นายสมชัย สัจจพงษ์ รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักนโยบายการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เชื่อมั่นว่าสภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยได้แถลงสรุปผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลทั้งประเทศประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2546 และในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 รวมทั้งภาพสะท้อนเศรษฐกิจไทย ดังนี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้รวมทั้งประเทศ ซึ่งประกอบด้วยรายได้จัดเก็บภาษีของกรมจัดเก็บภาษี 3 กรม และรายได้นำส่งคลังของส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจ เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจัดเก็บได้รวม 85,052 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่ปรับปรุงแล้ว 13,927 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.5 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 27) ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 77,344 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 13,951 ล้านบาท หรือร้อยละ 22 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 32.6 ) โดยกรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 11 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 18.2) ในขณะที่ส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจคาดว่านำรายได้ส่งคลังสูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 65.3 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 92.1)
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ทั้งหมดเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจัดเก็บได้รวม 394,286 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 42,479 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.1 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 16.2) ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 357,623 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 47,323 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19.8) โดยกรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 11 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 15.1)ในขณะที่ส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจคาดว่านำรายได้ส่งคลังสูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 20.8 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 25)
นายสมชัยกล่าวต่อไปว่า สาเหตุสำคัญยังคงเป็นผลสืบเนื่องจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีที่สำคัญโดยเฉพาะภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคและจากการประกอบการของภาคเอกชน อยู่ในระดับที่ดี นอกจากนี้แล้ว ผลของการจัดเก็บภาษีบางประเภทยังสามารถสะท้อนภาวะการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจไทยที่สำคัญได้ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิตบางอุตสาหกรรมได้ โดยในโอกาสนี้ นายสมชัยได้ยกตัวอย่างประกอบ ดังนี้
ภาคอสังหาริมทรัพย์ สามารถพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ การจัดเก็บอากรแสตมป์ ภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นผลจากการประกอบการ สามารถสะท้อนถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
- การเพิ่มขึ้นของภาษี หัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เปรียบเทียบระหว่าง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53
- การจัดเก็บอากรแสตมป์ โดยกรมที่ดิน เปรียบเทียบระหว่าง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 เพิ่มขึ้นร้อยละ 69
- การเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สะท้อนถึงผลการปรับตัวที่ดีขึ้นของบริษัทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 ภาษีดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ซึ่งจะสอดคล้องกับผลประกอบการในปี 2545 ที่ผ่านมาของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 36 โดยกำไรสุทธิของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 201
ภาคการผลิตบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์สามารถพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิตรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการบริโภคและการส่งออกที่ดี นอกจากนี้แล้วการจัดเก็บอากรนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสามารถสะท้อนถึงความมั่นใจของนักลงทุนและแนวโน้มของการผลิตในอนาคตที่เพิ่มขึ้น
- การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นมากในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 56 และ 53 ตามลำดับ
- การจัดเก็บอากรนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5
นายสมชัยฯ สรุปในตอนท้ายว่า "เชื่อมั่นว่าสภาวะเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ถึงแม้หลายฝ่ายจะมีความกังวลเรื่องสงครามก็ตาม ซึ่งในความกังวลดังกล่าว กระทรวงการคลังก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเช่นกัน โดยในขณะนี้ได้ประเมินสถานการณ์และเตรียมแนวทางการรับมือไว้หลายระดับแล้วเช่นกัน เพื่อจะรักษาความเชื่อมั่นในสภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนต่อไป"
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 29/2546 14 มีนาคม 2546--
-ศน-
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้รวมทั้งประเทศ ซึ่งประกอบด้วยรายได้จัดเก็บภาษีของกรมจัดเก็บภาษี 3 กรม และรายได้นำส่งคลังของส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจ เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจัดเก็บได้รวม 85,052 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่ปรับปรุงแล้ว 13,927 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.5 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 27) ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 77,344 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 13,951 ล้านบาท หรือร้อยละ 22 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 32.6 ) โดยกรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 11 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 18.2) ในขณะที่ส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจคาดว่านำรายได้ส่งคลังสูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 65.3 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 92.1)
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ทั้งหมดเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจัดเก็บได้รวม 394,286 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 42,479 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.1 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 16.2) ส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้สุทธิ 357,623 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการปรับปรุง 47,323 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.3 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 19.8) โดยกรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 11 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 15.1)ในขณะที่ส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจคาดว่านำรายได้ส่งคลังสูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 20.8 (สูงกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 25)
นายสมชัยกล่าวต่อไปว่า สาเหตุสำคัญยังคงเป็นผลสืบเนื่องจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีที่สำคัญโดยเฉพาะภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคและจากการประกอบการของภาคเอกชน อยู่ในระดับที่ดี นอกจากนี้แล้ว ผลของการจัดเก็บภาษีบางประเภทยังสามารถสะท้อนภาวะการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจไทยที่สำคัญได้ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการผลิตบางอุตสาหกรรมได้ โดยในโอกาสนี้ นายสมชัยได้ยกตัวอย่างประกอบ ดังนี้
ภาคอสังหาริมทรัพย์ สามารถพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ การจัดเก็บอากรแสตมป์ ภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นผลจากการประกอบการ สามารถสะท้อนถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
- การเพิ่มขึ้นของภาษี หัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เปรียบเทียบระหว่าง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53
- การจัดเก็บอากรแสตมป์ โดยกรมที่ดิน เปรียบเทียบระหว่าง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 เพิ่มขึ้นร้อยละ 69
- การเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สะท้อนถึงผลการปรับตัวที่ดีขึ้นของบริษัทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 ภาษีดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ซึ่งจะสอดคล้องกับผลประกอบการในปี 2545 ที่ผ่านมาของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 36 โดยกำไรสุทธิของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 201
ภาคการผลิตบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์สามารถพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิตรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการบริโภคและการส่งออกที่ดี นอกจากนี้แล้วการจัดเก็บอากรนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสามารถสะท้อนถึงความมั่นใจของนักลงทุนและแนวโน้มของการผลิตในอนาคตที่เพิ่มขึ้น
- การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นมากในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 56 และ 53 ตามลำดับ
- การจัดเก็บอากรนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2546 และ 2545 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5
นายสมชัยฯ สรุปในตอนท้ายว่า "เชื่อมั่นว่าสภาวะเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ถึงแม้หลายฝ่ายจะมีความกังวลเรื่องสงครามก็ตาม ซึ่งในความกังวลดังกล่าว กระทรวงการคลังก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเช่นกัน โดยในขณะนี้ได้ประเมินสถานการณ์และเตรียมแนวทางการรับมือไว้หลายระดับแล้วเช่นกัน เพื่อจะรักษาความเชื่อมั่นในสภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนต่อไป"
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 29/2546 14 มีนาคม 2546--
-ศน-