กรุงเทพ--19 มี.ค.--กระทรวงต่างประเทศ
วันนี้ (18 มีนาคม 2546) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากการที่สถานการณ์ในตะวันออกกลางทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น จนอาจนำไปสู่การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ ในอิรักในเร็วๆ นี้ นั้น
กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่าช่วงเวลา 48 ชั่วโมงต่อไปนี้มีความสำคัญและมีค่าอย่างยิ่ง จึงควรมีความพยายามในการดำเนินการทางการทูตต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติ การทางทหาร ไทยยังคงให้ความสำคัญกับองค์การสหประชาชาติ และมีความหวังว่าองค์การ สหประชาชาติจะมีบทบาทในการช่วยแก้ไขสถานการณ์โดยสันติวิธีและทุกฝ่ายจะให้ความสำคัญ ต่อการดำเนินการทางการทูตภายในเวลา 48 ชั่วโมงข้างหน้านี้
ในด้านการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือคนไทยและแรงงานไทยในตะวันออกกลางนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ติดต่อสอบถามสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอิรัก จอร์แดน อิสราเอล และคูเวต เกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของคนไทยในประเทศดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์คนไทยในอิรัก สำนักงานชั่วคราวของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด ที่กรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน แจ้งว่า ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการโน้มน้าว ให้นักศึกษาไทยในกรุงแบกแดดจำนวน 38 คนเดินทางออกจากอิรัก และได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยซัดดัมได้นำนักศึกษาไทยทั้งหมดไปอยู่ในที่ปลอดภัยนอกกรุงแบกแดดแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2546 โดยแยกนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจัดให้ไปอยู่ในต่างจังหวัดออกจากกรุงแบกแดดไปทางชายแดนด้านตะวันตก และอีกกลุ่มไปพักอยู่ใกล้พรมแดนติดกับประเทศอิหร่าน ซึ่งสถานเอกอัคร- ราชทูตฯ ได้ติดต่อกับนายอับดุลรอยะ บินเซ็ง นักศึกษาปริญญาโทซึ่งเป็นตัวแทนนักศึกษา เพื่อหาทางโนมน้าวให้นักศึกษาไทยเดินทางออกจากอิรักต่อไป โดยได้แจ้งให้นายอับดุลรอยะฯ ทราบหมายเลขวีซ่ากลุ่ม เลขที่ 721/56051 ที่กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านออกให้ หาก นักศึกษาไทยประสงค์ที่จะเดินทางออกจากอิรักเข้าไปในอิหร่าน ขณะนี้ มีคนไทยยังคงยืนยันที่จะอยู่ในอิรักต่อไป 3 คน ได้แก่ คนไทย 2 คนซึ่ง แต่งงานกับชาวอิรัก และคนไทยอีก 1 คน ซึ่งต้องคดีทางเมืองไทยหลบหนีอยู่ในอิรัก
2. สถานการณ์คนไทยในคูเวต ขณะนี้มีคนไทยและแรงงานไทยในคูเวตประมาณ 1,237 คน ส่วนใหญ่ประสงค์จะรอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะมีความรุนแรงเพียงใด เนื่องจากทุกคนมี สัญญาในการทำงานกับนายจ้างคูเวต แต่หากสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤติและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนไทย ก็จะดำเนินการอพยพตามแผน รองรับที่ได้เตรียมไว้ ด้านมหาวิทยาลัยคูเวตได้อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติรวมทั้งนักศึกษาไทยจำนวน 10 คน ซึ่งได้รับทุนการศึกษาจากทางการคูเวต เดินทางกลับประเทศไทยก่อนที่จะเกิดสงครามได้ โดยต้องลาพักการเรียนเป็นเวลา 1 เทอม (4 เดือน) และสามารถกลับมาศึกษาต่อได้เมื่อสงคราม คลี่คลายหรือสิ้นสุดลง โดยไม่มีการตัดทุนแต่อย่างใด ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ออกค่าบัตร โดยสารเครื่องบินให้ทั้งเที่ยวไป-กลับ
3. สถานการณ์คนไทยในอิสราเอล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้เรียกประชุมผู้แทนแรงงานไทยในเขตเมืองใหญ่ ๆ ได้แก่ ไฮฟา นาธันยา เทลอาวีฟ ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายในการโจมตีของอิรัก เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการรักษาความปลอดภัยคนไทย โดยได้ประเมินสถานการณ์ว่าสหรัฐฯ จะโจมตีอิรักในอนาคตอันใกล้นี้ และยืนยันมาตรการอพยพ คนไทยในเมืองใหญ่ไปยังเมืองอิลัต ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางตอนใต้ของอิสราเอล (แรงงานไทย ในเขตเมืองใหญ่มีประมาณ 2,000 คน) แรงงานไทยดังกล่าวส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจดี ไม่ประสงค์จะอพยพไปยัง สถานที่ปลอดภัยล่วงหน้า สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอให้ผู้แทนคนไทยประสานกับเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในกรณีฉุกเฉินต่อไป
สำหรับแรงงานไทยภาคเกษตรจำนวนประมาณ 24,000 คน ซึ่งทำงานกระจายอยู่ ตามชนบทนอกเขตเมืองใหญ่มีขวัญกำลังใจดี และประสงค์จะทำงานในอิสราเอลต่อไป โดยไม่ เดินทางกลับประเทศไทย ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ออกตรวจเยี่ยมแรงงานไทยนอกเขต เมืองใหญ่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 แล้วจำนวนทั้งสิ้น 45 โมชาฟ รวมทั้งสิ้น 5,845 ราย เพื่อ ปลอบขวัญกำลังใจ ประเมินสถานการณ์ และแนะนำวิธีปฏิบัติตนในภาวะสงคราม สาธิตการใช้ หน้ากากกันก๊าซพิษ แจกจ่ายเอกสารประชาสัมพันธ์ รวมทั้งรับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-
วันนี้ (18 มีนาคม 2546) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากการที่สถานการณ์ในตะวันออกกลางทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น จนอาจนำไปสู่การใช้กำลังทางทหารของสหรัฐฯ ในอิรักในเร็วๆ นี้ นั้น
กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่าช่วงเวลา 48 ชั่วโมงต่อไปนี้มีความสำคัญและมีค่าอย่างยิ่ง จึงควรมีความพยายามในการดำเนินการทางการทูตต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติ การทางทหาร ไทยยังคงให้ความสำคัญกับองค์การสหประชาชาติ และมีความหวังว่าองค์การ สหประชาชาติจะมีบทบาทในการช่วยแก้ไขสถานการณ์โดยสันติวิธีและทุกฝ่ายจะให้ความสำคัญ ต่อการดำเนินการทางการทูตภายในเวลา 48 ชั่วโมงข้างหน้านี้
ในด้านการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือคนไทยและแรงงานไทยในตะวันออกกลางนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ติดต่อสอบถามสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอิรัก จอร์แดน อิสราเอล และคูเวต เกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของคนไทยในประเทศดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์คนไทยในอิรัก สำนักงานชั่วคราวของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด ที่กรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน แจ้งว่า ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการโน้มน้าว ให้นักศึกษาไทยในกรุงแบกแดดจำนวน 38 คนเดินทางออกจากอิรัก และได้ทราบว่ามหาวิทยาลัยซัดดัมได้นำนักศึกษาไทยทั้งหมดไปอยู่ในที่ปลอดภัยนอกกรุงแบกแดดแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2546 โดยแยกนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจัดให้ไปอยู่ในต่างจังหวัดออกจากกรุงแบกแดดไปทางชายแดนด้านตะวันตก และอีกกลุ่มไปพักอยู่ใกล้พรมแดนติดกับประเทศอิหร่าน ซึ่งสถานเอกอัคร- ราชทูตฯ ได้ติดต่อกับนายอับดุลรอยะ บินเซ็ง นักศึกษาปริญญาโทซึ่งเป็นตัวแทนนักศึกษา เพื่อหาทางโนมน้าวให้นักศึกษาไทยเดินทางออกจากอิรักต่อไป โดยได้แจ้งให้นายอับดุลรอยะฯ ทราบหมายเลขวีซ่ากลุ่ม เลขที่ 721/56051 ที่กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านออกให้ หาก นักศึกษาไทยประสงค์ที่จะเดินทางออกจากอิรักเข้าไปในอิหร่าน ขณะนี้ มีคนไทยยังคงยืนยันที่จะอยู่ในอิรักต่อไป 3 คน ได้แก่ คนไทย 2 คนซึ่ง แต่งงานกับชาวอิรัก และคนไทยอีก 1 คน ซึ่งต้องคดีทางเมืองไทยหลบหนีอยู่ในอิรัก
2. สถานการณ์คนไทยในคูเวต ขณะนี้มีคนไทยและแรงงานไทยในคูเวตประมาณ 1,237 คน ส่วนใหญ่ประสงค์จะรอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะมีความรุนแรงเพียงใด เนื่องจากทุกคนมี สัญญาในการทำงานกับนายจ้างคูเวต แต่หากสถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤติและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของคนไทย ก็จะดำเนินการอพยพตามแผน รองรับที่ได้เตรียมไว้ ด้านมหาวิทยาลัยคูเวตได้อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติรวมทั้งนักศึกษาไทยจำนวน 10 คน ซึ่งได้รับทุนการศึกษาจากทางการคูเวต เดินทางกลับประเทศไทยก่อนที่จะเกิดสงครามได้ โดยต้องลาพักการเรียนเป็นเวลา 1 เทอม (4 เดือน) และสามารถกลับมาศึกษาต่อได้เมื่อสงคราม คลี่คลายหรือสิ้นสุดลง โดยไม่มีการตัดทุนแต่อย่างใด ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ออกค่าบัตร โดยสารเครื่องบินให้ทั้งเที่ยวไป-กลับ
3. สถานการณ์คนไทยในอิสราเอล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้เรียกประชุมผู้แทนแรงงานไทยในเขตเมืองใหญ่ ๆ ได้แก่ ไฮฟา นาธันยา เทลอาวีฟ ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายในการโจมตีของอิรัก เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการรักษาความปลอดภัยคนไทย โดยได้ประเมินสถานการณ์ว่าสหรัฐฯ จะโจมตีอิรักในอนาคตอันใกล้นี้ และยืนยันมาตรการอพยพ คนไทยในเมืองใหญ่ไปยังเมืองอิลัต ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางตอนใต้ของอิสราเอล (แรงงานไทย ในเขตเมืองใหญ่มีประมาณ 2,000 คน) แรงงานไทยดังกล่าวส่วนใหญ่มีขวัญและกำลังใจดี ไม่ประสงค์จะอพยพไปยัง สถานที่ปลอดภัยล่วงหน้า สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอให้ผู้แทนคนไทยประสานกับเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในกรณีฉุกเฉินต่อไป
สำหรับแรงงานไทยภาคเกษตรจำนวนประมาณ 24,000 คน ซึ่งทำงานกระจายอยู่ ตามชนบทนอกเขตเมืองใหญ่มีขวัญกำลังใจดี และประสงค์จะทำงานในอิสราเอลต่อไป โดยไม่ เดินทางกลับประเทศไทย ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ออกตรวจเยี่ยมแรงงานไทยนอกเขต เมืองใหญ่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 แล้วจำนวนทั้งสิ้น 45 โมชาฟ รวมทั้งสิ้น 5,845 ราย เพื่อ ปลอบขวัญกำลังใจ ประเมินสถานการณ์ และแนะนำวิธีปฏิบัติตนในภาวะสงคราม สาธิตการใช้ หน้ากากกันก๊าซพิษ แจกจ่ายเอกสารประชาสัมพันธ์ รวมทั้งรับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-ศน-