ประเทศไทยเอง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs ภาครัฐบาลและภาคเอกชน จึงได้วางนโยบายร่วมกันในอันที่จะทำให้ภาครัฐบาลและภาคเอกชนจึงได้วางนโยบายร่วมกันในอันที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มในประเทศสูง เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ และอุตสาหกรรมที่ใช้หรือผลิตชิ้นส่วนในประเทศจำนวนมาก รวมทั้งเน้นการให้คำปรึกษาแบบเบ็ดเสร็จทั้งการผลิต การตลาด การจัดส่ง และจัดการ รวมทั้งมุ่งเพิ่มขีดความสามารถและบทบาทของสถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะด้านตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของภาครัฐบาล
สถาบันอิสระทั้งหมดนี้ จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา วิจัยพัฒนา การเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล การจัดทำข้อมูล การพัฒนา การเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล การจัดทำข้อมูล การพัฒนาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น
สถาบันไทย | เยอรมัน
สถาบันทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง
บนความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของ 4 ฝ่าย อันประกอบด้วยรัฐบาลไทย รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ภาคเอกชนไทย และธนาคาร KfW ของประเทศเยอรมัน ทำให้สถาบันไทยเยอรมัน ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2538 โดยมีเป้าหมายเพื่อ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ธุรกิจอุตสาหกรรม โดยวิศวกรที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม มีตำราและหลักสูตรเป็นระดับสากล โดยนำมาสร้างและปรับให้เหมาะกับคนไทย และมีแบบฝึกหัดจริงที่ใช้อยู่ตามโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้อุปกรณ์การเรียนที่เป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยที่ใช้อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม
ในการฝึกปฏิบัติ จะให้มีการลงมือฝึกปฏิบัติจริง โดยการฝึกกับเครื่องจักรจริงที่ใช้ในโรงงาน และนำงานที่ทำอยู่มาเป็นแบบฝึกหัด โดยหลักสูตรเหมาะกับผู้ที่ต้องการยกระดับความรู้ ความสามารถของตนเองด้วยหลักสูตรแบบ “โมดูล” คือในแต่ละโมดูล จะเป็นความรู้และทักษะที่มีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จในตัว ซึ่งแต่ละโมดูลจะต่อเนื่องไปตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง
ในการฝึกอบรมนั้น จะเป็นการฝึกอบรมควบนิสัยอุตสาหกรรม โดยมีการแทรกการฝึกอบรมในการเพิ่มทัศนคติและนิสัยที่ดีในการทำงานอุตสาหกรรมไปด้วย เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
3 หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิต
สถาบันไทย-เยอรมัน ได้มีการแบ่งสาขาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตออกเป็น 3 สาขา คือ
-หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automatic Technology) ซึ่งเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ช่วยในการผลิต และการทำงาน เป็นระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ เช่น การควบคุมเครื่องจักรหรือกลไกโดยใช้ Programable Logic Cotroller (PLC) การใช้ระบบนิวเมติกหรือไฮดรอลิก การใช้มอเตอร์และควบคุมมอเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาพื้นฐานและการประยุกต์ใช้งนของไมโครอิเล็กทรอนิกส์ การใช้และควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในงานผลิต เป็นต้น
-หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยี CNC และ CAD/CAM (CNC & CAD/CAM Technology) ในสาขานี้จะครอบคลุมไปถึงการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร การควบคุมคุณภาพชิ้นงาน การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (CAM) การควบคุมเครื่องกลึง CNC การควบคุมเครื่องกัด การตัดโลหะแผนด้วยเลเซอร์ การควบคุมคุณภาพ การทดสอบวัสดุ การอบชุบโลหะ เป็นต้น
-หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีแม่พิมพ์ (Tool & Die Technology) ซึ่งจะให้บริการลูกค้าด้านหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานแม่พิมพ์พลาสติก และแม่พิมพ์โลหะ ตลอดจนด้านการผลิต โดยรับทำโครงการอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนเครื่องมือกลที่มีความเที่ยงขนาดสูงตามแบบที่ต้องการ การสร้าง JIG และ Fixture แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก และแม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะคุณภาพสูง
ปัจจุบันสถาบันฯ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นห้องทดลอง ห้องปฏิบัติงาน หอพัก ห้องสมุด เทคโนโลยี ห้องประชุม พื้นที่จัดนิทรรศการ โรงอาหาร รวมทั้งสถานที่ออกกำลังกายพร้อมสรรพ
สถาบันยานยนต์
สถาบันยานยนต์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและการประสานงานระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงมีกิจกรรมต่างๆ มากหมาย โดยมีบริการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการพัฒนาบุคลากรยานยนต์ รวมทั้งให้บริการด้านการตรวจสอบ ทดสอบ และให้การรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ซึ่งการตรวจสอบและทดสอบนี้ จะดำเนินการที่ศูนย์ทดสอบของสถาบันยานยนต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
สถาบันอาหาร
สถาบันอาหาร เป็นแกนนำในการส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และมุ่งสูความสำเร็จในการยกระดับมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก
ทั้งนี้ ภารกิจของสถาบันคือ
-ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือและภูมิปัญญาระหว่างภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐบาลในการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคในเชิงเทคนิค วิชาการ และเชิงนโยบาย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคด้านอื่นๆ
-ให้บริการสนับสนุนเทคนิคและวิชาการ อันได้แก่ การให้คำปรึกษาทางเทคนิคในการยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพ และในการเจรจายุติข้อพิพาทกับประเทศคู่ค้า และแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า รวมถึงการให้คำแนะนำในเรื่องการเข้าสู่ระบบมาตรฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาระบบคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งระบบ และการให้บริการด้านข้อมูลการฝึกอบรม และการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
-เป็นหน่วยงานชำนาญการด้านการศึกษาวิจัยทางเทคนิคและการวิจัยเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรฐานอาหารโลก สำหรับการแข่งขันเชิงคุณภาพในตลาดโลก รวมทั้งการศึกษาเชิงนโยบาย พร้อมทั้งรายงาน และเสนอแนะ เพื่อนำกลยุทธ์ต่างๆ เสนอต่อภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
บทบาทของสถาบันอาหาร จะเน้นการบริการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศในระยะยาว ได้แก่ ให้บริการทางวิชาการ การจัดทำระบบคุณภาพ HACCP ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งจัดอบรมสัมมนาความรู้ทางวิชาการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนให้บริการทดสอบ และตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ผลักดันให้เกเดการเปลี่ายนแปลงด้านการผลิตและอุตสาหกรรมการเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมต่อกระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมได้
นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินการร่วมมือกับสถาบันที่มีศักยภาพเพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาด้านรูปแบบ รสชาติ การบรรจุหีบห่อ การสร้างภาพลักษณ์ในการพัฒนาและใช้ตราสินค้าของไทย รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้ SMEs เพื่อเป็นฐานในการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
สถานที่ติดต่อ 539/2 อาคารมหานครยิปซั่ม ชั้น 11 ถนนศรีอยุธยา แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร.642-5335-40 แฟ็กซ์ 642-5342 หรือ web site www.nfi.or.th
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สถาบันไฟฟ้าฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก โดยภาระหน้าที่ของสถาบันฯ คือ เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ดำเนินกิจกรรมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสรรคที่เกิดขึ้น
บทบาทในการดำเนินการ คือ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งสถาบันฯ ได้กำหนดบทบาทการดำเนินการไว้ 6 ด้าน คือ
-งานด้านศูนย์ทดสอบ บริการด้านทดผลิตภัณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของไทยและต่างประเทศ
-งานด้านนโยบายและแผนโดยการศึกษาวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการกำหนดนโยบายและแผน และมาตรการในการพัฒนา
-งานด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยการประสานความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการหรือแผนงานร่วมกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-งานด้านบริการธุรกรรม โดยการจัดตั้งศูนย์ธุรกรรมเพื่อให้บริการในการปล่อยสินค้าและซื้อขายแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
-งานด้านสารสนเทศ จัดทำระบบ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทางด้านการผลิต การค้า การตลาด และข้อตกลงระหว่างประเทศ
-งานด้านวิชาการโดยการจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อทำการฝึกอบรม/สัมมนา และการให้คำปรึกษาแนะนำ รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สิทธิพิเศษของสมาชิกสถาบันฯ
-รับสิทธิประโยชน์ในธุรกรรม และในการขอสนับสนุน การซื้อขายแลกชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ
-ได้รับวารสารราย 3 เดือน รวมทั้ง EEI News ราย 2 เดือน
-การเข้าร่วมสัมมนาพิเศษและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
-รับส่วนลดค่าลงทะเบียนการอบรมหลักสูตรสัมมนาของสถาบันราคาสมาชิก
-การใช้ห้องสมุดสถาบัน วิดีโอเทป เทปคาสเซ็ท
-การรับส่วนลดในการสั่งซื้อหนังสือวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์
-การเผยแพร่รายชื่อและข่าวสารธุรกิจการค้าของบริษัทสมาชิกใน web site ของสถาบันฯ
-การได้รับข่าวสารข้อมูล เอกสารทางวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
-การเข้าร่วมกิจกรรมจัดเยี่ยมชมโรงงาน ระหว่างสมาชิกด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-การขอรับบริการอื่นๆ ที่สถาบันฯ จัดดำเนินการเพื่อสมาชิก
สถานที่ติดต่อ สำนักงานอำนวยการ ชั้น 6 อาคารกรมโรงงาน (เดิม) 57 ถนนพระสุเมรุ (บางลำพู) เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร.280-7272 แฟ็กซ์ 280-7277
E-mail : general@thaieei.com web site www.thaieei.com
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นศูนย์การในการดำเนินงานพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศไทย ทั้งระบบให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสามารถปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบให้เข้าสู่ความเป็นประเทศผู้ผลิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการตลาด แทนการเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำเป็นหลัก และเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอให้เข้าสู่ยุคของการสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้กรอบของระบบการค้าเสรี
แนวทางดำเนินงาน
-การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนการใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมแทนเครื่องจักรเดิม
-การบริหารคุณภาพเพื่อประสานให้อุตสาหกรรมสิ่งทอเข้าสู่การรับรองมาตรฐานสากลในระบบ ISO โดยเร็วที่สุด
-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถทุกระดับ
-การสร้างความสำพันธ์ทางธุรกิจและวิชาการกับต่างประเทศ
-การเตรียมดำเนินการและประสานงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ระบบอุตสาหกรรมสิ่งทอ
การบริการ
-การประกาศซื้อขายสินค้าและวัตถุดิบผ่านทาง web site
-การรับข้อมูลประกาศซื้อขายอัตโนมัติ
-บริการจัดทำ Hompage สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกและสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ด้วยตนเอง
-บริการคู่มืออิเล็กทรอนิกส์การทำธุรกิจสิ่งทอ
-ศูนย์กลางระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
-ข้อมูลข่าวสารสิ่งทอและสถิติสิ่งทอ
-การวิเคราะห์ทดสอบ Eco Textile Lab โดยสถาบันฯ ได้ตั้งห้องปฏิบัติการ “Eco-Textile ” ขึ้นเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือในด้านการวิเคราะห์ ทดสอบสารตกค้างบนผลิตภัณฑ์สิ่งทอแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยมีเครื่องมืออันทันสมัย
-การฝึกอบรมสัมมนา เพื่อการยกระดับความรู้ความเข้าใจ และความสามารถทั้งในระดับพนักงาน เจ้าหน้าที่เทคนิค และผู้บริหารกิจการ โดยจัดให้มีการฝึกอบรม สัมมนาประชุม และการให้การศึกษาหลักสูตรต่างๆ เช่น Internet, Benchmarking, Supply Chain Management ฯลฯ
-บริการด้านพัฒนาระบบคุณภาพ ISO 9000/14000 และ Clean Technology
สถานที่ติดต่อ ซอยตรีมิต กล้วน้ำไท ถนนพระราม 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร.713-5492-9 แฟ็กซ์ 712-1592-3 web site : www.thaitextile.org E-mail : info@thaitextile.org.
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสไอ. (สรอ.)
เนื่องจากมาตรฐาน ISO เป็นมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับและนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เดิมสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่ให้การรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 และ มอก.18000 แต่ปัจจุบัน สรอ.ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรองระบบงาน (Accrediation Agency) โดยมีภารกิจหลัก คือ
-ให้มีการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 มอก.18000 และมาตรฐานระบบอื่นๆ
-ตรวจติดตามผลเพื่อรักษาคุณภาพของการรับรองของลูกค้าที่ได้รับการรับรองแล้ว
-พัฒนาบุคลากรด้านการประเมิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคปฏิบัติ ตามมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 มอก.18000 และมาตรฐานระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานสากล
-เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้านการรับรอง ISO 9000 ISO 14000 และมาตรฐานระบบการจัดการสุขอนามัย และความปลอดภัยขององค์กรระดับสากลและภูมิภาค เช่น ISO APEC และ ASEAN
-ประสานงานความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทั้งทางด้านเทคนิควิชาการ และนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรอง
-เข้าร่วมในการพัฒนาปรับปรุงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ขั้นตอนวิธีการรับรอง บุคลากร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
-ความสะดวกรวดเร็วด้านการประเมิน และมีคุณภาพ
-ให้บริการหลังการรับรองระบบ ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
-ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อของลูกค้าให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับทราบเพื่อเป็นการช่วยขยายโอกาสทางการตลาดให้กับลูกค้าอีกทางหนึ่ง
-ลูกค้า สรอ.จะได้รับทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวในวงการมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ผู้ได้รับการรับรองจาก สรอ.จะได้รับสิทธิตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เช่นเกียวกับที่เคยได้รับจาก สมอ.ทุกประการ และยังมีมาตรการจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดเงื่อนไขการให้การส่งเสริม สำหรับผู้ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการลงทุนใหม่ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นไป ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9000 ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่เปิดดำเนินการ
สถานที่ติดต่อ ชั้น 11 อาคารยาคูลท์ 1025 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 617-1727 แฟ็กซ์ 617-1708-9 web site www.masci.or.th
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแหล่งชาติ เป็นหน่วยงานการรณรงค์เรื่องการเพิ่มผลผลิต ชี้นำ ประสานงาน ส่งเสริม และพัฒนาการเพิ่มผลผลิตทุกสาขาอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์รวมความรู้ข้อมูลด้านการเพิ่มผลผลิตทุกสาขาอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์รวมความรู้ข้อมูลด้านการเพิ่มผลผลิตที่ทันสมัย เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
กิจกรรมการให้บริการ ประกอบด้วย
-สถาบันฯ มีบริการฝึกอบรมและปรึกษาแนะนำแก่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการในด้านต่างๆ ดังนี้
+ด้านการเพิ่มผลผลิต ในเรื่องการบริหาร การวัดวิเคราะห์ รวมทั้งเทคนิควิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิต
+ด้าน ISO 9000 QS 9000 และ ISO 14000
+ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตโดยการกระตุ้น รณรงค์สร้างจิตสำนึกเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
+จัดศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ
+ผลิตสื่อวิชาการต่างๆ
+ประชาสัมพันธ์แนวคิดและทัศนคติของการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
+จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อกระตุ้นความรู้ความเข้าใจเรื่องการเพิ่มผลผลิต
-ดำนินการศึกษาวิจัย รวมทั้งพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการเพิ่มผลผลิตของชาติ
-ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของสถาบันฯ จัดหาหนังสือ ตำรา และวิดีทัศน์ไว้บริการสมาชิก โดยให้บริการ online ตลอด 24 ชั่วโมง
-สถาบันมีแผนกวิเทศสัมพันธ์ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานประสานการปฏิบัติการตามแผนงานและกิจกรรมต่างๆ ของการเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย
-โครงการ “คิดไม่ออกบอกสถาบัน” เพื่อให้ผู้ใช้ผู้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สถานที่ติดต่อ ชั้น 19-20 อาคารเอ็กซิม 1193 ถนนพหลโยธิน พญาไท กรุงเทพฯ 10400โทร.272-4033 (10 หมายเลข) แฟ็กซ์ 271-3005, 271-3007, 271-0514 และ 617-2302
เว็บไซต์ www.ftpi.or.th E-mail : info@ftpi.or.th
--วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2544--
สถาบันอิสระทั้งหมดนี้ จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา วิจัยพัฒนา การเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล การจัดทำข้อมูล การพัฒนา การเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล การจัดทำข้อมูล การพัฒนาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น
สถาบันไทย | เยอรมัน
สถาบันทรัพยากรมนุษย์ด้านเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง
บนความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของ 4 ฝ่าย อันประกอบด้วยรัฐบาลไทย รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ภาคเอกชนไทย และธนาคาร KfW ของประเทศเยอรมัน ทำให้สถาบันไทยเยอรมัน ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2538 โดยมีเป้าหมายเพื่อ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ธุรกิจอุตสาหกรรม โดยวิศวกรที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม มีตำราและหลักสูตรเป็นระดับสากล โดยนำมาสร้างและปรับให้เหมาะกับคนไทย และมีแบบฝึกหัดจริงที่ใช้อยู่ตามโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้อุปกรณ์การเรียนที่เป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยที่ใช้อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม
ในการฝึกปฏิบัติ จะให้มีการลงมือฝึกปฏิบัติจริง โดยการฝึกกับเครื่องจักรจริงที่ใช้ในโรงงาน และนำงานที่ทำอยู่มาเป็นแบบฝึกหัด โดยหลักสูตรเหมาะกับผู้ที่ต้องการยกระดับความรู้ ความสามารถของตนเองด้วยหลักสูตรแบบ “โมดูล” คือในแต่ละโมดูล จะเป็นความรู้และทักษะที่มีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จในตัว ซึ่งแต่ละโมดูลจะต่อเนื่องไปตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง
ในการฝึกอบรมนั้น จะเป็นการฝึกอบรมควบนิสัยอุตสาหกรรม โดยมีการแทรกการฝึกอบรมในการเพิ่มทัศนคติและนิสัยที่ดีในการทำงานอุตสาหกรรมไปด้วย เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
3 หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิต
สถาบันไทย-เยอรมัน ได้มีการแบ่งสาขาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตออกเป็น 3 สาขา คือ
-หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automatic Technology) ซึ่งเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ช่วยในการผลิต และการทำงาน เป็นระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ เช่น การควบคุมเครื่องจักรหรือกลไกโดยใช้ Programable Logic Cotroller (PLC) การใช้ระบบนิวเมติกหรือไฮดรอลิก การใช้มอเตอร์และควบคุมมอเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาพื้นฐานและการประยุกต์ใช้งนของไมโครอิเล็กทรอนิกส์ การใช้และควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในงานผลิต เป็นต้น
-หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยี CNC และ CAD/CAM (CNC & CAD/CAM Technology) ในสาขานี้จะครอบคลุมไปถึงการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร การควบคุมคุณภาพชิ้นงาน การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต (CAM) การควบคุมเครื่องกลึง CNC การควบคุมเครื่องกัด การตัดโลหะแผนด้วยเลเซอร์ การควบคุมคุณภาพ การทดสอบวัสดุ การอบชุบโลหะ เป็นต้น
-หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีแม่พิมพ์ (Tool & Die Technology) ซึ่งจะให้บริการลูกค้าด้านหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานแม่พิมพ์พลาสติก และแม่พิมพ์โลหะ ตลอดจนด้านการผลิต โดยรับทำโครงการอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนเครื่องมือกลที่มีความเที่ยงขนาดสูงตามแบบที่ต้องการ การสร้าง JIG และ Fixture แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก และแม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะคุณภาพสูง
ปัจจุบันสถาบันฯ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นห้องทดลอง ห้องปฏิบัติงาน หอพัก ห้องสมุด เทคโนโลยี ห้องประชุม พื้นที่จัดนิทรรศการ โรงอาหาร รวมทั้งสถานที่ออกกำลังกายพร้อมสรรพ
สถาบันยานยนต์
สถาบันยานยนต์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและการประสานงานระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงมีกิจกรรมต่างๆ มากหมาย โดยมีบริการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการพัฒนาบุคลากรยานยนต์ รวมทั้งให้บริการด้านการตรวจสอบ ทดสอบ และให้การรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ซึ่งการตรวจสอบและทดสอบนี้ จะดำเนินการที่ศูนย์ทดสอบของสถาบันยานยนต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
สถาบันอาหาร
สถาบันอาหาร เป็นแกนนำในการส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และมุ่งสูความสำเร็จในการยกระดับมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก
ทั้งนี้ ภารกิจของสถาบันคือ
-ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือและภูมิปัญญาระหว่างภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐบาลในการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคในเชิงเทคนิค วิชาการ และเชิงนโยบาย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคด้านอื่นๆ
-ให้บริการสนับสนุนเทคนิคและวิชาการ อันได้แก่ การให้คำปรึกษาทางเทคนิคในการยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพ และในการเจรจายุติข้อพิพาทกับประเทศคู่ค้า และแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า รวมถึงการให้คำแนะนำในเรื่องการเข้าสู่ระบบมาตรฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาระบบคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งระบบ และการให้บริการด้านข้อมูลการฝึกอบรม และการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
-เป็นหน่วยงานชำนาญการด้านการศึกษาวิจัยทางเทคนิคและการวิจัยเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรฐานอาหารโลก สำหรับการแข่งขันเชิงคุณภาพในตลาดโลก รวมทั้งการศึกษาเชิงนโยบาย พร้อมทั้งรายงาน และเสนอแนะ เพื่อนำกลยุทธ์ต่างๆ เสนอต่อภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
บทบาทของสถาบันอาหาร จะเน้นการบริการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศในระยะยาว ได้แก่ ให้บริการทางวิชาการ การจัดทำระบบคุณภาพ HACCP ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งจัดอบรมสัมมนาความรู้ทางวิชาการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนให้บริการทดสอบ และตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ผลักดันให้เกเดการเปลี่ายนแปลงด้านการผลิตและอุตสาหกรรมการเกษตรมากยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมต่อกระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมได้
นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินการร่วมมือกับสถาบันที่มีศักยภาพเพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาด้านรูปแบบ รสชาติ การบรรจุหีบห่อ การสร้างภาพลักษณ์ในการพัฒนาและใช้ตราสินค้าของไทย รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้ SMEs เพื่อเป็นฐานในการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
สถานที่ติดต่อ 539/2 อาคารมหานครยิปซั่ม ชั้น 11 ถนนศรีอยุธยา แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร.642-5335-40 แฟ็กซ์ 642-5342 หรือ web site www.nfi.or.th
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สถาบันไฟฟ้าฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก โดยภาระหน้าที่ของสถาบันฯ คือ เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ดำเนินกิจกรรมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสรรคที่เกิดขึ้น
บทบาทในการดำเนินการ คือ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งสถาบันฯ ได้กำหนดบทบาทการดำเนินการไว้ 6 ด้าน คือ
-งานด้านศูนย์ทดสอบ บริการด้านทดผลิตภัณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ของไทยและต่างประเทศ
-งานด้านนโยบายและแผนโดยการศึกษาวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการกำหนดนโยบายและแผน และมาตรการในการพัฒนา
-งานด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยการประสานความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการหรือแผนงานร่วมกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-งานด้านบริการธุรกรรม โดยการจัดตั้งศูนย์ธุรกรรมเพื่อให้บริการในการปล่อยสินค้าและซื้อขายแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
-งานด้านสารสนเทศ จัดทำระบบ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทางด้านการผลิต การค้า การตลาด และข้อตกลงระหว่างประเทศ
-งานด้านวิชาการโดยการจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อทำการฝึกอบรม/สัมมนา และการให้คำปรึกษาแนะนำ รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สิทธิพิเศษของสมาชิกสถาบันฯ
-รับสิทธิประโยชน์ในธุรกรรม และในการขอสนับสนุน การซื้อขายแลกชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ
-ได้รับวารสารราย 3 เดือน รวมทั้ง EEI News ราย 2 เดือน
-การเข้าร่วมสัมมนาพิเศษและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
-รับส่วนลดค่าลงทะเบียนการอบรมหลักสูตรสัมมนาของสถาบันราคาสมาชิก
-การใช้ห้องสมุดสถาบัน วิดีโอเทป เทปคาสเซ็ท
-การรับส่วนลดในการสั่งซื้อหนังสือวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์
-การเผยแพร่รายชื่อและข่าวสารธุรกิจการค้าของบริษัทสมาชิกใน web site ของสถาบันฯ
-การได้รับข่าวสารข้อมูล เอกสารทางวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
-การเข้าร่วมกิจกรรมจัดเยี่ยมชมโรงงาน ระหว่างสมาชิกด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-การขอรับบริการอื่นๆ ที่สถาบันฯ จัดดำเนินการเพื่อสมาชิก
สถานที่ติดต่อ สำนักงานอำนวยการ ชั้น 6 อาคารกรมโรงงาน (เดิม) 57 ถนนพระสุเมรุ (บางลำพู) เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร.280-7272 แฟ็กซ์ 280-7277
E-mail : general@thaieei.com web site www.thaieei.com
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นศูนย์การในการดำเนินงานพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศไทย ทั้งระบบให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสามารถปรับตัวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบให้เข้าสู่ความเป็นประเทศผู้ผลิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ทางด้านการตลาด แทนการเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำเป็นหลัก และเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอให้เข้าสู่ยุคของการสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้กรอบของระบบการค้าเสรี
แนวทางดำเนินงาน
-การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนการใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมแทนเครื่องจักรเดิม
-การบริหารคุณภาพเพื่อประสานให้อุตสาหกรรมสิ่งทอเข้าสู่การรับรองมาตรฐานสากลในระบบ ISO โดยเร็วที่สุด
-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อยกระดับความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถทุกระดับ
-การสร้างความสำพันธ์ทางธุรกิจและวิชาการกับต่างประเทศ
-การเตรียมดำเนินการและประสานงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ระบบอุตสาหกรรมสิ่งทอ
การบริการ
-การประกาศซื้อขายสินค้าและวัตถุดิบผ่านทาง web site
-การรับข้อมูลประกาศซื้อขายอัตโนมัติ
-บริการจัดทำ Hompage สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกและสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ด้วยตนเอง
-บริการคู่มืออิเล็กทรอนิกส์การทำธุรกิจสิ่งทอ
-ศูนย์กลางระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
-ข้อมูลข่าวสารสิ่งทอและสถิติสิ่งทอ
-การวิเคราะห์ทดสอบ Eco Textile Lab โดยสถาบันฯ ได้ตั้งห้องปฏิบัติการ “Eco-Textile ” ขึ้นเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือในด้านการวิเคราะห์ ทดสอบสารตกค้างบนผลิตภัณฑ์สิ่งทอแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยมีเครื่องมืออันทันสมัย
-การฝึกอบรมสัมมนา เพื่อการยกระดับความรู้ความเข้าใจ และความสามารถทั้งในระดับพนักงาน เจ้าหน้าที่เทคนิค และผู้บริหารกิจการ โดยจัดให้มีการฝึกอบรม สัมมนาประชุม และการให้การศึกษาหลักสูตรต่างๆ เช่น Internet, Benchmarking, Supply Chain Management ฯลฯ
-บริการด้านพัฒนาระบบคุณภาพ ISO 9000/14000 และ Clean Technology
สถานที่ติดต่อ ซอยตรีมิต กล้วน้ำไท ถนนพระราม 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร.713-5492-9 แฟ็กซ์ 712-1592-3 web site : www.thaitextile.org E-mail : info@thaitextile.org.
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสไอ. (สรอ.)
เนื่องจากมาตรฐาน ISO เป็นมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับและนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เดิมสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่ให้การรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 และ มอก.18000 แต่ปัจจุบัน สรอ.ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรองระบบงาน (Accrediation Agency) โดยมีภารกิจหลัก คือ
-ให้มีการรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 มอก.18000 และมาตรฐานระบบอื่นๆ
-ตรวจติดตามผลเพื่อรักษาคุณภาพของการรับรองของลูกค้าที่ได้รับการรับรองแล้ว
-พัฒนาบุคลากรด้านการประเมิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคปฏิบัติ ตามมาตรฐาน ISO 9000 ISO 14000 มอก.18000 และมาตรฐานระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานสากล
-เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้านการรับรอง ISO 9000 ISO 14000 และมาตรฐานระบบการจัดการสุขอนามัย และความปลอดภัยขององค์กรระดับสากลและภูมิภาค เช่น ISO APEC และ ASEAN
-ประสานงานความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทั้งทางด้านเทคนิควิชาการ และนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรอง
-เข้าร่วมในการพัฒนาปรับปรุงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ขั้นตอนวิธีการรับรอง บุคลากร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
-ความสะดวกรวดเร็วด้านการประเมิน และมีคุณภาพ
-ให้บริการหลังการรับรองระบบ ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
-ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อของลูกค้าให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับทราบเพื่อเป็นการช่วยขยายโอกาสทางการตลาดให้กับลูกค้าอีกทางหนึ่ง
-ลูกค้า สรอ.จะได้รับทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวในวงการมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ผู้ได้รับการรับรองจาก สรอ.จะได้รับสิทธิตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เช่นเกียวกับที่เคยได้รับจาก สมอ.ทุกประการ และยังมีมาตรการจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดเงื่อนไขการให้การส่งเสริม สำหรับผู้ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการลงทุนใหม่ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นไป ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9000 ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่เปิดดำเนินการ
สถานที่ติดต่อ ชั้น 11 อาคารยาคูลท์ 1025 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 617-1727 แฟ็กซ์ 617-1708-9 web site www.masci.or.th
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแหล่งชาติ เป็นหน่วยงานการรณรงค์เรื่องการเพิ่มผลผลิต ชี้นำ ประสานงาน ส่งเสริม และพัฒนาการเพิ่มผลผลิตทุกสาขาอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์รวมความรู้ข้อมูลด้านการเพิ่มผลผลิตทุกสาขาอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์รวมความรู้ข้อมูลด้านการเพิ่มผลผลิตที่ทันสมัย เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
กิจกรรมการให้บริการ ประกอบด้วย
-สถาบันฯ มีบริการฝึกอบรมและปรึกษาแนะนำแก่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการในด้านต่างๆ ดังนี้
+ด้านการเพิ่มผลผลิต ในเรื่องการบริหาร การวัดวิเคราะห์ รวมทั้งเทคนิควิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิต
+ด้าน ISO 9000 QS 9000 และ ISO 14000
+ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
-การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตโดยการกระตุ้น รณรงค์สร้างจิตสำนึกเรื่องคุณภาพ ประสิทธิภาพ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
+จัดศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ
+ผลิตสื่อวิชาการต่างๆ
+ประชาสัมพันธ์แนวคิดและทัศนคติของการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต
+จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อกระตุ้นความรู้ความเข้าใจเรื่องการเพิ่มผลผลิต
-ดำนินการศึกษาวิจัย รวมทั้งพัฒนาดัชนีชี้วัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการเพิ่มผลผลิตของชาติ
-ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของสถาบันฯ จัดหาหนังสือ ตำรา และวิดีทัศน์ไว้บริการสมาชิก โดยให้บริการ online ตลอด 24 ชั่วโมง
-สถาบันมีแผนกวิเทศสัมพันธ์ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานประสานการปฏิบัติการตามแผนงานและกิจกรรมต่างๆ ของการเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย
-โครงการ “คิดไม่ออกบอกสถาบัน” เพื่อให้ผู้ใช้ผู้บริการสามารถค้นหาข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สถานที่ติดต่อ ชั้น 19-20 อาคารเอ็กซิม 1193 ถนนพหลโยธิน พญาไท กรุงเทพฯ 10400โทร.272-4033 (10 หมายเลข) แฟ็กซ์ 271-3005, 271-3007, 271-0514 และ 617-2302
เว็บไซต์ www.ftpi.or.th E-mail : info@ftpi.or.th
--วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2544--