -1.7500 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 353.29/3.43 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,050/7,150 7,050/7,150 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.49 30.75 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99/14.79 16.99/14.79 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.หารือหลักการร่วมกับ ก.คลังเกี่ยวกับการออกบาทบอนด์เพื่อไม่ให้กระทบเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ รองผู้ว่าการสาย
เสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการออก พธบ.ในรูปเงินบาท (บาทบอนด์) ที่ ก.คลังเตรียมอนุมัติให้สถาบันการ
เงินระหว่างประเทศ คือ ธ.โลก บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ และ ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย เข้ามาออก พธบ.ในรูปเงินบาทได้ในวงเงินไม่เกิน
10,000 ล.บาท ว่า ในเบื้องต้น ธปท.ได้มีการหารือกับ ก.คลังถึงหลักการของการออก พธบ.ดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย
ระหว่างประเทศ ซึ่งหากการออก พธบ.มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ภายในประเทศสำหรับโครงการพัฒนาประเทศก็เชื่อว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และหากเป็น
การออกตราสารเพื่อใช้ในต่างประเทศ จะมีเงื่อนไขให้ผู้ออกทำสวอปเงินสกุลบาทเป็นสกุลต่างประเทศก่อน เพื่อให้การนำเงินออกมีช่องทางนำเงินกลับ
ในจำนวนเท่าๆ กัน อีกทั้งจะควบคุมวงเงินไม่ให้มากจนกระทบการออกตราสารของภาคเอกชน (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
2. ธปท.ชี้แจง การปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากของ ธพ.เป็นไปตามการแข่งขัน รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการที่ ธพ.ทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก โดยไม่ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ว่า เป็นไปตามการแข่งขัน ซึ่งกลไกของตลาด
จะทำงานให้ดอกเบี้ยปรับตามความเหมาะสม สำหรับในส่วนของ ธปท.จะพิจารณาเฉพาะดอกเบี้ยนโยบายหรือดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี)
ประเภท 14 วันเท่านั้น ทั้งนี้ ธพ.ที่มีการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากได้แก่ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ ธ.ทหารไทย ส่วน ธ.กรุงเทพ และ
ธ.กรุงไทย อยู่ระหว่างการพิจารณา (มติชน, โลกวันนี้)
3. สถานการณ์ความไม่แน่นอนจากสงครามอิรักส่งผลให้ยอดสั่งซื้อสินค้าจากสหรัฐและยุโรปลดลง รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนที่จะเกิดสงครามอิรัก ได้ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 46
จากกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯ ลดลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ ลดลงถึง 50% ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากคือ กลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม
นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบให้ค่าประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าพลังงาน ปรับเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อเนื่องถึงวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหลายประเภท
ปรับเพิ่มขึ้น (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. เดือน ก.พ.46 กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีสูงกว่าประมาณการ 14.98% อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีประจำเดือน
ก.พ.46 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 42,947 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,164 ล.บาท หรือ 16.76% และสูงกว่าประมาณการ
5,594 ล.บาท หรือ 14.98% เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ประกอบกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี (แนวหน้า, มติชน)
5. ก.คลังพิจารณาผลกระทบการยกเว้นภาษีเงินปันผลที่จัดเก็บซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้นิติบุคคล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่าง
การพิจารณายกเว้นภาษีสำหรับเงินปันผลที่มีการจัดเก็บซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งแม้จะเป็นแนวทางที่มีประโยชน์ต่อนักลงทุน แต่คงต้องพิจารณา
ถึงความจำเป็นในการใช้เงินของรัฐบาลเป็นหลัก หากลดหรือยกเว้นภาษีแล้วไม่กระทบต่อ งปม.ของประเทศ ก็อาจจะพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ภาษี
ดังกล่าว (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. เพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 10 มี.ค.46 รัฐบาล สรอ. เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบสำรองเมื่อสิ้น
สุดสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.พ. 46 ว่ามีปริมาณ 273.6 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.70 ล้านบาร์เรล และจากผลสำรวจของรอยเตอร์นักวิเคราะห์
เชื่อว่า การสูงขึ้นของปริมาณน้ำมันดิบสำรองของ สรอ. เนื่องจากปริมาณนำเข้าน้ำมันมากขึ้น ทำให้น้ำมันที่กลั่นแล้วเพิ่มขึ้นแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้
อุปทานน้ำมันดิบลดลง คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบสำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มี.ค. จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ล้านบาร์เรล ขณะที่น้ำมันที่กลั่นแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.7 และหากเป็นไปตามคาด อุปทานน้ำมันของประเทศจะเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 และจะสูงกว่าระดับ 269.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งจะส่งผลให้
สต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์สิ้นสุด 7 ก.พ. ทำระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 18 เป็นผลให้ผู้กลั่นน้ำมัน สรอ.เริ่มสะสมน้ำมันดิบสำหรับการผลิตในอนาคต ขณะนี้
อุตสาหกรรมน้ำมันกำลังเผชิญภาวะวิกฤตน้ำมันจากความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะสงครามระหว่าง สรอ. และอิรัก ขณะเดียวกันประเทศเวเนซุ
เอลาซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 5 และส่งน้ำมันให้ สรอ. ถึงร้อยละ 13 ของปริมาณการผลิตน้ำมันรายวัน ก็พยายามเพิ่ม
การผลิตและส่งออกหลังจากประสบปัญหาผลผลิตน้ำมันลดลงจากการหยุดงานประท้วงของคนงานมาตั้งเต่เดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว(รอยเตอร์)
2. เยอรมนีอาจจะใช้เงินจำนวน 15 พัน ล.ยูโรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 11 มี.ค. 46 นรม. ของ
เยอรมนีกล่าวต่อที่ประชุมพรรคสังคมประชาธิปไตยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลมีโครงการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะให้เงินกู้
ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 7.5 พัน ล. ยูโร ช่วยเหลือภาคการก่อสร้างที่อ่อนตัวลงเพื่อใช้ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน และต้องใช้
เงินอีก 7.5 พัน ล. ยูโร เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่นที่ขาดแคลนเงินสด ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการช่วยเหลือโดยตรงจำนวน 2 พัน ล. ยูโร
ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้แทนราษฎรบางส่วนได้เผยแพร่งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการลดการก่อหนี้สาธารณะ ซึ่งหากเป็นไปได้จะ
เป็นการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 11 มี.ค. 46
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงของญี่ปุ่นสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 45 (ต.ค.-ธ.ค.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อ
เทียบจากไตรมาสก่อน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ สำหรับตัวเลขตลอดปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี และเป็นไปตาม
ที่คาดการณ์ไว้ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรายจ่ายลงทุนในไตรมาสที่ 4 ปี 45 ที่ระดับร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน นับว่าดีกว่าที่
ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 1 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ก.พ. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 11 มี.ค. 46
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ก.พ. 46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบจากปีก่อน และในช่วง
2 เดือนแรกของปี 46 (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งสูงกว่าปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 2 หมวดอุตสาห
กรรมหลัก คือ 1) หมวดโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) หมวดการขนส่ง สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. 46
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบต่อปี และตลอดปี 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จีนยังไม่มีการตั้งเป้าหมายการเติบโตอย่างเป็น
ทางการสำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของปี 46 แต่ได้คาดการณ์ว่าอาจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในปี 46 (รอยเตอร์)
5. บริษัทด้านการสื่อสารรายใหญ่ที่สุดของอาร์เจนตินาต้องขาดทุนเป็นจำนวนมากในปี 45 หลังการลดค่าเงินเปโซ รายงานจาก
บูเอโนไอเรสเมื่อ 10 มี.ค.46 Telecom Argentina บริษัทด้านการสื่อสารอันดับหนึ่งของอาร์เจนตินาเปิดเผยว่า ปี 45 บริษัทฯ ต้องขาดทุน
เป็นจำนวนเงิน 4.35 พัน ล. เปโซ (1.38 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากการลดค่าเงินเปโซอย่างมากในช่วงต้นปี หลังจากบริษัทฯ มี
กำไรในปี 44 เป็นจำนวน 99 ล้านเปโซ โดยค่าเงินเปโซลดลงถึงร้อยละ 70 เมื่อเทียบต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. นับตั้งแต่มีการลดค่าเงินใน
เดือน ม.ค. 45 โดยบริษัทหลายแห่งที่ให้บริการโทรศัพท์ซึ่งมีหนี้สินที่เป็นเงินดอลลาร์จำนวนมากไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอาร์เจนตินาให้ปรับ
เพิ่มอัตราค่าบริการ และขณะนี้ Telecom Argentina ก็อยู่ในสภาพเดียวกับบริษัทอื่น ๆ คือ ไม่สามารถชำระหนี้สินในปีที่ผ่านมาเนื่องจากผล
ของลดค่าเงินเปโซ อนึ่ง Telecom Argentina อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของบริษัทแม่โดยมี France Telecom และ Telecom Italia
เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วนที่เท่ากัน(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 มี.ค. 46 10 มี.ค. 46 27 ธ.ค.45 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) - 42.46 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) - 42.2608/42.5726 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 1.6875 -1.7500 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 353.29/3.43 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,050/7,150 7,050/7,150 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.49 30.75 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99/14.79 16.99/14.79 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-