บริการ SMEs ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งธุรกิจอุตสาหกรรมการยกระดับความสามารถของอุตสาหรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กิจกรรมประกอบไปด้วยการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาแนะนำ การให้กู้เงินทุนหมุนเวียนการบริการข้อมูล บริการวิเคราะห์ทดสอบ การบ่มเพาะธุรกิจแบบครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีโครงการต่างๆ มากมายที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ SMEs ในรูปแบบต่างๆ โดยมีโครงการสำคัญๆ ดังนี้
โครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ
ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคการผลิตและแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศได้รับผลกระทบทั้งจากความถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศและความผันผวนทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ในการแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีข้อมูลจากการวิเคาระห์ประเมินและจัดกล่มสถานประกอบการอุตสาหกรรมตามสถานภาพที่แท้จริงและศักยภาพที่จะดำเนินกิจการต่อไป เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนสำหรับการเร่งจัดมาตรการสนับสนุน และเป็นข้อมูลสำหรับสถาบันการเงินในการพิจารณาให้สินเชื่อและเป็นการช่วยให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมได้รู้ถึงสถานภาพและศักยภาพของตนเอง รู้แนวทางที่จะปรับปรุงเพื่อให้อยู่รอดและยั่งยืน ในขณะเดียวกันผลการประเมินและจัดกลุ่มโรงงานเป็นข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐในการกำหนดแนวทางและเครื่องมือที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย
ส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ เพื่อให้ SMEs มีระบบ บุคลากรหลักเกณฑ์การประเมินสถานประกอบการตลอดจนดัชนีชี้วัดสถานภาพและสักยภาพของอุตสาหกรรมสาขา ซึ่งเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายมาตรการจัดบริการและสิทธิประโยชน์ให้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs เพื่อผู้ประกอบการจะได้นำผลการประเมินวิเคราะห์ไปปรับปรุงกิจการเพื่อให้อยู่รอดและสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ อันจะนำผลที่ได้ไปสู่การใช้เชื่อมโยงและเป็นพื้นฐานอ้างอิงของอุตสาหกรรมต่างๆ ในโครงการอื่น ตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จะช่วย SMEs ให้สามารถแก้ไขปัญหาดำเนินธุรกิจต่อไป หรือเติบโตขยายกิจการและยังคงสภาพการจ้างงานไว้หลังจากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การจัดกากรสามารถยกระดับและปรับปรุงความสามารถในการประกอบธุรกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การบริหารการจัดการและคุณภาพของสินค้า และบริการของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวของอุตสาหกรรม และความสามารถในการส่งออก
กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้คือสถานประกอบการกที่ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องหสัง โลหะการ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป พลาสติก เซรามิก อัญมณี เครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์ยาง และหัตถอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีพนักงาน 20-200 คน ทำการผลิตสินค้าเพื่อขายในประเทศ หรือ ส่งออก หรือมีศักยภาพที่จะส่งออก และเป็นสถานประกอบการที่ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมาย และมีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50%
โครงการกระจายข้อมูลเพื่อการลงทุนและการค้าในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ถดถอยทำให้บุคลากรภาคอุตสาหกรรมในทุกระดับว่างงานลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งแรรงานดังกล่าวประกอบด้วย ผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านการบริหารการจัดการ และเทคนิคต่างๆ ในระบบโรงงาน และมีศักยภาพที่จะเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด
ดังนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการจึงจัดทำโครงการกระจายข้อมูลเพื่อการลงทุนและการค้าในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการกระจายข้อมูลด้านการค้าและการลงทุนอุตสาหกรรม และข้อมูลผู้ผลิตสินค้าที่จำเป็นอย่างถูกต้องและรวดเร็ว และมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการให้คำแนะนำเพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและเพื่อสร้างและปรับปรุงฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม ให้ใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในระยะยาวโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความซ้ำซ้อน
โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน(Supplier Development Program)
สืบเนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้อุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ลดอัตราการผลิตลงเนื่องจากอุปสงค์ของตลาดในประเทศลดลง ซึ่งส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วน โครงการการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนของกรมสส่งเสริมอุตสาหกรรมจะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้สามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีความเที่ยงตรงสูงและมีคุณภาพสูงขึ้นต้องมีการยกระดับช่างฝีมือ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานโลก และยกระดับมาตรฐานการผลิตและเทคโนโลยีสู่มาตรฐานสากล โดยเฉพาะการเตรียมการจัดฝึกอบรมผู้ผลิตชิ้นส่ยนยานยนต์ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางก่อนที่รัฐบาลจะยกเลิก Local content มีการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยีและการดีไซน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
โครงการพัฒนาออกแบบในระบบคอมพิวเตอร์
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังขาดมมีการแนะนำลู่ทางการส่งออกและการพัฒนาบุคคลากรทางด้านการออกแบบ ให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบรูปทรงให้ตรงกับความต้องการของตลาดเหมาะสมในเชิงวิศวกรรมและง่ายต่อการผลิต รวมทั้งนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานอันจะช่วยส่งผลให้ประเทศไทยกลับมาส่งออกสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์พลาสติกได้เพิ่มมากขึ้น
ส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงดำเนินโครงการพัฒนาออกแบบในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการกของตลาด เหมาะสมในเชิงวิศวกรรม และง่ายต่อการผลิตโดนนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบให้เทียบเท่าระดับมาตรฐานสากล และเป็นการยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายให้สามารถออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้คอมพิวเตอร์
โครงการเสริมสร้างนักลงทุนใหม่
เมื่อประเทศประสบภาวะวิกฤติ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ SMEs ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินทุนการเลิกจ้าง การปิดกิจการ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นในการสร้างรากฐานของการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบ เป็นการพัฒนาบุคคลากรเพื่อรองรับการเจริญเติบโต สามารถปรับตัวตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างนักลงทุนใหม่เพื่อจัดให้มีการฝึกอบรมผู้ที่ถูกเลิกจ้างที่มีศักยภาพ มีประสบการณ์ทางธุรกิจและมีความสนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ ให้มีความรู้พื้นฐานในการประกอบการเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ และเป็นโอกาสในการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่รวมทั้งเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงาน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ที่มีการศึกษาและถูกเลิกจ้างหรือเป็นผู้ประกอบการที่เลิกกิจการ จัดตั้งธุรกิจใหม่หรือเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อก่อให้เกิดโครงการธุรกิจใหม่ (New Business Venture) ที่สามารถนำไปลงทุน หรือจัดตั้งธุรกิจได้
โครงการสนับสนุนการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสู่ชุมชนชนบท
ปัญหาการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสู่ชุมชนขึ้น โดยการเชื่อมโยงโครงการที่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันเข้ามารวมไว้ในโครงการเดียวเพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนมากขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค และชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเกิดความเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นการสร้างพันธมิตรเป็นผู้ชยายผลแทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
โครงการค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (TF)
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมขนาดกลาง แต่เนื่องจากมีขีดจำกัดในการให้บริการของรัฐ จึงได้นำเอาระบบการจัดจ้างที่ปรึกษาภาคเอกชนที่มีความชำนาญด้านการพัฒนาบุคลากรมาใช้ในกระบวนการฝึกอบรม โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นรัฐจะเป็นผู้สนับสนุนส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชองค่าใช้จ่าย
โครงการค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงคืเพื่อให้การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับสภาวะ และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านการพัฒนาบุคลากรของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้จะมีการฝึกอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการให้บริการเงินสนับสนุนการจ้างที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมดำเนินการการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม และบริหารงานการให้บริการเงินสนับสนุนการจ้างที่ปรึกษา
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP)
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตให้ครบวงจร และสามารถแข่งขันเข้าสู่ระดับสากลโดยเริ่มตั้งแต่ระบบการผลิตการประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การบริหารการงินและการตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตลาดโลก ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จะทำให้การผลิตและการประกอบการของไทยเป็นระบบสากลมากขึ้นก่อให้เกิดการจ้างงานและการใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค่าต่อการลงทุน มี Brand Name ไทยในตลาดสากลเพิ่มมากขึ้นมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยโดยรวม
โครงการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการและการตลาด
การแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในองค์กรอุตสาหกรรมชนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้มักมีปัญหาหลายอย่าง แต่อาจไม่มีเวลา ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หรือบางองค์กรอาจไม่รู้ว่าปัญหาอยู่ที่ไหน การจัดหาที่ปรึกษาที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านจากภายนอกองค์กรมาให้ความช่วยเหลือสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเช่นกัน
ดังนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงจัดทำโครงการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิตการจัดการ และการตลาด เพื่อให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้ทั้งในแง่ของการจัดหาที่ปรึกษาที่เหมาะสมให้และช่วยสมทบค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาบางส่วนน่าจะเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้ทั้งในแง่ของการจัดหาที่ปรึกษาที่เหมาะสมให้และช่วยสมทบค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาบางส่วนน่าจะเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้ได้มีโอกาสยกระดับปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรได้เป็นอย่างดี โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะพยายามยกระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกต่อไป
โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค
รัฐบาลมีนโยบายมุ่งกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีงานทำ มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้พิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาคขึ้นเพื่อเร่งเตรียมการบุคลากรภาคอุตสาหกรรมและเพื่อเร่งการลงทุนในภูมิภาค โดยได้นำโครงการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค และได้ขอขยายระยะเวลาของโครงการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรในภูมิภาคออกไปอีกเป็นระยะที่ 2 จากปีงบประมาณ 2541-2545 โดยให้มีการฝึกอบรมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในหลักสูตรต่างๆ
โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม
หลักการและปรัชญาของการพัฒนาโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม คือการกระจายโอกาสและความเจริญสู่ท้องถิ่นภูมิภาคเพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้การเสริมสร้างโอกาสทางอาชีพและการมีงานทำในสังคมชนบท ก่อให้เกิดการประกอบอุตสาหกรรมตามหมู่บ้านเป้าหมายที่มีความเข้มแข็งและพัฒนา โดยการกระตุ้นและสร้างทัศนคติทางอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถด้านการผลิต การตลาดและด้านอื่น ๆ แก่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพและการสนับสนุนเงินทุน
โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดหมู่บ้านอุตสาหกรรมที่มีการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมอย่างเป็นระบบทั้งด้านการผลิต การจัดการและการตลาด และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เอง และเพื่อยกระดับรายได้ของราษฎรในหมู่บ้าน เพิ่มการมีงานทำ และลดการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนในชนบทสามารถช่วยตัวเองได้ และมีสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
เป้าหมายโครงการ การศึกษาวิจัย Foresight เรื่อง IT for SMEs
ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight) เป็นโครงการภายใต้คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมของเอเปค และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกองทุนกลางเอเปคศูนย์ฯ ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง เพื่อเผยแพร่การใช้ประโยชน์ของการคาดการณ์เทคโนโลยี (forsight) ในการวางแผนระยะยาวด้านวิจัย พัฒนา นวตกรรม และด้านอื่นๆ เป็นการเตรียมกลยุทธเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต
โครงการการศึกษา การมองอนาคตบทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม (A Foresight Project on “The Roles of IT for SMEs ”) เป็นโครงการและกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ฯ ซึ่งได้ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำการศึกษาและวิจัย เพื่อให้ทราบสถานภาพที่แท้จริงในการประยุกต์ใช้และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้ประกอบในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสเทศของประเทศต่อไป
โครงการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและครอบครัวทั่วประเทศ
ตามนโยบายด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2544 นั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับนโยบายส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดย่อม และครอบครัวทั่วประเทศ บรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และการตลาดได้ แต่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อม และครอบครัวในภุมิภาคประสบปัญหาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุที่ถูกต้อง กราฟฟิค และการสั่งผลิตภัณฑ์มาใช้งานจริง ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถแข่งขันกับตลาดส่วนกลางและต่างประเทศได้
โครงการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและครอบครัวทั่วประเทศมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อมและครอบครัวทั่วประเทศมีบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมายเรื่องของฉลากและวัสดุ เพื่อให้มีรูปแบบภาชนะพร้อมกราฟฟิค สามารถแข่งขันทางด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ และเพื่อยกระดับการบรรจุภัณฑ์ทางด้านการจัดจำหน่าย การขนส่งการเก็บรักษาเทียบเท่ามาตรฐานสากล
โครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาระบบการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการ โครงการนี้อยู่ภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมและได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยส่งนักวินิจฉัยระดับวิชาชีพเข้ามาช่วยสร้างระบบฯ สร้างนักวินิจฉัย เพื่อดำเนินการวินิจฉัย ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการและสามารถรองรับมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐทั้งด้านวิชาการและการเงินได้อย่างเป็นรูปธรรม
โครงการนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่
การสร้างนักวินิจฉัยสถานประกอบการ
การให้บริการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการ
การสร้างระบบวินิจฉัยสถานประกอบการและควบคุมกำกับดูแลจรรยาบรรณนักวินิจฉัย
การสร้างดัชนีชี้วัดสถานภาพและศักยภาพอุตสาหกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร : 0-2202-4548-9
--วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2545--
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งธุรกิจอุตสาหกรรมการยกระดับความสามารถของอุตสาหรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กิจกรรมประกอบไปด้วยการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาแนะนำ การให้กู้เงินทุนหมุนเวียนการบริการข้อมูล บริการวิเคราะห์ทดสอบ การบ่มเพาะธุรกิจแบบครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีโครงการต่างๆ มากมายที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ SMEs ในรูปแบบต่างๆ โดยมีโครงการสำคัญๆ ดังนี้
โครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ
ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคการผลิตและแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศได้รับผลกระทบทั้งจากความถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศและความผันผวนทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ในการแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีข้อมูลจากการวิเคาระห์ประเมินและจัดกล่มสถานประกอบการอุตสาหกรรมตามสถานภาพที่แท้จริงและศักยภาพที่จะดำเนินกิจการต่อไป เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนสำหรับการเร่งจัดมาตรการสนับสนุน และเป็นข้อมูลสำหรับสถาบันการเงินในการพิจารณาให้สินเชื่อและเป็นการช่วยให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมได้รู้ถึงสถานภาพและศักยภาพของตนเอง รู้แนวทางที่จะปรับปรุงเพื่อให้อยู่รอดและยั่งยืน ในขณะเดียวกันผลการประเมินและจัดกลุ่มโรงงานเป็นข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐในการกำหนดแนวทางและเครื่องมือที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศด้วย
ส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ เพื่อให้ SMEs มีระบบ บุคลากรหลักเกณฑ์การประเมินสถานประกอบการตลอดจนดัชนีชี้วัดสถานภาพและสักยภาพของอุตสาหกรรมสาขา ซึ่งเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายมาตรการจัดบริการและสิทธิประโยชน์ให้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs เพื่อผู้ประกอบการจะได้นำผลการประเมินวิเคราะห์ไปปรับปรุงกิจการเพื่อให้อยู่รอดและสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ อันจะนำผลที่ได้ไปสู่การใช้เชื่อมโยงและเป็นพื้นฐานอ้างอิงของอุตสาหกรรมต่างๆ ในโครงการอื่น ตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม จะช่วย SMEs ให้สามารถแก้ไขปัญหาดำเนินธุรกิจต่อไป หรือเติบโตขยายกิจการและยังคงสภาพการจ้างงานไว้หลังจากมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การจัดกากรสามารถยกระดับและปรับปรุงความสามารถในการประกอบธุรกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การบริหารการจัดการและคุณภาพของสินค้า และบริการของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวของอุตสาหกรรม และความสามารถในการส่งออก
กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้คือสถานประกอบการกที่ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องหสัง โลหะการ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป พลาสติก เซรามิก อัญมณี เครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์ยาง และหัตถอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีพนักงาน 20-200 คน ทำการผลิตสินค้าเพื่อขายในประเทศ หรือ ส่งออก หรือมีศักยภาพที่จะส่งออก และเป็นสถานประกอบการที่ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมาย และมีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50%
โครงการกระจายข้อมูลเพื่อการลงทุนและการค้าในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ถดถอยทำให้บุคลากรภาคอุตสาหกรรมในทุกระดับว่างงานลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งแรรงานดังกล่าวประกอบด้วย ผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านการบริหารการจัดการ และเทคนิคต่างๆ ในระบบโรงงาน และมีศักยภาพที่จะเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด
ดังนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการจึงจัดทำโครงการกระจายข้อมูลเพื่อการลงทุนและการค้าในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการกระจายข้อมูลด้านการค้าและการลงทุนอุตสาหกรรม และข้อมูลผู้ผลิตสินค้าที่จำเป็นอย่างถูกต้องและรวดเร็ว และมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการให้คำแนะนำเพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและเพื่อสร้างและปรับปรุงฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม ให้ใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในระยะยาวโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความซ้ำซ้อน
โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน(Supplier Development Program)
สืบเนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้อุตสาหกรรมสำคัญๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ลดอัตราการผลิตลงเนื่องจากอุปสงค์ของตลาดในประเทศลดลง ซึ่งส่งผลกระทบถึงอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วน โครงการการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนของกรมสส่งเสริมอุตสาหกรรมจะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้สามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีความเที่ยงตรงสูงและมีคุณภาพสูงขึ้นต้องมีการยกระดับช่างฝีมือ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานโลก และยกระดับมาตรฐานการผลิตและเทคโนโลยีสู่มาตรฐานสากล โดยเฉพาะการเตรียมการจัดฝึกอบรมผู้ผลิตชิ้นส่ยนยานยนต์ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางก่อนที่รัฐบาลจะยกเลิก Local content มีการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยีและการดีไซน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
โครงการพัฒนาออกแบบในระบบคอมพิวเตอร์
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก ยังขาดมมีการแนะนำลู่ทางการส่งออกและการพัฒนาบุคคลากรทางด้านการออกแบบ ให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบรูปทรงให้ตรงกับความต้องการของตลาดเหมาะสมในเชิงวิศวกรรมและง่ายต่อการผลิต รวมทั้งนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานอันจะช่วยส่งผลให้ประเทศไทยกลับมาส่งออกสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์พลาสติกได้เพิ่มมากขึ้น
ส่วนอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงดำเนินโครงการพัฒนาออกแบบในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการกของตลาด เหมาะสมในเชิงวิศวกรรม และง่ายต่อการผลิตโดนนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบให้เทียบเท่าระดับมาตรฐานสากล และเป็นการยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายให้สามารถออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้คอมพิวเตอร์
โครงการเสริมสร้างนักลงทุนใหม่
เมื่อประเทศประสบภาวะวิกฤติ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ SMEs ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินทุนการเลิกจ้าง การปิดกิจการ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นในการสร้างรากฐานของการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบ เป็นการพัฒนาบุคคลากรเพื่อรองรับการเจริญเติบโต สามารถปรับตัวตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างนักลงทุนใหม่เพื่อจัดให้มีการฝึกอบรมผู้ที่ถูกเลิกจ้างที่มีศักยภาพ มีประสบการณ์ทางธุรกิจและมีความสนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ ให้มีความรู้พื้นฐานในการประกอบการเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ และเป็นโอกาสในการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่รวมทั้งเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงาน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ที่มีการศึกษาและถูกเลิกจ้างหรือเป็นผู้ประกอบการที่เลิกกิจการ จัดตั้งธุรกิจใหม่หรือเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อก่อให้เกิดโครงการธุรกิจใหม่ (New Business Venture) ที่สามารถนำไปลงทุน หรือจัดตั้งธุรกิจได้
โครงการสนับสนุนการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสู่ชุมชนชนบท
ปัญหาการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสู่ชุมชนขึ้น โดยการเชื่อมโยงโครงการที่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันเข้ามารวมไว้ในโครงการเดียวเพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนมากขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค และชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเกิดความเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นการสร้างพันธมิตรเป็นผู้ชยายผลแทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
โครงการค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (TF)
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมขนาดกลาง แต่เนื่องจากมีขีดจำกัดในการให้บริการของรัฐ จึงได้นำเอาระบบการจัดจ้างที่ปรึกษาภาคเอกชนที่มีความชำนาญด้านการพัฒนาบุคลากรมาใช้ในกระบวนการฝึกอบรม โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นรัฐจะเป็นผู้สนับสนุนส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือผู้ประกอบการจะเป็นผู้รับผิดชองค่าใช้จ่าย
โครงการค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงคืเพื่อให้การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับสภาวะ และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านการพัฒนาบุคลากรของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้จะมีการฝึกอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการให้บริการเงินสนับสนุนการจ้างที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมดำเนินการการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม และบริหารงานการให้บริการเงินสนับสนุนการจ้างที่ปรึกษา
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP)
โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตให้ครบวงจร และสามารถแข่งขันเข้าสู่ระดับสากลโดยเริ่มตั้งแต่ระบบการผลิตการประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การบริหารการงินและการตลาด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตลาดโลก ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จะทำให้การผลิตและการประกอบการของไทยเป็นระบบสากลมากขึ้นก่อให้เกิดการจ้างงานและการใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค่าต่อการลงทุน มี Brand Name ไทยในตลาดสากลเพิ่มมากขึ้นมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยโดยรวม
โครงการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิต การจัดการและการตลาด
การแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในองค์กรอุตสาหกรรมชนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้มักมีปัญหาหลายอย่าง แต่อาจไม่มีเวลา ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หรือบางองค์กรอาจไม่รู้ว่าปัญหาอยู่ที่ไหน การจัดหาที่ปรึกษาที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านจากภายนอกองค์กรมาให้ความช่วยเหลือสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเช่นกัน
ดังนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงจัดทำโครงการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิตการจัดการ และการตลาด เพื่อให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้ทั้งในแง่ของการจัดหาที่ปรึกษาที่เหมาะสมให้และช่วยสมทบค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาบางส่วนน่าจะเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้ทั้งในแง่ของการจัดหาที่ปรึกษาที่เหมาะสมให้และช่วยสมทบค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาบางส่วนน่าจะเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้ได้มีโอกาสยกระดับปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรได้เป็นอย่างดี โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะพยายามยกระดับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกต่อไป
โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค
รัฐบาลมีนโยบายมุ่งกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีงานทำ มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้พิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาคขึ้นเพื่อเร่งเตรียมการบุคลากรภาคอุตสาหกรรมและเพื่อเร่งการลงทุนในภูมิภาค โดยได้นำโครงการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค และได้ขอขยายระยะเวลาของโครงการพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรในภูมิภาคออกไปอีกเป็นระยะที่ 2 จากปีงบประมาณ 2541-2545 โดยให้มีการฝึกอบรมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในหลักสูตรต่างๆ
โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม
หลักการและปรัชญาของการพัฒนาโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม คือการกระจายโอกาสและความเจริญสู่ท้องถิ่นภูมิภาคเพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้การเสริมสร้างโอกาสทางอาชีพและการมีงานทำในสังคมชนบท ก่อให้เกิดการประกอบอุตสาหกรรมตามหมู่บ้านเป้าหมายที่มีความเข้มแข็งและพัฒนา โดยการกระตุ้นและสร้างทัศนคติทางอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถด้านการผลิต การตลาดและด้านอื่น ๆ แก่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพและการสนับสนุนเงินทุน
โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรม ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดหมู่บ้านอุตสาหกรรมที่มีการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมอย่างเป็นระบบทั้งด้านการผลิต การจัดการและการตลาด และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เอง และเพื่อยกระดับรายได้ของราษฎรในหมู่บ้าน เพิ่มการมีงานทำ และลดการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนในชนบทสามารถช่วยตัวเองได้ และมีสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
เป้าหมายโครงการ การศึกษาวิจัย Foresight เรื่อง IT for SMEs
ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค (APEC Center for Technology Foresight) เป็นโครงการภายใต้คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมของเอเปค และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกองทุนกลางเอเปคศูนย์ฯ ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง เพื่อเผยแพร่การใช้ประโยชน์ของการคาดการณ์เทคโนโลยี (forsight) ในการวางแผนระยะยาวด้านวิจัย พัฒนา นวตกรรม และด้านอื่นๆ เป็นการเตรียมกลยุทธเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต
โครงการการศึกษา การมองอนาคตบทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม (A Foresight Project on “The Roles of IT for SMEs ”) เป็นโครงการและกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ฯ ซึ่งได้ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำการศึกษาและวิจัย เพื่อให้ทราบสถานภาพที่แท้จริงในการประยุกต์ใช้และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้ประกอบในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสเทศของประเทศต่อไป
โครงการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและครอบครัวทั่วประเทศ
ตามนโยบายด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2544 นั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับนโยบายส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดย่อม และครอบครัวทั่วประเทศ บรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และการตลาดได้ แต่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อม และครอบครัวในภุมิภาคประสบปัญหาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุที่ถูกต้อง กราฟฟิค และการสั่งผลิตภัณฑ์มาใช้งานจริง ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่สามารถแข่งขันกับตลาดส่วนกลางและต่างประเทศได้
โครงการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ให้กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและครอบครัวทั่วประเทศมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อมและครอบครัวทั่วประเทศมีบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมายเรื่องของฉลากและวัสดุ เพื่อให้มีรูปแบบภาชนะพร้อมกราฟฟิค สามารถแข่งขันทางด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ และเพื่อยกระดับการบรรจุภัณฑ์ทางด้านการจัดจำหน่าย การขนส่งการเก็บรักษาเทียบเท่ามาตรฐานสากล
โครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ดำเนินการจัดโครงการพัฒนาระบบการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการ โครงการนี้อยู่ภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมและได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยส่งนักวินิจฉัยระดับวิชาชีพเข้ามาช่วยสร้างระบบฯ สร้างนักวินิจฉัย เพื่อดำเนินการวินิจฉัย ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการและสามารถรองรับมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐทั้งด้านวิชาการและการเงินได้อย่างเป็นรูปธรรม
โครงการนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่
การสร้างนักวินิจฉัยสถานประกอบการ
การให้บริการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการ
การสร้างระบบวินิจฉัยสถานประกอบการและควบคุมกำกับดูแลจรรยาบรรณนักวินิจฉัย
การสร้างดัชนีชี้วัดสถานภาพและศักยภาพอุตสาหกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร : 0-2202-4548-9
--วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2545--