วันนี้ เมื่อเวลา 13.30 น. นายนัจมุดดินอฟ ซาฟาราลี (Nadjmuddinov Safarali) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถาน ได้เข้าพบและหารือข้อราชการกับ ดร.ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทาจิกิสถานได้กล่าวชื่นชมถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลทาจิกิสถานจะนำมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการประสบความสำเร็จไปประยุกต์ใช้ในประเทศทาจิกิสถาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทาจิกิสถานได้เชื้อเชิญให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในประเทศ ทาจิกิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับหินแกรนิต อะลูมิเนียม และทองคำ นอกจากนี้ ดร. ทนง พิทยะ ได้ยืนยันถึงความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการเริ่มเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติให้มีการจัดทำข้อตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลทาจิกิสถานเรียบร้อยแล้ว คาดว่าการเจรจาในขั้นสุดท้ายจะจบสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน การจัดทำข้อตกลงดังกล่าวนั้น จะเอื้อประโยชน์อย่างมากต่อนักลงทุนไทย และนักลงทุนของทาจิกิสถาน และจะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนที่สูงขึ้นแน่นแฟ้นต่อไปในอนาคต
สำหรับข้อมูลการค้าขายระหว่างไทยกับทาจิกิสถาน ระหว่างปี 2545 - 2548 พบว่า ในช่วงปี 2545-2547 ประเทศไทยขาดดุลการค้าประเทศทาจิกิสถานมาโดยตลอด โดยในปี 2547 ประเทศไทยมีการส่งออกเป็นมูลค่า 4.2 ล้านบาท และมีการนำเข้าจากทาจิกิสถาน จำนวน 36.3 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า ทาจิกิสถาน จำนวน 32.1 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในครึ่งปีแรกของปี 2548 นี้ ประเทศไทยส่งออกไปทาจิกิสถาน 3.69 ล้านบาท และมีการนำเข้าจากทาจิกิสถาน 1.9 ล้านบาท ส่งผลให้ประเทศไทยในครึ่งปีแรกของปี 2548 ยังเกินดุลการค้ากับ ทาจิกิสถานอยู่จำนวนเท่ากับ 1.77 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญจากไทยไปทาจิกิสถาน ได้แก่ เครื่องจักรสำหรับเจาะกว้านหรือขุดเจาะ อุปกรณ์ติดตั้งของหลอดหรือท่อ ชุดของเล่นประกอบ และเต็นท์ที่ทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญจากทาจิกิสถาน ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ อะลูมิเนียมเจือที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เศษไหม และฝ้าย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 62/2548 10 สิงหาคม 48--
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทาจิกิสถานได้เชื้อเชิญให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในประเทศ ทาจิกิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับหินแกรนิต อะลูมิเนียม และทองคำ นอกจากนี้ ดร. ทนง พิทยะ ได้ยืนยันถึงความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการเริ่มเจรจาเพื่อจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติให้มีการจัดทำข้อตกลงดังกล่าวกับรัฐบาลทาจิกิสถานเรียบร้อยแล้ว คาดว่าการเจรจาในขั้นสุดท้ายจะจบสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน การจัดทำข้อตกลงดังกล่าวนั้น จะเอื้อประโยชน์อย่างมากต่อนักลงทุนไทย และนักลงทุนของทาจิกิสถาน และจะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนที่สูงขึ้นแน่นแฟ้นต่อไปในอนาคต
สำหรับข้อมูลการค้าขายระหว่างไทยกับทาจิกิสถาน ระหว่างปี 2545 - 2548 พบว่า ในช่วงปี 2545-2547 ประเทศไทยขาดดุลการค้าประเทศทาจิกิสถานมาโดยตลอด โดยในปี 2547 ประเทศไทยมีการส่งออกเป็นมูลค่า 4.2 ล้านบาท และมีการนำเข้าจากทาจิกิสถาน จำนวน 36.3 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า ทาจิกิสถาน จำนวน 32.1 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในครึ่งปีแรกของปี 2548 นี้ ประเทศไทยส่งออกไปทาจิกิสถาน 3.69 ล้านบาท และมีการนำเข้าจากทาจิกิสถาน 1.9 ล้านบาท ส่งผลให้ประเทศไทยในครึ่งปีแรกของปี 2548 ยังเกินดุลการค้ากับ ทาจิกิสถานอยู่จำนวนเท่ากับ 1.77 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญจากไทยไปทาจิกิสถาน ได้แก่ เครื่องจักรสำหรับเจาะกว้านหรือขุดเจาะ อุปกรณ์ติดตั้งของหลอดหรือท่อ ชุดของเล่นประกอบ และเต็นท์ที่ทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญจากทาจิกิสถาน ได้แก่ เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ อะลูมิเนียมเจือที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป เศษไหม และฝ้าย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 62/2548 10 สิงหาคม 48--