สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว จากผลผลิตที่มีปริมาณมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้เลี้ยงรายใหญ่ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯร่วมมือกันลดปริมาณการผลิตโดยการตัดวงจรการผลิตสุกร โดยการทำโครงการหมูหันออกจำหน่ายประมาณวันละ 400 ตัว เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2546 แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.53 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.88 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.41 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 400 บาท (บวกลบ 31) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.66 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.23
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตเริ่มลดลงลงเพราะผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตโดยไม่นำไข่เชื้อเข้าฟัก ความต้องการบริโภคโดยรวมลดลงเนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 21.89 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 22.79 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 21.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.16 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 2.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวแทบทุกพื้นที่ ยกเว้นภาคเหนือราคาได้ปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากการลดปริมาณการผลิตของไก่เนื้อโดยการนำไข่เชื้อเกรด B ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดทำให้ปริมาณผลผลิตมีมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการบริโภคโดยรวมลดลงเนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 126 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 119 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 131 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 123 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 132 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 12 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 154 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 137 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 174 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 177 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 202 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 47.22 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 45.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 51.86 บาท ภาคกลางไม่มีรายงานราคา ภาคใต้กิโลกรัมละ 38.60 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.72 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.86 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 10-16 มี.ค. 2546--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว จากผลผลิตที่มีปริมาณมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้เลี้ยงรายใหญ่ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯร่วมมือกันลดปริมาณการผลิตโดยการตัดวงจรการผลิตสุกร โดยการทำโครงการหมูหันออกจำหน่ายประมาณวันละ 400 ตัว เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2546 แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.53 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.88 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.41 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 400 บาท (บวกลบ 31) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.66 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.23
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตเริ่มลดลงลงเพราะผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตโดยไม่นำไข่เชื้อเข้าฟัก ความต้องการบริโภคโดยรวมลดลงเนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.01 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 21.89 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 22.79 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 21.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.16 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 2.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวแทบทุกพื้นที่ ยกเว้นภาคเหนือราคาได้ปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากการลดปริมาณการผลิตของไก่เนื้อโดยการนำไข่เชื้อเกรด B ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดทำให้ปริมาณผลผลิตมีมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการบริโภคโดยรวมลดลงเนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 126 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 119 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 131 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 123 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 132 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 12 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 154 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 137 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 174 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 177 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 202 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 47.22 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 45.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 51.86 บาท ภาคกลางไม่มีรายงานราคา ภาคใต้กิโลกรัมละ 38.60 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.72 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 34.86 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 10-16 มี.ค. 2546--
-สส-