นายสินิตย์ เลิศไกร ส.ส.สุราษฎร์ธานี อภิปรายผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในนโยบายด้านการเกษตรตามมาตรา 84 ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าทรัพยากรที่ดินของประเทศมีเท่าเดิมขณะที่จำนวนประชาชนเพิ่มขึ้น และอาชีพส่วนใหญ่คือ อาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นที่ดินจึงเป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
นายสินิตย์ ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของรัฐบาลในปัจจุบัน รัฐจัดสรรการถือครองที่ดินส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่กับนายทุน มากกว่า จัดสรรให้กับเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติเพราะประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่กลับไม่มีที่ดินเพียงพอต่อการดำรงชีพ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาสะสมมา และกลายเป็นบ่อเกิดของความเหลี่ยมล้ำทางรายได้ ที่อาจเรียกได้ว่า ”รวยกระจุก จนกระจาย”
โดยจากรายงานข้อมูลของมูลนิธิสถาบันที่ดินปี 2544 ปรากฎว่า รัฐได้ออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ได้แก่ โฉนดที่ดิน นส.3ก ,นส.3 ,ใบจอง ให้กับประชาชนเป็นจำนวน 126 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ถือครองที่ดินขนาดเล็กกว่า 1 ไร่ /คน มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ ส่วนที่ดิน สปก.ที่ได้รับโอนจากกรมป่าไม้ จำนวน 60 ล้านไร่ ครอบคลุมประมาณ 69 จังหวัด 248 อำเภอ มีการออก สปก.ไปแล้วจำนวน 22 ล้านไร่ และยังไม่มีการดำเนินการอีก 38 ล้านไร่ ซึ่งตรงนี้เขาเห็นว่า รัฐสามารถนำไปจัดสรรให้เกษตรกรทีไม่มีที่ดินได้ และการที่รัฐบาลไม่จัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาเกษตรกร ชุมนุมเรียกร้องเพื่อให้ได้ที่ดินทำกิน เกิดขึ้นทั่วทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดทางภาคใต้ก็มีการชุมนุมกันในหลายจังหวัด เช่น จ.นครศรีธรรมราช, จ.สุราษฎร์ธานี ,จ.พัทลุง ,จ.กระบี่ ,จ.ระนอง เป็นต้น และการชุมนุมเรียกร้องดังกล่าวนี้ รัฐบาลก้ไม่ได้ให้ความสำคัญและก็ไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหาอย่างจริงจังอีกด้วย
นายสินิตย์ เห็นว่า การจัดระบบการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสมถือเป็นเรื่องที่จำเป็นที่สุด เพราะนั่นคือประเด็นหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจน และเป็นการป้องกันการบุกรุกป่า ส่วนเรื่องที่จะแปลงทรัพย์สินเป็นทุนนั้น ยังถือเป็นประเด็นรอง ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ ทั้งนี้เพราะว่าไม่มีทฤษฎีไหนในโลก ที่ประชากรมีหนี้สินมาก แล้วประเทศจะรุ่งเรือง การที่รัฐจะทำให้ชุมชนให้ยั่งยืน โดยทำไปพร้อมกับสร้างชุมชนให้เป็นหนี้ จึงเป็นเรื่องที่ยืนอยู่ด้วยกันไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญต่อการจัดสรรระบบการถือครองที่ดินให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการรวยกระจุก จนกระจาย อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 13/3/2546--จบ--
-สส-
นายสินิตย์ ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของรัฐบาลในปัจจุบัน รัฐจัดสรรการถือครองที่ดินส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่กับนายทุน มากกว่า จัดสรรให้กับเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติเพราะประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่กลับไม่มีที่ดินเพียงพอต่อการดำรงชีพ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาสะสมมา และกลายเป็นบ่อเกิดของความเหลี่ยมล้ำทางรายได้ ที่อาจเรียกได้ว่า ”รวยกระจุก จนกระจาย”
โดยจากรายงานข้อมูลของมูลนิธิสถาบันที่ดินปี 2544 ปรากฎว่า รัฐได้ออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ได้แก่ โฉนดที่ดิน นส.3ก ,นส.3 ,ใบจอง ให้กับประชาชนเป็นจำนวน 126 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ถือครองที่ดินขนาดเล็กกว่า 1 ไร่ /คน มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ ส่วนที่ดิน สปก.ที่ได้รับโอนจากกรมป่าไม้ จำนวน 60 ล้านไร่ ครอบคลุมประมาณ 69 จังหวัด 248 อำเภอ มีการออก สปก.ไปแล้วจำนวน 22 ล้านไร่ และยังไม่มีการดำเนินการอีก 38 ล้านไร่ ซึ่งตรงนี้เขาเห็นว่า รัฐสามารถนำไปจัดสรรให้เกษตรกรทีไม่มีที่ดินได้ และการที่รัฐบาลไม่จัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาเกษตรกร ชุมนุมเรียกร้องเพื่อให้ได้ที่ดินทำกิน เกิดขึ้นทั่วทุกภาคในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดทางภาคใต้ก็มีการชุมนุมกันในหลายจังหวัด เช่น จ.นครศรีธรรมราช, จ.สุราษฎร์ธานี ,จ.พัทลุง ,จ.กระบี่ ,จ.ระนอง เป็นต้น และการชุมนุมเรียกร้องดังกล่าวนี้ รัฐบาลก้ไม่ได้ให้ความสำคัญและก็ไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหาอย่างจริงจังอีกด้วย
นายสินิตย์ เห็นว่า การจัดระบบการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสมถือเป็นเรื่องที่จำเป็นที่สุด เพราะนั่นคือประเด็นหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจน และเป็นการป้องกันการบุกรุกป่า ส่วนเรื่องที่จะแปลงทรัพย์สินเป็นทุนนั้น ยังถือเป็นประเด็นรอง ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ ทั้งนี้เพราะว่าไม่มีทฤษฎีไหนในโลก ที่ประชากรมีหนี้สินมาก แล้วประเทศจะรุ่งเรือง การที่รัฐจะทำให้ชุมชนให้ยั่งยืน โดยทำไปพร้อมกับสร้างชุมชนให้เป็นหนี้ จึงเป็นเรื่องที่ยืนอยู่ด้วยกันไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญต่อการจัดสรรระบบการถือครองที่ดินให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการรวยกระจุก จนกระจาย อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 13/3/2546--จบ--
-สส-